Home > Cover Story (Page 33)

“นันยาง” แบรนด์สุดเก๋า ที่สร้างตำนานมากว่า 70 ปี

เชื่อแน่ว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จักแบรนด์รองเท้าสุดเก๋าอย่าง “นันยาง” ในมิติใดมิติหนึ่งกันอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ใช้งานจริง หรือเคยคุ้นในฐานะแบรนด์รองเท้านักเรียนที่มีแฟนคลับเหนียวแน่น และแม้กระทั่งรู้จักในฐานะแบรนด์รองเท้าในตำนานที่ยังคงสร้างสีสันให้กับตลาดผ่านแคมเปญสนุกๆ อยู่บ่อยครั้ง “นันยาง” เป็นผู้ผลิตรองเท้าผ้าใบนันยางและรองเท้าแตะนันยางตราช้างดาวที่อยู่คู่คนไทยและนักเรียนไทยมาอย่างยาวนานถึง 70 ปี และผลิตรองเท้าป้อนออกสู่ตลาดมาแล้วกว่า 300 ล้านคู่ โดยจุดเริ่มต้นของแบรนด์ในตำนานเริ่มขึ้นเมื่อนักธุรกิจอย่าง “วิชัย ซอโสตถิกุล” หรือ “นายห้างวิชัย” เจรจานำเข้ารองเท้าผ้าใบจากประเทศสิงคโปร์ ยี่ห้อ “หนำเอี๊ย” รุ่น 500 เป็นผ้าสีน้ำตาล พื้นยางสีน้ำตาล และบรรจุในถุงกระดาษสีน้ำตาล เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ในราคาคู่ละ 12 บาท จนกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อจาก “หนำเอี๊ย” เป็น “หนันหยาง” (Nan-Yang) ภาษาจีนกลาง และกลายเป็น “นันยาง” เพื่อให้ติดปากคนไทยมากขึ้น โดยได้จดทะเบียนการค้า “นันยาง ตราช้างดาว” กับกระทรวงพาณิชย์ในปี 2492 ก่อนที่นายห้างวิชัยจะสร้างตำนาน “นันยาง” ในประเทศไทยขึ้นในปี 2496 ด้วยการซื้อกิจการและกรรมวิธีการผลิตรองเท้าจากสิงคโปร์ ก่อตั้ง

Read More

จากทัวร์ศูนย์เหรียญ-ทัวร์อั้งยี่ สู่อาณานิคมของนักลงทุนจีนในไทย

ในระดับมหภาคเศรษฐกิจไทยกำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้จะมีปัจจัยอยู่บ้าง แต่เป็นปัจจัยที่มิอาจควบคุมได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน กระนั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายด้านยังคงดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มเห็นสัญญาณบวกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ขณะที่ปีนี้กระแสนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างไม่ขาดสาย นักท่องเที่ยวจากจีนยังคงเป็นเป้าหมายหลักและความคาดหวังของผู้ประกอบการท่องเที่ยวของไทย ทว่า สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายเริ่มเป็นกังวลคือ การขยายตัวของทุนจีน ที่เริ่มจากทัวร์ศูนย์เหรียญ สู่ทัวร์อั้งยี่ จนถึงการสร้างอาณานิคมทางเศรษฐกิจของชาวจีนอพยพใหม่ แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาที่อาจจะกระทบกับรายได้ของภาคการท่องเที่ยวไทยเท่านั้น เมื่อนักลงทุนจากจีนเริ่มขยายธุรกิจออกไปในวงกว้าง ทั้งในภาคการท่องเที่ยว ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้า ที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น หลายฝ่ายอาจมองว่า การที่มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวนเงินสะพัดในตลาดนั้นๆ เพิ่มมากขึ้น ภาพที่ฉาบจากด้านนอกอาจเป็นเช่นนั้น ทว่า ความจริงอาจเป็นขั้วตรงข้ามโดยสิ้นเชิง เริ่มจากปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญที่เคยสร้างปัญหาให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยมาแล้วก่อนหน้า ซึ่งทัวร์ศูนย์เหรียญคือ นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังไทย โดยซื้อทัวร์จากประเทศตัวเองในราคาต่ำกว่าต้นทุน จากนั้นบริษัททัวร์เหล่านั้นจะส่งลูกทัวร์ทั้งหมดมาให้บริษัททัวร์ในไทย โดยไม่ต้องจ่ายค่าทัวร์แฟร์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการพาเที่ยวที่เก็บมาจากลูกทัวร์ให้กับเอเยนต์ฝ่ายไทยแม้แต่เหรียญเดียว แม้ว่าไทยจะยังมีรายได้จากนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง จากการใช้จ่ายซื้อของกิน ของที่ระลึก รูปแบบทัวร์นี้จะสร้างผลกระทบในระยะยาว ปัญหาต่อมาคือ ทัวร์อั้งยี่ ที่คาบเกี่ยวกับปัญหาทุนสีเทา เป็นการท่องเที่ยวแบบผูกขาด เช่น ไกด์นำเที่ยวเถื่อนที่เป็นชาวจีน หรือการนำนักท่องเที่ยวไปใช้บริการร้านอาหาร หรือซื้อสินค้าจากร้านของนักลงทุนจากชาติเดียวกัน ประเด็นนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมองว่า หากร้าน หรือบริษัทนั้นๆ ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายของไทยก็ไม่น่ากังวล ชาวจีนอพยพมาไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา เยาวราช หรือไชน่าทาวน์ เกิดขึ้นเมื่อปี 1892

