Home > Suwatcharee Pormbunmee

บทบาท TDO ยกระดับอุตสาหกรรม ป้องกันฟอกเงินด้วยคริปโท

สินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทย โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดโควิดที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคธุรกิจ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะในไตรมาสสองของปี 2565 มีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เปิดผ่านศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศจำนวนทั้งสิ้น 2.9 ล้านบัญชี เมื่อเทียบกับจำนวนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาเดียวกันมี 5.5 ล้านบัญชี นี่ทำให้เห็นว่าแม้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะเริ่มเป็นที่รู้จักไม่นาน แต่กลับได้รับความนิยมอย่างมาก สินทรัพย์ดิจิทัลที่รู้จักกันแพร่หลายคือ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และยังมีสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างอื่น เช่น โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ไทยถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เปิดรับการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จนถูกจัดอันดับให้ไทยติด 1 ใน 10 ของโลกด้านการยอมรับและนำคริปโทเคอร์เรนซีมาใช้ในกิจกรรมด้านการลงทุนหรือการใช้จ่ายในเชิงธุรกิจ นอกจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสินทรัพย์ดิจิทัล ออกมากำกับดูแลแล้ว ยังมีสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ที่เข้ามามีบทบาทในการให้ข้อมูลและพัฒนาอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีมาตรฐานและเสถียรภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ “สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย หรือ TDO จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ภายใต้ พ.ร.บ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509 โดยมีวัตถุประสงค์ในการที่จะเป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูลและพัฒนาอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีมาตรฐานและเสถียรภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ ซึ่งสมาคมฯ ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล จำนวน 22 ราย”

Read More

เอเจนซีครีเอเตอร์เกาหลีบุกไทย ส่งโอปป้ารุกตลาดดิจิทัล

ประชากรไทยมีประมาณ 70 ล้านคน เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไปแล้ว 9 ล้านคน หรือประมาณ 12.86% จากจำนวนประชากรทั้งหมด นี่คือข้อมูลสถิติจาก Linktree โดยคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทย แบ่งเป็น 3 ระดับคือ Nano, Macro, Mega Creator และมีทั้งที่เป็นแบบเต็มเวลาและ Part Time ตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 45,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 25-30% ต่อปี ในขณะที่ขนาดของคอนเทนต์ครีเอเตอร์โลกอยู่ที่ 5.5 ล้านล้านบาท ด้วยอัตราเร่งนี้เกิดจากการที่ครีเอเตอร์ทั่วโลกหันมาทำแบบเต็มเวลามากที่สุดในปีนี้ สำหรับไทยมีครีเอเตอร์ทำแบบเต็มเวลามากถึง 2 ล้านคน ก่อนที่ TikTok จะเข้ามาครองตลาดและกลายเป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งในหลายประเทศ การทำการตลาดบน Facebook ทั้งนักการตลาดและแบรนด์ให้ความสำคัญ แต่ปัจจุบัน TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ยากจะแย่งชิงส่วนแบ่งมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ TikTok Influencers Marketing ที่ทั้งแบรนด์และตัวอินฟลูเอนเซอร์ให้ความสำคัญ และสามารถสร้าง Brand

Read More

กู๊ดวิล ตั้งเป้าพันล้าน พร้อมทะยานสู่ “มหาชน”

