Home > โควิด-19 (Page 15)

หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงรอบ 18 ปี  ทำเศรษฐกิจไทยบอบช้ำรุนแรง

คงไม่มีปาฏิหาริย์ใดที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ เมื่อดัชนีสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปได้ ยังคงถูกล้อมกรอบไปด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งกำลังซื้อของภาคประชาชนที่อ่อนกำลังลงเป็นทุนเดิม การขยายตัวของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางประเภทจนทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย ผนวกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางยิ่งขึ้น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ติดลบทั้งสองไตรมาสที่ผ่านมา น่าจะอธิบายความได้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิดจะเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง แต่ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาลงมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีค่อยๆ ไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง และเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคือสัญญาณบ่งบอกความบอบช้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น นั่นคือ ระดับ “หนี้ครัวเรือน” ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานออกมาอยู่ที่ 84 เปอร์เซ็นต์ ต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 18 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับหนี้ครัวเรือนของไตรมาสก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเพียง 3.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นั่นหมายความว่ามูลหนี้ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากมายอะไร ทว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ การปรับลดลงของจีดีพีที่ติดลบเพิ่มขึ้น หรือเข้าใจง่ายๆ นั่นคือรายได้ของประชาชนลดลง ทั้งจากปัญหาการว่างงานและการถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงตัวเลขของตลาดแรงงานในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวแตะระดับ 7.5 แสนคน และจำนวนผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มคนที่ยังมีงานทำแต่ชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นใกล้เคียง 5.4 ล้านคน แม้ว่าจำนวนผู้เสมือนว่างงานจะลดลงเหลือ

Read More

เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ความหวังสุดท้ายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

มติของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ที่เห็นชอบมาตรการเปิดประเทศ สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ (Special Tourist VISA: STV) แบบ “จำกัดจำนวน” ตามที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ โดยจะเป็นการเปิดประเทศแบบจำกัด ด้วยการจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวประเภท “พิเศษ” ที่จะมาพำนักอยู่ในประเทศไทยระยะยาวไม่ต่ำกว่า 90-270 วัน ในด้านหนึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้นของการออกเดินหน้าเพื่อฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจท่องเที่ยวของไทยให้ดำเนินต่อไปได้ หลังจากที่ต้องหยุดชะงักมานานเพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง มติดังกล่าวดูจะตั้งอยู่ท่ามกลางการเล็งผลเลิศที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์โดยรอบ เพราะหลังจากที่มีการเปิดเผยว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนจากมณฑลกว่างโจวเดินทางมาประเทศไทย ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ซึ่งนับเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรหลังจากไทยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการประกาศเลื่อนการเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยไปเป็นวันที่ 25 ตุลาคมแทน ความสับสนในการออกมาตรการที่ดำเนินไปท่ามกลางเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติหากต้องการจะเดินทางมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความประสงค์จะเดินทางมาพำนักระยะยาว หรือลองสเตย์ ภายในประเทศไทย การยอมรับที่จะปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทย และตกลงยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน รวมถึงการมีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย โดยเฉพาะหลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก หรือโรงพยาบาลที่พักภายในประเทศไทย ดูจะเป็นเงื่อนไขที่ไม่ได้สอดรับกับความพร้อมของทั้งผู้ประกอบการและความกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจควรคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เพราะประชาชนในจังหวัดท่องเที่ยว อาจไม่ได้เห็นด้วยกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งหมด ความกังวลใจของพวกเขายังผูกพันอยู่กับมายาภาพที่ ศบค. ได้สร้างไว้ตลอดระยะเวลา 6-7

Read More

เคทีซีพัฒนาแพลตฟอร์มท่องเที่ยวรองรับบริการ 24/7 ผนึกพันธมิตรเดินหน้าหวังครองใจสมาชิกนักเดินทาง

เคทีซีพลิกวิกฤติช่วงโควิด-19 ให้เป็นโอกาส ลุยปรับกลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ประเดิมด้วยการปรับโฉม “KTC World Travel Service” ศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ด้วย 3 แกนหลัก “ซ่อม” “สร้าง” และ “สนับสนุน” ให้สมาชิกฯ อุ่นใจกับการเดินทางท่องเที่ยวและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยบริการ 24 ชั่วโมง รองรับความต้องการของสมาชิก ผ่านช่องทางโทรศัพท์ 02 123 5050 เว็บไซต์ www.ktc.co.th/ktcworld ไลน์ @ KTCWorld และ KTC World Facebook Fanpage พร้อมจับมือพันธมิตรธุรกิจท่องเที่ยวออกแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ นางสาวเจนจิต ลัดพลี ผู้อำนวยการ การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

