Home > ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Page 4)

อสังหาฯ ไทยเนื้อหอม ทุนต่างชาติเล็งสร้างอาณานิคม

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย น่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเฝ้ารอความหวังใหม่ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเมื่อคืนวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังจากเปิดประชุมสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ และผลสรุปเป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะ คสช. ได้รับเสียงโหวตให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยต่ออีกสมัย ท่ามกลางความไม่พอใจและความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในสังคม ทว่า ทุกอย่างจำต้องเดินหน้าต่อไป การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังเป็นสิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้น ไม่ว่าเสถียรภาพของรัฐบาลจะมั่นคงหรือไม่ก็ตาม ฟันเฟืองทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆ เช่น การส่งออก การท่องเที่ยว แม้จะยังเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย แต่หากพิจารณาอย่างรอบด้านจะเห็นได้ว่าทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยว ยังต้องอาศัยอานิสงส์จากทิศทางเศรษฐกิจภายนอกประเทศเป็นหลัก แต่ตัวชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดีน่าจะเป็น ธุรกิจอสังหาฯ ไทย การค้าภายในประเทศ และความสามารถในการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทย ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยค่อนข้างสดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่ผู้ประกอบการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่เนื้อหอมที่สุด คือ โครงการที่เกิดขึ้นตามแนวรถไฟฟ้า โดยมีหลายระดับราคาเพื่อรองรับผู้บริโภคทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ประกอบการมองว่า พื้นที่ดังกล่าวจะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างแท้จริง การขยายตัวการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ก่อให้เกิดการขยายตัวของตลาดอสังหาฯ อย่างที่หาคนแตะเบรกได้ยาก เมื่อทั้งนักวิเคราะห์ ผู้ประกอบการ ต่างมองเห็นเพียงว่า ตลาดมีดีมานด์แต่ยังไม่มีซัปพลายมากพอ เป็นผลให้ในเวลาไม่นานมีจำนวนยูนิตคอนโดมิเนียมเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก ทว่า ปริมาณซัปพลายที่มีไม่ได้รับการดูดซับมากเพียงพอ กระทั่งเมื่อ 3-4

Read More

จีดีพี หดตัว-อสังหาฯ ซบเซา สัญญาณร้ายเศรษฐกิจไทย

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยที่สะท้อนผ่านตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุด ดูจะเป็นประจักษ์พยานและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ-ล้มเหลวของการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลคณะรักษาความสงบห่งชาติ (คสช.) ในช่วงระยะเวลาตลอด 5 ปีหลังเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานะใหม่ในรัฐบาลชุดหน้า หลังสิ้นวาระลงจากผลของการเลือกตั้งและการเปิดประชุมรัฐสภาที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ ความตกต่ำย่ำแย่ทางเศรษฐกิจที่ได้รับการแถลงยืนยันโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 1/2562 เติบโตในระดับร้อยละ 2.8 ซึ่งนับเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 17 ไตรมาส บ่งบอกถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงการบริหารงานของ คสช. ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี แม้ว่าตลอดระยะเวลาก่อนหน้ากลไกรัฐจะพยายามสื่อสารกับสาธารณะว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นก็ตาม ความจำเริญแบบถดถอยลงทางเศรษฐกิจไทยในลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ต้องมีการปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจลงอีก จากเดิมที่คาดว่าจะคงการเติบโตตลอดทั้งปีไว้ได้ที่ระดับร้อยละ 4 มาเหลือเพียงการเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 ในปี 2562 เท่านั้น ยังไม่นับรวมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจฉุกกระชากให้ต้องมีการปรับลดเป้าการเติบโตอีกสำหรับอนาคต มูลเหตุสำคัญที่ทำให้จีดีพีของไทยในไตรมาส 1/2562 ตกต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ได้รับการอธิบายในลักษณะที่เกือบจะกลายเป็นสูตรสำเร็จว่าเป็นผลจากการที่การส่งออกของไทยชะลอตัวลงจากแรงกดดันของสงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐที่ชะลอตัวลง ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่า ปัจจัยทางการเมืองว่าด้วยการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะช่วยให้เกิดการผลักดันการเบิกจ่ายงบประมาณครั้งใหม่ ที่อาจช่วยคลี่คลายสถานการณ์ตกต่ำทางเศรษฐกิจนี้ได้บ้าง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในระดับร้อยละ 2.8 ในไตรมาส 1/2562 ที่ฉุดให้คาดว่าตลอดทั้งปีเศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับร้อยละ 3.3-3.8 นับเป็นการขยายตัวเติบโตในระดับต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนประเทศอื่นๆ ซึ่งขยายตัวในระดับเฉลี่ยร้อยละ

