Home > 2016 (Page 6)

“ช้าง-สิงห์” เปิดศึกนอนแอลฯ ยึดธุรกิจอาหาร แข่งเดือด

  2 ยักษ์ใหญ่ “ไทยเบฟเวอเรจ” หรือ “ช้าง” และ “สิงห์ คอร์เปอเรชั่น” กำลังเร่งสยายปีกเจาะธุรกิจอาหาร เพื่อสร้างการเติบโตนอกเหนือจากกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งแนวรบตลาดในประเทศไทยและวางโรดแมพพุ่งเป้าช่วงชิงส่วนแบ่งในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย นับมูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.2559) มียอดขายรวม 100,625 ล้านบาท เติบโต 18.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มียอดขาย 84,697 ล้านบาท กำไรสุทธิ 14,482 ล้านบาท เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 12,481 ล้านบาท โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากภาระขาดทุนลดลงจากธุรกิจเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์  เฉพาะธุรกิจเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์มียอดขาย 9,154 ล้านบาท เติบโต 8% ซึ่งถือเป็นปีแรกที่นำยอดขายของบริษัทใหม่ในเครือ คือ “ฟู้ด ออฟ เอเชีย” มารวมด้วย   นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ

Read More

ซีพีเจาะสูตรแกงไทย รุกตลาด “ครัวโลก”

  ยักษ์ใหญ่ “ซีพี” เหมือนใจตรงกัน เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ (คสช.) สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ เป็นแม่งานพัฒนาอาหารไทยเต็มรูปแบบ เพื่อกำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการปรุง การบริโภค การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารไทยทั่วโลก รวมทั้งการรับรองร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่มีอยู่กว่า 20,000 แห่ง เพื่อยกระดับอาหารไทยให้ได้มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะการสร้างมาตรฐานสูตรต้นแบบการปรุงอาหารของไทย นำร่อง 13 เมนู แบ่งเป็นอาหารคาว 11 เมนู ได้แก่ ส้มตำไทย ผัดไทย กะเพราหมู ต้มยำกุ้งน้ำใส ต้มยำกุ้งน้ำข้น มัสมั่นไก่ สะเต๊ะไก่ ลาบหมู ต้มข่าไก่ พะแนงเนื้อ แกงเขียวหวานไก่ และอาหารหวาน 2 เมนู  ได้แก่ ทับทิมกรอบ และข้าวเหนียวมูน มะม่วงน้ำดอกไม้ เหตุผลสำคัญข้อหนึ่ง คือ รสชาติอาหารไทยในร้านอาหารไทย รวมถึงห้องอาหารไทยของโรงแรมในต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์อาหารไทย ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ

Read More

อิเกียร่วมกับโครงการ “Food4Good พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มด้วย” ระดมทุนสนับสนุนโภชนาการที่ดีให้เด็กไทยเนื่องในวันอาหารโลก

  “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” และเด็กเหล่านี้กำลังเติบโตเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต การบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะส่งผลโดยตรงต่อการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีแก่เด็ก ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กต้นทุนต่ำกว่า 8 แสนคน ที่รอความช่วยเหลือ เนื่องจากเด็กเหล่านี้อยู่ในภาวะทุพโภชนาการ ไม่มีโอกาสได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการอย่างเพียงพอ และขาดความเข้าใจเรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา ในโอกาสพิเศษวันอาหารโลก 2016 (World Food Day) อิเกียจึงร่วมกับโครงการ “Food4Good พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มด้วย” เป็นปีที่ 2 ส่งสินค้ากล่องเก็บอาหารรุ่นแยมก้า (JÄMKA) ระดมทุนสนับสนุนเรื่องอาหารและโภชนาการให้แก่เด็กๆ ที่ขาดแคลนในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1–16 ตุลาคม 59 พาทริซ ดรีอาโน่ ผู้จัดการสโตร์อิเกียบางนา กล่าวว่า “สถานการณ์ปัจจุบันภาวะการขาดแคลนอาหารของเด็กเป็นปัญหาระดับโลก ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ประสบปัญหานี้ แต่ในหลายๆ ประเทศในยุโรปก็เช่นกัน ด้วยปรัชญาและแนวคิดหลักของอิเกียที่มุ่งมั่นสรรค์สร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่คนและสังคมอย่างยั่งยืน และเด็กคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่อิเกียให้ความสนใจ อิเกียไม่ได้มุ่งเน้นแต่ผลิตเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่มีคุณภาพ แต่ให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ชุมชน และเพื่อนบ้านบริเวณโดยรอบ รวมถึงอาหารที่จำหน่ายก็ต้องเป็นอาหารที่ดี มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ดังนั้น อิเกียจึงมองหาแนวทางที่จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาร่วมกันเพื่อช่วยเหลือสังคมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวคิดหลักของอิเกียสอดคล้องและมีเป้าหมายเดียวกันกับโครงการ Food4 Good ที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพอาหารและการบริโภคสำหรับเด็กๆ