Read More

ลาซาด้าเดินหน้าสานต่อ LazadaForGood ไลฟ์สตรีมมิ่งฝ่ามรสุมโควิด-19

ลาซาด้าเดินหน้าสานต่อ LazadaForGood จับมือพันธมิตร ดึงเทคโนโลยีไลฟ์สตรีมมิ่งร่วมระดมทุนช่วยศิลปินไทย ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจจากโควิด-19 ลาซาด้า ผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือเทใจดอทคอม แพลตฟอร์มสำหรับการระดมทุนให้กับโครงการเพื่อสังคม และติ๊ก ชีโร่ ศิลปินชั้นนำของประเทศไทย เจ้าของโครงการ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ร่วมส่งต่อกำลังใจ ให้ความช่วยเหลือแก่ศิลปินชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถเดินหน้าต่อ พร้อมผสานศักยภาพไลฟ์สตรีมมิ่ง LazLive ยกไลฟ์มิวสิคกับวงดนตรีกว่า 50 วง จากศิลปินชื่อดัง อาทิ โจนัส แอนเดอร์สัน และอ๊อฟ ศุภณัฐ (AF 2) สร้างประสบการณ์ความบันเทิงภายในแอปและเชิญชวนผู้บริโภคร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันน้ำใจให้แก่ศิลปินที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยยอดวิวทั้งหมดลาซาด้าจะเปลี่ยนเป็นยอดบริจาค เริ่มไลฟ์ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา 12.00 น ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2563 เป็นต้นไป นางสาวภารดี สินธวณรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ในสภาวะที่ท้าทายเช่นนี้ ลาซาด้าต้องการเป็นหนึ่งในพลังผลักดันให้ประเทศไทยสามารถก้าวต่อไปได้ ด้วยการสนับสนุนทุกภาคส่วนของสังคม

Read More

อสังหาฯ ไทยจะฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเศรษฐกิจไทยซบเซา

คงไม่ผิดที่บรรดาผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมักจะแสดงทัศนะต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันด้วยความคาดหวัง ว่ายังพอมองเห็นทิศทางการฟื้นตัว พร้อมทั้งเปรยถึงแผนการของโครงการใหม่ที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้ เพราะทัศนะและแผนการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อทิศทางการขึ้นลงของตัวเลขบนกระดานในห้องค้าหุ้น ซึ่งสร้างให้เกิดความเชื่อใจต่อบรรดานักลงทุน แม้ว่าจะมีโครงการใหม่ที่หลายค่ายเตรียมจะเปิดตัวในไม่ช้าไม่นาน ทว่า ทุกโครงการล้วนแล้วแต่ดำเนินไปด้วยความรอบคอบ และระแวดระวังต่อสภาพการณ์ในปัจจุบัน ก่อนหน้าที่ไวรัสโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก การเติบโตของตลาดอสังหาฯ ไทยพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงในเวลาเพียงไม่กี่ปี ทั้งกระแสความเป็นไปของตลาดที่ส่งสัญญาณว่า มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมองหาที่อยู่อาศัยในเมืองไทยเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสร้างตัวด้วยโครงการบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังที่สองสำหรับผู้สูงอายุ ส่งผลให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า ตลาดอสังหาฯ ไทยในห้วงยามนั้นจะเข้าสู่วิกฤตฟองสบู่หรือไม่ เมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ค่อยๆ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ และสร้างหายนะให้เกิดขึ้นในทุกแวดวง ไวรัสโควิด-19 สร้างแรงฉุดให้เกิดขึ้นจนทุกตลาดต้องหาทางรับมือ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น แต่ต้องมองข้ามช็อตไปถึงการอยู่รอดด้วย ตลาดอสังหาฯ นับว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบรวดเร็วและรุนแรง ศูนย์วิเคราะห์วิจัยเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินไปในทิศทางเดียวกันว่า อสังหาฯ ไทยอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวให้กลับมาสู่สถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตโควิดอย่างน้อย 2-3 ปี ธุรกิจอสังหาฯ ถูกยึดโยงกับกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคผูกติดภาวะหนี้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ แน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2563 ในช่วง 5 เดือนแรก อัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่หดหัว 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปรับลดลง 3.4 เปอร์เซ็นต์ สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทิศทางการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อชีวิตผู้หญิงอินเดีย

