Home > Cover Story (Page 10)

เจาะพอร์ตโฟลิโอ ‘KCG Corporation’ เจ้าของแบรนด์คุกกี้กล่องแดงในตำนาน

หากเอ่ยชื่อ “KCG Corporation” อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูมากนัก แต่ถ้าพูดถึงแครกเกอร์โรซี่ เนยและชีสอลาวรี่ น้ำส้มซันควิก รวมถึงคุกกี้กล่องแดงในตำนานของขวัญสุดฮิตในช่วงเทศกาลปีใหม่อย่าง “อิมพีเรียล” แล้วล่ะก็ เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยซื้อรับประทานและรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งแบรนด์ต่างๆ ข้างต้น ล้วนเป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้การผลิตและนำเข้าของ KCG Corporation ทั้งสิ้น บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KCG Corporation-KCG ถือเป็นผู้ผลิตและนำเข้าอาหารรายใหญ่ของไทยที่อยู่ในตลาดมานานถึง 66 ปี และที่สำคัญยังสามารถสร้างรายได้ต่อปีได้ในระดับหลายพันล้านบาท ที่ผ่านมาชื่อของ KCG มักไม่ค่อยปรากฏในหน้าสื่อมากนัก แต่ภายหลังการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทำการซื้อขายหลักทรัพย์ครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 “KCG” เริ่มมีความเคลื่อนไหวให้ตลาดได้เห็นมากขึ้น จาก ‘กิมจั๊วพาณิชย์’ สู่ ‘เคซีจี คอร์ปอเรชั่น’ KCG มีจุดกำเนิดมาจากธุรกิจครอบครัวในชื่อ ‘ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิมจั๊วพาณิชย์’ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2501 โดย ‘ตง ธีระนุสรณ์กิจ’

Read More

แฟชั่นทรงพลัง T-shirt  พลิกเสื้อชั้นในยุคอียิปต์

เล่ากันว่า T-shirt หรือ tee shirt เสื้อยืดธรรมดา ธรรมดา แต่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและวิวัฒนาการเรื่อยมาจากเสื้อชั้นในยุคอียิปต์โบราณ จนกระทั่งยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารอเมริกันสังเกตทหารยุโรปนิยมใส่เสื้อชั้นในจากผ้าฝ้ายบางเบาแบบชิ้นเดียวปกปิดทั้งร่างกายส่วนบนและล่าง เรียกว่าชุดยูเนียน ขณะที่ตัวเองเหงื่อชุ่มกับชุดชั้นในจากขนสัตว์ ต่อมา กองทัพเรือสหรัฐฯ นำชุดชั้นในมาตรฐานมาดีไซน์เป็นเสื้อแขนสั้นคอกลมไม่มีกระดุม ใช้ผ้าฝ้าย ซึ่งสะดวกสบายขึ้นและเริ่มได้รับความนิยมในหมู่ชาวอเมริกัน เรียกชื่อว่า ทีเชิ้ต (T-shirt) มาจากรูปร่างของเสื้อที่มีลักษณะเป็นตัว “T” และในกองทัพเรียกว่า “training shirt” สวมใส่เรื่อยมา ปี ค.ศ. 1932 บริษัท Jockey ได้ผลิตเสื้อซับเหงื่อให้ทีม ยูเอสซี ฟุตบอล ถือเป็นทีเชิ้ตยุคใหม่และกลายเป็นเสื้อมาตรฐานทั่วไปในกองทัพสหรัฐอเมริกา รวมถึงนาวิกโยธิน เพราะแม้ทีเชิ้ตในยุคนั้นยังถือเป็นเสื้อชั้นใน แต่ทหารส่วนใหญ่มักใส่เสื้อทีเชิ้ตกับกางเกงขายาวไปสถานที่ต่างๆ จนผู้คนต่างยอมรับแฟชั่นสไตล์นี้ โดยเฉพาะเมื่อนิตยสารไลฟ์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ขึ้นหน้าปกนายทหารใส่เสื้อทีเชิ้ตและเขียนข้อความว่า Air Corps Gunnery School หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปี

Read More

รู้จักตัวตน ทนงค์ศักดิ์ แซ่เอี้ยว ฝันไกลดัน “ยืดเปล่า” สู่โกลบอลแบรนด์

“ถ้ามองแค่อายุ อาจมองว่าผมเติบโตเร็ว แต่ถ้ามองประสบการณ์ ไม่เร็ว เพราะทำค้าขายเข้าปีที่ 13-14 แล้ว ตั้งแต่อายุ 19 ปี ตอนนี้อายุ 33 ปี ต้องบอกว่า เริ่มสุกงอมแล้ว…” ทนงค์ศักดิ์ แซ่เอี้ยว หรือคุณตอน เจ้าของแบรนด์ “ยืดเปล่า” (YUEDPAO) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงความสำเร็จของการปลุกปั้นแบรนด์เสื้อยืดที่วันนี้มีสาขารวม 60 สาขา อยู่ในกรุงเทพฯ 31 สาขา ต่างจังหวัดอีก 29 สาขา และตั้งเป้าขยายต่อเนื่องทุกปี โดยสิ้นปีนี้จะเปิดครบ 80 สาขา เจาะทำเลห้างสรรพสินค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด และภายใน 1-3 ปี ต้องไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ ที่สำคัญ หนึ่งใน Purpose ของแบรนด์ต้องขึ้นชั้นระดับ Global Brand ต้องการสร้างสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยและคุณภาพนวัตกรรมระดับโลก โดยวางไทม์ไลน์ 

Read More

บุณย์ญานุช บุญบํารุงทรัพย์ ก้าวที่ 2 ของ “มานะ ปีติ ดีใจ”

‘บุ๋ม’ บุณย์ญานุช บุญบํารุงทรัพย์ ใช้เวลากว่า 2 ปี ค้นหาตัวตนหลังลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร Food Passion ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างแบรนด์ Bar B Q Plaza และล่าสุด ตัดสินใจเปิดบริษัท ปีติ พีอาร์ ลุยธุรกิจประชาสัมพันธ์ที่มีคู่แข่งมากมาย แต่ย้ำหนักแน่นว่า ปีติพีอาร์ ไม่ใช่ Public Relation แต่เป็น Purpose Relations เธอบอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า บริษัท ปีติ พีอาร์ เกิดขึ้นได้เพราะรุ่นน้อง คือ ผู้บริหารบริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งรู้จักสนิทสนมกัน ดึงเธอเข้าไปช่วยวางแผนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังจากนั้นบริษัทเริ่มมีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาเป็นลูกค้า ได้แก่ ฮูส์คอลล์ (Whoscall) ของบริษัทสัญชาติไต้หวัน

Read More

โลตัสเร่งเป้าออนไลน์โต 30% ยันส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำเฉือนคู่แข่ง

“โลตัส” ประกาศเดินหน้ารุกช่องทางออนไลน์ หลังเปิดตัว Lotus’s SMART App ยกเครื่องออนไลน์ขนานใหญ่เมื่อปี 2565 มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 10 ล้านคน กวาดยอดขายเพิ่มขึ้นชนิดก้าวกระโดด และที่สำคัญตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ออนไลน์จะเติบโตถึง 30% ภายในสิ้นปี 2567 หากดูตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริหารธุรกิจค้าส่ง “แม็คโคร” และค้าปลีก “โลตัส” ช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 มีรายได้รวม 127,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% และกำไรสุทธิ 2,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งบริษัทระบุว่า มาจากการเติบโตของยอดขายภายในสาขาเดิม โดยเฉพาะการขายออนไลน์และการขายนอกร้านพร้อมการส่งสินค้าถึงลูกค้า หรือ Omni Channel เนื่องจากบริการดีลิเวอรีของโลตัสสามารถทำเวลาได้เร็วขึ้น ทำให้จัดส่งออเดอร์เพิ่มมากขึ้น ซีพี แอ็กซ์ตร้า ระบุว่า

