รถไฟฟ้าสายสีม่วงเชื่อมเมือง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจก่อสร้างรับอานิสงส์
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถือว่าเป็นอีกหนึ่งพันธกิจสำคัญของรัฐบาลไม่ว่าสมัยใด เพราะนอกจากเหตุผลของการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว อีกนัยหนึ่งที่สำคัญคือ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกระนาบ เห็นได้จากโครงการรถไฟฟ้าทั้งระบบใต้ดินและทางยกระดับ ที่ภายหลังจากภาครัฐอนุมัติโครงการและเปิดเผยเส้นทาง ผู้ประกอบการรายใหญ่เริ่มจะขยับตัวมองหาทำเลและปักหมุดเตรียมผุดโครงการทั้งอสังหาริมทรัพย์และคอมมูนิตี้มอลล์ในบริเวณใกล้เคียง เมื่อมองเห็นศักยภาพที่จะสร้างผลกำไรได้ในอนาคต โครงสร้างพื้นฐานเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคมนาคมขนส่ง มักจะก่อให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทที่รับผิดชอบโครงการจากภาครัฐเท่านั้น ทว่า ภาคเอกชนเองก็มีโอกาสที่จะขยายตัวเช่นเดียวกัน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) มองว่า การเริ่มต้นก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ จะช่วยหนุนให้มูลค่าการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์คมนาคมในปี 2022 ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งคาดว่าในปี 2023 จะมีความคืบหน้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ) และการเปิดประมูลสายสีแดง ทั้งแดงเข้มและแดงอ่อนหลายเส้นทาง ซึ่งการเปิดประมูลและการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ดังกล่าว จะยังคงมีบทบาทสำคัญที่หนุนให้มูลค่าการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์คมนาคมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะสร้างเม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉพาะในช่วงปี 2024-2026 EIC ประเมินว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ธุรกิจก่อสร้างราว 60,306 ล้านบาท หรือคิดเป็น 73% ของมูลค่างานก่อสร้างและวางระบบราง จากอัตราความก้าวหน้าของการก่อสร้างที่เร่งตัวขึ้นจากการพิจารณาความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จที่ผ่านมา พบว่า อัตราความก้าวหน้าของการก่อสร้างจะเร่งตัวขึ้นในช่วงกลางของโครงการ ยกตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค บางซื่อ-ท่าพระ) ซึ่งมีระยะเวลาการก่อสร้างราว 8 ปี มีอัตราความก้าวหน้าในปีที่ 3-6 คิดเป็น
Read More