Home > GDP

กูรูมองเศรษฐกิจไทยหมดยุคบุญเก่า ถึงเวลาลอกคราบและสร้างเครื่องยนต์ใหม่

เศรษฐกิจโลกเต็มไปด้วยความผันผวนจากการแข่งขันของประเทศมหาอำนาจ และสงครามการค้าทรัมป์ 2.0 ที่กำลังเขย่าโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ซึ่งประเทศไทยกำลังยืนอยู่บนทางแยกแห่งความท้าทายนี้ IMF ประเมิน GDP ประเทศไทยของปีนี้ว่าจะเติบโตที่ 1.8% ส่วน  World Bank ประเมินไว้ที่ 1.6% ในขณะที่หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยเองก็มีการประเมินตัวเลขการเติบโตของ GDP ที่แตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ 1.3% ขยับไปเป็น 2% กว่าๆ แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่ถึง 3% ตามเป้าที่วางไว้ นั่นทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวลและพยายามหากลไกในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่ม GDP ให้กับประเทศ กฤษณ์ จันทโนทก ประธานกรรมการอำนวยการ สกสว. และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แสดงทัศนะที่น่าสนใจในงานเสวนา “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุน ววน.” ซึ่งจัดโดยสำนักยุทธศาสตร์แผน ติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ไว้ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยรอดจากวิกฤตหลายๆ ครั้งได้ เพราะอยู่ในจังหวะที่โลกเข้าข้าง

Read More

สกสว. กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุน ววน. หวังเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

สกสว. จัดเวทีชวนกระตุก GDP ไทยด้วยกองทุน ววน. หวังเป็นกลไกพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัลและนวัตกรรม แข่งขันได้ในเวทีโลก ชี้นโยบายทรัมป์จะทำให้ไทยปรับตัว และวางยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อคว้าโอกาสและรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน Dinner Talk “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุน ววน.” ภายใต้แนวคิด ‘มองจุดร่วม สร้างจุดเปลี่ยน ร่วมสร้าง GDP ไทย ด้วยกองทุน ววน.’ ซึ่งจัดโดยสำนักยุทธศาสตร์แผน ติดตามและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อนำผลการงานวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มาช่วยกระตุก GDP ไทย ให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมและขับเคลื่อนไม่หยุดนิ่งได้อย่างต่อเนื่องและเกิดวามยั่งยืน พร้อมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการเร่งรัดผลักดันนโยบายและการดำเนินงานที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและในเวทีโลก น.ส.ศุภมาส ระบุว่า ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยยังมีโอกาสในการสร้างเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้ ววน. เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาการของประเทศ

Read More

ยูโอบี ประเมินจีดีพีไทยปี 67 ขยายตัวได้ 3.6% จากภาคส่งออกและท่องเที่ยวฟื้นตัว ดันเงินบาทแข็งแกร่ง

ยูโอบี ประเมินจีดีพีไทยปี 67 ขยายตัวได้ 3.6% จากภาคส่งออกและท่องเที่ยวฟื้นตัว ดันเงินบาทแข็งแกร่ง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อแผ่วลง ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดเผยรายงานวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2567 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวช้าในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะขยายตัวได้แข็งแกร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากมาตราการกระตุ้นทางการคลังของรัฐบาล ควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและส่งออก ธนาคารประเมินว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) ของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ร้อยละ 3.6 ในปีนี้ นายเอ็นริโก้ ทานูวิดจายา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economics and Market Research ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยคือ ภาคส่งออกสินค้าและภาคท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่แรงงาน โดยเฉพาะในภาคบริการ ควบคู่ไปกับการบริโภคภาคครัวเรือนที่จะยังคงแข็งแกร่งและได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้นพร้อมกับการฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งแกร่งขึ้น” นอกจากนี้ ประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทต่างชาติที่เดินหน้าย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากผลกระทบจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยส่วนหนึ่งสะท้อนจากสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และสนับสนุนให้สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัว “ดังนั้น ยูโอบีประเมินว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ร้อยละ 3.6 จากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ส่งออกสินค้า และการบริโภคภาคเอกชน

