Home > ธุรกิจแฟรนไชส์

30 ปี ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว ปรับปรุง เพื่อเปลี่ยนแปลง

เป็นเวลา 30 ปี จากจุดเริ่มต้นที่ พันธ์รบ กำลา ประธานบริหาร ตั้งต้นและพัฒนาสูตร ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จนกระทั่งแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวเป็นที่รู้จัก มีผู้สนใจร่วมลงทุนเป็นจำนวนกว่า 4,000 สาขาทั่วประเทศ แม้ว่าปัจจุบันบะหมี่แบรนด์ชายสี่จะได้รับเสียงวิพากษ์กันอย่างหนาหูว่า รสชาติไม่นิ่ง ความอร่อยของบะหมี่แต่ละสาขาแตกต่างกัน แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อความนิยมที่ค่อยๆ ลดลง ในขณะที่คู่แข่งตลาดสตรีทฟูดมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ปัญหาที่เปรียบเสมือนจุดบอดของแบรนด์ชายสี่กลายเป็นปมที่ผู้บริหารต้องเร่งแก้ไข เพื่อที่จะก้าวสู่จุดหมายที่ไปไกลมากกว่าการขยายจำนวนแฟรนไชส์ หรือการออกแบรนด์ลูก รวมถึงการพัฒนาธุรกิจในเครือของชายสี่ คอร์ปอเรชั่น “การอยู่ในเส้นทางธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะส่งผลให้เราโตเร็วไม่ได้ดั่งใจ บวกกับทิศทางของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ที่ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวถูกก่อตั้งขึ้น สตรีทฟู้ดที่เราเห็นก็จะมีแต่บะหมี่เกี๊ยว จนถึงวันนี้จะเห็นได้ว่า เรามีเพื่อนที่อยู่ในเส้นทางนี้จำนวนมาก” อนุชิต สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ปัจจุบัน ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น มี 3 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ กลุ่มแฟรนไชส์ กลุ่มร้านอาหาร และกลุ่มเทรดดิ้ง มีแค่แบรนด์ ชายสี่โกลด์

Read More

เจาะแฟรนไชส์ 3แสนล้าน เครื่องดื่ม-ไอศกรีม ยังฮอตฮิต

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ปี 2567 จะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านบาท แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ย 18% และมีผู้สนใจลงทุนเพิ่มขึ้น 15% โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการหาอาชีพที่สองนอกเหนือจากงานประจำ หรืออยากเป็นนายตัวเองและอยากรวยเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน สถิติจำนวนแฟรนไชส์ในไทยยังขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้อัตราเกิดใหม่อาจชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดย Thaifranchisecenter ศูนย์รวมธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เก็บรวบรวมตัวเลขล่าสุดเมื่อช่วงต้นปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 619 กิจการ เพิ่มขึ้น 3% จากปี 2566 ที่มีจำนวน 606 กิจการ หากเจาะย้อนหลัง 5 ปีและช่วงเวลาเกิดสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดอย่างหนักเมื่อปี 2563 พบว่า ปี 2566 มีกิจการ 606 กิจการ เพิ่มขึ้น 11% ปี 2565 มีจำนวน 548 กิจการ เพิ่มขึ้น 9% ปี 2564

Read More

แฟรนไชส์ไทย-ต่างชาติ คึกคัก 100 แบรนด์แห่ช่วงชิงลูกค้า

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีมากกว่า 90,000 ราย เกิดใหม่มากกว่า 20 แห่งต่อวัน และมีบริษัทเจ้าของแฟรนไชส์มากกว่า 1,000 ราย มูลค่าตลาดพุ่งทะลุเกินกว่า 200,000 ล้านบาท จนกลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางที่บรรดาต่างชาติแห่เข้ามาช่วงชิงลูกค้ามากขึ้นทุกปี สิ่งที่น่าจะสะท้อนภาพได้อย่างดี คือ งาน Thailand Franchise & Business Opportunities (TFBO 2022) ซึ่งถือเป็นงานแสดงแฟรนไชส์ที่ใหญ่สุดในประเทศไทยและจัดต่อเนื่องยาวนานเป็นปีที่ 18 มีนักลงทุนไทยและต่างชาติกว่า 6,000 คนเข้าร่วมชมงาน โดยปีนี้เริ่มจัดระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม ณ ไบเทค บางนา แน่นอนว่า ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 หลังผ่านวิกฤตโควิดและหลายฝ่ายต่างคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวดีกว่าที่ผ่านมา แม้ยังมีปัจจัยเสี่ยง ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาทและเงินเฟ้อยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ในตลาดแฟรนไชส์ยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะแบรนด์และกิจการที่มีศักยภาพสูง ค่าสิทธิ์ต่างๆ อยู่ในระดับคุ้มค่าเหมาะสม มหกรรม TFBO 2022 จึงมาได้ถูกจังหวะ ซึ่งปีนี้มีธุรกิจแฟรนไชส์เข้าร่วมนับ 100 แบรนด์

Read More

พีทีจี ปูพรมชนยักษ์ ลุย “พันธุ์ไทย-คอฟฟี่เวิลด์”

พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ยังคงเดินหน้าลุยแผนโค่นแชมป์ หลังปรับภาพลักษณ์องค์กร เร่งผุดสถานีบริการน้ำมัน “พีที” รูปโฉมใหม่ ยกเครื่องร้านสะดวกซื้อ “แมกซ์มาร์ท” ขยายธุรกิจร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ซื้อหุ้นกิจการ “คอฟฟี่เวิลด์” และซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใน บริษัท จิตรมาส แคเทอริ่ง (JTC) รุกธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเต็มสูบ แน่นอนว่า ทั้งธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจร้านกาแฟ และธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายร้านค้าเติมเต็มสถานีบริการ ตั้งเป้าหมายชนยักษ์ใหญ่ ปตท. โดยเฉพาะธุรกิจร้านกาแฟ ซึ่ง “คาเฟ่ อเมซอน” ยึดครองเจ้าตลาดมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกัน หากดูตัวเลขตลาดกาแฟที่มีมูลค่ามากกว่า 65,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟในบ้าน ประมาณ 38,000 ล้านบาท และกาแฟนอกบ้านอีกกว่า 27,000 ล้านบาท โดยในตลาดกาแฟนอกบ้านเป็นกลุ่มร้านคาเฟ่

Read More

ฟู้ดเชนยึดสมรภูมิใหม่ เจาะแฟรนไชส์ 2.3 แสนล้าน

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (ซีอาร์จี) ออกมาเปิดกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ตั้งเป้า Transform from Operator to Innovator ขยายโหมดจากผู้รับสิทธิ์บริหารแฟรนไชส์ หรือ “แฟรนไชซี” สู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์แบรนด์ร้านอาหารยักษ์ใหญ่ เพื่อเร่งปูพรมขยายสาขาทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นช่วงจังหวะแต่งตัวขยายพอร์ตธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมส่งออกทุกๆ แบรนด์ในเครือ เจาะตลาดอาเซียน หลังจากซุ่มศึกษาข้อมูลมานานหลายปี ในเวลาเดียวกัน ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังมีความต้องการสูงมาก หลายคนต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เปรียบเทียบจากปี 2560 ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และมีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 2 แสนล้านบาท ปี 2561 มูลค่าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2.2-2.3 แสนล้านบาท มีผู้สนใจขอข้อมูลแฟรนไชส์ 15,000-20,000 รายต่อปี และเป็นธุรกิจอาหารสัดส่วนมากสุดเกือบ 23% โดยตลาดมีอัตราเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า

Read More

ซีพี แตกแบรนด์พรึ่บ เจาะแฟรนไชส์แสนล้าน

คาดการณ์กันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยล่าสุดมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และปี 2560 มีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 200,000 ล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจอาหารถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมสูงสุด ซึ่งดูเหมือนว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ “ซีพี” ถือเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายร้านอาหารมากที่สุด ไม่นับรวมเครือข่ายแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” อีกหลายพันแห่ง ทั้งนี้ หากเจาะเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเครือซีพีกำลังเร่งรุกขยายช่องทางอย่างหนัก เพื่อต่อยอดธุรกิจปลายน้ำนำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปสู่มือผู้บริโภคครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยมี 2 แบรนด์หลัก คือ กลุ่มห้าดาวและเชสเตอร์ ในกลุ่มห้าดาวนั้น ซีพีเอฟประกาศนโยบายและแผนลุยตลาดแฟรนไชส์อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2560 เพราะถือเป็นธุรกิจแรกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจผ่านโครงการ “เถ้าแก่เล็กธุรกิจห้าดาว” ตั้งแต่ปี 2543 ในรูปแบบแฟรนไชส์แบบ 100% ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทในธุรกิจไมโครแฟรนไชส์ หรือธุรกิจเล็กที่เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่สูงมากนัก ประมาณ 15,000

Read More

อาหาร-เครื่องดื่ม ตัวเลือกแรกในธุรกิจแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ธุรกิจอาหารเครื่องดื่มเติบโตขึ้นจากข้อเท็จจริงของการเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องบริโภคด้วยการเติบโตของธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ไม่ได้ดำเนินไปโดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งไทยเบฟเวอเรจ หรือกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แสดงหลักแต่โดยลำพังเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริง ธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ยังเติบโตขึ้นจากข้อเท็จจริงของการเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องบริโภคด้วย นอกจากนี้ การเติบโตขึ้นของธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ยังประกอบส่วนไปด้วยผู้ประกอบการรายย่อยๆ ที่ผันตัวเข้ามาดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ (franchise)ซึ่งมีส่วนหนุนนำให้จักรกลทางเศรษฐกิจในแต่ละระนาบดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจล่าสุดของสมาคมแฟรนไชส์ไทย ระบุว่า ปัจจุบันมีร้านค้าที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ รวมมากถึงกว่า 85,000 แห่ง โดยมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 20 หรือมีสาขาเปิดใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า 7,000-8,000 แห่ง หรือมีร้านค้าแฟรนไชส์เปิดใหม่กว่า 20 แห่งต่อวันเลยทีเดียว การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มอาหารเครื่องดื่ม ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการและเป็นเจ้าของธุรกิจเอง มากกว่าที่จะเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทในแบบเดิม ขณะที่บางส่วนประเมินว่าธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน มาตรการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์จากภาครัฐ ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก รวมถึงการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันการเงิน ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนส์ไชน์ในไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปีที่ผ่านมา (2555-2556) มูลค่าการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ มีมูลค่าถึงกว่า 2.38 แสนล้านบาท “กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม นับเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มการศึกษา และกลุ่มค้าปลีก ตามลำดับ ซึ่งการลงทุนมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบร้านค้า ด้วยเงินลงทุน 2-3 ล้านบาท 

Read More