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเวลามากกว่า 10 เดือนแล้ว และสถานการณ์ในหลายประเทศก็ยังคงมีการแพร่ระบาดสูง หรือบางประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีระดับหนึ่ง อย่างนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกตามเมืองใหญ่ๆ และยังไม่มีประเทศไหนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 คนแรกของประเทศเมื่อ 3 มีนาคม 2020 และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 100 คน เมื่อ 27 มีนาคม 2020 และ 500 คน เมื่อ 4 เมษายน 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอินเดียเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ วันที่ 17 กรกฎาคม 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ล้านคน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นกว่า 32,000 คน

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ฟื้น ตลาดนัดเทรนด์ใหม่ผุดพรึ่บ

ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นจุดพลิกฟื้นค้าปลีกกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์และตลาดนัดกลางคืนแนวใหม่ บรรยากาศชิคๆ เพิ่มไลฟ์สไตล์ มีจุดแฮงก์เอาต์ เล่นดนตรี จนสร้างจุดเช็กอินมาแรงแซงหน้าศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบเดิมๆ และการตอบโจทย์พฤติกรรมการจับจ่ายยุค New Normal โดยเฉพาะประเด็นความเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสอันตรายระลอกสอง ล่าสุด มีนักลงทุนแห่ผุดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ขณะที่โครงการที่เปิดให้บริการก่อนช่วงโควิดยังดึงดูดผู้เช่าและกลุ่มลูกค้า หลังทางการคลายล็อกเต็มรูปแบบ เนื่องจากเจ้าของร้านค้าเช่าส่วนใหญ่ต้องปรับลดพื้นที่รองรับจำนวนลูกค้าที่ลดลงและรักษามาตรฐานตามมาตรการ Social Distancing โดยปรับโหมดสู่โมเดลขนาดกลางและขนาดเล็ก เน้นบริการดีลิเวอรี่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์การค้าประเภทคอมมูนิตี้มอลล์ ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์และตลาดนัด ทั้งอัตราค่าเช่าที่ไม่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่และบรรยากาศกลางแจ้งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าอีกส่วนหนึ่ง ข้อมูลจากบริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) ระบุว่า การรักษาระยะห่างทางสังคมถือเป็นมาตรฐานใหม่ในธุรกิจ ศูนย์การค้ากึ่งในร่มและกลางแจ้งที่ลูกค้าสามารถเพลิดเพลินกับอากาศบริสุทธิ์ ป๊อปอัปสโตร์ หรือรูปแบบโครงการค้าปลีกที่แปลกใหม่ เพิ่มพื้นที่สันทนาการ เช่น พื้นที่สีเขียว ที่นั่งกลางแจ้ง พื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยง พื้นที่หอประชุม พื้นที่บนดาดฟ้า และลู่วิ่งจ๊อกกิ้ง สถานที่รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความปลอดภัยและมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มร้านค้าปลีก โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น เครื่องสำอาง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นรูปแบบอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งธุรกิจที่ปรับตัวเร็วที่สุด คือ กลุ่มฟาสต์ฟู้ดต่างลดโซนพื้นที่นั่ง เพิ่มขนาดห้องครัวและพื้นที่รับส่งอาหาร ร้านอาหารบรรยากาศนั่งสบายที่มีขนาดใหญ่ต่างลดขนาดพื้นที่เช่า คาดการณ์ร้านค้าปลีกมีแนวโน้มลดพื้นที่ลง

Read More

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จัดอันดับ 10 พฤติกรรมบนวิถี New Normal หลังโควิด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและภาคแรงงาน ต่างมีการปรับตัวเพื่อรับมือและสอดรับกับวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) ล่าสุด “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างร่วมตอบแบบสอบถามจำนวน 1,124 คน ในหัวข้อ “วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคุณอย่างไร” พร้อมเผย 10 อันดับปรากฎการณ์วิถีชีวิตแบบใหม่หลังโควิดที่ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเริ่มเข้าสู่ระยะปลดล็อคมาระยะหนึ่งแล้ว แต่พฤติกรรมหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ของผู้คนในปัจจุบัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก ได้จัดอันดับ 10 พฤติกรรมที่ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานไว้ดังนี้ สำหรับอันดับที่หนึ่ง 90.91% คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับรูปแบบการช้อปปิ้งออนไลน์ ซึ่งเห็นได้ชัดในสถานการณ์ครั้งนี้ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดอี-คอมเมิร์ซ เติบโตพุ่งขึ้นไปอีก ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด มีคาดการณ์ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ หรือช้อปออนไลน์ในกลุ่ม C2C หรือ Customer to Customer ไม่รวมบริการจองที่พักโรงแรม ตั๋วเครื่องบิน ดิจิทัลคอนเทนต์ และบริการอื่น ๆ ระบุว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท

