Home > Cover Story (Page 21)

อุตสาหกรรมรถ EV ไทยบูม สโกมาดิ ขอสู้ศึกตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้า

มหกรรมยานยนต์ หรือ งานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2023 อาจเป็นดัชนีชี้วัดทิศทางและแนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในปัจจุบันและอนาคต ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังต้องเฝ้าระวังทั้งจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ กำลังซื้อภาคครัวเรือนที่เริ่มแผ่วลงและหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงปี 2566-2568 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปัจจัยหนุน  ได้แก่ 1. ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกระเตื้องขึ้นของกำลังซื้อท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่น่าจะทยอยปรับลดลง  2. ปัญหาขาดแคลนชิปแม้จะยังคงมีอยู่เป็นระยะในปี 2566 ภายใต้แรงกดดันของสงครามเทคโนโลยี โดยเฉพาะ สหรัฐฯ และจีน แต่คาดว่าจะคลี่คลายลงในช่วงปี 2567-2568 หลังจากอุปทานชิปเริ่มเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้นจากการเร่งลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตชิปในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ เยอรมนี และญี่ปุ่น 3. นโยบายอุดหนุนการใช้รถไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ BEV ยังมีต่อเนื่อง 4. การเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการของภาครัฐ และการขยายตัวต่อเนื่องของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์และโลจิสติกส์ ตลอดจนการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวหลังการเปิดประเทศมากขึ้น ช่วยหนุนความต้องการรถเพื่อการพาณิชย์ และ 5. ผู้ประกอบการมีแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าตอบรับนโยบายอุดหนุนของภาครัฐ ส่วนการส่งออก คาดว่าในปี 2566 จะยังเติบโตในอัตราไม่สูงนักตามทิศทางกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ยังคงซบเซาก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นในปี 2567-2568 ภายใต้ความเสี่ยงจากนโยบายลดการใช้รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน ของหลายประเทศ ในขณะที่การส่งออกรถยนต์ของไทยส่วนใหญ่ยังเป็น ICE หรือ

Read More

ก้าวสำคัญของสตีเบล เอลทรอน สู่ 100 ปี ผู้นำนวัตกรรม

“เรามองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแรงงาน แรงงานไทยมีจุดเด่นด้านความมุ่งมั่น ความซื่อสัตย์ และมีสกิลที่ดี การลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นด้วยแผนการเปิดโรงงานใหม่ในปีหน้าจึงเป็นสิ่งที่เราตั้งใจ” ดร.ไค ซีเฟลไบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สตีเบล เอลทรอน บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในวันที่สตีเบล เอลทรอน กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 100 หลังดำเนินกิจการมาตลอดระยะเวลา 99 ปี สตีเบล เอลทรอน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มักจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และออกนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่เสมอ และยังวางแผนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง “เราวางแผนการลงทุนด้วยเงินงบประมาณ 190 ล้านยูโร ซึ่งในจำนวนเม็ดเงินนี้จะมีการลงทุนในไทยด้วย นั่นคือการสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ในไทย เน้นการผลิต Heat Pump (เครื่องทำน้ำร้อนขนาดใหญ่) เพื่อการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งตั้งเป้าหมายการผลิตที่ 13,000 เครื่องต่อปี” ดร.ไค กล่าวถึงแผนงาน การเลือกไทยให้เป็นฮับสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก นั่นเพราะจุดเด่นด้านศักยภาพของไทยในหลายมิติ ทั้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และด้านแรงงาน “เราเป็นบริษัทจากเยอรมนี ดังนั้น ยอดขายหลักๆ จะอยู่ในประเทศเยอรมนี