Read More

ทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 62 ความท้าทายหรือวิกฤต

นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Loan-to-Value หรือ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านหรือการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เพื่อหวังจะลดปัญหาฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ปี 2561 มีผู้ประกอบการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมากกว่า 60,000 หน่วย และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แบงก์ชาติใช้มาตรการนี้ เพราะครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 แบงก์ชาติเคยใช้นโยบาย Macroprudential ซึ่งมีด้วยกัน 3 มาตรการ 1. กำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน Loan-to-Value หรือ LTV ในภาคอสังหาฯ 2. มาตรการด้าน Debt-to-Income เพื่อกำหนดเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ 3. มาตรการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks:D-SIBs) ในอดีตแบงก์ชาติเคยประกาศใช้มาตรการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง คือ ในปี 2546 ปี 2552 ปี 2554 และปี

Read More

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ สัญญาณเตือนภัยต้นปีหมู??

ความกังวลใจว่าด้วยการสะสมสินค้าล้นเกินในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา ที่อาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ดูจะเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงว่าด้วยปัจจัยกดดันจากนโยบายภาครัฐที่กำลังจะมีผลบังคับในไม่ช้า ปัจจัยเสี่ยงหรือ negative impact ที่กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2562 และต่อจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระการผ่อนชำระของผู้บริโภคแล้ว ยังประกอบส่วนด้วยมาตรการ LTV-loan to value ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการลดเพดานปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีผลให้การซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียมหลังที่ 2 เป็นต้นไป ต้องจ่ายเพิ่มเงินดาวน์ ประเด็นดังกล่าวนับเป็นการชะลออำนาจการซื้อของผู้บริโภคไปโดยปริยาย เพราะจากเดิมการซื้อบ้านอาจดาวน์ประมาณ 5% กลับต้องเพิ่มเป็น 10-20-30% การซื้อคอนโดมิเนียม เดิม 10% เพิ่มเป็น 20-30% หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการซื้อบ้านหลังที่ 2 เงินดาวน์สูงสุด 20% ถ้าซื้อหลังที่ 3 ขึ้นไป บังคับเงินดาวน์ถึง 30% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในการระบายสินค้าด้วย แม้ว่ามาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในด้านหนึ่งจะเป็นความพยายามในการลดภาวะร้อนแรงในตลาดคอนโดมิเนียมที่มีทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย การลงทุนและการเก็งกำไรจำนวนมาก ที่ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมมีความร้อนแรงเกินจริง ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมปรับตัวตามสภาพ และได้รับการประเมินว่าเป็นมาตรการที่พยายามทำให้ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความแข็งแรงมากขึ้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งมาตรการที่มุ่งหมายสกัดการเก็งกำไรในตลาดคอนโดมิเนียมดังกล่าว กลับส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเงินดาวน์สูงขึ้นอย่างมาก และทำให้เกิดการชะลอตัวในตลาดบ้านเดี่ยวไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันปัจจัยด้านการเมืองดูจะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

Read More

อสังหาฯ บูมโคเวิร์กกิ้งพุ่งเท่าตัว JustCo เร่งเครื่องยึดตลาด

น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ปลุกกระแสความนิยมการใช้พื้นที่ทำงานนอกกรอบสไตล์ “โคเวิร์กกิ้งสเปซ” เพราะคนจำนวนมากต้องเปลี่ยนรูปแบบมาทำงานที่บ้านและใช้บริการตามร้านกาแฟ ร้านฟาสต์ฟู้ด จนกระทั่งเกิดธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซอย่างเป็นทางการในกรุงเทพฯ สอดรับกับจำนวนของฟรีแลนซ์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะเดียวกันพื้นที่อาคารสำนักงานเกรดเอใจกลางเมืองมีจำนวนน้อยและราคาแพง ยิ่งทำให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในทำเลทอง ถนนสาทร สีลม ราชเทวี สุขุมวิท ซอยอารีย์ ลาดพร้าว รวมถึงจังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ สงขลา และเมืองท่องเที่ยว ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี ธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซขยายตัวอย่างรวดเร็ว และปรับเปลี่ยนจากเดิมที่มีเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการไทยเพียงไม่กี่ราย เปิดบริการตามตึกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เริ่มมีผู้เล่นมากขึ้นและเน้นการสร้างพื้นที่ขนาดใหญ่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ทุกรายแข่งดีไซน์แนวสร้างสรรค์ มีบริการหลากหลายรองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ และเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ใช่แค่ฟรีแลนซ์แบบเดิม แต่ขยายจับกลุ่มลูกค้าประเภทองค์กร ทั้งบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการใช้โคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นสำนักงานหลัก ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่สามารถใช้โคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นสำนักงานย่อย หรือสำรองที่นั่งทำงานไว้สำหรับให้พนักงานที่ไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ แน่นอนว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลบวกโดยตรงจากธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซ ทั้งในแง่การขายพื้นที่ การเช่าพื้นที่และการดึงดูดลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ต้องการบ้านหรือคอนโดมิเนียมเพียงเพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น แต่ต้องสร้างสังคมหรือ “คอมมูนิตี้” ในกลุ่มลูกบ้าน มีรายละเอียด ความรู้สึกและเอื้อต่อการทำงานที่ไม่อยู่ในกรอบแบบเดิมๆ ทั้งนี้ ดูเหมือนว่าบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ชูจุดขายด้านไลฟ์สไตล์อย่าง “แสนสิริ” มองเห็นเทรนด์ชัดเจน ตัดสินใจลงทุน 2,800 ล้านบาท

