Home > 2018 (Page 6)

ไขความลับ ทำไมจึงอยากอาหาร empty calories

Column: Well – Being คุณคงเคยมีประสบการณ์ที่จู่ๆ อาการอยากน้ำตาลก็เข้าจู่โจมอย่างไม่คาดฝันและไร้ความละเอียดอ่อนสิ้นดี จู่ๆ คุณก็คิดถึงคุกกี้ช็อกโกแลตชิปที่คุณแม่เคยทำให้กิน และอยากขึ้นมาติดหมัดจนไม่นึกถึงอะไรอีกเลย แต่ปัจจัยที่ทรงอิทธิพลสูงสุดคือ ผลของน้ำตาลที่เกิดขึ้นกับระบบชีววิทยาของเรา “เป็นความคิดผิดๆ ที่ว่า เรากินอาหารรสหวานเพราะมันมีรสชาติดี” เดวิด ลุดวิก ศาสตราจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ที. เอช. ชาน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และนายแพทย์ประจำโรงพยาบาลเด็กแห่งบอสตัน อธิบาย “อย่างไรก็ตาม เรากินอาหารรสหวานเหล่านั้น เพราะมันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่ทำให้เรารู้สึกอยากกินอีกด้วย” หนังสือ Prevention Guide เสนอบทความว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเชื่อในสายใยอันซับซ้อนระหว่างแรงกระตุ้น ความจำ อิทธิพลทางวัฒนธรรม และฮอร์โมน ที่เป็นสาเหตุให้เราอยากอาหารที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสเฉพาะตัว นอกจากนี้ ยีนที่สืบทอดมาก็มีบทบาทเช่นกัน ผลการศึกษาของเดนมาร์กพบว่า ในสองตัวแปรของยีนตัวหนึ่ง ผู้ที่มีตัวแปรเพียงหนึ่งในสองตัวแปรนี้มีแนวโน้มจะโปรดปรานอาหารรสหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีตัวแปรเลย แต่ไม่มีมติที่เป็นเอกฉันท์ว่า แต่ละปัจจัยมีความสำคัญอย่างไร สิ่งหนึ่งที่เรารู้กันเกี่ยวกับว่า ทำไมอาหารบางชนิดจึงทำให้คุณรู้สึกอยากกินได้เหมือนๆ กัน เป็นเพราะเมื่อสมองตรวจพบน้ำตาลโปรตีน หรือไขมันแล้ว สมองจะหลั่งสัญญาณการได้รับรางวัลออกมา “มีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการหลายประการที่สารอาหารหลักเหล่านี้ทำให้ทุกคนต่างอยากกินเหมือนกัน เพราะสารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์นั่นเอง” มาร์เซีย เพลแชท นักวิจัยด้านความอยากอาหารผู้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณแห่งศูนย์ประสาทสัมผัสทางเคมีโมเนลล์ อธิบาย

Read More

สัญญาณส่งออกหดตัว ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางความอึมครึมของสงครามการค้าระหว่าง 2 มหาอำนาจระดับนำทั้งสหรัฐอเมริกาและจีน ที่กำลังส่งผ่านคลื่นแห่งความกังวลใจและพร้อมจะฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ดูเหมือนว่าดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจไทยในช่วงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีได้แสดงอาการอ่อนไหวและตอบรับ “ภาวะซึมไข้” แล้วอย่างช้าๆ แนวโน้มแห่งอาการซึมไข้ทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ปรากฏให้เห็นเฉพาะจากตัวเลขในไตรมาสที่ 3 เท่านั้นหากนักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าห้วงเวลานับจากนี้ เศรษฐกิจของไทยกำลังดำเนินไปในทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องทั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งท้ายปี และส่งผลซบเซาเลยไปสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2562 อีกด้วย ข้อมูลที่นำไปสู่การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในเชิงลบส่วนหนึ่งตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 5.2 ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 19 เดือน โดยมีประเด็นว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักในการกดทับภาวการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยประเมินว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าส่งออกที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีน ขณะเดียวกันก็อาจได้รับผลจากทิศทางการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนอีกด้วย ความเป็นไปในอีกด้านหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ขยายตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 แม้ว่าผลของการเร่งการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2/2561 มาช่วยประคองภาพรวมของการส่งออกในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังคงขยายตัวร้อยละ 11.2 โดยเฉพาะการเร่งส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งช่วยประคับประคองเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3/2561 ให้ยังเติบโตได้ร้อยละ 6.5 หากแต่ท่ามกลางประเด็นข้อพิพาททางการค้าที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับการบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2/2561 ส่งผลให้การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส

