Home > Cover Story (Page 29)

บันยัน หัวหินเนื้อหอม พลิกวิกฤตสร้างโอกาสดันยอดขายฉลุย

หัวหิน จัดว่าเป็นทำเลทองสำหรับการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พื้นที่นี้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ความนิยมที่เกิดขึ้นเพราะการเดินทางที่สะดวก ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งสถานการณ์ก่อนโควิดมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาปีละเกือบ 4 ล้านคน ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดในพื้นที่หัวหินปีละหลายหมื่นล้านบาท เมื่อมีจำนวนนักเดินทางท่องเที่ยวเข้ามายังหัวหินเพิ่มขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการจะมุ่งพัฒนาพื้นที่หัวหิน โดยเฉพาะบริเวณริมหาด ซึ่งนั่นทำให้ที่ดินบริเวณดังกล่าวแทบหาไม่ได้แล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเบนเข็มไปยังแนววิวเขามากขึ้น แม้ว่าจะห่างไกลจากจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยว แต่การเดินทางที่สะดวก ทำให้โครงการที่อยู่ในหัวหินยังคงเป็นที่ต้องการ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส คาดการณ์ว่า พื้นที่ชะอำ หัวหิน ปราณบุรี จะเป็นพื้นที่ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญรองจากชลบุรีและระยอง หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย พื้นที่ท่องเที่ยวเช่นหัวหิน จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ โดยเฉพาะโซนหัวหิน ที่มีโครงการจัดสรรจำนวนมาก ทั้งอาคารชุดติดถนนเพชรเกษม วิลล่าโซนภูเขา รวมไปถึงโครงการจัดสรรทั้งที่พัฒนาเพื่อขายคนในพื้นที่ เช่น ทาวน์เฮาส์ชั้นเดียว ระดับ 1-2 ล้านบาท บ้านแฝดชั้นเดียวระดับราคา 1.6-2.3 ล้านบาท บ้านเดี่ยวชั้นเดียว ระดับราคา 2.3-3 ล้านบาทเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นราคาที่ไม่แพงเกินไปสำหรับ “มนุษย์เงินเดือน” นอกจากผู้ประกอบการไทยอย่าง บมจ.

Read More

กลุ่มสามารถดัน SAV ลุยวิทยุการบินกัมพูชา ไร้คู่แข่ง เหมาสัมปทานยาว 49 ปี

กัมพูชา อีกหนึ่งประเทศกำลังพัฒนาบนภูมิภาคอาเซียน ที่มีนักลงทุนจากจีนทั้งภาครัฐและเอกชนใส่เม็ดเงินลงไปเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม ท่าเรือ แต่โควิดที่ผ่านมาการปิดเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของจีนส่งผลโดยตรงต่อกัมพูชา ที่กำลังอยู่ในจังหวะเร่งของการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันในภาวการณ์ที่ทุกอย่างเริ่มคลี่คลายแล้ว ทว่า การกลับมาดำเนินกิจการภายใต้การบริหารงานของทุนจีนยังไม่สามารถกลับมาได้เท่าที่ควรบนแผ่นดินกัมพูชา ธนาคารโลก หรือ World Bank คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2566 ประมาณร้อยละ 5.2 เนื่องจากจีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ในขณะที่ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะอาเซียนแข็งแกร่งกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ทั่วโลกยังคงลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น เพื่อตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลกัมพูชาได้ปรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2566 ว่าจะเติบโตร้อยละ 5.6 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.6 เนื่องจากความไม่แน่นอนของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตโควิด ด้านรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มร. Vongsey Vissoth เปิดเผยว่า แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิดจะคลี่คลายลง แต่วิกฤตจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังไม่จบลง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงสร้างแรงกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อรายใหญ่ของกัมพูชา ดังนั้น กัมพูชาอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงเช่นกัน กัมพูชานอกจากจะเป็นผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแล้ว การท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่รัฐบาลกัมพูชาเร่งส่งเสริมและมีนโยบายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมตัวนี้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ล่าสุด กัมพูชามีการลงทุนสร้างสนามบินนานาชาติใหม่ 3 แห่ง เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว นักเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

