Home > Vanida Toonpirom (Page 3)

ซีพีแรม ทุ่มเม็ดเงิน 2,000 ล้านบาท เปิดตัวโรงงานผลิตขนมปังแห่งใหม่ ชิงส่วนแบ่งตลาดเบเกอรี่ 4 หมื่นล้าน

ตลาดขนมปังและเบเกอรี่ไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2566 มีมูลค่าประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตต่อปีเฉลี่ย 3-5% ในขณะที่ปี 2567 มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตประมาณ 7-8% โดยขนมปังแผ่นนับเป็นสัดส่วนหลักของตลาดประมาณ 30% ขณะที่ 70% เป็นขนมปังสอดไส้ทั่วไป ล่าสุด บริษัท ซีพีแรม จำกัด หรือ CPRAM ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เจ้าของแบรนด์ขนมปัง “เลอแปง” ทุ่มงบกว่า 2,000 ล้านบาท เปิดตัวโรงงานผลิต “ขนมปังแผ่น” แห่งใหม่ขึ้นที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยกำลังการผลิตถึงวันละ 2.4 ล้านแผ่น เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดเบเกอรี่ และความต้องการของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยว วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด เปิดเผยว่า “การที่ตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตขนมปังแผ่นแห่งใหม่เพราะเล็งเห็นโอกาสในตลาด เราพบว่ายังบริการลูกค้าได้ไม่ครบ และเห็นได้ชัดว่าลูกค้ามีความต้องการสินค้าของเรา

Read More

เปิดกลยุทธ์ความยั่งยืนของพรูเด็นเชียล กับ “บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ”

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability กลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องบรรจุอยู่ในแผนการดำเนินธุรกิจด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อที่จะไม่ตกขบวนของการพัฒนาสู่ความยั่งยืนอันเป็นเมกะเทรนด์ของโลก แน่นอนว่าบริษัทประกันสัญชาติอังกฤษอย่าง “พรูเด็นเชียล” ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 28 ปีก็ไม่ยอมตกขบวนนี้เช่นกัน ทางฝั่งธุรกิจประกันมีนโยบายด้านความยั่งยืนอย่างไร “ผู้จัดการ 360 องศา” จะไปเจาะกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ว่านั้นกับ “บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ” แม่ทัพใหญ่แห่งพรูเด็นเชียล ประเทศไทย “ความยั่งยืนคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ นโยบายด้านความยั่งยืนที่พรูเด็นเชียลตั้งธงไว้ คือ จะทำอย่างไรให้อนาคตของผู้คนและโลกใบนี้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องอยู่ได้และมีส่วนร่วมในการทำให้สังคมดีขึ้นด้วยเช่นกัน จนได้ออกมาเป็นกลยุทธ์ 3 เสาหลักด้านความยั่งยืนที่มาจากทั้งมุมของการเป็นบริษัทประกันชีวิต ผู้ลงทุน และองค์กรธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงทั้งในเอเชีย แอฟริกา รวมถึงในประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่พรูเด็นเชียลบอกเสมอคือ No Whitewashing บอกว่าทำ แต่ไม่ได้ทำจริง อันนี้เราไม่ทำ ต้องทำจริงให้เกิด impact ต่อสังคม” บัณฑิต เกริ่นถึงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของพรูเด็นเชียล โดย 3 เสาหลักด้านความยั่งยืนของพรูเด็นเชียล ประกอบด้วย 1. การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพและการเงินที่เข้าถึงได้ง่าย 2. การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และ 3.