Read More

LPN พลิกกลยุทธ์เพิ่มฐานรายได้สู่ Recurring Income นำร่องคอนโด “ลุมพินี ลีฟวิ่ง พลัส รังสิต-คลอง1” ปล่อยเช่าเจาะลูกค้ากลุ่ม White collar

LPN เดินหน้าตามโรดแมป “Year of Change” ขยายฐานรายได้สู่ Recurring Income สร้างความยั่งยืน ล่าสุด นำร่องเปิด “ลุมพินี ลีฟวิ่ง พลัส รังสิต-คลอง1” คอนโดฯเพื่อปล่อยเช่าเจาะลูกค้ากลุ่ม White collar เพิ่มคุณค่าการอยู่อาศัยผ่านพื้นที่ Public Zone จัดเต็มบริการ Co-Living Space รองรับเทรนด์ใหม่การใช้ชีวิตคน Gen Y พร้อมประกาศเปิดรับเอเจนท์ ฟรีแลนซ์ช่วยหาผู้เช่า ก่อนขยายสู่โครงการอื่นในอนาคต “Year of Change : ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง” คือ ยุทธศาสตร์ที่ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) สื่อมายังตลาดตั้งแต่ต้นปี 2561 ถึงวันนี้ ภาพการเปลี่ยนแปลงได้ปรากฏชัดเจนในหลายๆด้าน หนึ่งในนั้นคือ กลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้ที่เน้นขยายฐานรายได้จากธุรกิจหลักสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ผ่านรูปแบบจากการสร้างเพื่อ “ขาย” อย่างเดียวมาเป็นการสร้างหรือการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อ “ปล่อยเช่า” ใน (บาง)

Read More

มาตรการใหม่แบงก์ชาติ สัญญาณเตือน “ฟองสบู่อสังหาฯ”

สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทยกำลังมีประเด็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองไม่น้อย ทั้งจากฝั่งของผู้ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย นักเก็งกำไร และผู้ประกอบการอสังหาฯ เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมประกาศใช้มาตรการ Loan to Value (LTV) คือการลดวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าที่อยู่อาศัยลง เพื่อหวังจะคัดกรองคุณภาพของลูกหนี้ และป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น เหตุผลของการพิจารณาประกาศใช้มาตรการ LTV ของ ธปท. น่าจะมาจากอัตราการเติบโตของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งแนวตั้งและแนวราบที่มีผู้ประกอบการหน้าเก่าและหน้าใหม่ประกาศเปิดตัวโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรก ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่ชวนให้แปลกใจแต่อย่างใด ที่จะมีจำนวนโครงการที่อยู่อาศัยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อนักลงทุนกระโจนเข้ามาเล่นในตลาดนี้ เพื่อหวังจะแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เมื่อมูลค่าการซื้อขายอสังหาฯ ในไทยปี 2560 มีมูลค่าสูงถึง 576,396 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผู้ซื้อชาวไทย 80 เปอร์เซ็นต์ และผู้ซื้อชาวต่างชาติ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่มีส่วนให้การเติบโตของโครงการที่อยู่อาศัยมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม นั่นคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การขยายเส้นทางรถไฟฟ้าจากในเมืองหลวงสู่รอบนอก ทำให้บรรดาผู้ประกอบการต่างกว้านซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยแนวตั้ง ด้วยระยะเวลาการก่อสร้างเพียงไม่นาน ที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมผุดขึ้นราวดอกเห็ดหน้าฝน ทั้งนี้เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่แบงก์ชาติเตรียมจะประกาศใช้ใหม่ ในกรณีการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป หรือการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป ต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าหลักประกัน โดยเงื่อนไขเดิมสำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่

