Home > Cover Story (Page 9)

ช้างน้อย-ฟูอาดี้ ฉายภาพอุตสาหกรรมกาแฟไทย ผ่านงานเทศกาลกาแฟ 2024

ตลาดกาแฟไทย เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีทิศทางการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลทางการตลาดระดับโลก อย่าง Euromonitor International รายงานมูลค่าตลาดกาแฟไทย พบว่ากาแฟเป็นสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมูลค่าตลาดกาแฟไทยในช่วงระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2566 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.55 ต่อปี ล่าสุดปี 2566 มีมูลค่าตลาด 34,470.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.34 (ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 9.78) และเมื่อพิจารณายอดขายตามประเภทกาแฟ ในปี 2566 พบว่ากาแฟสำเร็จรูปมีมูลค่าตลาดสูงถึง 28,951.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของมูลค่าตลาดกาแฟในประเทศ และกาแฟสดมีมูลค่าตลาด 5,519.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงาน สภาพอากาศที่ร้อนของไทย และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกในการบริโภคเครื่องดื่ม จากตัวเลขมูลค่าตลาดกาแฟในปีที่ผ่านมาที่สูงกว่า 3 หมื่นล้านบาท แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีการบริโภคกาแฟกันมากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นการการันตีการขยายตัวนี้คือ การเพิ่มขึ้นของร้านกาแฟทั้งเชนจากต่างประเทศและร้านกาแฟแบบธุรกิจท้องถิ่น “ปัจจุบันคนไทยดื่มกาแฟ 300 แก้วต่อคนต่อปี

Read More

ถอดความสำเร็จ “เกตเวย์” โรงงาน RE100 กับหญิงแกร่งแห่งยูนิลีเวอร์ “พนิตนาถ จำรัสพันธุ์”

ยูนิลีเวอร์ถือเป็นหนึ่งในบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งมาแล้วกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานถึง 280 แห่งทั่วโลก มีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายใน 190 ประเทศ ภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากกว่า 200 แบรนด์ ปีที่ผ่านมาสร้างยอดขายไปได้ 60,000 ล้านยูโร โดยประชากรโลกราว 3,400 ล้านคน ใช้ผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ในทุกๆ วัน สำหรับในไทย ยูนิลีเวอร์เข้ามาประกอบกิจการกว่า 90 ปี และครองตำแหน่งผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเบอร์หนึ่งของประเทศเช่นกัน มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 7  แห่ง และมีประเภทของผลิตภัณฑ์มากกว่า 2,000 ชนิด โดย 25 ล้านครัวเรือนในประเทศไทยใช้ผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์เฉลี่ย 3 ครั้งต่อวัน นอกจากตัวเลขทางธุรกิจที่มักปรากฏตามหน้าสื่ออย่างข้อมูลข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ควบคู่กับการทำธุรกิจและเป็นสิ่งที่ยูนิลีเวอร์พยายามนำเสนอมาตลอดระยะหลังมานี้ นั่นคือการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนกับการตั้งเป้าปลดปล่อยมลพิษจากกระบวนการผลิตให้เป็น “ศูนย์” ภายในปี พ.ศ. 2582 โดยยูนิลีเวอร์ได้เดินเครื่องเรื่องความยั่งยืนตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวสำคัญจากยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ที่ออกมาประกาศความสำเร็จด้านความยั่งยืนไปอีกขั้น กับการก้าวสู่การเป็นโรงงานพลังงานหมุนเวียน 100% (RE100) 

Read More

“วรยุทธ กิตติอุดม” รุ่น 3 RK เจ้าถิ่นอสังหาฯ โซนกรุงเทพฯ ตะวันออก

“ตอนเด็กๆ คุณปู่กับคุณพ่อมักจะพาผมไปที่ไซต์งานก่อสร้างเสมอ งานแรกที่ท่านให้ทำคือถอนตะปูออกจากไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง เอาค้อนกับหมวกมาให้ใบหนึ่ง แล้วก็ไปนั่งถอนตะปู ตะปูที่ถอนออกมาก็เอามาตีให้ตรงเพื่อนำไปใช้ใหม่ เรียงไม้ ขนทราย เราคลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เด็กๆ” วรยุทธ กิตติอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีเนกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงจุดเริ่มต้นในวัยเด็กกับสายอาชีพนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีผู้เล่นในตลาดมากหน้าหลายตา แตกต่างกันไปตามขนาด ความเชี่ยวชาญ และโซนพื้นที่ ซึ่งในบรรดาผู้เล่นที่มีมากมาย ชื่อ “วรยุทธ กิตติอุดม” ถือเป็นหนึ่งในนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ที่น่าจับตา ในฐานะทายาทรุ่น 3 ของบริษัท รุ่งกิจ เรียลเอสเตท จำกัด (RK) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าถิ่นย่านกรุงเทพฯ ตะวันออก ที่กำลังต่อยอดธุรกิจของครอบครัวสู่การปั้นแบรนด์ใหม่ โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ (mai) ภายใต้บริษัท ซีเนกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด วรยุทธเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาถึงวันนี้ให้ฟังว่า จุดกำเนิดมาจากยุคของผู้เป็นปู่ “รักษ์ กิตติอุดม” ที่เริ่มต้นจากการทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในชื่อบริษัท รักษ์สุนทรก่อสร้าง