Read More

จาก Too Fast To Sleep สู่ Too Fast Infinity เผยร่างทอง ล้างภาพขาดทุน

หากเอ่ยชื่อ Too Fast To Sleep เชื่อว่าหลายๆ คนคงคุ้นชินกันเป็นอย่างดีในฐานะแหล่งรวมตัวของคนนอนดึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศึกษาที่หาที่นั่งอ่านหนังสือและทำงาน เพราะที่นี่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “แหล่งมั่วสุมทางปัญญา” และกลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของสามย่านไปโดยปริยาย Too Fast To Sleep เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 เป็นวันแรก และแจ้งเกิดจากการเป็นร้านกาแฟที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง บนทำเลศักยภาพบริเวณสามย่านตรงข้ามกับจามจุรีสแควร์ ใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินสามย่าน และอยู่ใกล้สถาบันการศึกษาทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยตัวอาคารของ Too Fast To Sleep ออกแบบมาในลักษณะคล้ายกล่องขนาดใหญ่สีน้ำเงินเข้ม แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ชั้น และมีนกฮูกใส่แว่นขนาดใหญ่เป็นโลโก้ที่กลายมาเป็นภาพจำของใครหลายๆ คน เอนก จงเสถียร นักธุรกิจเจ้าของบริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตฟิล์มถนอมอาหารรายใหญ่แบรนด์ “M WRAP” และผู้ก่อตั้ง Too Fast

Read More

เอเซอร์ – อินเทล ขับเคลื่อนวงการเกมและอีสปอร์ตไทย เปิดสนามแข่งขัน Thailand Predator League 2025

เอเซอร์ - อินเทล เปิดสนามแข่งขัน Thailand Predator League 2025 เฟ้นหาตัวแทนจากประเทศไทยเข้าชิงชัย สู้ศึก Asia Pacific Predator League 2025 ที่ประเทศมาเลเซีย Predator League ทัวร์นาเมนต์ยิ่งใหญ่แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลับมาอีกครั้ง เอเซอร์ และอินเทล ผนึกกำลังร่วมกันเปิดสนามแข่งขันอีสปอร์ตครั้งใหม่อย่างเป็นทางการ ในศึก Thailand Predator League 2025 เพื่อเฟ้นหาตัวแทนประเทศไทยไปร่วมชิงชัยความเป็นหนึ่ง ในรายการ Asia Pacific Predator League 2025 รอบ Grand Final ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 14,000,000 บาท ที่ประเทศมาเลเซีย นายนิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เผยว่า Predator League

Read More

ความอ่อนไหวของธุรกิจครอบครัว จากมุมมองของธนาคารกสิกรไทย

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมาย หนึ่งในปรากฏการณ์สำคัญที่น่าจับตา คือ “การส่งต่อความมั่งคั่งระหว่างรุ่นครั้งใหญ่” หรือ The Great Wealth Transfer ซึ่งกระทบการส่งต่อทรัพย์สินครั้งใหญ่ของโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2573 ผู้มีสินทรัพย์สูงทั่วโลกจะมีการส่งต่อความมั่งคั่งมูลค่าสูงถึง 18.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (662 ล้านล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ในขณะที่ในภูมิภาคเอเชียจะมีการส่งต่อทรัพย์สินที่มูลค่าราวๆ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (90 ล้านล้านบาท) คิดเป็นจำนวนครอบครัวถึง 70,000 ครอบครัว ซึ่งภาพการส่งต่อครั้งนี้มีตั้งแต่การส่งต่อทรัพย์สินทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการส่งต่อกิจการหรือธุรกิจของครอบครัว ซึ่งธุรกิจครอบครัวถือเป็นแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่สำคัญสำหรับผู้มีสินทรัพย์สูง และในประเทศไทยธุรกิจครอบครัวยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนที่เป็นธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนถึง 67% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 บริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ 76% เป็นธุรกิจที่เติบโตมาจากธุรกิจครอบครัวทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี เส้นทางการส่งต่อธุรกิจครอบครัวมักไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director-Wealth Planning and

