Home > CP (Page 4)

แบงกิ้งเอเย่นต์-โมบายแบงกิ้ง จุดเปลี่ยนผ่านการเงินไทย?

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเงินไทย กำลังดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะก้าวไปสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด การทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านอุปกรณ์สื่อสารมือถือ การปรับลดจำนวนสาขา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่าย และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหารการบริการที่ดำเนินมาในช่วงก่อนหน้านี้ ตัวเลขที่น่าสนใจจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่าผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ธนาคารพาณิชย์ มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมลดลงเป็นครั้งแรกในไตรมาสนี้ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ11. 2 จากการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงกิ้ง ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีกำไรสุทธิ 5.7 หมื่นล้านบาท ขยายตัวขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากรายได้ดอกเบี้ยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงเป็นหลัก การแข่งขันกันของธนาคารพาณิชย์ด้วยการเปิดศึกยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมดิจิทัลบนมือถือ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปี 2561 มีผู้ใช้บริการโอนเงินทางอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งและโมบายแบงกิ้งสูงถึง 224 ล้านรายการ หรือคิดเป็น 90% ของยอดการโอนเงินของลูกค้า ขณะที่อัตราการโอนเงินผ่านสาขามีเพียง 170,000 รายการ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่น้อยมากหากนำมาเปรียบเทียบกัน การมาถึงของเทคโนโลยี ในด้านหนึ่งได้ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ และกำลังจะเป็นแรงผลักสำคัญต่อการพิจารณาปรับลดต้นทุนและการบริหารจัดการในระยะต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงและยึดกุมฐานลูกค้าในยุคสังคมไร้เงินสดให้มาทำธุรกรรมดิจิทัลผ่านมือถือที่กำลังทวีความเข้มข้น และกลายเป็นสมรภูมิการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่มีความดุเดือดยิ่งขึ้น เพราะธุรกรรมดิจิทัลเหล่านี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถติดตามพฤติกรรมต่อยอดบริการ และสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มนี้ได้เต็มที่ ขณะเดียวกันพนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทลดลงหลังจากที่ธุรกรรมจำนวนมากถูกปรับย้ายไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ กลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังได้รับผลกระทบจาก disruptive technology

Read More

นับถอยหลัง “ไอคอนสยาม” ศึกค้าปลีกโค้งน้ำเจ้าพระยา

นับถอยหลังอีกไม่กี่เดือน อภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” ของกลุ่มร่วมทุน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (ในเครือซีพี) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นลุยสมรภูมิค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาระลอกใหม่ที่มีทั้ง “เอเชียทีค” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี และโครงการ “ล้ง 1919” ของกลุ่มตระกูลหวั่งหลี ที่ฉีกแนวเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแนวศิลปวัฒนธรรมชนชาติจีน แน่นอนว่า โค้งน้ำเจ้าพระยากำลังจะพลิกโฉมอีกครั้ง ซึ่งหัวเรือใหญ่ไอคอนสยาม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ ย้ำกับสื่อมาตลอดว่า ไอคอนสยามจะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่สร้างเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์ (The Icon of Eternal Prosperity) จุดประกายคุณค่าของแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เรื่อง เรื่องแรก คือการสัญจรไปมาทุกระบบการขนส่ง สอง คือเรื่องเศรษฐกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และสาม คือการพัฒนาชุมชนรอบๆ โดยตั้งเป้าหมายดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้ชีวิต ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมกว่า

Read More

CP กับบทบาทแบงกิ้งเอเยนต์ พลิกภูมิทัศน์ใหม่การเงินไทย??