Read More

โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทย ลุ้นไตรมาสสี่ส่งสัญญาณพุ่งหรือฟุบ

  เศรษฐกิจไทยในปี 2559 กำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงโค้งสรุปสุดท้ายของปี หลังจากที่ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา หลายฝ่ายจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ แม้ในบริบทแห่งข้อเท็จจริงดูจะสวนทางทั้งกับอารมณ์ความรู้สึกและสภาพการณ์ที่สัมผัสได้ก็ตาม จริงอยู่ที่ว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยจะปรากฏสัญญาณบวก แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้าอยู่ด้วยไม่น้อย ไม่นับรวมในประเด็นที่ว่าปัจจัยบวกดังกล่าวเกิดขึ้นจากผลของความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการระยะสั้นเป็นครั้งคราวของรัฐบาล ขณะที่ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร  ท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่รากหญ้าไปถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและการลงทุนเอกชนจะเริ่มเห็นผล แต่ดูเหมือนสิ่งเหล่านี้จะยังปรากฏผลสัมฤทธิ์ที่จริงจังเท่าใดนัก  ความน่าเป็นห่วงของสถานการณ์ด้านการส่งออก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะตัวเลขการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่องมาตลอด 3 ปีที่มีผลต่อตัวเลขจีดีพีเท่านั้น หากกรณีดังกล่าวยังสะท้อนความเป็นไปในภาคเรียลเซ็กเตอร์ที่พร้อมจะนำไปสู่การปิดโรงงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจเทรดดิ้ง ความกังวลใจของภาคธุรกิจในมิติที่ว่านี้สะท้อนออกมาเป็นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเป็นผู้นำในกระบวนการสร้างดีมานด์กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ควบคู่กับการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนด้วยเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ประเด็นที่ว่านี้ ดูเหมือนภาครัฐก็มีความเข้าใจในระดับหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากความพยายามของรัฐไทยในการกระตุ้นธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือแม้กระทั่งการสร้างวาทกรรม ประเทศไทย 4.0 ในช่วงที่ผ่านมา แม้จะยังไม่สามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีรูปธรรมแข็งแรงให้จับต้องได้มากนัก และทำให้กรอบนโยบายที่ว่านี้กลายเป็นเพียงวาทกรรมที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามสื่อสารประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการรับรู้แต่ขาดผลสัมฤทธิ์ไปโดยปริยาย  ความคาดหวังทางเศรษฐกิจของผู้คนจำนวนไม่น้อยถูกผูกเข้ากับประเด็นว่าด้วยการลงทุนภาครัฐหรือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะต้องเร่งระดมใช้เงินงบประมาณให้หมดไปแทนที่จะพิจารณาที่ประเด็นปัจจัยความจำเป็นในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่จะมีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานและรายได้ของประชาชนในระยะยาว หากกล่าวอย่างถึงที่สุด ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมิได้เปลี่ยนแปลงมากนักจากผลของการบริโภคภาคเอกชนในประเทศ (Private Consumption) ชะลอตัวจากภาระหนี้สินภาคประชาชน โดยเห็นได้ชัดจากการชะลอตัวของการบริโภคสินค้าคงทนที่ดัชนีการบริโภคสินค้าคงทน (Durable Index) ขยายตัวในอัตราติดลบต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ภาคการส่งออกชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากประเทศคู่ค้าหลักคือประเทศจีน ทำให้อัตราการขยายตัวเฉลี่ยของสินค้าส่งออกซึ่งเคยเป็นปัจจัยหนุนนำทางเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน มีแนวโน้มที่จะอัตราขยายตัวติดลบต่อเนื่องตลอดทั้งปี แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง อย่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะประเมินและกำหนดเป้าหมายการทำงานไว้ว่า จะผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวที่ร้อยละ 5 หรือเฉลี่ย 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนก็ตาม แต่แผนการปฏิบัติงานดังกล่าวอาจไม่ได้ผลงดงามสวยหรูอย่างที่คาด แม้โดยภาพรวมอาจจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นบ้าง กรณีที่ว่านี้ส่งผลสืบเนื่องไปสู่การผลิตที่ลดลง

