Home > Cover Story (Page 44)

3 ทศวรรษ “จระเข้ คอร์ปอเรชั่น” แบรนด์วัสดุก่อสร้างของคนไทย

จากกลุ่มคนไทยในแวดวงธุรกิจกระเบื้องเซรามิกเพียงไม่กี่คนที่ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท เซอรา ซี-เคียว จำกัด เมื่อปี 2535 ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 1.7 ล้านบาท เพื่อบุกเบิกการผลิตกาวซีเมนต์และกาวยาแนว ผ่านมา 3 ทศวรรษ บริษัทเล็กๆ ในวันนั้นได้พัฒนาต่อยอดจนกลายมาเป็นผู้นำธุรกิจวัสดุก่อสร้างกลุ่มสินค้ากาวซีเมนต์ยาแนวและเคมีก่อสร้างในชื่อบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด แบรนด์วัสดุก่อสร้างของคนไทยที่บุกไปสร้างชื่อเสียงในตลาดต่างประเทศและมียอดขายหลักพันล้านบาทต่อปี จุดเริ่มต้นของบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ต้องย้อนกลับไปราวๆ 30 ปีก่อน เมื่อ กองกูณฑ์ อรรถสารประสิทธิ์, ศุภพงษ์ เพชรสุทธิ์, ชัยกร มีสมมนต์, พงศธร แสงรุจี และสถาพร กิจประยูร กลุ่มคนไทยที่อยู่ในแวดวงธุรกิจกระเบื้องเซรามิกที่เห็นความสำคัญของการปูกระเบื้องและมองว่าการปูกระเบื้องของเมืองไทยในสมัยนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานที่ยังไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับได้มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีในการติดตั้งกระเบื้องจากต่างประเทศ จึงมีความต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานของไทยให้ดีขึ้น และในขณะเดียวกันก็มองเห็นโอกาสทางธุรกิจด้วยเช่นกัน นั่นทำให้พวกเขาตัดสินใจร่วมทุนกันก่อตั้ง บริษัท เซอรา ซี-เคียว จำกัด (Cera C-Cure Co., Ltd.) ขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม

Read More

ศุภาลัย รับบท “พี่เลี้ยง” หนุนผู้ประกอบการอสังหาฯ รายเล็ก

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยนับว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงมาก แม้ว่าปีนี้ที่ภาพรวมเศรษฐกิจดูจะไม่ค่อยสดใสนัก ทว่ามีการคาดการณ์มูลค่าตลาดเปิดตัวใหม่อาจจะมากกว่า 380,857 ล้านบาท หากเทียบกับปี 2564 ที่มีมูลค่าตลาดเปิดตัวใหม่อยู่ที่ 277,626 ล้านบาท หากดูในภาพรวมโครงการเปิดใหม่ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปีนี้ มีจำนวน 210 โครงการ เมื่อเทียบกับสถิติ 7 เดือนแรกของปี 2564 มีการเปิดตัวโครงการใหม่เพียง 152 โครงการ การแข่งขันของตลาดอสังหาฯ ยังคงน่าจับตามองเสมอ เมื่อเจ้าตลาดรายใหญ่ต่างพากันระดมสรรพกำลังสร้างแรงขับเคลื่อนในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง ความคึกคักของตลาดไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แต่ในเมืองใหญ่เท่านั้น หากแต่ค่ายใหญ่เริ่มสยายปีกไกลออกไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดที่พอจะมองเห็นศักยภาพของตลาด ที่มีปัจจัยมาจากการขยายตัวของเมืองในจังหวัดนั้นๆ อันนำมาซึ่งความต้องการที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัดที่เพิ่มมากขึ้น แต่เดิมตลาดอสังหาฯ ในต่างจังหวัดอาจจะเป็นการตลาดหลักของผู้ประกอบการอสังหาฯ รายย่อย ปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว เมื่อมองในมิติการแข่งขันหากในพื้นที่นั้นมีแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ เราคงได้เห็นการประชันกันด้วยโครงการใหญ่ๆ และการแข่งขันที่ดูสมน้ำสมเนื้อ ทว่า หากในพื้นที่นั้นผู้ประกอบการรายเล็กเป็นเจ้าตลาด และมีผู้เล่นรายใหญ่กระโดดเข้าร่วมวงด้วย อาจดูไม่ค่อยยุติธรรมนัก ปัจจัยหลักเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยอันเป็นที่มาของโครงการ Big Brother ที่หอการค้าไทยจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ดูจะเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในทุกแวดวงให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้ดีขึ้นท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