Read More

การท่องเที่ยวทรุด ฉุดเศรษฐกิจไทยร่วง?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าฟันเฟืองที่ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้นั้นมีอยู่เพียงไม่กี่อย่าง เช่น การส่งออก และการท่องเที่ยว และหลายครั้งที่สถานการณ์ทำให้เราประจักษ์ชัดว่าการท่องเที่ยวของไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อรากฐานทางเศรษฐกิจในทุกระดับ ทุกๆ ภาครัฐและเอกชนของไทยจะตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวว่าในแต่ละปีจะต้องมีรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวเท่าไหร่ รวมไปถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยและบทสรุปทั้งเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ในแต่ละปีที่ออกมามักสูงกว่าเป้าหมายที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ทว่า ในปีนี้โดยเฉพาะห้วงเวลานี้กลับแตกต่างออกไปทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวลดจำนวนลงแม้จะยังไม่ใช่จำนวนที่มากมายนัก แต่กลับสร้างความตระหนกให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์ ธุรกิจรถทัวร์ เรือนำเที่ยว หรือธุรกิจอื่นที่ล้วนแต่อยู่ในห่วงโซ่ย่อมได้รับผลกระทบแห่งระลอกคลื่นนี้เช่นกัน เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนกันยายน 2561 ว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 2,655,562 คน โดยจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมากที่สุด 1,948,414 คน รองลงมา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ อเมริกา ตะวันออกกลาง โอเชียเนีย และแอฟริกา ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัว 2.13 เปอร์เซ็นต์ กระนั้นอัตราการขยายตัวดังกล่าว เป็นการขยายตัวในทิศทางที่ลดลง 0.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงมีทั้งเรื่องของฤดูกาล ที่เป็นช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่หลายคนกำลังจับตาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง คือ ความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว โศกนาฏกรรมเรือฟินิกซ์ล่มที่จังหวัดภูเก็ต ดูจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อเหตุการณ์ครั้งนั้นมีนักท่องเที่ยวจีนเสียชีวิตมากถึง 47 ราย

Read More

ชีวิตหลังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ

Column: women in wonderland ทุกปีจะมีการประกาศรางวัลโนเบล หรือ Nobel Prize ให้กับผู้ที่มีผลงานโดดเด่น มีความเชี่ยวชาญ หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติในด้านต่างๆ โดยรางวัลโนเบลจะแบ่งออกเป็น 6 สาขาด้วยกัน คือ สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผู้ที่จะได้รับรางวัลในแต่ละสาขาอาจเป็นบุคคลที่มีผลงานเดี่ยว ผลงานคู่ หรือทำงานเป็นทีมก็ได้ โดยทีมหนึ่งมีได้สูงสุดแค่ 3 คนเท่านั้น และผู้ที่ได้รับรางวัลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเสมอไป อาจจะเป็นองค์กรก็ได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross หรือเรียกสั้นๆ ว่า ICRC) ก็เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในขณะเดียวกัน ถ้าในปีนั้นคณะกรรมการไม่สามารถหาบุคคลเหมาะสมที่ควรจะได้รับรางวัลในสาขานั้นๆ ก็จะไม่มีการมอบรางวัล ปี 2018 รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประกาศชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนจะขึ้นรับรางวัลพร้อมกันในวันที่

