Home > Cover Story (Page 7)

สยามสะเต๊ค บุกช็อปโฉมใหม่ เร่งยอดเอาต์เล็ตพุ่งพรวด 30%

ท่ามกลางสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่แข่งขันดุเดือด “สยามสะเต๊ค” (Siam Steak) แบรนด์ฟาสต์ฟูดเก่าแก่ในรั้วโรงเรียนและมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยุคเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน เดินหน้าปรับกลยุทธ์รอบด้าน เพื่อรุกตลาดต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ ก่อนเปิดศึกปูพรมสาขาครั้งใหญ่ในปีหน้า สุภัค หมื่นนิกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามอินเตอร์ฟาร์ม จำกัด ผู้บริหารธุรกิจ “สยามสะเต๊ค” เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า ในช่วงครึ่งปีหลังสยามสะเต๊คตั้งเป้าหมายแรกจะเร่งยอดขายของแต่ละเอาต์เล็ต เพราะวันนี้บริษัทมีธุรกิจ 2 โมเดลหลัก โมเดลแรกอยู่ในโรงเรียน ทั้งสาขาของบริษัทและสาขาแฟรนไชส์ ซึ่งแม้จำนวนนักเรียนในโรงเรียนอาจลดลง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน คือ เด็กนักเรียนไม่ค่อยได้อาหารในปริมาณและคุณค่าที่เหมาะสม ซึ่งสยามสะเต๊คมีจุดเด่นตรงนั้น บริษัทจึงเร่งทำการตลาดในโรงเรียนมากขึ้น กลุ่มที่ 2 อยู่นอกโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา โดยมีร้านแฟรนไชส์ตามต่างจังหวัดและส่วนใหญ่เจอปัจจัยเศรษฐกิจซบเซา ขณะที่จำนวนคนในเทรดโซนบริเวณนั้นๆ ยังรู้จักแบรนด์น้อย ดังนั้น ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากกว่าการเปิดสาขา “การทำงานมีการปรับหลายส่วน ทั้งกลยุทธ์ทางการตลาด 1. กลยุทธ์ด้านออนไลน์ 2. การปรับ Corporate Image ภาพลักษณ์ใหม่

Read More

แมคโดนัลด์ “mommories” 39 ปี ความทรงจำ แม่-ลูก

แมคโดนัลด์ ถือเป็นเบอร์เกอร์ต่างชาติเจ้าแรกที่เข้ามาบุกตลาดเมืองไทย โดย เดช บุลสุข ซึ่งชื่นชอบรสชาติอาหารของแมคโดนัลด์เมื่อครั้งเป็นนักเรียนทุน AFS (American Field Service) อยู่สหรัฐอเมริกา จนกลับบ้านเกิด และหลังเรียนจบเขากับเพื่อนๆ เดินทางกลับไปสหรัฐฯ อีกครั้งในปี 2524 เพื่อส่งจดหมายไปยังแมคโดนัลด์สำนักงานใหญ่ ที่รัฐอิลลินอยส์ เชิญชวนให้ขยายธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทแม่ใช้เวลาพิจารณานานเกือบ 2 ปี กว่าจะตัดสินใจเลือกพวกเขาเป็นตัวแทนขยายธุรกิจในไทย จากตัวเลือกจำนวนมาก โดยจัดตั้งบริษัท แมคไทย จากการร่วมทุน 2 ฝ่าย คือ กลุ่มเดชและเพื่อน กับ แมคโดนัลด์ คอร์ปอเรชั่น ถือหุ้นสัดส่วน 51% และ 49% ตามลำดับ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2528 ร้านแมคโดนัลด์สาขาแรกเปิดตัวที่ศูนย์การค้าโซโก้ หรืออัมรินทร์ พลาซ่า พื้นที่ 500 ตารางเมตร ใช้เงินลงทุนมากกว่า