อิทธิพล ปฏิมาวิรุจน์ อดีตกรรมการบริหารบริษัท เดลี่ฟู้ดส์ จำกัด หลังสะสมประสบการณ์มานานกว่า 23 ปี ในธุรกิจแปรรูปอาหาร ทั้งแบรนด์ของตนเองและรูปแบบรับจ้างผลิต หรือ OEM ก่อนที่วันนี้จะก้าวออกมาเติบโตด้วยตัวเองจากการปั้นแบรนด์นมน้องใหม่ Good Will (กู๊ดวิล) เพื่อส่งผลิตภัณฑ์นมข้นหวาน และนมยูเอชที ชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาท ดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับแบรนด์น้องใหม่อย่างกู๊ดวิล ที่จะเข้ามาชิมลางในตลาดที่มีผู้เล่นเจ้าตลาดอยู่แล้วอย่าง มะลิ คาร์เนชั่น พาเลซ ฟอลคอน และอีกหลายแบรนด์ที่มีในตลาด รวมถึงกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง แต่ บริษัท พัชร์ ฟู้ด อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมและครีมเทียมข้นหวาน แบรนด์ กู๊ดวิล ยังตั้งเป้าที่จะเติบโตทั้งรายได้และมีแผนที่จะรุกตลาดที่ไกลกว่านั้น “เราจดทะเบียนเริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งใช้ประสบการณ์จากธุรกิจของครอบครัวมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ตลาดนมข้นหวานมีมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้าน ข้อมูลจาก Euromonitor ที่ระบุไว้เมื่อ 5 ปีก่อน  พัชร์ ฟู้ด อินเทลลิเจ้นท์

Read More

ชาคริต พิชญางกูร ผอ. CEA ต่อยอดแนวคิดดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หลายประเทศให้ความสำคัญ เพราะอุตสาหกรรมนี้สามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าจนไปถึงการส่งออกผลงานไปขายยังต่างประเทศจนสามารถสร้างเม็ดเงินกลับเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศเกาหลี ที่ส่งออกวัฒนธรรมผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซีรีส์ ดนตรี และเกมออนไลน์ จนกลายเป็นแหล่งสร้างรายได้จากต่างประเทศ แน่นอนว่า นี่ไม่ใช่ผลงานจากองค์กรเอกชน แต่เป็นความพยายามของรัฐบาลเกาหลีที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เฉพาะด้าน ซึ่งดำเนินอย่างต่อเนื่องมายาวนานกระทั่งประสบความสำเร็จ และสร้างฐานแฟนคลับ ความนิยมให้เกิดขึ้นไปทั่วโลก ขณะที่ไทยมีหน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พร้อมที่จะเป็นแรงขับช่วยผลักดันนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศไปสู่สากล นั่นคือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization): CEA ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี “ทำไมเราต้องมีสำนักงานนี้ เป็นวาระแห่งโลก ซึ่งมองว่านี่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เอาต้นทุนด้านวัฒนธรรมมาต่อยอดทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องรักษา คงอัตลักษณ์เกี่ยวกับชุมชน ผู้คนจำนวนมาก จะเป็นการสร้างงานให้ผู้คน และการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ในโลกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นี่ถือเป็นอเจนด้าระดับชาติ” ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในไทยมีมูลค่า 1.28 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนมูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อ

Read More

ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ สีเบเยอร์เติบโตด้วยนวัตกรรม

ข่าวอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์มักจะอยู่ในความสนใจจากผู้บริโภค ผู้พัฒนาอสังหาฯ โดยเฉพาะในยามที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบโดยตรง ขณะที่อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน และเติบโตคู่ขนานคือ อุตสาหกรรมสี แม้จะมีมูลค่ารวมเพียง 60,000 ล้านบาท และมีผู้เล่นหลักรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย การเติบโตแบบไม่หวือหวาของอุตสาหกรรมสี แต่กลับสร้างความน่าสนใจ ด้วยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแต่ละแบรนด์ที่หยิบจับนวัตกรรมสร้างจุดเด่นและข้อได้เปรียบให้แก่แบรนด์ มีเป้าหมายหลักเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด นวัตกรรมส่วนใหญ่ที่แบรนด์สีผสมผสานเข้ามาในผลิตภัณฑ์ เช่น สีลดอุณหภูมิ สีลดกลิ่น อีกหนึ่งแบรนด์ที่เริ่มพัฒนาสีให้เป็นมากกว่าสี มีเป้าหมายต้องการยกระดับมาตรฐานสีของไทย คือ เบเยอร์ ที่ดำเนินธุรกิจในไทยมานานกว่า 60 ปี “สีเบเยอร์มีจุดเริ่มต้นจากความฝันเล็กๆ เมื่อ 63 ปีที่แล้ว จากความต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานสีของไทย สู่การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสีทาไม้ สีทาอาคาร จากมุมมองเรื่องความสวยงาม สู่มุมมองของการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่กลายเป็นนโยบายหลักของเรา สีลดอุณหภูมิ สีลดกลิ่น สีลดโอกาสการติดเชื้อ เรามองถึงผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก” ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ กล่าว เบเยอร์มีจุดเริ่มต้นธุรกิจในปี พ.ศ. 2504 ด้วยการจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทวีรุ่ง โดย ประเสริฐ ชัยยศบูรณะ จำหน่ายสีทาอาคารและอุปกรณ์ก่อสร้างเป็นหลัก จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาสีเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย

Read More

เอกา โกลบอล สยายปีกลุยแดนภารตะ ปักหมุดรุกตลาดบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร

อินเดียกำลังถูกจับตามองอย่างมากจากนักธุรกิจ นักลงทุนทั่วโลก เพราะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก สาเหตุหลักคือ ปัจจุบันจำนวนประชากรอินเดียแซงหน้าจีนด้วยจำนวน 1,450 ล้านคน และประชากร 2 ใน 3 อยู่ในวัยทำงาน ขณะที่อีกหลายประเทศกำลังกังวลเรื่องประชากรสูงวัยที่เพิ่มจำนวนขึ้น และส่งผลกระทบต่อภาคแรงงาน ทว่า อินเดียมีประชากรสูงวัยที่อายุ 65 ปีขึ้นไปเพียง 6เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ชื่อว่า Made in India ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนอินเดียเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก โดยจะเป็นการลดภาษีให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานที่อินเดีย ขณะที่โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเครือข่ายดิจิทัล ส่งผลให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกหันมาลงทุนในอินเดียเพิ่มขึ้น ข้อได้เปรียบที่อินเดียจะได้รับคือการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาสู่อินเดีย ซึ่งจะทำให้อินเดียสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันนอกประเทศได้มากขึ้น หากมองในปัจจุบัน ปี 2024 อินเดียคือประเทศที่มีการเติบโตของ GDP สูงเป็นอันดับ 1 ขนาด GDP มีมูลค่า 3,094 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การขยายตัวของ GDPอยู่ที่ 6.8-7 เปอร์เซ็นต์ และสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผลักดันให้ GDP

Read More

เปิดความสำเร็จ พร็อพเพอร์ตี้ กูรู ยกระดับมาตรฐานทุกมิติอสังหาฯ ไทยเทียบชั้นเอเชีย

อสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สถานการณ์การเงินการคลัง ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ขณะที่ปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์ผู้ประกอบการอสังหา สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเช่นกัน แน่นอนว่า ผู้ประกอบการอสังหาฯ จะมีมาตรฐานในการสร้างที่อยู่อาศัยที่เสมือนเป็นพันธกิจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เช่น การสร้างความปลอดภัยในการอยู่อาศัย บ้านประหยัดพลังงาน นอกจากมาตรฐานที่แต่ละค่ายอสังหาฯ ต้องยึดเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพสำหรับธุรกิจอสังหาฯ คือ รางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards ที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ มองว่ารางวัลนี้เป็นเสมือนเครื่องหมายแห่งความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการอสังหาฯ รางวัล PropertyGuru Thailand Property Awards เป็นมาตรฐานระดับสูงของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายให้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ไทยมุ่งมั่นที่จะยกระดับความเป็นเลิศ “PropertyGuru Thailand Property Awards ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 นี่ถือเป็น Gold Standard ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กำลังจะเข้าสู่ปีที่ 20 ในปีหน้า โดยรางวัลนี้เราจะมอบให้แก่สุดยอดโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งปีที่โดดเด่นด้านที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ซึ่งเราจัดขึ้นทุกปี โดยในปีนี้เราเน้นย้ำถึงความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง

Read More

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ มองงานวิจัย นวัตกรรม สู่เครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมักจะมีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม เมื่อเล็งเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมเศรษฐกิจ เกาหลีใต้คือหนึ่งในนั้น ที่ภาครัฐพยายามผลักดันด้านนี้อย่างจริงจัง ส่งผลให้งานวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทย งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศ นำพาประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และเป้าหมายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้และนวัตกรรม “ในแต่ละปีไทยได้ลงทุนงานวิจัยและนวัตกรรม เพราะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้รุดหน้า งานวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นเส้นทางไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมไทยใน 4 โจทย์หลัก ได้แก่ เกษตรและอาหารมูลค่าสูง การแพทย์และสุขภาพ NetZero&PM2.5 และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ปัจจัยหลายด้านที่ไทยต้องเผชิญ ทั้งสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมสูงวัย การสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เป็นความท้าทายอย่างมาก วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ตอบโจทย์และนำประเทศไปสู่การพัฒนา และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ” รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เคยให้มุมมองไว้ในงาน TRIUP FAIR 2024 ถึงกระนั้น การนำพาเศรษฐกิจไทยให้หลุดพ้นจากความถดถอยทางเศรษฐกิจ และตัวเลขจีดีพีที่ดูจะเร่งให้เติบโตได้ยาก

Read More

โอฬาร จันทร์ภู่ มองธุรกิจรับสร้างบ้านปี 67 ท้าทายบนความผันผวน

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลเป็นระลอกคลื่นไปยังธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกำลังซื้อ และไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ตลาดรับสร้างบ้านเป็นอีกหนึ่งตลาดที่พบกับภาวะชะลอตัว ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าตลาดที่ปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ในปี 2565 ขนาดของตลาดรับสร้างบ้านมีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และปี 2566 มีการปรับตัวลดลงเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือลดลงเฉลี่ย 18% พื้นที่ที่มีการชะลอตัวมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคอีสาน โอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association: HBA) เปิดเผยภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีแรกปี 2567 ชะลอตัวลง มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวมลดลงอยู่ที่ 4,505 ล้านบาท หรือประมาณ 15% ในทุกระดับราคา เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ที่มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวม 5,300 ล้านบาท สะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอย และเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่มีหนี้ครัวเรือนสัดส่วนสูงถึง 91% ของจีดีพี

Read More

มองเศรษฐกิจอินโดฯ ผ่านงาน FI Asia 2024 โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดฮาลาล

หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารและส่วนประกอบของประเทศในเอเชีย อินโดนีเซียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีตลาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ประมาณ277 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ปี 2023 สูงกว่าไทยหลายเท่าตัว อยู่ที่ 5.1% และการบริโภคภาคครัวเรือนมีการขยายตัวสูงถึง 4.8% ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขยายตัวในการบริโภคภาคครัวเรือนมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ประกอบกับนโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ ขณะที่ปัจจุบันอินโดนีเซียกำลังพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมรับเมืองหลวงใหม่ “นูซันตารา” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราเร่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งการลงทุนภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาคการผลิตโตและดันให้ GDP เพิ่มขึ้นได้ 1% เทียบกับเศรษฐกิจไทยที่ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 2.3% เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลายตัวยังเดินเครื่องแบบไม่เต็มกำลัง ภาคการส่งออกอยู่ในภาวะนิ่ง และไม่น่าจะขยายตัวมากไปกว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวดูจะหวังพึ่งพาได้มากที่สุดในเวลานี้ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีมูลค่าสูงถึง 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 6.12% ต่อปี ขณะที่ตลาดเบเกอรี่และซีเรียลได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลให้เฉพาะตลาดนี้มูลค่า 51,990

Read More