Read More

เมเจอร์ฯ พลิกเกมใหม่ เจาะอีสปอร์ตชิงหมื่นล้าน

ข้อมูลจากอินเทลคอร์ปอเรชั่นระบุว่า ประชากรทั่วโลก 7,700 ล้านคน มีคนเล่นเกมถึง 2,000 ล้านคน ซึ่ง 1 ใน 3 จะเล่นเกมผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือผ่านคอนโซลแพลตฟอร์ม ขณะที่ประเทศไทยมีประชากร 68 ล้านคน อย่างน้อย 1 ใน 3 ของประชากร หรือเกือบ 40% นิยมเล่นเกมผ่านคอมพิวเตอร์พีซี และอัตราการเข้าชมอีสปอร์ตในไทยจากปี 2560-2564 แนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% จากปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมในไทยติด 1 ใน 20 ประเทศที่มีรายได้จากเกมมากที่สุดในโลก ขณะที่บริษัท ทรู แอกซิออน อินเตอร์แอคทีฟ ระบุว่า ปี 2560 ตลาดเกมทั่วโลก มีรายได้ 121,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 ล้านล้านบาท ทิ้งห่างรายได้ของอุตสาหกรรมเพลงและภาพยนตร์รวมกัน และปี 2561 คาดว่าตลาดเกมจะสร้างรายได้สูงถึง

Read More

“วิชา” ซุ่มเจน 2 ลุยสมรภูมิปีหน้า

ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา วิชา พูลวรลักษณ์ เจ้าของอาณาจักรไลฟ์สไตล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ครบวงจร “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” กำลังซุ่มถ่ายทอดวิทยายุทธ์ต่างๆ ให้ 2 หนุ่ม ทายาทรุ่นที่ 2 “วิศรุต-วิชญะ” โดยเฉพาะวิศรุตเริ่มเข้ามาเรียนรู้งานบริหาร ทั้งธุรกิจหลัก “โรงภาพยนตร์” และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกลุ่ม Non-Movie ซึ่งเป็นส่วนที่หมายมั่นเร่งขยายอย่างรวดเร็ว เพื่อเสริมจุดขายและจุดแข็งในฐานะผู้นำตลาด ยึดครองส่วนแบ่งมากกว่า 70% ล่าสุด ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนทั้งหมด วิชาวางกำหนดเวลาเปิดตัว “วิศรุต” ผู้บริหารหนุ่ม ดีกรีปริญญาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างเป็นทางการภายในสิ้นปีนี้ ก่อนลุยสมรภูมิการแข่งขันเต็มรูปแบบในปี 2562 “คุณวิศรุตยังไม่อยากเปิดตัวในฐานะผู้บริหารเมเจอร์ฯ กับสื่อ เพราะยังเป็นช่วงเรียนรู้งานต่างๆ และออกงานอีเวนต์ต่างๆ ซึ่งเท่าที่พูดคุยกัน คุณวิศรุตจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการประมาณสิ้นปีนี้” แหล่งข่าวใกล้ชิดวิชากล่าว ขณะเดียวกัน แผนการเปิดตัวทายาทรุ่นที่ 2 ยังต้องเตรียมการด้านการจัดสรรหุ้นต่างๆ เพื่อเพิ่มอำนาจการบริหารอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป

Read More

เร่งเครื่อง MAJOR 5.0 จัดเต็มไลฟ์สไตล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์