Read More

เอ็กซ์เซล พันธุ์ทิพย์ ฟีนิกซ์ 40 ปี เกมเขย่าภาพลักษณ์

“ก็เพราะว่าฉันในช่วงนี้ งานมันยุ่ง มันยุ่งเป็นบ้า เลยไม่ค่อยมีเวล่ำเวลาจะพาเธอออกไปเที่ยวเลย เลยว่าจะพาเธอไปเดอะมอลล์แล้วไปต่อกันที่เซ็นทรัล ไปเอ็มโพเรียมก็ไปกัน แค่มีเธอกับฉันก็พอ แต่ไม่ไปพันธ์ทิพย์ แต่ไม่ไปพันธ์ทิพย์แน่นอน อย่าไปเลยนะขอวอน คราวก่อนก็เคยพูดคุยว่าจะไม่ไปพันธ์ทิพย์ จะไม่ไปพันธ์ทิพย์แน่เลย ไม่อยากเจอคนที่เคยหักอกกัน เปิดร้านอยู่ที่พันธ์ทิพย์....” ท่อนหนึ่งของเพลง “พันธ์ทิพย์” ในอัลบั้ม “โลโซ ปกแดง” เพลงฮิตช่วงปี 2544 ซึ่งเสกสรรค์ ศุขพิมาย หรือ เสก โลโซ เคยเล่าถึงที่มาที่ไปเริ่มต้นเมื่อ อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม บิ๊กบอสแกรมมี่ เดินเข้ามาบอกให้ทำอัลบั้มใหม่ หลังออกชุดโลโซแลนด์ไปได้ไม่กี่เดือน แต่ยอดขายน้อยผิดปกติ เพราะเจอเทปผีซีดีปลอมออกมาเยอะมาก ครั้งนั้น เสกยังเสนอให้ลดราคาซีดีจาก 250 บาท เหลือ 155 บาท โดย “ปกแดง” คือ อัลบั้มแรกของประเทศไทยที่ขายในราคาแผ่นละ 155 บาท เพราะต้องการเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งอัลบั้มนี้มีเพลงโดนใจใครหลายคนและฮิตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ “พันธ์ทิพย์” ไม่ใช่แค่ทำนองสนุก ๆ

Read More

เจาะอินฟลูเอนเซอร์ 4 หมื่นล้าน แข่งเดือดสู้พิษเศรษฐกิจ-ตัดงบ

แม้ตลาดอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ย 20-25% ติดต่อกัน 4 ปีแล้ว รายได้ดี ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ไม่ต้องทำประจำ จนเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน แต่วงการนี้นับวันยิ่งยากและแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจย่ำแย่ บริษัทนับพันรายจ่อปิดตัว ผู้ประกอบการตัดลดงบโฆษณา สุวิตา จรัญวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) หนึ่งในผู้นำด้านอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์ม กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า ตลาดอินฟลูเอนเซอร่ใกล้ถึงจุดพีกและรายได้ต่อหัวเริ่มน้อยลงกว่าเดิม หลังผ่านยุคเฟ้อช่วงปี 2565 ซึ่งอัตราราคาเฟ้อมาก แพงมาก โดยหลังจากนี้ภาพรวมตลาดจะไม่ได้เติบโตเหมือน 4 ปีที่ผ่านมา อาจย่อตัวลงมาที่ 20% ต้องดูปัจจัยต่างๆ ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจไทย แต่มั่นใจไม่ต่ำกว่า 20% อย่างไรก็ตาม หากสำรวจรายได้ของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์มาจากหลายช่องทาง ได้แก่ รายได้จากแบรนด์และเอเจนซี (Pay per