Read More

สำเพ็ง สามแพร่ง ซำเพ้ง เปิดฉาก Chinese Bazaar

สำเพ็ง เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช ถนนราชวงศ์ และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน พาหุรัด วังบูรพา รู้จักกันดีในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ซอยวานิช 1 และช่วงระหว่างสะพานหันถึงถนนจักรวรรดิเรียกว่า ตรอกหัวเม็ด ที่มาของชื่อ “สำเพ็ง” ไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่มีการระบุหลายที่มา เช่น มาจากสามแพร่ง สามแผ่น หรือสามแผ่นดิน มาจากชื่อพืช “ลำเพ็ง” มาจากชื่อวัดสามปลื้ม หรือมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “ซำเพ้ง” แปลตรงตัวได้ว่า “ศานติทั้งสาม” นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า สำเพ็งเป็นภาษามอญ แปลว่า เจ้าขุนมูลนาย จึงเป็นไปได้ว่าที่นี่เป็นแหล่งอยู่อาศัยของชาวมอญมาก่อนชาวจีนจะย้ายเข้ามาอยู่  ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ระบุมาจากภาษาเขมร “ซำเปียะลี” (សម្ពលី) แปลว่า แม่สื่อ แม่เล้า ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บอกว่า อาจมาจากชื่อคน “เพ็ง” 3 คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม

Read More

สวัสดี Moshi Moshi ได้ฤกษ์ติดจรวดขายแฟรนไชส์

อาณาจักรร้านสินค้าไลฟ์สไตล์แนวใหม่ สีสันน่ารักๆ Moshi Moshi ที่มีสาขาทั่วประเทศไทยมากกว่าร้อยร้าน เริ่มต้นจากร้านกิฟต์ช็อป “พร้อมภัณฑ์” ย่านฝั่งธนบุรีเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน ซึ่ง สง่า บุญสงเคราะห์ ลุยบุกเบิกจนกลายเป็นร้านที่ลูกค้าแถวนั้นรู้จักอย่างดี ก่อนปรับกลยุทธ์เน้นสินค้าที่มีดีไซน์และสินค้านำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อจำหน่ายให้ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และร้านค้าต่างๆ แน่นอนว่า ฐานลูกค้ากว้างขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้นและยอดขายเติบโตมากขึ้น ปี 2530 นายสง่าขยายธุรกิจ เปิดร้านค้าส่งแบบดั้งเดิมในตลาดสำเพ็ง แต่ใช้วิธีตกแต่งร้านและเพิ่มจำนวนสินค้าเหมือนย่านค้าส่งในประเทศญี่ปุ่น ฉีกแนวคู่แข่งกลายเป็นร้านฮอตฮิตของลูกค้า กระทั่งปี 2543 ตัดสินใจเปิด บริษัท บีกิฟท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ในตลาดสำเพ็ง ในช่วงจังหวะที่ตลาดกิฟต์ช็อปและสินค้าไลฟ์สไตล์เติบโตสูงมาก พร้อมๆ กับกลุ่มลูกค้าต่างเรียกหาสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น อชิระ บุญสงเคราะห์ ลูกชายของสง่า มองเห็นโอกาสและแนวทางใหม่ๆ หลังเรียนรู้การทำธุรกิจและสั่งสมประสบการณ์จากผู้เป็นพ่อ เขาปรึกษาครอบครัวและลงมติร่วมกัน จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัท บี กิฟท์ เป็นบริษัท โมชิ โมชิ เจแปน จำกัด

Read More

ผวาหนี้ BNPL “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” บานเบอะ

12 ธันวาคมนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นัดหมายเปิดแถลงปฏิบัติการแก้หนี้แบบครบวงจรอีกครั้ง ในส่วนหนี้ในระบบ หลังประกาศวาระแห่งชาติล้างหนี้นอกระบบ 5 หมื่นล้านบาทไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยยืนยันจะปลดปล่อยพี่น้องประชาชนจากการเป็นทาส ลืมชีวิตที่เคยลำบาก มีกำลังแรงใจที่จะทำตามความฝันนับจากนี้เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานเร่งเสนอแนะมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาลต้องเจาะลึกรอบด้าน โดยเฉพาะสินเชื่อในระบบที่กำลังฮิตติดเทรนด์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องยื่นเอกสารและใช้เวลาอนุมัติรวดเร็วแค่ 3 นาที ยิ่งกว่าแช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่เรียกว่า “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) ซึ่งพุ่งเป้าเจาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งรูปแบบออฟไลน์หรือออนไลน์ และกำหนดเงื่อนไขสมัครใช้เพียงบัตรประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า สินเชื่อประเภท “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) เกิดจากการขยายตัวของการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ การเชื่อมโยงของฐานข้อมูลและพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ยอดฮิตทั่วโลก