Read More

วิภาวดี-จตุจักร ทำเลทองแห่งอนาคต

หากมองว่าถนนวิภาวดีรังสิต กำลังกลายร่างเป็นถนนเส้นธุรกิจแห่งใหม่ ก็อาจไม่แปลกแต่อย่างใด เพราะภายหลังจากมีรถไฟฟ้า BTS เข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2542 ก็ได้มีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์มากขึ้น ทั้งอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้า เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ ธ.ทหารไทย, อาคารสำนักงานซันทาวเวอร์, อาคารสำนักงานใหญ่ ปตท., อาคารเอ็นเนอยี่ คอมเพล็กซ์, ยูเนี่ยนมอลล์ หรือแม้กระทั่งห้างเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว ก็ยังมีการรีโนเวทปรับปรุงโฉมใหม่ ตลอดจนมีร้านค้า และอาคารพาณิชย์ต่างๆ มากขึ้น จากที่พักอาศัยสู่ย่านธุรกิจใหม่แห่งเมืองกรุง แม้อดีตย่านนี้ถือเป็นแหล่งพักอาศัย แต่เมื่อสาธารณูปโภคต่างๆ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาที่ดินโดยรอบขยับตัวตาม โดยการประเมินราคาที่ดินของกรมธนารักษ์รอบปี 2559-2562 ถ.วิภาวดีรังสิต (เขตห้วยขวาง) พญาไท ดินแดง อยู่ที่ 220,000 บาทต่อตารางวา ถ.วิภาวดีรังสิต (เขตจตุจักร) อยู่ที่ 150,000-260,000 บาทต่อตารางวา และ ถ.วิภาวดีรังสิต (เขตดอนเมือง) อยู่ที่ 120,000 บาทต่อตารางวา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเมื่อโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ

Read More

เปิดอาณาจักรสันติบุรี เกมรุกปลุกแบรนด์ “สิงห์”

การปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ของกลุ่มตระกูลภิรมย์ภักดี โดยตั้งบริษัท สิงห์เอสเตท จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2557 ดึง “นริศ เชยกลิ่น” อดีตผู้บริหารค่ายเซ็นทรัลพัฒนา และเสริมทีมผู้บริหารระดับบิ๊กๆ เริ่มสะท้อนผลลัพธ์เกมรุกขยายอาณาจักรอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่การผลักดันเป้าหมายรายได้แตะระดับ 2 หมื่นล้านบาทเร็วขึ้นจากปี 2563 เป็นปี 2562 แต่มากกว่านั้น คือ แผนปลุกปั้นแบรนด์ “สิงห์” ขึ้นแท่น Leading Premier Brand ทั้งโครงการ “สิงห์คอมเพล็กซ์” ที่จะเปิดอย่างเป็นทางการปลายปีนี้ และล่าสุดการเผยโฉมโครงการ “สันติบุรี” บ้านเดี่ยวที่แพงที่สุดในประเทศไทย หลังละ 360 ล้านบาท ซึ่งทีมงานระบุว่า “สันติบุรี” ถือเป็นแบรนด์และดีเอ็นเอของสิงห์ ทุกรายละเอียดของโครงการถ่ายทอดจากแนวคิดสำคัญของ “สันติ ภิรมย์ภักดี” แม่ทัพใหญ่ของกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ และผู้สร้างอาณาจักร “สิงห์ เอสเตท” ณัฐวุฒิ มัธยมจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒนาธุรกิจที่อยู่อาศัย บริษัท สิงห์ เอสเตท

Read More

จาก “มิกซ์ยูส” ถึง “สมาร์ท ซิตี้” สมรภูมิใหม่ยักษ์อสังหาฯ

ถูกจับตาทันที เมื่อเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ประกาศเตรียมทุ่มเม็ดเงินหลายแสนล้านบาท ผุดโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City แห่งแรกของซีพี ในอำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ ที่สำคัญ แนวคิด “สมาร์ท ซิตี้” กำลังเป็นจุดขายใหม่ของกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ หลังจากช่วงก่อนหน้านี้พุ่งเป้าผลักดันเมกะโปรเจกต์สไตล์ “มิกซ์ยูส” โดยเฉพาะการเน้นเรื่องการจัดวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภคครบถ้วนในโครงการ เสริมบริการด้านต่างๆ ของเมือง เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ภายใต้แผนยกระดับการพัฒนารับนวัตกรรมยุคดิจิทัล “ไทยแลนด์ 4.0” สำหรับไอเดียของธนินท์ เหตุที่เลือกจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นสถานที่แรก เพื่อทดลองการเชื่อมต่อกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในระบบรางเชื่อมต่อเข้ามายังสถานีมักกะสัน ให้เดินทางจากเมืองเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ภายใน 20 นาที รถไฟจะออกทุก 1 หรือ 2 นาที

Read More