ข่าวการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถขยายการให้บริการธุรกรรมทางการเงินในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ครั้งใหม่ถึงการขยายแนวรุกเข้าครอบครองธุรกิจ และแผ่อิทธิพลครอบงำวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยยิ่งขึ้นแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ได้สะท้อนปรากฏการณ์ของการปรับตัวของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ก่อนหน้านี้พยายามเร่งลดทอนค่าใช้จ่ายด้วยการทยอยปิดสาขาลง และหลายแห่งกำหนดแผนที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานและระบบการบริหาร การบริการมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ความคลาดเคลื่อนของการอนุญาตให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 สามารถให้บริการธุรกรรมทางการเงิน แม้จะไม่ใช่การให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์หากแต่เป็นเพียงการเพิ่มสถานะการเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์หรือ banking agent เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารพาณิชย์ได้ในบางธุรกรรม เช่น รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายค่าบริการ ก็ดูจะเป็นอีกก้าวที่เพียงพอให้เครือข่ายร้านสะดวกซื้อ 7-11 มีความได้เปรียบคู่แข่งขันไปอีกไกลพอสมควร และเป็นจังหวะก้าวที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาจมีผลต่อการขยับขยายธุรกิจของ 7-11 ในอนาคต รูปแบบธุรกิจที่ก้าวจากการเป็นร้านสะดวกซื้อ ขยายไปสู่ธุรกิจธนาคารในนาม Seven Bank ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ร่มธงของ Seven & I Holdings ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ถูกหยิบยกขึ้นมาเปรียบเทียบกับจังหวะก้าวของ 7-11 ในประเทศไทย จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมายืนยันว่ายังไม่มีนโยบายในการออกใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนธนาคารพาณิชย์ (banking agent) มาตั้งแต่ปี 2553

Read More

เปิดใจ ดร.ฝน ศิษย์เอก “ธนินท์” ปั้นไก่ทอดเจนใหม่ ฟรายด์เดส์

ไก่ทอด “ฟรายด์เดส์” (Fried Days) ผลผลิต 1 ใน 10 แบรนด์ที่เปิดตัวเข้ามาบุกสมรภูมิร้านอาหารภายใต้โครงการสร้างผู้นำผ่านธุรกิจเพื่ออนาคตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งคัดเลือกจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talents ระดับหัวกะทิตามแนวคิดของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างปรากฏการณ์น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะการฉีกกลยุทธ์ร้านไก่ทอดแบบหลุดกรอบชนิดที่คู่แข่งยักษ์ใหญ่ทั้งเคเอฟซีและแมคโดนัลด์ต้องเตรียมรับมือสู้ศึกครั้งใหญ่ เพราะ “ฟรายด์เดส์” มีทั้งทุนยักษ์ใหญ่ระดับ “ซีพี” เป็นผู้หนุนหลังบวกกับไอเดียการตลาดแนวใหม่จากกลุ่ม Young Talents ที่มีวรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ หรือ ดร.ฝน กรรมการผู้จัดการ บริษัท วายแอนด์โอ จำกัด เป็นแกนหลักปลุกปั้นแบรนด์ ในฐานะศิษย์เอกที่เจ้าสัวธนินท์ลงมือถ่ายทอดวิชาอย่างเข้มข้น พร้อมสั่งให้เดินทางติดตามไปศึกษาธุรกิจร้านอาหารชื่อดังทั่วโลกอยู่เป็นประจำ วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ หรือ ดร.ฝน เปิดใจกับ “ผู้จัดการ360” ว่า ได้โอกาสจากประธานธนินท์เข้ามาร่วมในโครงการ Young Talents เมื่ออายุ 29 ปี โดยก่อนหน้านั้น เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Read More

ธนินท์ เจียรวนนท์ ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นซีอีโอในอนาคต

ธนินท์ เจียรวนนท์ ทุ่มทั้งเวลาและเงินทุนสร้าง “สถาบันผู้นำ” ลุยภารกิจใหญ่ ปั้นผู้นำรุ่นใหม่และซีอีโอในอนาคต เพื่อรองรับอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่มีการลงทุนในเกือบ 20 ประเทศ มีการค้าระหว่างประเทศอีกมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ใน 8 สายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจเกษตรอาหาร ธุรกิจการตลาดและลอจิสติกส์ ธุรกิจโทรคมนาคมและมีเดีย ธุรกิจเวชภัณฑ์ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมหนัก ธุรกิจสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน มูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล “อนาคตของซีพี ที่สำคัญที่สุดคือ คน ซีพีจะยืนหยัดมั่นคงเหมือนดาวฤกษ์ได้ต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งจะนำพาให้คนในเครือฯ พร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน” นั่นถือเป็นวรรคทองและหัวใจสำคัญที่สุด ซึ่งธนินท์เคยกล่าวผ่านสื่อ ย้ำถึงความจำเป็นในการลงทุนเกือบ 4,000 ล้านบาท ตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาผู้นำ C.P. Leadership Institute ในพื้นที่ 145 ไร่ ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาข้อมูลเรื่องการสร้างคนที่ดีที่สุดขององค์กรชั้นนำระดับโลก และนำคณะผู้บริหารระดับสูงไปเยี่ยมชมองค์กรชั้นนำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัท จีอี บริษัทซัมซุง และบริษัทโบอิง