Read More

ฮิตาชิ เปิดตัว “ลิฟต์โดยสารแบบไม่มีห้องเครื่อง” ในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง

  บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และบริษัท ฮิตาชิ บิวดิ้ง ซิสเต็มส์ จำกัด เปิดตัว “ลิฟต์โดยสารแบบไม่มีห้องเครื่อง” สำหรับภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง โดยจะทยอยออกทำตลาดในแต่ละประเทศทั่วทั้งสองภูมิภาค ลิฟต์รุ่นใหม่นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น จากเทคโนโลยีล่าสุดของฮิตาชิ ซึ่งนอกจากการออกแบบที่ล้ำสมัยแล้ว ลิฟต์โดยสารแบบไม่มีห้องเครื่อง ยังมีคุณสมบัติการใช้งานขั้นพื้นฐานที่ครบครัน ตรงตามทุกมาตรฐานที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และสามารถตอบสนองทุกความต้องการของผู้ใช้งาน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฮิตาชิพบว่าตลาดเอเชียและตะวันออกกลางมีความต้องการลิฟต์โดยสารแบบไม่มีห้องเครื่องเพิ่มมากขึ้น โดยลิฟต์โดยสารประเภทนี้ออกแบบให้ไม่มีห้องเครื่อง ซึ่งปกติเป็นพื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องจักรขับลิฟต์ แผงควบคุม และอุปกรณ์ช่วยยกอื่นๆ โดยนำอุปกรณ์ทั้งหมดมาติดตั้งอยู่ภายในปล่องลิฟต์ ที่ผ่านมา ธุรกิจลิฟต์ในตลาดต่างประเทศของฮิตาชิได้พัฒนาลิฟต์โดยสารแบบไม่มีห้องเครื่อง สำหรับตลาดในประเทศอื่นๆ ก่อนจะนำมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการ มาตรฐาน และข้อกำหนดทางเทคนิคของประเทศในแถบเอเชียและตะวันออกกลาง การเปิดตัวลิฟต์รุ่นใหม่นี้ จะช่วยให้ฮิตาชิสามารถให้บริการลูกค้าในภูมิภาคดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวยิ่งขึ้น ฮิตาชิจะเริ่มจำหน่ายลิฟต์รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ในภูมิภาคตะวันออกกลางและหลายประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย โดยคาดว่าจะมียอดสั่งซื้อรวมกว่า 5,000 ตัว