Read More

ไลฟ์สไตล์ กิฟต์ช็อป 8 พันล้าน ไดโซะ มินิโซ โมชิ ชิงเม็ดเงิน

นับจาก “ไดโซะ (Daiso)” ร้านขายสินค้าจิปาถะราคา 100 เยนจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาบุกตลาดไทย ผุดสาขาแรกเมื่อปี 2546 ปลุกกระแสร้านค้าไลฟ์สไตล์ สร้างสีสันใหม่ๆ ให้ลูกค้าคนไทย จนกลายเป็นอีกเซกเมนต์ที่มาแรงไม่หยุด โดยคาดการณ์มูลค่าตลาดรวมในปี 2566 เม็ดเงินสูงถึง 5,500 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มเป็น 6,400 ล้านบาทในปี 2567 แถมปี 2568 จะพุ่งพรวดเป็น 7,400 ล้านบาท ก่อนทะยานไปถึง 8,600 ล้านบาท ในปี 2569 ต้องยอมรับว่า ไดโซะจุดประกายการชอปปิ้งของผู้บริโภคชาวไทยพร้อมๆ กับการเติบโตของกลุ่มคนกำลังซื้อปานกลางที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้น เกิดพฤติกรรมการจับจ่ายแนวใหม่ๆ ไม่ใช่แค่กิฟต์ช็อป หรือสินค้าทั่วไป แต่ต้องคุ้มค่า มีดีไซน์ สินค้าทุกชิ้นต้องสะท้อนบุคลิก ความชอบและตัวตน หลังไดโซะเข้ามาลุยตลาดได้ไม่นานและได้รับความนิยมสูงมาก แบรนด์ต่างๆ จึงกระโดดตามมาติดๆ อย่าง KOMONOYA หรือร้าน 100 Yen Shop ของบริษัท

Read More

สหฟาร์ม (เตรียม) come back ทวงบัลลังก์เบอร์ 1 ผู้ส่งออกไก่สด

หลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการมานานกว่า 7 ปี ในที่สุด “สหฟาร์ม” ผู้ผลิตและส่งออกไก่เนื้อรายใหญ่ ได้กลับคืนสู่ตระกูล “โชติเทวัญ” อีกครั้ง เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่ง “ยกเลิก” การฟื้นฟูกิจการตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งการกลับมาครั้งนี้นอกจากจะเป็นการกลับเข้ามาบริหารสหฟาร์มอีกครั้งของโชติเทวัญแล้ว ยังเป็นการกลับมาเพื่อทวงบัลลังก์ของผู้ส่งออกไก่สดของไทย ผ่านแผนธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆ ในรอบ 7 ปีอีกด้วย ดร.ปัญญา โชติเทวัญ เริ่มก่อตั้งบริษัท สหฟาร์ม จำกัด ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยเงินลงทุนเพียง 5,000 บาท จากการเลี้ยงไก่สัปดาห์ละ 500 ตัว โดยพื้นเพของเขาเป็นชาวอำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทาง สําเร็จการศึกษาวิชาเสนารักษ์ จากกรมการแพทย์ทหารเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2494 ภายหลังจบการศึกษาเขาเข้ารับราชการตำแหน่งพยาบาลในกองทัพเรือถึง 11 ปี (ตั้งแต่ปี 2495-2506) จากนั้นรับราชการในตำแหน่งพนักงานสุขาภิบาลกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 12