Read More

แรงกระเพื่อมว่ายข้ามโขง กระตุ้นค้าชายแดน ท่องเที่ยว นครพนม-คำม่วน

แม้ว่าภารกิจการระดมทุนจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาลนครพนมและโรงพยาบาลแขวงคำม่วน จากกิจกรรม “ONE MAN AND THE RIVER หนึ่งคนว่าย หลายคนให้” จะจบลงไปแล้ว และมียอดบริจาคล่าสุด 68,143,636 บาท (วันที่ 25 ตุลาคม 2565) ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกระแสดราม่านับตั้งแต่เริ่มต้น กระทั่งสิ้นสุดกิจกรรม โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า กิจกรรมดังกล่าวเต็มไปด้วยความเสี่ยง สร้างภาระให้ทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมากกว่าจะเป็นการทำเพื่อช่วยเหลือ ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนมองว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้น่าจะสร้างคุณประโยชน์ให้แก่แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลทั้งสองฝั่งโขง รวมไปถึงประชาชนผู้ใช้บริการในอนาคต แม้ว่าภาครัฐทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพนม หรือแม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะยืนยันว่าโรงพยาบาลไม่ได้ขาดแคลน และไม่ได้ร้องขอให้ผู้จัดกิจกรรมช่วยเหลือเพื่อระดมทุน แต่ก็ไม่ขัดศรัทธา หากพิจารณาจากยอดบริจาคในขณะนี้น่าจะทำให้หลายคนได้ประจักษ์แล้วว่า การกระทำของบุคคลกลุ่มหนึ่งได้สร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างมากมาย ทั้งการมองมุมต่างที่ว่า การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง และไม่ใช่หน้าที่หลักของพลเมือง หากแต่ควรเป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบ้านเมือง แน่นอนว่าประเด็นนี้คงสร้างกระแสให้เกิดการขบคิดและแก้ปัญหาในอนาคต นอกจากนี้ แรงกระเพื่อมจากการว่ายข้ามโขงในครั้งนี้น่าจะส่งผลต่อสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดนครพนมไม่มากก็น้อย รวมไปถึงการค้าชายแดนที่น่าจะมีความคึกคักขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สปป.ลาว และประชาชนริมสองฝั่งโขงให้แน่นแฟ้นขึ้น จากภาพการต้อนรับอย่างอบอุ่นเมื่อ โตโน่ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ว่ายไปขึ้นฝั่งที่ สปป.ลาว ในแง่ของการค้าชายแดน

Read More

มานะ มานี ปิติ ชูใจ แบบเรียนเก่าๆ สู่แบรนด์วินเทจโดนๆ

ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ “จินดามณี” ถือเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ และกลบท จินดามณีเล่มแรกแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดีในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการที่จินดามณีของพระโหราธิบดีเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมามักใช้ชื่อ “จินดามณี” เช่นเดียวกัน ได้แก่ จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ กระทั่งพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจเป็นแบบเรียนหลวงสมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้น จึงเลิกใช้หนังสือจินดามณีไป สำหรับ “มานะ มานี ปิติ ชูใจ” ถือเป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยอีกยุคสมัย ช่วงปี 2521-2537 เขียนโดยรัชนี ศรีไพรวรรณ และรูปภาพประกอบ วาดโดย เตรียม ชาชุมพร นักเขียนการ์ตูนและนิยายภาพ จากชัยพฤกษ์การ์ตูน ที่มาที่ไปเริ่มจากกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าแบบเรียนภาษาไทยชุดเดิมมีเนื้อหาไม่ทันยุคสมัย จึงปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 อ่านอย่างสนุกสนานและอยากเรียนภาษาไทย ซึ่งรัชนีใช้เวลาเขียนนานกว่า 4