Read More

เดอะ คอฟฟี่ คลับ เปิดที่มาไข่ไก่ เอาใจผู้บริโภคสาย Healthy

ไม่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ธุรกิจร้านกาแฟยังคงเป็นธุรกิจที่สามารถประคองตัวและฟื้นตัวในอัตราที่รวดเร็ว ขณะที่ภาพรวมมูลค่าตลาดสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท ทิศทางการเติบโตยังอยู่ในช่วงขาขึ้น เราจึงได้เห็นการฟาดฟันกันระหว่างแบรนด์ใหญ่ที่ผุดสาขาใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ร้านอาหารหรือคาเฟ่รูปแบบออลเดย์ไดนิ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในไทย รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคในปัจจุบันที่ผู้บริโภคมองหาร้านอาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการครบจบในคราวเดียว ทำให้ เดอะ คอฟฟี่ คลับ ต้องวางกลยุทธ์เพื่อพาร้านก้าวสู่การเติบโตทางธุรกิจที่จะตอกย้ำตำแหน่งร้านออลไดนิ่งสัญชาติออสเตรเลียชั้นนำในไทย กลยุทธ์ที่ เดอะ คอฟฟี่ คลับใช้ก่อนหน้าคือ ปรับลดเมนูอาหารลงกว่า 40% และปรับลดเมนูเครื่องดื่มลง 50% อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่ เดอะ คอฟฟี่ คลับ เลือกใช้คือ การบอกเล่าเรื่องราวที่มาของวัตถุดิบหลักอย่าง “ไข่ไก่” ที่ถูกซ่อนอยู่ในหลายเมนูของเดอะ คอฟฟี่ คลับ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารทั้งคาวและของหวาน ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ที่ปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความใส่ใจมากขึ้นในการเลือกรับประทาน เทรนด์สุขภาพยังคงเป็นประเด็นหลักที่หลายคนให้ความสำคัญ หมายความว่าต้นทางของไข่ไก่จึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกละเลยอีกต่อไป “ไก่อารมณ์ดี” จึงกลายเป็นจุดขายของหลายแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์ไข่ไก่วางจำหน่าย และแน่นอนว่า เดอะ คอฟฟี่ คลับ ที่ให้ความสำคัญกับประเด็น “ความยั่งยืน” ได้เลือกนำเสนอเรื่องราวของวัตถุดิบหลักอย่าง “ไข่ไก่” ขึ้นมานำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ด้วยการใช้ไข่ไก่จากแหล่งผลิตที่ไม่ใช้กรงขัง (Cage