Read More

สายเกาต้องมัลตี้ เมื่อเครื่องสำอางเกาหลี ครองใจสาวไทย

หากพูดถึงร้านขายเครื่องสำอางแบบมัลติแบรนด์ เชื่อว่าสาวๆ ต้องมีชื่อร้านต่างๆ อยู่ในใจกันอย่างแน่นอน ทั้งร้านเครื่องสำอางระดับโลกสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง “SEPHORA” หรือร้านสัญชาติไทยอย่าง EVEANDBOY และ BEAUTRIUM ที่กำลังเดินเกมรุกอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังครองใจสาวไทย ซึ่งนั่นรวมถึง “Multy Beauty” อีกหนึ่งบิวตี้สโตร์สัญชาติไทยที่มีคาแรกเตอร์เด่นชัด “ร้านมัลตี้ เริ่มมาจากการตามล่าหาคุชชั่น ซึ่งแต่ก่อนมีแต่รองพื้น แล้วเกาหลีเขาก็ออกคุชชั่นมาเป็นเจ้าแรกๆ เขาบอกกันว่าคุชชั่นใช้ง่ายกว่ารองพื้น เกลี่ยง่าย ไม่ตกร่อง เราก็อยากลองใช้ แต่หาซื้อไม่ได้เลย ตอนนั้นแบรนด์เกาหลีที่เข้าไทยมีแค่ Etude กับ Skinfood และถ้าพรีออเดอร์มันราคาพันกว่าบาทสองพัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนมันก็กระทบเหมือนกัน เลยคิดว่าถ้าทำเองเลยมันจะเป็นยังไง มันน่าจะมีคนที่ตามหาสินค้าเหมือนกับเรา เลยออกจากงานประจำและมาเปิดร้านเอง” ไพลิน อึ๊งพลาชัย ผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท มัลตี้ บิวตี้ จำกัด เล่าให้ “ผู้จัดการ 360 องศา” ฟังถึงที่มาของร้านมัลตี้ บิวตี้ ไพลิน หรือ คุณพลอย เล่าต่อว่า ในช่วงเวลานั้นซีรีส์เกาหลีและเคป๊อปเริ่มเป็นที่นิยมในเมืองไทยแล้ว

Read More

EVEANDBOY ก้าวสู่ปีที่ 20 จากร้านบิวตี้ภูธร สู่ Beauty Destination เมืองไทย

ถึงวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก EVEANDBOY โดยเฉพาะบรรดาสาวๆ ที่รักความสวยความงาม เพราะเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ EVEANDBOY โลดแล่นในตลาดค้าปลีกความงามของไทย จากร้านขายเครื่องสำอางเล็กๆ ในจังหวัดมหาสารคาม สู่ผู้นำ Beauty Destination ของเมืองไทย ล่าสุดยังเดินหน้าเตรียมเปิดแฟล็กชิปสโตร์แห่งใหม่ใจกลางสยามสแควร์ ชิงส่วนแบ่งตลาดความงามที่มีมูลค่าตลาดถึง 258,275 ล้านบาท หลายคนมักเข้าใจว่า EVEANDBOY (อีฟแอนด์บอย) เป็นร้านขายเครื่องสำอางแบบมัลติแบรนด์จากต่างประเทศ แต่จริงๆ แล้ว EVEANDBOY เป็นบิวตี้สโตร์สัญชาติไทย ที่มีสารตั้งต้นมาจากซูเปอร์มาร์เกต ชื่อ “สารคามซูเปอร์มาร์เก็ต” ในจังหวัดมหาสารคาม ที่ดำเนินการมาหลายสิบปี จากที่เคยเติบโตได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยคู่แข่งในพื้นที่ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สารคามซูเปอร์มาร์เก็ตต้องหาทางปรับตัว กระทั่ง “หิรัญ ตันมิตร” หรือ “บอย” หนึ่งในทายาทของสารคามซูเปอร์มาร์เก็ต มีความคิดว่าถ้าขายสินค้าที่เป็นเครื่องสำอางน่าจะมีโอกาสไปรอดมากกว่า เพราะเครื่องสำอางมีกำไรส่วนต่างสูง จึงได้จับมือกับพี่สาวเปิดร้านขายเครื่องสำอางร้านแรกในปี 2548 ในชื่อ “EVEANDBOY” ซึ่งมาจากชื่อเล่นของทั้งสองคน เพื่อรวบรวมเครื่องสำอางหลากหลายแบรนด์เข้าไว้ด้วยกันและจำหน่ายในราคาที่เข้าถึงง่าย โดยนำแนวคิดจากต่างประเทศมาใช้ รูปแบบร้านดังกล่าวตอบโจทย์ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลากประเภทและหลายยี่ห้อได้ในที่เดียว นั่นทำให้อีฟแอนด์บอยเติบโตอย่างรวดเร็วจนสามารถขยายสาขาไปยังที่ต่างๆ