Read More

สุวิตา จรัญวงศ์ ลุยภารกิจ ดัน “เทลสกอร์” เบอร์ 1 อินฟลูเอนเซอร์

สุวิตา จรัญวงศ์ นักการตลาดสาวลูกครึ่ง ไทย-เยอรมัน อยู่ในวงการ Digital Marketing มานานมากกว่า 20 ปี เห็นการเปลี่ยนแปลงและโอกาสทองตั้งแต่ยังไม่มีใครเรียก Influencer Marketing  รีบจับมาเป็นธุรกิจ เขียนซอฟต์แวร์ตั้งแต่ปี 2548 เพราะมองกลยุทธ์การใช้ดารา นางแบบ นักกีฬา มาเป็นพรีเซนเตอร์สินค้า ไม่รู้ได้อะไรชัดเจน นอกจากภาพข่าวสวยๆ ลงหน้าข่าว อย่างไรก็ตาม Passion การบุกเบิกและปลุกปั้นแพลตฟอร์มใหม่ต้องใช้เวลาหลายปี พิสูจน์ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเองกับมือ กว่าจะได้ผลลัพธ์ชัดเจนและเห็นช่องทางทำรายได้ จนตัดสินใจจับมือกับเพื่อนเปิดบริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มบริหารจัดการอินฟลูเอนเซอร์รายแรกของไทย “สื่อโซเชียลมีเดียมาแรงตั้งแต่บริษัท แอปเปิล เปิดตัวไอโฟนรุ่นแรกเมื่อปี 2550 เกิดกระแสการใช้งานโซเชียลอย่างแพร่หลาย Facebook บูมในประเทศไทยแล้ว เกิดเน็ตไอดอลในวงการตลาด ก่อนมาถึงยุคบล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์และครีเอเตอร์ แต่เน็ตไอดอลมักมีภาพลักษณ์ วับๆ แวมๆ จึงไม่ใช่คำที่นักการตลาดปลื้มมากนัก จนเกิดอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมาพร้อมกับคำว่า อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง

Read More

กลุ่มเจริญทุ่ม Phenix เดิมพันเม็ดเงินหมื่นล้าน

ในที่สุด กลุ่มตระกูลสิริวัฒนภักดี ภายใต้บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์เปิดโครงการ Phenix (ฟีนิกซ์) ศูนย์กลางด้านอาหารครบวงจรระดับโลกบนพื้นที่ยุทธศาสตร์ย่านประตูน้ำอย่างยิ่งใหญ่ หลังตัดสินใจปิด “พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ” เปลี่ยนเกมปลุกปั้นค้าปลีกค้าส่งโมเดลใหม่ผ่านแพลตฟอร์มออฟไลน์และออนไลน์ (OMNI Channels) โดยรอบนี้เดิมพันเงินทุนลงไปมากกว่า 10,000 ล้านบาท ต้องยอมรับว่า ทีซีซีกรุ๊ป ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ใช้เวลาฝ่ามรสุมหลายลูกนับตั้งแต่ซื้อกิจการห้างเอ็กซ์เซล (Excel) จากกลุ่มบุนนาค มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อปี 2531 ก่อนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “พันธุ์ทิพย์พลาซ่า” ในปี 2540 ยกเครื่องใหญ่ทั้งภาพลักษณ์และรูปแบบจากห้างสรรพสินค้าทั่วไปเป็นศูนย์กลางสินค้าไอทีที่ใหญ่ที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย เวลานั้นพันธุ์ทิพย์พลาซ่าประสบความสำเร็จมากจนมีห้างไอทีศูนย์รวมร้านค้าคอมพิวเตอร์ผุดขึ้นมากมาย และเป็นช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้ทีซีซีกรุ๊ปต้องปรับจุดขายสร้าง “เทคไลฟ์ มอลล์” เพิ่มความหลากหลาย เพื่อขยายฐานลูกค้า พร้อมๆ กับภาพลักษณ์อาคารให้ทันสมัย ปี 2559 บริษัทเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่อีกครั้ง ชูไอเดีย “Pantip e-Sport Arena”