Read More

ซีพีงัดแผน Young Talent บุก 10 แบรนด์ ผุดดีลิเวอรี่ “แดชดี”

“ท่านประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ บอกว่า โครงการสร้างผู้นำในธุรกิจเพื่ออนาคตเป็นการออกค่าเล่าเรียน ไม่ได้มองว่า จะได้กำไรตั้งแต่โมเดลแรก แต่วันหนึ่งจะประสบความสำเร็จ และสิ่งที่ได้มากกว่าร้านอาหาร คือ ผู้นำ เห็นใครมุมานะ ใครไม่ย่อท้อ ใครคิดมีชั้นเชิง คนเหล่านี้ประมาณค่าไม่ได้ เขาอาจทำธุรกิจอาหารไม่สำเร็จ แต่อาจไปสำเร็จในธุรกิจเทเลคอม เราเห็นแววจากการทำธุรกิจนี้ และไม่ได้มีคอนแทร็กต์ผูกมัดต้องอยู่ซีพี มีสิทธิ์เลือกกันและกัน...” ดร.วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วายแอนด์โอ จำกัด และรองผู้อำนวยการสถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) หรือ C.P. Leadership Institute กล่าวถึงแนวคิดและเป้าหมายในโครงการสร้างผู้นำในธุรกิจเพื่ออนาคตของธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ซึ่งเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี 2560 และกำลังต่อยอดสร้างโมเดลธุรกิจที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีอาชีพและสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ ภายใต้โครงการปั้นเถ้าแก่น้อยสู่เวทีโลก โดยมีบริษัทวายแอนด์โอเป็นเวทีเปิดโอกาสให้ผู้นำรุ่นใหม่เหล่านี้เข้ามาประลองฝีมือชั้นเชิงการทำธุรกิจ ทั้งนี้ การค้นหาโมเดลธุรกิจต้นแบบจะเริ่มต้นจากการหาไอเดียของกลุ่มผู้นำคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talent ซึ่งคัดเลือกจากกลุ่มนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงพนักงานในเครือซีพีที่มีอายุไม่เกิน 28 ปี เข้ามาทำงานร่วมกัน

Read More

ซีพี แตกแบรนด์พรึ่บ เจาะแฟรนไชส์แสนล้าน

คาดการณ์กันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยล่าสุดมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และปี 2560 มีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 200,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจอาหารถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมสูงสุด ซึ่งดูเหมือนว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ถือเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายร้านอาหารมากที่สุด ไม่นับรวมเครือข่ายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” อีกหลายพันแห่ง ทั้งนี้ หากเจาะเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเครือซีพีกำลังเร่งรุกขยายช่องทางอย่างหนัก เพื่อต่อยอดธุรกิจปลายน้ำนำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสู่มือผู้บริโภคครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยมี 2 แบรนด์หลัก คือ กลุ่มห้าดาวและเชสเตอร์ ในกลุ่มห้าดาวนั้น ซีพีเอฟประกาศนโยบายและแผนลุยตลาดแฟรนไชส์อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2560 เพราะถือเป็นธุรกิจแรกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจผ่านโครงการ “เถ้าแก่เล็กธุรกิจห้าดาว” ตั้งแต่ปี 2543 ในรูปแบบแฟรนไชส์แบบ 100% ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทในธุรกิจไมโครแฟรนไชส์ หรือธุรกิจเล็กที่เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่สูงมากนัก ประมาณ 15,000

