“แลนด์มาร์ค” ดูจะเป็นคำจำกัดความที่อาจมีความหมายถึงเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ทางธุรกิจของบรรดานักธุรกิจ รวมไปถึงนักลงทุนแถวหน้าของไทยในห้วงเวลานี้ และแน่นอนว่าแลนด์มาร์คดูจะไม่ได้ถูกจำกัดวงอยู่แต่เฉพาะธุรกิจภาคเอกชนเท่านั้น หากแต่ยังถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประดุจเรือธงที่สะท้อนถึงเป้าประสงค์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยของภาครัฐอีกด้วย สัปดาห์ที่ผ่านมา อีก 1 โครงการที่สำคัญและนับเป็นโครงการใหญ่ระดับชาติของภาครัฐกับอภิมหาโปรเจ็กต์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อุดมไปด้วยความหวังว่าจะเป็นโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงการเดินหน้าและพัฒนาด้วยความหวังที่จะทัดเทียมประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้วของประเทศในทวีปเอเชีย และแม้ว่าโครงการที่ถูกวาดฝันให้เป็นแลนด์มาร์คบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบหลังจากผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล และแม้ว่าการทำประชาพิจารณ์จะยังมีข้อกังขาอยู่บ้างก็ตาม หากแต่โครงการดังกล่าวยังเต็มไปด้วยกระแสเสียงทั้งฝั่งที่เห็นด้วยพร้อมเหตุผลที่ว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สำหรับการพักผ่อนและกิจกรรมสันทนาการต่างๆ และเสียงที่ไม่เห็นด้วย ทั้งจากเหตุผลในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะถูกลดทอนลง สภาพความเป็นไปของผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับความสะดวกของผู้อยู่อาศัยริมแม่น้ำ รวมไปถึงข้อผิดพลาดในเรื่องการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่ยังถูกวิจารณ์ดังอย่างต่อเนื่องและไม่ได้จำกัดวงการพูดคุยอยู่เพียงแต่ในสภากาแฟยามเช้าเท่านั้น ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้น กระนั้นโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ประหนึ่งว่าหากล้มเลิกโครงการนี้จะส่งผลเสียต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ทั้งนี้ตัวเลขรายได้จากบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำประหนึ่งเส้นเลือดใหญ่ของไทยอย่างแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทำให้ประเทศมีรายได้ต่อปี 3 แสนล้านบาท ทั้งจากธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร เรือท่องเที่ยว เรือด่วน เรือลากจูง เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวแล้วจึงไม่น่าแปลกใจนักหากที่ดินริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกหมายปอง เพราะหากเทียบกับรายได้ที่เข้าประเทศที่มากถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี นั่นอาจสะท้อนให้เห็นตัวเลขรายได้ต่อธุรกิจต่างๆ ที่สูงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ความเป็นไปของกระแสน้ำที่กำลังดำเนินไปตามครรลองแห่งธรรมชาติ กำลังจะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามครรลองของกระแสเงินตราและผลกำไรของนักลงทุนหรือไม่ เมื่อการกระจุกตัวของห้างร้าน ศูนย์การค้าในเมืองนั้นเริ่มเผยให้เห็นถึงความแน่นขนัด จนแทบจะมองไม่เห็นพื้นที่ว่างที่จะสามารถสร้างประโยชน์ใดๆ ได้อีก การขยับขยายออกมายังพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ จึงเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพฯ ฝั่งใต้ ทั้งนี้จากปีที่ผ่านมา (2558) มีการลงทุนทำธุรกิจของภาคเอกชนไทยมีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านบาท โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงธุรกิจสู่การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทิศทางของกระแสธุรกิจริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังเชี่ยวกรากไหลแรงยิ่งกว่ากระแสน้ำ ดังนั้นในช่วงเวลาย้อนหลังไป 2-3 ปีจนปัจจุบัน
AsiatiqueReal Estateธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัดโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโครงการเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ Read More