Read More

ปิด “ไดโดมอน” ธุรกิจร้านอาหารเสี่ยงตาย

การปิดแบรนด์ปิ้งย่างระดับตำนานยุค 90 “ไดโดมอน (Daidomon)” ถือเป็นสัญญาณเตือนผู้เล่นในสมรภูมิธุรกิจร้านอาหาร เรื่องการวางเกมและกลยุทธ์ทุกช่องทาง เพื่อชี้ขาดว่า แบรนด์ไหนจะอยู่รอดหรือเจ๊ง!! หากย้อนเส้นทางการเติบโตของไดโดมอน เริ่มต้นกิจการเมื่อปี 2526 โดยปักหมุดร้านแรกในสยามสแควร์ซอย 3 จากนั้นขยายสาขาย่านเอกมัย (สุขุมวิท 63) และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ซึ่งช่วงเวลานั้นได้รับความนิยมมาก จนมีการร่วมทุนกันของยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มสหพัฒนพิบูล เอ็มเค เรสโตรองต์ และไมเนอร์ฟู้ด ตั้งบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด เพื่อประกอบกิจการร้านอาหารปิ้งย่าง แบรนด์ “ไดโดมอน” เมื่อปี 2533 วันที่ 27 เมษายน 2544 บริษัทแปรสภาพบริษัทเป็น บริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ไดโดมอนทยอยปิดสาขาเนื่องจากผลประกอบการขาดทุน และขายกิจการ 23 สาขาให้ บริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่

Read More

ประวรา เอครพานิช กับแนวคิด Fabric Zero Waste

ฟาสต์แฟชั่น ถือครองสัดส่วนในอุตสาหกรรมสิ่งทออยู่ไม่น้อย นั่นเพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ในเวลารวดเร็ว ต้นทุนการผลิตต่ำ เสื้อผ้าเหล่านี้มีราคาที่ไม่แพงมาก ได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่ง และจะถูกผลัดเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่การมาไว ไปไว กลับสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมหาศาลในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ฝ้าย คือวัสดุหลักที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตฝ้ายต้องใช้พื้นที่และน้ำในปริมาณมาก การปลูกฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือ 10,000-20,000 ลิตรต่อการผลิตเสื้อผ้า 1 กิโลกรัม ขณะที่การปลูกฝ้ายยังทำให้ดินรวมถึงแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงปนเปื้อนปุ๋ยและยาฆ่าแมลง กระทบต่อระบบนิเวศโดยตรง อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.2 พันล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าหากเปรียบเทียบกับตัวเลขคาร์บอนฟุตพรินต์ของการท่องเที่ยวกันระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกัน และไม่ใช่เพียงขั้นตอนการผลิตที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การซัก วิธีการทิ้งเสื้อผ้า เรียกได้ว่าทั้งกระบวนการของอุตสาหกรรมสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.3 พันล้านตันในทุกๆ ปี หรือประมาณ  8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าแฟชั่นจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประวรา เอครพานิช ผู้บริหาร บูติดนิวซิตี้ คือหนึ่งในนั้น ที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง นำทรัพยากรส่วนเกินมาเข้าสู่กระบวนการ Upcycle และ Recycle โดยมีเป้าหมายสร้างความยั่งยืน “เราเป็นบริษัทที่ทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปบริษัทแรกในไทย ดำเนินธุรกิจมา 50 ปี