Read More

ปลุกสังขยาโบราณ “มานีมีนม” คาเฟ่คลาสสิกยุค 90

วรรณกานต์ ทองคำ ใช้เวลากว่า 7 ปี ปลุกปั้นร้าน “มานีมีนม” สร้างอิมเมจคาเฟ่คลาสสิกยุค 90 กับเมนูซิกเนเจอร์ ขนมปังสังขยาโบราณ สูตร “อาป๊า” ย้อนยุคตั้งแต่สมัยรถเข็นขายบะหมี่เป็ดย่างที่พร้อมเสิร์ฟลูกค้าทั้ง “คาว-หวาน” จนขึ้นแท่นแฟรนไชส์ฮอตฮิต มีผู้คนแห่จองคิวยาวทุกเดือน ขณะเดียวกัน เมนูรุ่นใหม่ “ขนมปังไส้แตก” ของร้านไม่ได้ใช้วิธีปิ้งย่างเหมือนหลายเจ้า แต่เป็นขนมปังอบ หรือ Toast ซึ่งให้ความกรอบนอกนุ่มในได้นาน และล่าสุดมีให้เลือกถึง 25 ไส้ โดยเฉพาะ 5 ไส้ยอดนิยม คือ สังขยาใบเตยมะพร้าว สังขยาไข่เค็ม สังขยาอัญชันตาลโตนด โกโก้ครันชี่ และปังกระเทียมโคตรชีสX2 เป็นสูตรเด็ดบอกต่อถึงความอร่อย มัดใจลูกค้า ตั้งแต่กลุ่มเด็กๆ วัยรุ่น คนทำงาน และรุ่นปู่ย่าตายาย วรรณกานต์ หรือ “แนน” บอกว่า เดิมคิดเล่นๆ แค่อยากใช้พื้นที่ว่างในร้านบะหมี่เป็ดย่างของครอบครัวเปิดเคาน์เตอร์ขายขนม เครื่องดื่ม เพราะเป็นคนชอบรับประทานของหวาน แต่ปรากฏว่ากระแสตอบรับดีเกินคาด

Read More

เศรษฐา ทวีสิน อัศวินขี่ม้าขาว ไหวมั้ย?

เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กลายเป็นหนึ่งในแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ถูกปล่อยออกมาวัดกระแสความร้อนแรงและเพิ่มจุดโฟกัสให้พรรคเพื่อไทยมากขึ้น หลังพยายามปลุกปั้นทายาททางการเมือง “แพทองธาร ชินวัตร” เข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้ง แน่นอนว่า หากเทียบชั้นตัวเก็งที่ผลัดกันช่วงชิงความนิยม ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อนุทิน ชาญวีรกูล สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หรือพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นักธุรกิจหนุ่มวัยห้าสิบปลายๆ ผู้หาญกล้าวิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐบาล สร้างความโดดเด่นและสามารถลบจุดอ่อนด้านประสบการณ์ของแพทองธารได้อย่างดี โดยเฉพาะในยุคที่ประเทศไทยต้องการผู้นำเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ชื่อ “เศรษฐา ทวีสิน” ย่อมเป็นตัวเลือกน่าดึงดูดมาก เพราะเส้นทางเกือบ 4 ทศวรรษของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ความสำเร็จและการสร้าง “แบรนด์” ติดอันดับหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ “เศรษฐา” คือ ส่วนสำคัญ การเป็นเจ้าของไอเดียแผนการตลาดแบบหวือหวา ใส่สีสัน และฉีกนอกกรอบ ทำในสิ่งที่คู่แข่งไม่คิดและไม่ทำ ทุกกลยุทธ์ของ “แสนสิริ” มีความต่างและสร้างเกมน่าตื่นเต้นตลอดเวลา ขยายโครงการที่สร้างไลฟ์สไตล์โดนใจกลุ่มลูกค้าและครอบคลุมทุกเซกเมนต์ รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ๆ