หลังเปิดตัวโรงภาพยนตร์เด็กแห่งแรกในเมืองไทยได้ไม่กี่เดือน ล่าสุด เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เดินหน้ากลยุทธ์เติมเต็มความเป็นไลฟ์สไตล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ครบวงจร เพื่อสร้างโรงหนังที่เป็นมากกว่าโรงหนัง เผยโฉมโรงภาพยนตร์อีสปอร์ตแห่งแรกภายใต้ชื่อ Dell Gaming Esports Cinema และที่สำคัญยังซุ่มเตรียมแผนผุดโปรเจกต์ใหม่อย่างน้อยอีก 1 โครงการภายในสิ้นปีนี้ด้วย แน่นอนว่า ในช่วง 2 ทศวรรษแรก วิชา พูลวรลักษณ์ ฟันฝ่าต่อจิ๊กซอว์สร้างอาณาจักรธุรกิจเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ประกอบด้วยธุรกิจโรงภาพยนตร์ ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และลานสเกตน้ำแข็ง สื่อโฆษณา มีพื้นที่ให้เช่าและบริการรวมถึงสื่อภาพยนตร์ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านธุรกิจไลฟ์สไตล์เอนเตอร์เทนเมนต์ครบวงจรในประเทศไทย และเวลานี้กำลังลุยสมรภูมิธุรกิจทศวรรษที่ 3 ประกาศวิสัยทัศน์ “MAJOR 5.0” แข่งขันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะวิดีโอสตรีมมิ่ง (Video Streaming) ที่กำลังมาแรงจนหลายฝ่ายเริ่มหวั่นวิตกว่าจะทำให้ธุรกิจโรงหนังเจอวิกฤตใหญ่อีกครั้ง เพราะวิดีโอสตรีมมิ่งเป็นระบบการนำข้อมูลในรูปแบบภาพและเสียงส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันเกิดธุรกิจผู้ให้บริการ Video Streaming หลายค่ายใหญ่ เช่น Netflix, iflix, Amazon Prime ทั้งแบบฟรีและคิดค่าบริการแบบรายเดือน โดยผู้ชมสามารถรับชมวิดีโอหรือเพลงบนคอมพิวเตอร์หรือมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา อย่าง

Read More

มาตรการใหม่แบงก์ชาติ สัญญาณเตือน “ฟองสบู่อสังหาฯ”

สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทยกำลังมีประเด็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองไม่น้อย ทั้งจากฝั่งของผู้ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย นักเก็งกำไร และผู้ประกอบการอสังหาฯ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมประกาศใช้มาตรการ Loan to Value (LTV) คือการลดวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าที่อยู่อาศัยลง เพื่อหวังจะคัดกรองคุณภาพของลูกหนี้ และป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น เหตุผลของการพิจารณาประกาศใช้มาตรการ LTV ของ ธปท. น่าจะมาจากอัตราการเติบโตของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งแนวตั้งและแนวราบที่มีผู้ประกอบการหน้าเก่าและหน้าใหม่ประกาศเปิดตัวโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ชวนให้แปลกใจแต่อย่างใด ที่จะมีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อนักลงทุนกระโจนเข้ามาเล่นในตลาดนี้ เพื่อหวังจะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เมื่อมูลค่าการซื้อขายอสังหาฯ ในไทยปี 2560 มีมูลค่าสูงถึง 576,396 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผู้ซื้อชาวไทย 80 เปอร์เซ็นต์ และผู้ซื้อชาวต่างชาติ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มีส่วนให้การเติบโตของโครงการที่อยู่อาศัยมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม นั่นคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจากในเมืองหลวงสู่รอบนอก ทำให้บรรดาผู้ประกอบการต่างกว้านซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ด้วยระยะเวลาการก่อสร้างเพียงไม่นาน ที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมผุดขึ้นราวดอกเห็ดหน้าฝน ทั้งนี้เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่แบงก์ชาติเตรียมจะประกาศใช้ใหม่ ในกรณีการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป ต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าหลักประกัน โดยเงื่อนไขเดิมสำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่