Read More

ททท. ปรับเกมสร้างโอกาส ชูโมเดลการท่องเที่ยวยั่งยืน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแม้ว่าจะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทย โดยรายได้จากการท่องเที่ยวก่อนเกิดโรคระบาดโควิดคิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงเวลาก่อนเกิดโควิด แต่ทั้งผู้ประกอบการและภาครัฐต่างพอใจกับจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน และพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะสร้างแรงดึงดูดเพื่อหวังเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคต มีข้อมูลระบุว่า การท่องเที่ยวมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 8-11% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งโลกในปี 2562 นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ ททท. จริงจังและปรับแผนการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน ขณะที่ในช่วงปี 2562-2566 ตลาดการท่องเที่ยวยั่งยืนของโลกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% จากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญและตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ เป้าหมายดูจะไม่ใช่แค่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามความคาดหมาย แต่ยังปรับกลยุทธ์ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แต่ยังเป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะธุรกิจในห่วงโซ่ที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ และไม่สร้างผลกระทบด้าน Climate Change ตัวเลขการท่องเที่ยวในปี 2566 ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 28 ล้านคน สร้างรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.2 ล้านล้านบาท ทำให้ปีนี้การท่องเที่ยวตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท และการท่องเที่ยวยั่งยืนที่ไม่ใช่แค่เทรนด์ หรือจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม แต่อาจจะเป็นกุญแจความสำเร็จของการท่องเที่ยวของไทย “นี่จะเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ ททท. มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand

Read More

ความอ่อนไหวของธุรกิจครอบครัว จากมุมมองของธนาคารกสิกรไทย

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมาย หนึ่งในปรากฏการณ์สำคัญที่น่าจับตา คือ “การส่งต่อความมั่งคั่งระหว่างรุ่นครั้งใหญ่” หรือ The Great Wealth Transfer ซึ่งกระทบการส่งต่อทรัพย์สินครั้งใหญ่ของโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2573 ผู้มีสินทรัพย์สูงทั่วโลกจะมีการส่งต่อความมั่งคั่งมูลค่าสูงถึง 18.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (662 ล้านล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ในขณะที่ในภูมิภาคเอเชียจะมีการส่งต่อทรัพย์สินที่มูลค่าราวๆ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (90 ล้านล้านบาท) คิดเป็นจำนวนครอบครัวถึง 70,000 ครอบครัว ซึ่งภาพการส่งต่อครั้งนี้มีตั้งแต่การส่งต่อทรัพย์สินทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และการส่งต่อกิจการหรือธุรกิจของครอบครัว ซึ่งธุรกิจครอบครัวถือเป็นแหล่งที่มาของทรัพย์สินที่สำคัญสำหรับผู้มีสินทรัพย์สูง และในประเทศไทยธุรกิจครอบครัวยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนที่เป็นธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนถึง 67% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 บริษัทจดทะเบียนเข้าใหม่ 76% เป็นธุรกิจที่เติบโตมาจากธุรกิจครอบครัวทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี เส้นทางการส่งต่อธุรกิจครอบครัวมักไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director-Wealth Planning and

Read More

“เบียร์ ใบหยก” กับบทบาทใหม่ คุมทัพ FAB Food Holding รวมกันต้องมันกว่า

กลายเป็นดีลใหญ่ที่ถูกจับตาขึ้นมาทันที ภายหลัง “ฉาย บุนนาค” รักษาการประธานกรรมการบริหาร บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AQUA ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัท เรื่อง การปรับโครงสร้างและการเข้าลงทุนในธุรกิจอาหารในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2567 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 โดยมีสาระสำคัญคือ การจัดตั้งธุรกิจร้านอาหาร ร่วมกับ บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด ในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ และ นายปิยะเลิศ ใบหยก หรือ เบียร์ ใบหยก ฉาย บุนนาค ไม่ทิ้งช่วงไว้นาน ถัดมาในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เดินหน้าประกาศเปิดตัวบริษัทใหม่ที่เกิดจากการร่วมทุนอย่างเป็นทางการในชื่อ บริษัท เอฟเอบี ฟู้ดโฮดิ้ง จำกัด หรือ “FAB” เพื่อบุกธุรกิจร้านอาหารอย่างเต็มตัว