Read More

ท่องเที่ยวไทยอ่วม ถึงเวลาต้องปรับตัว

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งคุกคามสังคมโลกและยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงโดยง่ายเช่นในปัจจุบันนี้ นอกจากจะส่งผลให้ธุรกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปต้องปรับตัวให้สอดรับกับวิถีใหม่ หรือ New Normal เพื่อที่จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าแทนที่จะหยุดนิ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา อาจให้ภาพของความคลี่คลายในสถานการณ์ หากแต่ในความเป็นจริงอนาคตที่วางอยู่เบื้องหน้าดูจะอึมครึมและปราศจากสัญญาณเชิงบวกอยู่ไม่น้อย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดซึ่งเริ่มต้นในช่วงปลายของไตรมาสที่ 1 ส่งผลให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 กลายเป็นไตรมาสที่ย่ำแย่ที่สุด เนื่องเพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบหยุดชะงัก การผลิตและการส่งออกไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งเมื่อเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการป้องกันให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลายเริ่มกลับมาดำเนินการได้ภายใต้มาตรการที่คลี่คลายลง ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะพ้นจุดต่ำสุดและกำลังจะฟื้นตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ หากแต่ในความเป็นจริงตลอดช่วงเวลาของไตรมาสที่ 3 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนพร้อมกับการสิ้นสุดปีงบประมาณ สถานการณ์โดยรอบกลับไม่ได้บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวมากนัก มิหนำซ้ำยังมีลักษณะที่พร้อมจะจมดิ่งไปหาจุดต่ำสุดใหม่ได้ตลอดเวลาอีกด้วย เพราะแม้หลายฝ่ายจะพยายามปลอบประโลมว่าด้วยการทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่นั่นก็อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี หรืออาจยาวนานถึง 5 ปีนับจากนี้ เหตุที่เป็นดังนี้ในด้านหนึ่งก็เนื่องเพราะประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่ผูกพันกับกำลังซื้อของคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งหากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวโอกาสที่จะมีคำสั่งซื้อก็จะชะลอตัวต่อไป ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก ความหวังที่ว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเดินทางสร้างรายได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็อาจต้องใช้เวลานานไม่ต่ำกว่า 2 ปี การคาดการณ์ในลักษณะดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ว่า หลักประกันความปลอดภัยจาก COVID-19 โดยเฉพาะวัคซีนยังไม่มีการพัฒนาได้สำเร็จ โดยหลายฝ่ายประเมินเบื้องต้นว่าวัคซีนที่ได้ผลในการจัดการกับ COVID-19 น่าจะคิดค้นได้เร็วที่สุดภายในเดือนกันยายนปีหน้า และกว่าที่วัคซีนจะเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ทั่วโลกและประเทศกำลังพัฒนา ก็น่าจะยาวนานไปจนถึงปี 2022 ดังนั้น แนวโน้มที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เทียบเท่าก่อนเกิดการระบาด ก็น่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2022 หรืออีกประมาณ 2 ปีนับต่อจากนี้ ก่อนหน้านี้

Read More

ม.สวนดุสิตพลิกโฉมท่องเที่ยวตราด ดันร่อนพลอยทับทิมสยามฟื้นโควิด

คณะวิจัยม.สวนดุสิตเร่งมือยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน อ.บ่อไร่ จ.ตลาด เพื่อพลิกฟื้นในช่วงโควิด-19 หลังคลิปไวรัล “การร่อนพลอย” ทำนักท่องเที่ยวแห่ชม พร้อมผสานวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชนพื้นเมือง “ชาวชอง” เป็นจุดขายร่วมภายใต้การสนับสนุนจากนายอำเภอบ่อไร่ นายภานุวัฒน์ พุทธเกสร นายอำเภอบ่อไร่ จ. ตราด เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย และคณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน (Gastronomy Village Tourism) ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก (ระยอง-จันทบุรี-ตราด) บนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งได้ทุนสนับสนุนการวิจัยมาจากหน่วยการบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ อ.บ่อไร่ จ. ตราด เป็นพื้นที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูงมาก โดยเฉพาะ ต.ช้างทูล และ ต.หนองมน ที่มีเหมืองแร่และมีการขุดพลอยทับทิมสยาม ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนแห่งใหม่ด้วยการนำเสนอ ‘การร่อนพลอย’ ซึ่งจะพบพลอยได้เยอะมากโดยเฉพาะในฤดูฝน

Read More