Read More

ส่องเทศกาลกินเจ 2561 สะท้อนทิศทางเศรษฐกิจไทย

เทศกาลถือศีลกินเจเวียนมาถึงอีกครั้ง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่มีความเห็นต่าง โดยฝั่งรัฐบาลมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2561 ส่งสัญญาณดีขึ้น มองเห็นการฟื้นตัว ประกอบกับการลงทุนภาครัฐที่ขยายวงกว้างมากขึ้น หากจะมองเช่นนั้นคงไม่ผิดนัก เมื่อพิจารณาจากโครงการที่ภาครัฐลงทุนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน อันจะนำมาซึ่งการลงทุนของภาคเอกชน ขณะที่ภาคประชาชนกลับเห็นต่างออกไป ซึ่งสะท้อนออกมาทางผลสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และแม้ว่าตัวเลขความเชื่อมั่นจะลดลงไปเพียงเล็กน้อย แต่นั่นหมายถึงสัญญาณบางอย่างที่ภาครัฐไม่ควรเพิกเฉย โดยผลสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วงเดือนกันยายน 2561 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้อำนาจซื้อลดน้อยลง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังมีราคาต่ำ นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยลดน้อยลง และสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อในปัจจุบันชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน ลดลงจากระดับ 70.2 ในเดือนที่ผ่านมาสู่ระดับ 69.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (ใน 6 เดือนข้างหน้า) ของเดือนกันยายน 2561 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.3 มาอยู่ที่ระดับ 87.2 แม้ว่าส่วนหนึ่งของปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ กระนั้นยังมีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นและกลายเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยได้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ซึ่งถึงเวลานี้คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการเรียกความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวอีกพอสมควร ขณะที่เทศกาลกินเจปี 2561 มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินที่จะสะพัดในช่วงนี้ทั้งจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย โดยด้านหอการค้าไทยเปิดเผยว่า เทศกาลกินเจปีนี้ น่าจะมีเงินสะพัดมูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท นับเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

Read More

วิชัย มาลีนนท์ หนึ่งในตำนานโทรทัศน์ไทย

ข่าวการถึงแก่กรรมของ วิชัย มาลีนนท์ ในวัย 99 ปี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะนำมาซึ่งความรู้สึกแห่งความสูญเสียโศกเศร้าให้กับบุคคลในครอบครัวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทั้ง “มาลีนนท์” และกลุ่มบริษัท บีอีซีเวิลด์ (BEC) หรือไทยทีวีสีช่อง 3 แล้ว หากแต่ในอีกมิติหนึ่งเรื่องราวและประวัติความเป็นมาเป็นไปของ วิชัย มาลีนนท์ ในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดและก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ที่กลายมาเป็นอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทในปัจจุบัน กลับอุดมด้วยสีสันและสะท้อนจังหวะก้าวที่พร้อมเป็นบทเรียนให้กับธุรกิจสังคมไทยได้ย้อนพินิจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เนื่องเพราะรอยทางแห่งการสร้างอาณาจักรธุรกิจโทรทัศน์ช่อง 3 ของวิชัย และ มาลีนนท์ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่ดำเนินไปท่ามกลางช่วงเวลาหนักหน่วง ที่มีทั้งล้มลุกคลุกคลาน ถึงขั้นที่เกือบล้มละลายก่อนที่จะขยับขึ้นก้าวสู่เป็นสถานีโทรทัศน์ชั้นนำและฉลองการก่อตั้งปีที่ 48 ไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประวัติชีวิตบนเส้นทางธุรกิจของวิชัย อุดมด้วยสีสันและเรื่องราวกล่าวขานมากมาย นับตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่อายุ 17 ปี ด้วยธุรกิจการให้บริการรถโดยสารระหว่างเมืองใน 2 เส้นทาง จากกรุงเทพฯ ถึงสระบุรี และกรุงเทพฯ สู่ชลบุรี มาจนถึงการขยายธุรกิจไปสู่โรงแรมด้วยการดัดแปลงห้องแถวย่านหัวลำโพงให้เป็นโรงแรมที่พักในนาม “โรงแรมตงฮั้ว” พร้อมกับการขยายไปสู่ธุรกิจขายของชำในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ธุรกิจที่เฟื่องฟูและได้รับความนิยมในกระแสสูงอยู่ที่ธุรกิจการส่งเงินจากคนจีนโพ้นทะเลกลับสู่แผ่นดินใหญ่หรือโพยก๊วน ซึ่งวิชัยก็เป็นส่วนหนึ่งของนักธุรกิจยุคบุกเบิกที่หวังจะสร้างความมั่งคั่งจากธุรกรรมนี้ หากแต่ด้วยปัญหาความไม่แน่นอนของค่าเงิน ทำให้วิชัยดำเนินธุรกิจนี้ได้เพียง

Read More