Read More

จากจีดีพีติดลบ สู่หนทางฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

งวดเข้ามาทุกทีกับช่วงเวลาที่เหลือของศักราชนี้ หลายคนเฝ้ารออย่างมีความหวังว่าปีแห่งความทุกข์ยากนี้จะผ่านพ้นไปเสียที ทั้งสถานการณ์อันเลวร้ายของภาวะโรคระบาด สภาพความถดถอยทางเศรษฐกิจ หรือความแร้นแค้นที่ดูจะเพิ่มพูนขึ้นอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ การฝากความหวังไว้กับศักราชใหม่ดูจะไม่ผิดนัก เมื่อสถานการณ์ในหลายด้านเริ่มคลี่คลาย และพอจะมองเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อรายวันลดลงจนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้เกือบปกติ ซึ่งเรื่องดีนี้ส่งผลต่อความมั่นใจทั้งของประชาชนในฐานะผู้บริโภค และผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรม กระนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพลิกตัวเลขติดลบของจีดีพีไทยในไตรมาส 3/2564 ให้กลับมาบวกในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงรายได้จากต่างประเทศมากกว่าในประเทศเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ว่ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 1/2564 อยู่ที่ -2.6 การปรับลดลงของจีดีพีในไตรมาสปัจจุบันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงก่อนหน้า การระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชน หรือการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ลดลง เป็นปัจจัยหลัก เช่น การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 14.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.3 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือการลงทุนในภาพรวม ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อน ตามการลงทุนภาครัฐที่ลดลงร้อยละ 6.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.2

Read More

ภาคเอกชน-ประชาชนเชื่อมั่นบวก เข็นจีดีพีไทยขึ้นภูเขา

นโยบายเปิดประเทศ และการปลดล็อกมาตรการต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายรอคอย ทั้งภาคเอกชนและประชาชน จากมุมมองที่ว่านโยบายและมาตรการที่รัฐบาลพึงใช้ในยามนี้น่าจะเป็นการสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีได้เป็นอย่างดี เมื่อดูจากจำนวนเที่ยวบินที่เกิดขึ้นในวันที่เปิดประเทศ (1 พ.ย. 2564) พบว่ามีสายการบินแจ้งทำการบินประมาณ 260 เที่ยวบิน และเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 91 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารเดินทางมาที่สนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 20,083 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 6,613 คน นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังคาดการณ์ว่าตลอดเดือนพฤศจิกายนน่าจะมีเที่ยวบินประมาณ 12,133 เที่ยวบิน เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 6,501 เที่ยวบิน สำหรับผู้โดยสารคาดว่าจะมีมากกว่า 7 แสนคน ผู้โดยสารระหว่างประเทศอาจจะมีประมาณ 2.7 แสนคน แม้ว่าการเดินทางของประชาชน กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนหลังประกาศใช้นโยบายดังกล่าว เสมือนเป็นการคลายความอัดอั้นของคนไทยจำนวนหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเกิดจากความความเชื่อมั่นในมาตรการของรัฐที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ แน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจทุกระดับในท้ายที่สุด นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า

Read More

หวังวัคซีนหนุนจีดีพีโต ช่วยดึงเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤต

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ดูจะเป็นปัจจัยเร่งที่ฉุดให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงไปอีก โดยการคาดการณ์ของจีดีพีไทยในปี 2564 ล่าสุดได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.8-1.6 ต่อปี หลังจากที่การระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5.8 แสนล้านบาท ผลพวงของการระบาดระลอกใหม่ดังกล่าวทำให้กลไกรัฐคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศได้รับผลทางลบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 4.0-5.8 แสนล้านบาท ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ระลอกเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน โดยสถานการณ์การระบาดในประเทศได้แพร่กระจายไปยังหลายคลัสเตอร์ทั่วประเทศ จนเป็นการยากที่จะควบคุมให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,000-3,000 คนต่อวัน ข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่สัดส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 และกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่การรณรงค์ระดมปูพรมฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสับสนกังวลต่อปริมาณและการกระจายวัคซีนที่กลไกรัฐดำเนินการอยู่ว่าจะสามารถขยับสัดส่วนการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในทิศทางลบหนักหน่วงมากขึ้น เกิดขึ้นจากรูปแบบการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้ต้องคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้น ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียในหลายประเทศ และการระบาดครั้งใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเสียหายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.9 ต่อจีดีพี ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นหากยาวนานไปถึง