Read More

ข้าวโพดคั่ว POPCORN สิ่งมหัศจรรย์จากเทพเจ้า

ข้าวโพดคั่ว หรือ Popcorn หรือ ตอกคง ในภาษาไทยถิ่นใต้ ถือเป็นสแน็กยอดนิยมของคนทั่วโลก ผลิตจากเมล็ดข้าวโพดที่มีตำนานอันยาวนานของชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกามากกว่า 5,600 ปี ตามหลักฐานสำคัญของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสค้นพบข้าวโพดคั่วในซากเมืองโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองอินคาในอเมริกาใต้ มีการค้นพบฝักป๊อปคอร์นที่เก่าแก่ที่สุดในถ้ำค้างคาว (Bat Cave) บริเวณเวสต์เซ็นทรัล มลรัฐนิวเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 1948 ขนาดตั้งแต่เล็กกว่าเหรียญเพนนีไปจนถึงขนาดสองนิ้ว โดยฝักเก่าแก่ที่สุดมีอายุถึง 4,000 ปี นักโบราณคดีเชื่อว่า ชาวอินเดียนแดง หรือชนพื้นเมืองอเมริกันเป็นชนกลุ่มแรกที่กินข้าวโพดคั่วและสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น โดยชาวอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือจะนำข้าวโพดที่คั่วจนพองขาวแล้วมารับประทาน นำมาร้อยเป็นสายด้วยหญ้าทำเป็นเครื่องประดับสำหรับหัวหน้าเผ่าหรือนักรบ นำมาถวายเคารพ “ทลาล็อค (Tlaloc)” เทพแห่งฝนและความอุดมสมบูรณ์ของชาวแอซเท็กและเทพเจ้าข้าวโพด บางครั้งมีการใช้พวงข้าวโพดคั่วประดับเทวรูปด้วย เมื่อนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษสมัยแรกๆ มีการจัดงานขอบคุณพระเจ้าครั้งแรก ชาวอินเดียนแดงนามว่า เควเดอควีนา ได้นำข้าวโพดคั่วใส่ถุงหนังกวางขนาดใหญ่ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชิม ซึ่งนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของป๊อปคอร์น ซึ่งกลายหนึ่งเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตแบบอเมริกา ตามข้อมูลในประวัติศาสตร์ ชาวอินคาใช้หม้อดินปั้นพิเศษสำหรับคั่วข้าวโพดจากการขุดพบภาชนะในซากปรักหักพังสมัยโบราณของอเมริกาใต้ โดยฝังหม้อในทรายที่ร้อนจัด โรยเมล็ดข้าวโพดลงไปแล้วปิดฝา หรือใช้หม้ออีกใบมาครอบ รอความร้อนจากทรายทำให้ข้าวโพดแตก กลายเป็นข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดและป๊อปคอร์นค่อยๆ ปรากฏแพร่หลายไปทั่วสหรัฐอเมริกาในฐานะพืชเกษตรกรรมทั่วไปจนเป็นพืชเกษตรกรรมในตลาด เมื่อปี ค.ศ. 1890 และได้รับความนิยมต่อเนื่อง

Read More

POPSTAR ลุยคีออสก์ทั่วเมือง ดันยอดขายป๊อปๆ พุ่งเท่าตัว

ตลาดป๊อปคอร์นในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านบาท โดยตลาดป๊อปคอร์นหน้าโรงภาพยนตร์มีสัดส่วนมากสุด 1,000 ล้านบาท ตามด้วยป๊อปคอร์นคั่วสดพรีเมียม 600-700 ล้านบาท และป๊อปคอร์นสำเร็จรูปบรรจุซองอีก 300-400 ล้านบาท ที่น่าสนใจ คืออัตราเติบโตสูง 30-40% ต่อปี ทำให้ค่ายเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์เร่งปูพรมคีออสก์ POPSTAR ในห้างค้าปลีกและเจาะช่องทางขายรอบด้าน 360 องศา เหตุผลไม่ใช่แค่แนวโน้มการเติบโตที่ยังไปได้อีกไกล แต่ป๊อปคอร์น POPSTAR ในวันนี้ คือ อาวุธชิ้นสำคัญที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้ค่ายเมเจอร์ฯ เป็นกอบเป็นกำและสวนกระแสวิกฤตได้ ซึ่งเห็นได้จากช่วงโควิดแพร่ระบาดอย่างหนักเมื่อ 3 ปีก่อน ทั้งนี้ หากย้อนดูรายได้รวมของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ Major ช่วงปี 2562 มีรายได้รวม 10,822 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,170 ล้านบาท ปี 2563 เจอพิษโควิดแพร่ระบาดอย่างหนักและทางการสั่งปิดโรงภาพยนตร์นานหลายเดือน รายได้หดเหลือ