Read More

ปลุก Hello Kitty แมวพันธุ์ญี่ปุ่นจากดินแดนมหัศจรรย์

นิทรรศการ Hello Kitty Exhibition : Celebration of Friendship และ Sanrio Characters : FUNtastic Exhibition ที่เตรียมนำเสนอเรื่องราวของ เฮลโล คิตตี้กับผองเพื่อนซี้จากซานริโอ้ ณ HOUSE OF ILLUMINATION, CENTRAL WORLD PULSE ในรูปแบบ Immersive Exhibition ครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม-10 พฤศจิกายน 2567 กำลังจะปลุกมาสคอตย้อนยุคที่มีอายุยาวนานถึง 5 ทศวรรษกลับมามีชีวิตชีวากระตุ้นตลาดอีกครั้งหนึ่ง เฮลโลคิตตี้ (Hello Kitty) เป็นคาแรกเตอร์จากบริษัท ซานริโอ้ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ Shintaro Tsuji ผู้ก่อตั้งมองว่า สินค้าน่ารักๆ สามารถสร้างแรงดึงดูดลูกค้า จึงเกิดไอเดียอยากผลิตสินค้าที่มีคาแรกเตอร์และผลิตเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ โดยดึงนักออกแบบสาวชาวญี่ปุ่น ยูโกะ

Read More

ศึกมาสคอตมาร์เกตติ้ง น้องหมีเนยฉามขวบ จึ้งมาก

ปรากฏการณ์ “น้องหมีเนย” ที่พลิกเปลี่ยนจากมาสคอตโนเนมเดินเหงาๆ กลายมาเป็นไอดอลวัย “ฉามขวบ” ชื่อดังระดับอินเตอร์ มีแฟนคลับต่างชาติเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมายังประเทศไทย ยอมต่อคิวตั้งแต่ตี 5 เพื่อใกล้ชิดกระทบไหล่จนห้างแตก กำลังจุดประกายให้แบรนด์ต่างๆ จับ Mascot Marketing ปรับโฉมมาสคอตที่โด่งดังในอดีตกลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ต้องยอมรับว่า น้องหมีเนยของ Butter bear ร้านขนมหวานในเครือ Coffee Beans by Dao ใช้เวลาสร้างกระแสด้วยคอนเทนต์และสตอรี่ภายใต้รูปลักษณ์น่ารักอวบอ้วน ตะมุตะมิ คอสตูมเก๋ๆ ทั้งชุดผ้ากันเปื้อน ชุดไทย ชุดนางฟ้า และที่สำคัญ คลิปโชว์ทักษะการเต้น Cover เพลงฮิตใน TIKTOK ทั้ง T-POP และ K-POP   โดยเฉพาะเพลงแจ้งเกิด Magnetic ของวง ILLIT เกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังจากแดนกิมจิ สร้างกระแสไวรัล ขยายแฟนคลับ “ด้อมน้องเนย” ล้นหลาม ในเวลาต่อมา ยังปล่อยผลงานเพลงเดบิวต์ “It’s

Read More

วรลัญจ์ แต้ไพสิฐพงษ์ เจาะวิชั่น แผนปลุกปั้น Meatly!

วรลัญจ์ แต้ไพสิฐพงษ์ หรือคุณเตย ก้าวเข้ามาลุยงานในเครือเบทาโกรเมื่อ 3 ปีก่อน ในฐานะ Modern Trade Retail Sales Manager กระทั่งได้รับมอบหมายโปรเจกต์ใหญ่ การปลุกปั้นแบรนด์ Meatly! เจาะสมรภูมิ Plant-based Food ที่ล่าสุดมีมูลค่าตลาดสูงถึง 45,000 ล้านบาท จริงๆ แล้ว อาณาจักรธุรกิจในกลุ่มตระกูลแต้ไพสิฐพงษ์ ไม่ใช่ประสบการณ์แรก หลังคว้าปริญญาตรี  BSc Economics and Management จากมหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) และปริญญาโท MSc Strategic Marketing จากอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) ประเทศอังกฤษ วรลัญจ์ใช้เวลาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในตำแหน่ง Cash Management Department Management Trainee ที่ธนาคาร HSBC

Read More