Read More

มาเก๊า ลบภาพจำเมืองกาสิโน สร้างเสน่ห์เมืองท่องเที่ยว

หากย้อนกลับไปในปี 2559 นับตั้งแต่รัฐบาลมาเก๊าประกาศแผนแม่บทพลิกโฉมธุรกิจท่องเที่ยวครั้งใหญ่ เพื่อเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจท่องเที่ยวให้มาเก๊าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการพักผ่อนของโลก โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในปี 2563 ความพยายามที่จะเปลี่ยนภาพจำของมาเก๊า ที่คนส่วนใหญ่รู้จักว่าเป็นแหล่งเกมการพนัน ถูกผลักดันอย่างต่อเนื่องนับแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าปัจจุบันจะไม่อาจเปลี่ยนหรือลบออกไปได้หมด เพราะนั่นคือจุดแข็งด้านเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ของมาเก๊า และเป็นแหล่งที่มารายได้หลัก แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อยๆ เกิดขึ้นคือ เสน่ห์ของเมืองมาเก๊าที่มีอะไรมากกว่าเมืองแห่งเกม ซึ่งภาครัฐของมาเก๊าพยายามชูเป็นจุดขายใหม่ เป้าหมายการแปลงโฉมธุรกิจท่องเที่ยว ทำให้เห็นการเดินสายจัดโรดโชว์โดยสำนักงานการท่องเที่ยวรัฐบาลมาเก๊าอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในไทย พร้อมชูจุดขายใหม่ของมาเก๊าที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น สถานที่ท่องเที่ยวที่มีสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากยุโรป ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออก โดยยูเนสโกประกาศให้มาเก๊าเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 2548 แม้ว่านักท่องเที่ยวจากจีนจะเป็นนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ของมาเก๊า ทว่าภาครัฐของมาเก๊าให้ความสำคัญต่อตลาดท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อย นี่เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ฉายภาพการมองสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและโลกได้เป็นอย่างดี มาเรีย เฮเลน่า เดอ เซนน่า เฟอร์นานเดซ ผู้ว่าการท่องเที่ยวมาเก๊า บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า “เราให้ความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปีนี้การท่องเที่ยวมาเก๊าจัดโรดโชว์ยังประเทศต่างๆ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย โดยนำ 6 กลุ่มโรงแรมรีสอร์ตครบวงจร (Intergrated

Read More

พรรณวลัย อินทราพิเชษฐ ผอ. การตลาดซัมซุง กับแนวคิดเพื่อสังคมยุคดิจิทัล

เป็นอีกหนึ่งนักการตลาดที่ยังคงมุ่งหาความท้าทายใหม่ๆ ให้ตัวเอง โดยไม่จำกัดอยู่ในกรอบของงานสายใดสายหนึ่ง “แจ๊ด พรรณวลัย อินทราพิเชษฐ” คือนักการตลาดที่ใช้เวลาเดินทางอยู่ในแวดวงนี้มายาวนาน 25 ปี หลังสะสมประสบการณ์การทำงานในสายแบงก์ วันนี้ พรรณวลัย ก้าวสู่ความท้าทายครั้งใหญ่ด้วยการรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด แม้จะมีความแตกต่างระหว่างการทำงานสายงานธนาคาร กับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค แต่คุณแจ๊ด กลับมองว่า แม้จะคนละสายงาน แต่ “การสื่อสารการตลาด ต้องชัดเจน และน่าเชื่อถือ” “ตอนทำงานกับธนาคาร ด้วยความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ จำเป็นที่จะต้องใช้การสื่อสารที่มีความชัดเจน ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นระหว่างลูกค้ากับธนาคาร เราอาจจะใส่ลูกเล่นในการสื่อสารได้น้อยกว่า ขณะที่การทำงานในบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราอาจเพิ่มกิมมิกให้สื่อที่ส่งออกไปมีความสดใส เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ” ความเหมือนที่แตกต่าง ของ Customer Experience “ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการธนาคาร หรือองค์กรเอกชน ผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค แม้ว่าสินค้าและบริการจะมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ Customer Experience ซึ่งธนาคารนั้นมี Customer Experience เยอะมาก ไม่ว่าลูกค้าจะใช้บริการที่สาขา โทรศัพท์เข้าคอลเซ็นเตอร์

Read More

UOB Sustainability Compass บทบาทของสถาบันการเงินกับความยั่งยืน

นาทีนี้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดไหนก็ตาม ต่างต้องเร่งปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจสีเขียวที่ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์โลกที่บีบรัดเข้ามาเรื่อยๆ และเพื่อสร้างจุดแข็งสำหรับการแข่งขันในตลาด แต่แน่นอนว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ทั้งความมุ่งมั่น ข้อมูลที่เพียงพอ และการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐในฐานะผู้รับผิดชอบด้านกฎระเบียบและมาตรการสนับสนุนเชิงนโยบายต่างๆ และสถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน จำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่ผ่านมาสถาบันการเงินต่างออกมาเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนกันมากขึ้น ที่เห็นกันบ่อยๆ คือ การปล่อยสินเชื่อสีเขียวสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องการ Go Green อย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กับสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนธุรกิจ (Sustainable financing for SME) สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ต้องการสินเชื่อเพื่อพัฒนาในด้านการประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และจัดการธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม วงเงินรวมสูงสุด 50 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อโลกเพื่อเรา (Green Forward) สินเชื่อสำหรับผู้ผลิต ผู้ขายและผู้ใช้ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน, ป้องกันและควบคุมมลพิษ, ธุรกิจจัดหาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการผลิตหรือการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วงเงินรวมสูงสุด 50 ล้านบาท รวมถึงการผนึกกำลังกับ SCG ตั้งโมเดลให้บริการด้าน Green Finance แบบครบวงจร ตั้งแต่ออกแบบโครงการจนถึงการยื่นขอสินเชื่อ เจาะกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับอาคารสู่ Net Zero

Read More