Read More

จับกระแสยานยนต์ไฟฟ้า เคลื่อนไหวคึกคักตลอดครึ่งปีแรก

เรียกได้ว่าเป็นครึ่งแรกของปีที่มีความเคลื่อนไหวออกมาอย่างสม่ำเสมอเลยทีเดียวสำหรับแวดวงยานยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV ในประเทศไทย ทั้งข่าวการเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ จากบรรดาค่ายรถที่ออกสู่ตลาดกันอย่างต่อเนื่อง ยอดจดทะเบียนรถ EV ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด หรือความเคลื่อนไหวทางฝั่งผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในไทย รวมไปถึงผู้ประกอบการไทยเองที่ออกมาบุกตลาดด้วยเช่นกัน นับตั้งแต่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 ด้วยการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero รวมถึงยังมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนทางภาษีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV Tax Incentive Package) ไปเมื่อปี 2565 ที่ทำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องออกมาตรการส่งเสริมการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุน มาตรการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ลดหย่อนภาษีสรรพสามิต ทำให้แวดวงยานยนต์ไฟฟ้าในไทยมีการขยับตัวมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าจำได้ในปี 2565 รถ EV พาเหรดเปิดตัวกันตลอดปี ทั้ง VOLT City

Read More

20 ปี “ม่วนใจ๋ เบลนด์” สัมพันธภาพระหว่างสตาร์บัคส์กับชาวไร่กาแฟ

ถ้าพูดถึง “สตาร์บัคส์” แล้ว ถือเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเชนร้านกาแฟชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาที่มีสาขาและฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นอยู่ทั่วโลก เช่นเดียวกับในเมืองไทยที่สตาร์บัคส์สามารถครองใจผู้บริโภคชาวไทยมายาวนานถึง 25 ปี จนกลายเป็นบ้านหลังที่สาม หรือ Third Place สำหรับใครหลายๆ คน ที่ชื่นชอบทั้งบรรยากาศร้านที่เป็นเอกลักษณ์ บริการ และกาแฟหอมกรุ่นที่มาจากเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดีของสตาร์บัคส์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ม่วนใจ๋ เบลนด์” เมล็ดกาแฟพันธุ์อะราบิก้าที่ปลูกโดยชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของไทย ที่ไม่ได้เป็นเพียงเมล็ดกาแฟที่สร้างความม่วนอ๊กม่วนใจ๋ให้กับคอกาแฟเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของสัมพันธภาพระหว่างสตาร์บัคส์กับชาวไร่กาแฟที่ดำเนินมาถึง 20 ปีเต็มด้วยเช่นกัน และในโอกาสปีที่ 20 ของม่วนใจ๋ เบลนด์ “ผู้จัดการ 360 องศา” ขอพาไปย้อนเรื่องราวการเดินทางของกาแฟอะราบิก้าพันธุ์ดีจากภาคเหนือของไทยกันอีกครั้ง เรื่องราวของเมล็ดกาแฟม่วนใจ๋ เบลนด์ เกิดขึ้นในปี 2545 เมื่อสตาร์บัคส์เล็งเห็นว่าทางภาคเหนือของไทยเป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นดีและอยากทำให้กาแฟไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงได้ทำงานร่วมกับทางมูลนิธิพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (Integrated Tribal Development Foundation: ITDF) ที่มี ‘อ.ไมค์ แมนน์’ เป็นผู้อำนวยการโครงการ เพื่อเฟ้นหาเมล็ดกาแฟคุณภาพที่ได้มาตรฐานของสตาร์บัคส์ โดยเริ่มจากการสำรวจทางภาคเหนือของไทยเพื่อหาเมล็ดกาแฟ ก่อนที่จะส่งเมล็ดกาแฟไปทดสอบคุณภาพที่สตาร์บัคส์ในเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา จากนั้นจึงตกลงทำสัญญาสั่งซื้อเมล็ดกาแฟเป็นครั้งแรกกับชาวไร่ที่หมู่บ้านห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย

Read More

ม้าเร็ว คนเร็ว จดหมาย ย้อนยุค 140 ปี ไปรษณีย์ไทย

การสื่อสารยุคสมัยใหม่ที่มีหลากหลายรูปแบบ การพูดคุยทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การส่งข้อความผ่านไลน์ ผ่าน Messenger ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทวิตเตอร์ สไกป์ ทำให้การเขียนจดหมายกลายเป็นช่องทางที่ล่าช้า ยกเว้นในพื้นที่ห่างไกลที่สื่อสารสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง หากย้อนรูปแบบการสื่อสารในประเทศไทยสมัยก่อน หลังการสร้างเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า มีทั้งการส่งข่าวผ่านกลุ่มพ่อค้า ใช้ม้าเร็ว ตั้งคนเร็วไว้ตามเมืองสำคัญ กระทั่งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สนพระทัยการเขียนจดหมายโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ และทรงใช้การไปรษณีย์ติดต่อกับประมุข ติดต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปี 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช หัวหมื่นมหาดเล็กเวรสิทธิ์ ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายคำแนะนำให้เปิดบริการไปรษณีย์ในประเทศไทย ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบและทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงมีประสบการณ์ เกี่ยวกับการจัดส่งหนังสือพิมพ์รายวัน “ข่าวราชการ” ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ วันที่ 4 สิงหาคม 2426 มีการประกาศเปิดรับฝากส่งจดหมายหรือหนังสือ เป็นการทดลองในเขตพระนครและธนบุรี มีที่ทำการ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง ซึ่งปัจจุบันถูกรื้อและสร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ เรียกว่า “ไปรษณียาคาร” ปี 2428 รัฐบาลได้ตรากฎหมายด้านการไปรษณีย์ฉบับแรก “พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248” เพื่อเป็นระเบียบข้อบังคับให้ประชาชนผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ วันที่

Read More

“ขนส่งพัสดุ” แสนล้าน ปณท ซุ่มเปิดศึกแฟรนไชส์

“ขนส่งพัสดุและไปรษณีย์” เป็นหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ยอดนิยมไม่แพ้ร้านสะดวกซื้อ จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและการขายของออนไลน์ รวมถึงแฟรนไชส์ร้านสารพัดบริการ One Stop Service มีตั้งแต่ไปรษณีย์เอกชน รับส่งพัสดุ จ่ายบิลออนไลน์ ค่าน้ำค่าไฟ บัตรเครดิต เติมเงินโอนเงิน ถ่ายรูปด่วน ถ่ายเอกสาร จองตั๋วเดินทาง ต่อภาษี ไปจนถึงทำประกัน แน่นอนว่า ไลฟ์สไตล์ของผู้คนเน้นความสะดวกสบาย ลดการเดินทาง ทำให้แฟรนไชส์ทั้งสองรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย เอาเฉพาะที่ Thaifranchise center รวบรวมไว้ เช่น เมล์บ็อกซ์ วินเซ็นท์เซ็นเตอร์เซอร์วิส น้องฟ้าเซอร์วิส ควิกเซอร์วิส เก้าหน้าโพสเซอร์วิส กะปุกท็อปอัพ/สยามท็อปอัพ แอร์เพย์เคาน์เตอร์ เพย์พอยท์ เซอร์วิส ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส ซุปเปอร์เอส มายเซฟ เดอะ เลตเตอร์โพสต์ เซอร์วิส ส่วนแฟรนไชส์ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุอย่างเดียว เช่น แฟลชเอ็กซ์เพรส, J&T Express, ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ, เบสท์ เอ็กซ์เพรส,

Read More

“ด้อมส้ม” แพร่กระจาย ปลุกตลาดโหนกระแส

ภาพกิจกรรมพบปะประชาชนของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล บริเวณลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย และเหล่า “ด้อมส้ม” เต็มพรึ่บ ดูเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว เพราะไม่ว่าพ่อทิมลุยไปที่ไหน แฟนคลับต้องมาเต็มพื้นที่ แต่สิ่งที่สร้างความประหลาดใจในวันนั้น คือ จอภาพ LED ด้านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์เปลี่ยนเป็น “สีส้ม” !!! หลายฝ่ายตีความไปต่างๆ ไม่มีการยืนยันใดๆ เป็นการประกาศตัวเลือกข้าง แผนทุ่มงบซื้อสื่อโฆษณา หรือเป็นเพียงการเกาะกระแสสร้างสีสันเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ภาพลักษณ์ของเซ็นทรัลเวิลด์ในวันนั้นสามารถซื้อใจเหล่าด้อมส้มไปได้มาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายของห้างเช่นกัน แน่นอนว่า ความร้อนแรงของกลุ่มด้อมส้มวันนี้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ เป็นปรากฏการณ์ชัดเจนตั้งแต่ช่วงหาเสียงและหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งพรรคก้าวไกลกวาดคะแนนเสียงรวมมากกว่า 14 ล้านคน ได้ที่นั่ง ส.ส. เขต 112 คน ส.ส. บัญชีรายชื่อ 39 คน รวม 151 คน การเปิดปฏิบัติการเดินสายขอบคุณประชาชนในจังหวัดหลักๆ ทุกภูมิภาค บวกกับเกมรุกสร้างแนวร่วมผ่านสื่อต่างๆ ยิ่งตอกย้ำถึงฐานผู้คนขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้