Read More

“เบียร์ ใบหยก” กับบทบาทใหม่ คุมทัพ FAB Food Holding รวมกันต้องมันกว่า

กลายเป็นดีลใหญ่ที่ถูกจับตาขึ้นมาทันที ภายหลัง “ฉาย บุนนาค” รักษาการประธานกรรมการบริหาร บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AQUA ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัท เรื่อง การปรับโครงสร้างและการเข้าลงทุนในธุรกิจอาหารในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 โดยมีสาระสำคัญคือ การจัดตั้งธุรกิจร้านอาหาร ร่วมกับ บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ และ นายปิยะเลิศ ใบหยก หรือ เบียร์ ใบหยก ฉาย บุนนาค ไม่ทิ้งช่วงไว้นาน ถัดมาในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เดินหน้าประกาศเปิดตัวบริษัทใหม่ที่เกิดจากการร่วมทุนอย่างเป็นทางการในชื่อ บริษัท เอฟเอบี ฟู้ดโฮดิ้ง จำกัด หรือ “FAB” เพื่อบุกธุรกิจร้านอาหารอย่างเต็มตัว

Read More

“ศรัณญ อยู่คงดี” กับแบรนด์ SARRAN เครื่องประดับไทยที่ดังไกลระดับโลก

หากเคยได้ชมเอ็มวีเพลง LALISA ของ ลิซ่า (ลลิษา มโนบาล) หลายคนคงจำได้ถึงเครื่องประดับชิ้นงามอย่าง “กรรเจียก” ทรงกิ่งพุดซ้อนสีเงินแซมทองที่ปรากฏอยู่ในเอ็มวี ซึ่งเครื่องประดับดังกล่าวเป็นผลงานในคอลเลกชัน Pood Sorn จากแบรนด์ SARRAN ของ “ศรัณญ อยู่คงดี” นักออกแบบมากฝีมือที่กวาดรางวัลประกวดมามากมายและพาเครื่องประดับแบรนด์ไทยไปดังไกลถึงระดับโลก ล่าสุดเขายังได้รังสรรค์ผลงานหัตถศิลป์ชิ้นพิเศษ “Trove of Blue” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลวดลายของ “ผ้าลายอย่าง” ขึ้นในโอกาสครบรอบ 100 ปี ของแบรนด์จอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ในไทย ที่มีเพียง 10 ชิ้นบนโลกอีกด้วย ศรัณญเติบโตมาในครอบครัวที่ปลูกฝังทักษะพื้นฐานด้านศิลปะและคลุกคลีอยู่กับงานหัตถศิลป์มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งนั่นทำให้เขาตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวะ และได้รับทุนเข้าศึกษาต่อในสาขาศิลปะจินตทัศน์ (Imagine Art) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตามลำดับ เขามีโอกาสเป็นผู้ช่วยผู้กำกับหนังในช่วงสั้นๆ ก่อนเข้าทำงานประจำในตำแหน่งออกแบบผลิตภัณฑ์ในร้านฝ้ายซอคำ กระทั่งได้รับทุนจาก Japan Foundation ไปศึกษาและดูงานที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 5 เดือน หลังจากนั้นจึงกลับมาทำงานเป็นฟรีแลนซ์พร้อมส่งงานเข้าประกวดอย่างต่อเนื่อง ภายหลังสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานมาได้ระยะหนึ่ง ศรัณญจึงตัดสินใจก่อตั้งแบรนด์ “SARRAN” ขึ้นในปี 2551

Read More

“สมูทอี” ปรับภาพลักษณ์ เดินหน้าเจาะกลุ่มคน GEN Z

เป็นเวลานานกว่า 32 ปี ที่ผลิตภัณฑ์เวชสำอางอย่าง “สมูทอี” (Smooth E) มียอดขายอันดับ 1 ในร้านขายยาและยึดพื้นที่ในใจผู้บริโภคมาได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่ฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ยังอยู่ในกลุ่ม Gen X และ Gen Y ถึง 90% แต่ตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา สมูทอีถึงเวลาปรับภาพลักษณ์และผลิตภัณฑ์เดินหน้าขยายฐานกลุ่มลูกค้า จากวัยทำงานสู่วัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่ม GEN Z มากขึ้น สมูทอีเป็นแบรนด์เวชสำอางที่ก่อตั้งโดยคนไทยอย่าง เภสัชกร ดร.แสงสุข พิทยานุกุล ที่ให้กำเนิดแบรนด์ “สมูทอี” เป็นครั้งแรกในปี 2538 ในฐานะ “โฟมไม่มีฟอง” ที่มาพร้อมกับสโลแกนคุ้นหูอย่าง “สมูทอี เบบี้เฟซโฟม โฟมไม่มีฟอง” ซึ่งสร้างความแตกต่างให้กับตลาดเพราะในสมัยนั้นผู้บริโภคนิยมไฟ้โฟมที่มีฟองมากกว่า โดยวางตัวเองเป็นสินค้าในกลุ่มเวชสำอางที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย ธนชัย ชัยกิตติวนิช  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมูทอี บริษัท สยามเฮลท์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เวชสำอางสกัดจากธรรมชาติ