Read More

แฟรนไชส์ไทย-ต่างชาติ คึกคัก 100 แบรนด์แห่ช่วงชิงลูกค้า

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีมากกว่า 90,000 ราย เกิดใหม่มากกว่า 20 แห่งต่อวัน และมีบริษัทเจ้าของแฟรนไชส์มากกว่า 1,000 ราย มูลค่าตลาดพุ่งทะลุเกินกว่า 200,000 ล้านบาท จนกลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางที่บรรดาต่างชาติแห่เข้ามาช่วงชิงลูกค้ามากขึ้นทุกปี สิ่งที่น่าจะสะท้อนภาพได้อย่างดี คือ งาน Thailand Franchise & Business Opportunities (TFBO 2022) ซึ่งถือเป็นงานแสดงแฟรนไชส์ที่ใหญ่สุดในประเทศไทยและจัดต่อเนื่องยาวนานเป็นปีที่ 18 มีนักลงทุนไทยและต่างชาติกว่า 6,000 คนเข้าร่วมชมงาน โดยปีนี้เริ่มจัดระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม ณ ไบเทค บางนา แน่นอนว่า ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 หลังผ่านวิกฤตโควิดและหลายฝ่ายต่างคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวดีกว่าที่ผ่านมา แม้ยังมีปัจจัยเสี่ยง ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาทและเงินเฟ้อยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ในตลาดแฟรนไชส์ยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะแบรนด์และกิจการที่มีศักยภาพสูง ค่าสิทธิ์ต่างๆ อยู่ในระดับคุ้มค่าเหมาะสม มหกรรม TFBO 2022 จึงมาได้ถูกจังหวะ ซึ่งปีนี้มีธุรกิจแฟรนไชส์เข้าร่วมนับ 100 แบรนด์

Read More

เปิดแนวคิด เจนฯ 3 A-ONE Group ต่อยอดของเดิม เพิ่มเติมของใหม่

“เอ-วัน กรุ๊ป” (A-ONE Group) กลุ่มธุรกิจโรงแรมที่เดินทางมากว่า 33 ปี จากรุ่นบุกเบิกอย่าง “มิตร์ รัตนโอภาส” ผู้สร้างรากฐานมาอย่างแข็งแรง ส่งต่อสู่ทายาทรุ่นที่ 2 “สมชัย รัตนโอภาส” ที่เสริมความแกร่งให้กับธุรกิจ วันนี้อาณาจักรเอ-วัน กรุ๊ป กำลังส่งผ่านสู่ทายาทรุ่นที่ 3 ศุภชัย รัตนโอภาส และ ภัทร์ รัตนโอภาส ที่พร้อมต่อยอดธุรกิจของครอบครัว ด้วยการผสานของเดิมและต่อเติมด้วยสไตล์ของคนรุ่นใหม่ อี้-ศุภชัย รัตนโอภาส เป็นบุตรของสมชัยและศุภวรรณ รัตนโอภาส และเป็นลูกคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 3 คน ได้แก่ เพชรไพลิน (พี่สาว) และภัทร์ (น้องชาย) จบการศึกษาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อปริญญาโทด้านการโรงแรมจาก Glion Institute of Higher Education ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ ศุภชัยใช้เวลาในการสั่งสมประสบการณ์ด้วยการเข้าทำงานในโรงแรมใหญ่อย่าง