Read More

พินิจปัจจัยฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ส่งจีดีพีไทยติดลบน้อยลง

เศรษฐกิจไทยเดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของศักราช พร้อมกับรอยแผลที่บาดลึกจนเกิดแผลเป็น ที่แน่นอนแล้วว่า ผลพวงนั้นจะยังคงตามติดไปจนถึงศักราชใหม่อย่างไม่อาจเลี่ยง วิกฤตจากเชื้อไวรัสโควิดสร้างบาดแผลให้เกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย ผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กจนถึงรายใหญ่ ต้องเผชิญกับความยากเข็ญในช่วงที่ผ่านมา หากสายป่านยาวอาจจะพอใช้ให้ยืนระยะต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรืออาจถาวร ด้านตลาดแรงงานไทยประสบปัญหาจากวิกฤตนี้ไม่ต่างกัน ข่าวเลิกจ้าง ลดค่าแรง ลดเวลาทำงาน ที่ปรากฏให้เห็นแบบรายวัน ส่งผลต่อรายได้ของประชาชนแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าปัจจัยด้านรายได้นี้กระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย การชำระหนี้ อันนำมาซึ่งหนี้เสีย และกำลังซื้อของภาคประชาชนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในปีนี้ค่อยๆ ไต่ระดับลงจนกระทั่งติดลบในที่สุด แม้ไทยจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ตัวเลขและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยค่อยๆ ลดจำนวนลง และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไทยสร้างชื่อด้วยการควบคุมเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงจำกัดได้เป็นอย่างดี ด้านรัฐบาลพยายามเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกระดับฟันเฟือง และประชาชนส่วนใหญ่สามารถปรับตัวและเรียนรู้ที่จะอยู่รอดในวิกฤตที่เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่และรอคอยวัคซีนด้วยความหวังที่จะทำให้วิกฤตนี้สิ้นสุดลง บริษัทผลิตวัคซีนเร่งพัฒนา ทดสอบ และผลิตเพื่อนำออกมาใช้กับประชากรโลก หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น จีน ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่อีกหลายประเทศควบคุมสถานการณ์ของเชื้อไวรัสในประเทศตัวเองได้ดีพอสมควร ปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้ EIC หรือ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2020 เป็นหดตัวน้อยลงที่ -6.5% จากเดิมคาดว่า -7.8% มูลเหตุมาจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2020 โดยจากข้อมูล GDP ในช่วงไตรมาส 3

Read More

เลขาธิการสภาพัฒน์ เผย GDP ปีหน้าอาจพลิกบวก 4% ย้ำ! วิชาชีพสถาปนิกมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ACT FORUM ’20 Design + Built หรือ งานสภาสถาปนิก ถือเป็นงานด้านสถาปัตยกรรมงานเดียวแห่งปีที่รวบรวมทุกเรื่องราวด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบ และก่อสร้างไว้อย่างครบครัน เริ่มต้นขึ้นแล้ววันนี้ โดยมีกำหนดจัด ระหว่างวันที่ 18-22 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งในพิธีเปิดมีหนึ่งไฮไลต์สำคัญ นั่นคือการกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "สถาปนิกกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564" โดย คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2564 ในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ความหลากหลาย สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้อย่างมาก ส่งผลให้ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ติดลบอยู่ที่ 12.2% เรียกได้ว่าต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ประเมินว่าตัวเลขในไตรมาส

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More

ท่องเที่ยวทรุดส่งออกฟุบ ฉุดเศรษฐกิจไทย ดึง GDP ติดลบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างทำให้หลายฝ่ายคาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2563 อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อีกครั้งในรอบกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤต Hamburger ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริโภคและการลงทุน รวมถึง “การส่งออก” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หดตัวที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดีกว่า” การคาดการณ์ที่หลายฝ่ายประเมินไว้ก่อนหน้านี้ โดยในด้านหนึ่งเป็นผลจากการได้อานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึงร้อยละ 180 แล้ว ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในสัดส่วนสูงทั้งจีน EU สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย หดตัว “น้อยกว่าที่คาด” แม้ว่าการส่งออกของไทยโดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกปี 2563 จะหดตัวเพียงร้อยละ 0.8

Read More