Read More

เปิดโมเดลธุรกิจ Oatside นมข้าวโอ๊ต สตาร์ทอัปสิงคโปร์

สถานการณ์เศรษฐกิจของสิงคโปรที่เปิดเผยโดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ระบุว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์มีการขยายตัว 2.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาส 1/2567 โดยขยายตัวเร็วกว่าในไตรมาส 4/2566 ที่ขยายตัว 2.2 เปอร์เซ็นต์ โดยภาคการผลิตขยายตัว 0.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบเป็นรายปี ในไตรมาสแรกชะลอตัวลงหลังจากขยายตัว 1.4 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาส 4/2566 โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระบุว่า การขยายตัวของภาคการผลิตอยู่ในกลุ่มเคมีภัณฑ์ วิศวกรรมความแม่นยำ และวิศวกรรมการขนส่ง ซึ่งได้ชดเชยการหดตัวของผลผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตชีวการแพทย์ และกลุ่มการผลิตทั่วไป ในขณะที่ภาคการก่อสร้างขยายตัว 4.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาส 1/2567 โดยได้รับสนับสนุนจากผลผลิตการก่อสร้างสาธารณะ ส่วนภาคบริการขยายตัว 3.2 เปอร์เซ็นต์ในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2566 ที่ขยายตัว 2.2 เปอร์เซ็นต์ ที่น่าสนใจ คือ สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ ที่มีความพร้อมด้านระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัปในอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับ 7 จาก 100

Read More

Maguro Group ธุรกิจร้านอาหาร ชูวัฒนธรรมการให้มากกว่ารับ

เป้าหมายของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องคำชม และการยอมรับจากลูกค้า จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือยอดขาย ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสในการขยายสาขาในอนาคต แต่นั่นอาจไม่เพียงพอสำหรับ Maguro Group ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลี เมื่อก้าวสำคัญของ Maguro Group ที่เพิ่งเกิดขึ้นคือการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ จากความชอบและ Passion ที่เหมือนกันของเพื่อน 4 คน ประกอบด้วย เอกฤกษ์ แสงเสรีดำรง, ชัชรัสย์ ศรีอรุณ, รณกาจ ชินสำราญ และจักรกฤติ สายสมบูรณ์ สู่การรวมตัวกันก่อตั้งร้านอาหารภายใต้ชื่อ Maguro ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2556 สู่การสั่นกระดิ่งในวันที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ MIA เอกฤกษ์ แสงเสรีดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหาร และเหตุผลในจังหวะก้าวสำคัญของธุรกิจ ที่ดูจะไปไกลมากกว่าแค่การเป็นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลี “เราเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารเมื่อ 9 ปีก่อน จากการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบญี่ปุ่น ความใส่ใจ

Read More

สภาเกษตรกร แก้ไม่ตก เหยื่อประชานิยม

มีการตั้งคำถามว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติ คือ คำตอบของการรักษาผลประโยชน์และสร้างเครือข่ายความแข็งแกร่งให้อาชีพเกษตรกรใช่หรือไม่ แต่ดูเหมือนไม่มีใครยืนยันเช่นนั้นได้ องค์กรนี้จัดตั้งเมื่อปี 2555 ในยุครัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติคนแรก มีการยกร่างกฎหมายเพื่อให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพ คุ้มครอง รักษาผลประโยชน์เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด ให้ผลิตผลทางการเกษตร ได้รับผลตอบแทนสูงสุด และมีสภาให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างเครือข่ายความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกร เสนอแนวนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี ตามโครงสร้างองค์กร สภาเกษตรกรฯ มีประธาน รองประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรเกษตร 16 คน และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศ โดยสร้างเครือข่ายทั่วประเทศผ่านผู้แทนอำเภอ ผู้แทนเกษตรกรระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน และเกษตรกร อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาเกษตรกรยังหนีไม่พ้นปัญหารายได้ตกต่ำ มิหนำซ้ำกลายเป็นเหยื่อทางการเมือง ที่เห็นชัดที่สุดและเสียหายมากที่สุด คือ โครงการจำนำข้าว ที่ทิ้งผลกระทบยาวนานนับสิบปี หากย้อนมหากาพย์โครงการจำนำข้าวเริ่มต้นเมื่อปี 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศนโยบายช่วยเหลือชาวนา ผุดโครงการรับจำนำข้าว “รับจำนำข้าวทุกเม็ด” โดยรับซื้อข้าวจากชาวนาในระดับราคาที่กำหนด ถือเป็นการประกันรายได้ให้เกษตรกรว่า ราคาข้าวไม่มีตกและแม้ตกจะไม่กระทบรายได้ของชาวนา เพราะรัฐบาลประกันราคาข้าวไว้ให้แล้ว ซึ่งราคาข้าวที่รัฐบาลรับซื้อในขณะนั้นสูงถึง 15,000-20,000

Read More