Read More

TikTok Shop บูม รายใหญ่โดดลงสมรภูมิ

TikTok Shop หนึ่งฟีเจอร์ในแอปพลิเคชัน TikTok โซเชียลมีเดียสายวิดีโอที่ฮิตฮอตติดอกติดใจเหล่าแม่ค้าออนไลน์ โดยเฉพาะการไลฟ์สด ตัวจริง เสียงจริง ขายจริง เห็นสินค้าจริง สามารถกระตุ้นต่อมนักชอปได้อยู่หมัด หลายรายกวาดยอดออเดอร์เพิ่มขึ้นหลายเท่า สำหรับติ๊กต็อก (TikTok) คือแอปพลิเคชันที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติจีน ประเภทไมโครบล็อกกิ้ง (micro-blogging) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 15 วินาที เช่น การแสดงทักษะหรือท่าเต้น การแสดงมุกตลก การร้องลิปซิงก์ โดยบริษัท ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เปิดตัวติ๊กต็อกในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน 2559 ใช้ชื่อว่า “โต่วอิน” แปลว่า “เสียงสั่น” หลังจากนั้นเปิดตัวในตลาดต่างประเทศเมื่อเดือนกันยายน 2560 และในวันที่ 23 มกราคม 2561 ติ๊กต็อกขึ้นแท่นเป็นแอปพลิเคชันอันดับ 1 จากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฟรีในแอปสโตร์ต่าง ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก ภายใน 1 ปีแรกมีผู้ใช้ 100 ล้านคน มีการดูวิดีโอมากกว่า

Read More

MAJOR เร่งเป้าหมาย1พันโรง ทุ่ม “ไอแมกซ์” รับหนังฟอร์มยักษ์

วิชา พูลวรลักษณ์ กำลังเข้าใกล้เป้าหมายที่เคยประกาศไว้เมื่อปี 2557 ครั้งฉลองอาณาจักรเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ครบรอบ 20 ปี ก่อนก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 อย่างยิ่งใหญ่ ทั้งตัวเลขการขยายโรงภาพยนตร์ครบ 1,000 โรง และยุทธศาสตร์ระยะยาว ผุดโรงภาพยนตร์ในทุกจังหวัดของประเทศไทย หลังถูกวิกฤตโควิดรุมเร้านานกว่า 3 ปี เฉพาะปี 2566 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) วางแผนปูพรมโรงภาพยนตร์มากที่สุด 13 สาขา 49 โรง งบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการลงทุนขนาดใหญ่นับจากโควิดคลี่คลาย รวมถึงขยายสาขาโบว์ลิ่ง 3 สาขา 40 เลน และคาราโอเกะ 30 ห้อง จากปัจจุบันมีสาขาโรงภาพยนตร์ ณ สิ้นปี 2565 รวม

Read More

ชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ ยึดหลักคิดต้นตระกูล สู่ความสำเร็จ