Read More

สำรวจ 3 ร้านดังของ “EM WONDER” แหล่งแฮงก์เอาต์แห่งใหม่ใจกลางกรุง

เรียกว่าสร้างสีสันให้กับตลาดอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว สำหรับ EMSPHERE (เอ็มสเฟียร์) ศูนย์การค้าแห่งใหม่ใจกลางสุขุมวิท ทั้งการเปิดตัวร้านค้าและร้านอาหารใหม่ๆ หรืองานอีเวนต์สนุกๆ ที่จัดขึ้นเป็นประจำ จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแฮงก์เอาต์แห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” จะพาไปสำรวจอีกหนึ่งโซนของเอ็มสเฟียร์อย่าง “EM WONDER” (เอ็ม วันเดอร์) ศูนย์รวมร้านกินดื่มชื่อดังกว่า 30 ร้าน บนพื้นที่ขนาด 30,000 ตารางเมตร ของชั้น 5 และ 5M ของศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ พร้อมเป็น VIBE OF BANGKOK คอมมูนิตี้ที่รวมความบันเทิงทั้ง ไนท์คลับ, บาร์ และร้านอาหารชื่อดัง มาไว้รวมกันในคอนเซ็ปต์ที่ไม่เหมือนกัน ได้แก่ FIRST TIME IN THAILAND: ร้านใหม่สุดพิเศษที่เปิดเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น “TICTACTOE” Dating Bar แห่งแรกในไทยที่เชื่อมต่อทุกความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นคนรักหรือเพื่อนซี้ ท่ามกลางบรรยากาศและเครื่องดื่มเมนูพิเศษ “Raze Arcade” ร้านรูปแบบใหม่ที่เสิร์ฟความสนุกของการแข่ง F1

Read More

73 ปี “กันตนา กรุ๊ป” ถึงเวลาส่งไม้ต่อสู่ทายาทเจนฯ 3

“เราอยู่ในรุ่น 2 ที่การทำธุรกิจบันเทิงมันสนุกมาก ทั้งๆ ที่มีอยู่แค่ 3-4 ช่อง เพราะเราแข่งกับตัวเองมากกว่าแข่งกับคนอื่น แต่พอยุคนี้ต้องแข่งทั้งกับตัวเอง แข่งกับคนอื่น แข่งกับโลก และเทคโนโลยีที่มันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก มันเป็นยุคของเจนฯ 3 ที่เขาจะเข้ามาสานต่อ เพราะเขาเกิดมากับคอนเทนต์ มีพรสวรรค์ มีแรงและตื่นตัว ที่สำคัญเขาไม่ได้เข้าใจแค่เรื่องการผลิต แต่เข้าใจถึงเรื่องการหารายได้ว่ามันต้องมาจากไหน” ศศิกร ฉันท์เศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวในวันเปิดตัวทายาทรุ่น 3 และผู้บริหารรุ่นใหม่แบบครบทีม ที่จะมาผนึกกำลังขับเคลื่อนองค์กรผ่านโครงการ Blue Project เป็นเวลา 73 ปีเต็ม ที่ “กันตนา กรุ๊ป” โลดแล่นในธุรกิจบันเทิงของไทย จากยุคผู้ก่อตั้งอย่าง “ประดิษฐ์ - สมสุข กัลย์จาฤก” สู่รุ่น 2 ในยุคของ จาฤก กัลย์จาฤก

Read More