Read More

ซีพี เปิดศึกอาหารสุขภาพ รุกตลาดเรดดี้มีลหมื่นล้าน

การเปิดตัวอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ล่าสุด “สมาร์ทมีล (Smart Meal)” ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” สะท้อนเกมรุกธุรกิจอาหารขั้นต่อไปของเครือซีพีและย้ำชัดถึงวิสัยทัศน์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งกำลังต่อยอดผนึกแผนสร้าง “ครัวโลก” และ “ธุรกิจอาหารยุค 4.0” ภายใต้แนวคิด 3 สูง 1 ต่ำ คือเทคโนโลยีสูง ประสิทธิภาพสูง และการลงทุนสูง เพื่อนำมาสู่ต้นทุนที่ต่ำลง เทคโนโลยีสูง คือ มีผู้ช่วยหลัก “หุ่นยนต์” ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ประสิทธิภาพสูง คือ การเร่งยกระดับทรัพยากรบุคคลในองค์กรทดแทนการใช้แรงงานและภายใต้สังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นจะทำให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตอาหารดีมากขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการลงทุนสูง ธนินท์ยังระบุผ่านสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “สิ่งที่ซีพีมองหลังจากนี้ คืออาหารในอนาคตที่มีความหลากหลาย และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมากขึ้น เป็นการผลิตอาหารสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลง เน้นการป้องกันตัวเองมากกว่าการรักษา อาหารสุขภาพจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ คนเราอาจอยู่ได้ยืนยาวกว่า 100 ปี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซีพีกำลังเตรียมผลิตอาหารเพื่อคนสูงอายุและก้าวเข้าสู่ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร” ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า

Read More

จากจอมยุทธ์หมากล้อม สู่ “ครูใหญ่” สาธิต PIM

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ใช้เวลากว่า 13 ปี เป็นหัวหอกลุยธุรกิจด้านการศึกษาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ จากเป้าหมายเริ่มต้น เร่งผลิต “คน” ป้อนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพื่อรุกขยายอาณาจักรค้าปลีก ผุดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ยกระดับการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษา จนล่าสุดลงทุนสร้าง โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” ซึ่งจะประเดิมเทอมแรกในปีการศึกษา 2560 แน่นอนว่า เป้าหมายของก่อศักดิ์ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง “คน” ให้เป็นนักจัดการมืออาชีพ มีความคิดเชิงกลุยทธ์ และไม่ใช่เพียงแค่ความเก่งกาจในวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นั่นทำให้จอมยุทธ์หมากล้อมคนนี้สวมบทคุณครูหยิบเอา “โกะ” เข้ามาเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรของ “สาธิต PIM” หลังจากได้ผลพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า หมากล้อมหรือ “โกะ” คืออาวุธชิ้นสำคัญ ที่ช่วยให้เขาและ “เซเว่นอีเลฟเว่น” สามารถขยายอาณาจักรธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้อย่างยิ่งใหญ่ ก่อศักดิ์เคยกล่าวว่า เขามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อมกระดานหนึ่ง เร่งเปิดร้านค้าในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะสุดยอดกลยุทธ์ของโกะไม่ใช่การจับกิน หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการสร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้

Read More

CP รุกสงครามค้าปลีก เจาะ “เทสโก้–บิ๊กซี”

  ปี 2560 หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ปี จัดระเบียบธุรกิจค้าปลีก Food Retail และเผยโฉม “ซีพีเฟรชมาร์ท” โมเดลล่าสุด “คอมแพคซูเปอร์ (Compact Super)” ล่าสุด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ประกาศเดินหน้าแผนรุกตลาด เปิดสงครามครั้งใหม่ เร่งสปีดผุดสาขาเพิ่มขึ้น รีโนเวตสาขาเก่า ที่สำคัญอัดกลยุทธ์ทั้งออฟไลน์–ออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้ากลุ่มเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เบื้องต้น ซีพีเอฟตั้งเป้าขยายร้านซีพีเฟรชมาร์ทโมเดลใหม่ในปีนี้ จำนวน 100 สาขา และทยอยรีโนเวตสาขาเดิม จากปัจจุบันมีสาขารวมทั้งสิ้น 420 แห่ง และเป็นสาขารูปแบบคอมแพคซูเปอร์แล้ว 100 แห่ง ชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เปิดเผย “ผู้จัดการ360 ํ” ว่า

Read More