Read More

อาณาจักร A-ONE Group จากโมเต็ล สู่โรงแรมห้าดาว

จากโมเต็ลขนาด 74 ห้อง ในชื่อ “เอ-วัน โมเต็ล” ที่ตั้งอยู่บริเวณซอยศูนย์วิจัย วันนี้ “เอ-วัน” ได้พัฒนาสู่ความเป็นโรงแรมห้าดาว และยังเป็นกลุ่มโรงแรมที่ยึดหัวหาดหนึ่งในทำเลที่ดีที่สุดของพัทยา เมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของไทย ด้วยพื้นที่กว่า 10 ไร่ เอ-วัน กรุ๊ป (A-ONE Group) ถือเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่มีการบริหารงานแบบธุรกิจครอบครัว โดยมี “มิตร์ รัตนโอภาส” เป็นผู้บุกเบิก และถือเป็นอีกหนึ่งตำนานของเจ้าสัวที่มาจากเสื่อผืนหมอนใบ จนสามารถสร้างอาณาจักรทางธุรกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในชื่อ เอ-วัน กรุ๊ป ที่ส่งต่อจากรุ่นบุกเบิกสู่ทายาทรุ่นที่ 2 อย่าง “สมชัย รัตนโอภาส” และกำลังส่งต่อสู่รุ่นที่ 3 “ความเป็น เอ-วัน กรุ๊ป เริ่มมาตั้งแต่ยุคคุณพ่อคุณแม่ของผม โดยมีคุณพ่อ ‘มิตร์ รัตนโอภาส’ เป็นผู้บุกเบิก ท่านมาจากเมืองจีน เรียกว่าเสื่อผืนหมอนใบก็ว่าได้ แล้วมาก่อร่างสร้างตัวที่เมืองไทย ท่านก็ล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อยๆ เรียนรู้การทำทองจนมาลงตัวที่ทำร้านจิวเวลรี เก็บหอมรอมริบ เจอวิกฤตก็หลายครั้ง ก่อนที่จะเข้าร่วมหุ้นกับเพื่อนทำโรงแรม

Read More

มหกรรมหนังสือระดับชาติ ’27 มหานครนักอ่าน ณ บ้านเก่าหลังใหม่

หากเอ่ยถึงงานสัปดาห์หนังสือ หรืองานมหกรรมหนังสือระดับชาติ สถานที่ที่หลายคนคุ้นเคยคือศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เนื่องจากอยู่ใจกลางเมืองที่นักอ่านสามารถเดินทางไปได้สะดวกเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดิน แต่ถูกปิดปรับปรุงในปี 2562 หลังจากเปิดให้บริการรองรับการจัดงานประชุม งานอีเวนต์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 หลังจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปิดปรับปรุงไปนานถึง 3 ปี ปัจจุบันด้วยรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดีไซน์ร่วมสมัยที่มาพร้อมฟังก์ชันและสามารถรองรับงานอีเวนต์จากทั่วโลก โดยเฉพาะงานหนังสือ ซึ่งหลายคนให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ศูนย์ฯ สิริกิติ์เหมาะสมที่สุด เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวว่า “ขอปวารณาตัวว่า กรุงเทพมหานครจะเป็นเมืองแห่งการอ่านหนังสือ และผมเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ อ่านเยอะขึ้นไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เรารักการอ่านมากขึ้นในเวลาต่อมา ช่วยจุดประกายสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแห่งความรู้ เป็นเมืองแห่งการอ่าน และกระจายให้ทุกคนสามารถเข้าถึงหนังสือได้ กทม. จะทำหน้าที่เตรียมหนังสือให้หลากหลาย ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการอ่านได้อย่างสะดวก” นางสาวทิพย์สุดา สินชวาลวัฒน์ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยหรือ PUBAT กล่าวว่า “ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ร้านหนังสือปิดตัว สำนักพิมพ์ปิด พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาซื้อหนังสือผ่าน Market Place

Read More