ทายาทอีกคนของอ้วยอันโอสถ ที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุย คือ ชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ หรือ คุณโม ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยดูแลฝ่ายผลิต ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานโรงงาน ประสานงานด้านกฎหมาย การขึ้นทะเบียนยา และการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้แก่ บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด ในฐานะลูกชายคนโตของครอบครัว และหลานชายคนโตของตระกูล คุณโมจึงถูกคาดหวังตั้งแต่ในวัยเยาว์ ว่าจะต้องเข้ามาสืบทอดกิจการของครอบครัว “คุณพ่อคุณแม่ส่งผมไปศึกษาที่ต่างประเทศตั้งแต่อายุ 12 โดยเริ่มต้นด้วยการไปเรียนภาษาอังกฤษและจีนที่สิงคโปร์เป็นเวลา 6 ปี หลังจากนั้นส่งผมไปศึกษาต่อที่อเมริกาจนจบปริญญาตรี และปริญญาโทด้าน Food Science and Technology เพื่อที่จะนำความรู้มาพัฒนาต่อยอดธุรกิจสมุนไพรให้ทันยุคสมัย” ผู้บริหารหนุ่มบอกเล่าเรื่องราวก่อนเริ่มต้นเข้ามาทำงานในธุรกิจครอบครัวในปี 2011 โดยทำหน้าที่ดูแลด้านการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานโรงงาน และคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้า การถูกคุณสิทธิชัย สมบูรณ์เวชชการ ผู้เป็นบิดาปูเส้นทางไว้ให้เดิน ไม่ได้สร้างแรงกดดันให้แก่ ชนรรค์ เมื่อชายหนุ่มถูกปลูกฝังให้คุ้นชินกับธุรกิจครอบครัวมาตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งการให้ช่วยทำงานเล็กๆ น้อยๆ ของธุรกิจสมุนไพร

Read More

เปิดเป้าหมาย หมอกัมพล โซ่เจริญธรรม จากคลินิกความงามสู่ Medical Hub

จากค่านิยมและกระแสสังคมในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงามยังคงเป็นธุรกิจที่มาแรงและน่าจับตามอง เห็นได้จากผลสรุปเทรนด์ธุรกิจที่มาแรง หรือธุรกิจดาวรุ่ง ในแต่ละปีธุรกิจการแพทย์ สุขภาพและความงามมักจะอยู่ในอันดับต้นๆ เสมอ จึงไม่น่าแปลกใจหากเราจะเห็นคลินิกความงามเปิดใหม่จำนวนไม่น้อย และอยู่ในหลายพื้นที่ ทั้งบนห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือในรูปแบบสแตนอโลน Krungthai Compass มองว่าตลาดเสริมความงามของไทยเติบโตต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่ต้องการเสริมความงาม โดย ISAPS ระบุว่า ไทยมีการเสริมความงามมากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก เนื่องจากไทยมีชื่อเสียงและคุณภาพการรักษาเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าหลายประเทศ รายงานของ Grand View Research ประเมินว่า ปี 2570 มูลค่าตลาดเสริมความงามทั่วโลกจะขึ้นไปแตะระดับประมาณ 7.14 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 2.16 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่าของปี 2563 บริษัทวิจัยด้านการตลาด Allied Market Research พบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เพื่อเสริมความงามสร้างรายได้ให้ไทยมากที่สุด คาดว่าปี 2570 จะมีมูลค่าตลาดกว่า 5.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น

Read More

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เดินหน้าจัดงานใหญ่ พร้อมภารกิจผลักดันไทยสู่ Hub ด้านอาหาร

ธุรกิจไมซ์ (MICE) หรือ ธุรกิจจัดการประชุมและแสดงสินค้า เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย เหล่าผู้จัดงานทยอยจัดงานกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึง “อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์” หนึ่งในผู้จัดงานแสดงสินค้า ที่ออกมาประกาศเตรียมความพร้อมกับการจัดงานใหญ่ด้านอาหารแห่งปี อย่าง “ProPak Asia 2023” และ “Fi Asia 2023” มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องยอมรับว่าธุรกิจไมซ์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และผู้ประกอบการจากทั้งในและต่างประเทศ ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี “รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์” ผู้อำนวยการกลุ่มงานภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (Informa Markets) ในฐานะผู้จัดแสดงสินค้าและการประชุมเพื่อเชื่อมต่อธุรกิจระดับโลกในประเทศไทย เปิดเผยตัวเลขที่น่าสนใจของธุรกิจไมซ์ว่า ธุรกิจไมซ์สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 29,749 ล้านบาท คิดเป็น 0.18% ของจีดีพีรวม จ่ายภาษีให้รัฐกว่า 2,089 ล้านบาท สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 33,230 ล้านบาท และสร้างตำแหน่งงานถึง 46,718 ตำแหน่งงาน สำหรับ

Read More