Read More

“ไปรษณีย์ไทย” ล้างภาพเก่า ปลุก Logistics ยุคดิจิทัล

ประเมินกันว่า ธุรกิจขนส่งพัสดุในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่องถึง 18% มูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 1.15 แสนล้านบาท ตามการเติบโตของตลาด E-Commerce แต่สงครามการแข่งขันที่มีเอกชนหน้าใหม่กระโดดเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทุกปี ทำให้ “ไปรษณีย์ไทย” เจ้าตลาดนานกว่า 140 ปี ต้องพลิกกลยุทธ์อยู่นาน เพื่อผลักดันรายได้ทะลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ถ้าพลิกดูข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ยังคงมีรายได้ลดลง โดยปี 2563 มีรายได้ 23,824.48 ล้านบาท ปี 2564 ขยับลดลงมาอยู่ที่ 21,434.17 ล้านบาท และปี 2565 อยู่ที่ 19,714.27 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากสงครามราคาในธุรกิจขนส่งด่วนและการใช้เทคโนโลยีทดแทนของบริการสื่อสารดั้งเดิม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรณรงค์การลดใช้กระดาษทำให้ปริมาณงานในกลุ่มบริการไปรษณียภัณฑ์ลดลงชัดเจน ขณะเดียวกัน เจาะเฉพาะปี 2565 แยกตาม 6 กลุ่มธุรกิจหลัก ยอดรายได้ตกลงกว่าปีก่อนหน้าเกือบทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น

Read More

ออฟฟิศให้เช่าเกรด A แข่งเดือด ปักหมุดทำเลทอง รับเศรษฐกิจฟื้นตัว

ธุรกิจสำนักงานให้เช่าในปี 2566 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวหลังวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีการเพิ่มการจ้างงานและต้องการพื้นที่สำนักงานมากขึ้น นั่นทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยเปิดตัวโครงการสำนักงานให้เช่ากันอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารสำนักงานกลุ่ม A และ A+ ที่ตอบโจทย์กลุ่มบริษัทยุคใหม่และเป็นที่สนใจของบริษัทข้ามชาติ ที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด ธุรกิจสำนักงานให้เช่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ทั้งจากกระแส Work From Home และ Hybrid Working เห็นได้จากความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานในปี 2565 ที่ปรับตัวสูงขึ้นเพียง 10,000 ตร.ม. จากปี 2564 ชะลอลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2559-2563) ที่เคยเพิ่มขึ้นกว่าปีละ 128,000 ตร.ม. แต่สำหรับปี 2566 คาดว่าธุรกิจสำนักงานให้เช่าจะค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวอีกครั้งตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จากการคาดการณ์ของฝ่ายวิจัยและการสื่อสาร คอลลิเออร์ส ประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 อาจมีพื้นที่สำนักงานให้เช่าก่อสร้างแล้วเสร็จและเข้าสู่ตลาดใหม่อีกประมาณ 567,379 ตร.ม. ปี 2567 เข้าสู่ตลาด 532,778 ตร.ม.

Read More

“กรณ์ ณรงค์เดช” ย้ำภาพลักษณ์แบรนด์ RML เผยโฉม ‘OCC’ อาคารสำนักงานระดับ A+ 

“กรณ์ ณรงค์เดช” ก้าวขึ้นเป็นซีอีโอแห่งไรมอน แลนด์ หรือ RML ตั้งแต่มกราคม 2564 พร้อมภารกิจหลักคือการปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ทันสมัยเข้าถึงง่าย เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ และทำให้ไรมอน แลนด์กลับมาผงาดในฐานะผู้นำวงการอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮเอนด์ โดยล่าสุดได้เผยโฉม “OCC – One City Centre” อาคารสำนักงานระดับ A+ แลนด์มาร์กแห่งใหม่บนถนนเพลินจิต เพื่อตอกย้ำความลักชัวรีของ RML ให้เข้มข้นขึ้นไปอีกขั้น บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2530 ในฐานะผู้นำในตลาดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับลักชัวรีและอัลตราลักชัวรีในประเทศไทย ทั้งอสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย ธุรกิจเชิงพาณิชย์ งานบริการ และพื้นที่ค้าปลีก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไรมอน แลนด์ ถือเป็นแบรนด์อสังหาฯ ระดับลักชัวรีที่แข็งแกร่ง และมีฐานลูกค้าในวัย 45 ปีขึ้นไป จนกระทั่งมาถึงยุคเปลี่ยนผ่าน เมื่อบริษัท เคพีเอ็น แลนด์ จำกัด (KPNL) เริ่มเข้ามาถือหุ้นในปี 2561

Read More