Read More

เอเชียทีคทอดสมอขยายพอร์ต ปรับแผนธุรกิจริมน้ำเจ้าพระยา

  “แลนด์มาร์ค” ดูจะเป็นคำจำกัดความที่อาจมีความหมายถึงเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ทางธุรกิจของบรรดานักธุรกิจ รวมไปถึงนักลงทุนแถวหน้าของไทยในห้วงเวลานี้ และแน่นอนว่าแลนด์มาร์คดูจะไม่ได้ถูกจำกัดวงอยู่แต่เฉพาะธุรกิจภาคเอกชนเท่านั้น หากแต่ยังถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประดุจเรือธงที่สะท้อนถึงเป้าประสงค์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยของภาครัฐอีกด้วย สัปดาห์ที่ผ่านมา อีก 1 โครงการที่สำคัญและนับเป็นโครงการใหญ่ระดับชาติของภาครัฐกับอภิมหาโปรเจ็กต์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อุดมไปด้วยความหวังว่าจะเป็นโครงการที่สะท้อนให้เห็นถึงการเดินหน้าและพัฒนาด้วยความหวังที่จะทัดเทียมประเทศที่พัฒนาไปไกลแล้วของประเทศในทวีปเอเชีย และแม้ว่าโครงการที่ถูกวาดฝันให้เป็นแลนด์มาร์คบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบหลังจากผ่านการอนุมัติจากรัฐบาล และแม้ว่าการทำประชาพิจารณ์จะยังมีข้อกังขาอยู่บ้างก็ตาม หากแต่โครงการดังกล่าวยังเต็มไปด้วยกระแสเสียงทั้งฝั่งที่เห็นด้วยพร้อมเหตุผลที่ว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สำหรับการพักผ่อนและกิจกรรมสันทนาการต่างๆ และเสียงที่ไม่เห็นด้วย ทั้งจากเหตุผลในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะถูกลดทอนลง สภาพความเป็นไปของผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับความสะดวกของผู้อยู่อาศัยริมแม่น้ำ รวมไปถึงข้อผิดพลาดในเรื่องการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่ยังถูกวิจารณ์ดังอย่างต่อเนื่องและไม่ได้จำกัดวงการพูดคุยอยู่เพียงแต่ในสภากาแฟยามเช้าเท่านั้น  ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ที่หนักหน่วงขึ้น กระนั้นโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ประหนึ่งว่าหากล้มเลิกโครงการนี้จะส่งผลเสียต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ทั้งนี้ตัวเลขรายได้จากบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำประหนึ่งเส้นเลือดใหญ่ของไทยอย่างแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทำให้ประเทศมีรายได้ต่อปี 3 แสนล้านบาท ทั้งจากธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร เรือท่องเที่ยว เรือด่วน เรือลากจูง  เมื่อพิจารณาจากตัวเลขดังกล่าวแล้วจึงไม่น่าแปลกใจนักหากที่ดินริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกหมายปอง เพราะหากเทียบกับรายได้ที่เข้าประเทศที่มากถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี นั่นอาจสะท้อนให้เห็นตัวเลขรายได้ต่อธุรกิจต่างๆ ที่สูงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ความเป็นไปของกระแสน้ำที่กำลังดำเนินไปตามครรลองแห่งธรรมชาติ กำลังจะถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามครรลองของกระแสเงินตราและผลกำไรของนักลงทุนหรือไม่ เมื่อการกระจุกตัวของห้างร้าน ศูนย์การค้าในเมืองนั้นเริ่มเผยให้เห็นถึงความแน่นขนัด จนแทบจะมองไม่เห็นพื้นที่ว่างที่จะสามารถสร้างประโยชน์ใดๆ ได้อีก  การขยับขยายออกมายังพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ จึงเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพฯ ฝั่งใต้ ทั้งนี้จากปีที่ผ่านมา (2558) มีการลงทุนทำธุรกิจของภาคเอกชนไทยมีมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านบาท โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมโยงธุรกิจสู่การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้  ทิศทางของกระแสธุรกิจริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังเชี่ยวกรากไหลแรงยิ่งกว่ากระแสน้ำ ดังนั้นในช่วงเวลาย้อนหลังไป 2-3 ปีจนปัจจุบัน

Read More

กลุ่มเซ็นทรัล พร้อมรับมือโลกการค้าในยุคดิจิทัล ร่วมเสริมทัพ ศักยภาพความแข็งแกร่ง

  กลุ่มเซ็นทรัล พร้อมรับมือโลกการค้าในยุคดิจิทัล ร่วมเสริมทัพ ศักยภาพความแข็งแกร่ง ต่อยอดความสำเร็จของกลุ่มเซ็นทรัล และพัฒนาองค์กรให้เป็น truly world-class organizationในเวทีการค้าโลก กลุ่มเซ็นทรัล ผู้นำธุรกิจค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของประเทศ ปรับตัวครั้งสำคัญ เสริมทัพผู้บริหารระดับสูง เพื่อเดินหน้าเติบโตต่อในเวทีการค้าโลก พร้อมรับยุคดิจิทัล  ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้เปิดเผยว่า ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลยังคงเดินหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดยอดขายของกลุ่มในปีนี้เติบโตมากกว่า 20% และในอนาคตทางกลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า หรือที่เรียกว่ากลุ่ม CLMV และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และที่สำคัญจากเวทีการค้าที่เปิดกว้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Internet และ Online โดยกลุ่มเล็งเห็นเป็นโอกาสที่จะก้าวไปอย่างต่อเนื่องให้ทันต่อกระแสธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายงานของกลุ่มอย่างก้าวกระโดดต่อไป กลุ่มเซ็นทรัลได้เสริมทัพผู้บริหารระดับสูงขององค์กรด้วยบุคลากรที่มากด้วยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์จากหลากหลายแขนง ทั้งนี้ได้แต่งตั้ง นายญนน์ โภคทรัพย์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง President of Central Group ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559

Read More

ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ ประเทศไทย แต่งตั้งคาน บาเรา เป็นผู้จัดการทั่วไปคนใหม่

  บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ DMHT ประกาศแต่งตั้ง คาน บาเรา เป็นผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ ต่อจากเจน ฮาร์วีย์ คาน บาเรา เริ่มทำงานกับดิอาจิโอในปี 2556 ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจการค้าของบริษัท Mey-Diageo ประเทศตุรกี รับผิดชอบด้านงานขาย การตลาด และการกระจายสินค้า สำหรับตลาดในประเทศ ตลาดส่งออก และร้านค้าปลอดอากร โดยอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวจนได้รับการแต่งตั้งให้มาประจำที่ประเทศไทย เขามีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่หลากหลาย ผ่านการทำงานกว่า 19 ปี ด้านการขาย การตลาด และการบริหารทั่วไป กับบริษัทข้ามชาติชั้นนำทั้งในประเทศตุรกีบ้านเกิด และในภูมิภาคคอเคซัส ในฐานะผู้จัดการทั่วไปคนใหม่ของ DMHT คาน บาเรา จะเป็นผู้กำหนดทิศทางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ วางนโยบายและแผนงานเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้นเขาจะสานต่อความมุ่งมั่นของ DMHT ในการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมไทย คาน บาเรา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยโบกาซิซี่ ประเทศตุรกี และได้รับประกาศนียบัตรด้านการบริหารจัดการธุรกิจและการตลาด (เกียรตินิยม)

Read More

“นักคิด” ของโอกุสต์ โรแดง

 Column: From Paris  ในบรรดาประติมากรฝรั่งเศส ที่ดังที่สุดเห็นจะเป็นโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) เห็นครั้งแรกในพิพิธภัณฑ์แห่งออร์เซย์ (Musée d’Orsay) ลักษณะบึกบึนบ้าง อ่อนช้อยบ้าง มีหลายขนาดด้วยกัน หากที่ได้ชมจนอิ่มตาอิ่มใจก็ที่พิพิธภัณฑ์โรแดง (Musée Rodin) ซึ่งนอกจากคอลเลกชั่นถาวรแล้ว ยังมีนิทรรศการจรอีกด้วย ในสวนสวยตั้งผลงานของโอกุสต์ โรแดง เป็นระยะๆ รูปปั้นในสวนโดดเด่นไม่แพ้ที่แสดงในอาคาร อาจจะสวยกว่าเสียอีก เพราะเป็นผลงานเด่นๆ ของประติมากรผู้นี้ เพียงเข้าไปในบริเวณ ชายผู้หนึ่งนั่งอยู่บนแท่นสูง เท้าศอกขวาบนตัก และมือยันคางไว้ มีลักษณะครุ่นคิด ชายผู้นี้เต็มไปด้วยมัดกล้าม ทำด้วยบรอนซ์ แรกทีเดียวมีชื่อว่า กวี–Le poète โอกุสต์ โรแดง ปั้นให้อยู่ในท่ากำลังคิดถึงบทกวี หากในภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น นักคิด–Le penseur แล้วแต่จะจินตนาการว่ากำลังคิดถึงอะไร Le penseur เป็นประติมากรรมที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre) สั่งทำเพื่อตั้งไว้หน้าประตูของพิพิธภัณฑ์อารต์เดโก (Musée des arts décoratifs) และประตูพิพิธภัณฑ์ใหม่แห่งนี้ก็สั่งให้โอกุสต์

Read More

จากชุมชนสู่การท่องเที่ยว วิถีคนลุ่มน้ำและเมืองชายแดนไทย-มาเลย์

  เพราะการท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งกระตุ้นการใช้จ่ายภายในและดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศ การให้ความสำคัญในการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้กับการท่องเที่ยวจึงเป็นสิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญ ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต คือทรัพยากรสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ดำเนินการผ่านสำนักประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวภายใต้อัตลักษณ์และวิถีท้องถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบ” และ “การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย (กลันตัน เปรัค เคดาห์ เปอร์ลิส) ภายใต้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่อาเซียน” เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเชื่อมต่อไปยังเมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย พร้อมผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ครอบคลุมจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วิถีโหนด-นา-เล” วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ผูกพันกับการทำตาลโตนด การทำนา และการประมง ซึ่งถือเป็น 3 อาชีพหลักของคนในพื้นที่  ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา นับเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกตาลโตนดมากที่สุดในประเทศไทย

Read More