Read More

น้ำผึ้ง-จารุวรรณ โชติเทวัญ ทายาทสหฟาร์มกับการพลิกฟื้นธุรกิจ

“ตั้งแต่เด็ก เวลาที่ใครๆ ถามว่าโตขึ้นมาอยากเป็นอะไร ทุกคนก็จะมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่น้ำผึ้งไม่เคยโดนคำถามแบบนั้นเลย แต่เราโตมากับคำพูดที่ว่า โตขึ้นมาน้ำผึ้งต้องมาทำงานช่วยสหฟาร์ม มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นว่าเวลาที่เราเรียน เราต้องเลือกเรียนในสิ่งที่มันเกี่ยวข้องกับการทำงานของสหฟาร์ม เหมือนเราโตมาเพื่อสหฟาร์ม” น้ำผึ้ง-จารุวรรณ โชติเทวัญ ทายาทหมื่นล้านของสหฟาร์ม กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในวันที่สหฟาร์มกลับคืนสู่ครอบครัว “โชติเทวัญ” อีกครั้ง หลังอยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการมานานกว่า 7 ปี  จารุวรรณ โชติเทวัญ หรือ “น้ำผึ้ง” เป็นลูกสาวคนเดียวท่ามกลางพี่ชายและน้องชายทั้ง 4 คนของ ดร.ปัญญา โชติเทวัญ กับ ดร.มนูญศรี โชติเทวัญ เจ้าของธุรกิจหมื่นล้านแห่งสหฟาร์ม ที่ประกอบธุรกิจผู้ผลิตและส่งออกไก่รายใหญ่ของประเทศ และเจ้าของอาณาจักร “บ้านสุขาวดี” แลนด์มาร์กและแหล่งท่องเที่ยวสุดอลังการของ จ.ชลบุรี ที่สร้างบนเนื้อที่กว่า 80 ไร่ น้ำผึ้งใช้เวลาเกือบ 10 ปี ในการศึกษาที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงปริญญาโท โดยเริ่มที่ Trent College

Read More

NIA-TED Fund หนุน “ฮารุนะ” สตาร์ทอัปไทยไปไกลระดับยูนิคอร์น

Global Wellness Institute (GWI) คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพทั่วโลกจะมีมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 230 ล้านล้านบาท และหากย้อนไปปี 2562 มูลค่าตลาดอยู่ที่ 4.9 ล้านล้านดอลลาร์ ปี 2563 มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 145 ล้านล้านบาท นอกจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและธุรกิจสปาที่เป็นตัวเอกในอุตสาหกรรมนี้ ปัจจุบันการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่เริ่มมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นการดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเองในลักษณะการป้องกัน สร้างภูมิต้านทาน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรค และยังเป็นการฟื้นฟูความเสื่อม โพรไบโอติก คือ อีกหนึ่งตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโต ปัจจุบันตลาดโพรไบโอติกมีมูลค่าสูงถึง 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ยังมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2568 โดยมีอัตราความเจริญเติบโตต่อปีสูงถึง 8.3 เปอร์เซ็นต์ สำหรับตลาดโพรไบโอติกในไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 4.1 พันล้านบาทต่อปี สตาร์ทอัป ถูกกำหนดเป็นแผนสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับชาติ มีการผลักดันกฎหมยและสิทธิประโยชน์ให้เอื้อต่อผู้ทำธุรกิจ

Read More

DHL-SABUY Speed จากคู่แข่งสู่พาร์ตเนอร์ เปิดตัว SABUY Dee ขยายตลาดรับ E-Commerce โต

ปี 2023 นับเป็นอีกปีหนึ่งที่ธุรกิจมีการแข่งขันดุเดือด เพราะธุรกิจจำนวนมากหันเข้ามาสู่ตลาดออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบหลังช่วงโควิด แม้ว่าปี 2020 มูลค่าตลาด E-Commerce จะลดลงไปประมาณ 6.68 เปอร์เซ็นต์ โดยสาเหตุหลักมาจากการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดปีนี้จะอยู่ที่ 6.34 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ 6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้ในปี 2024 มูลค่าตลาดน่าจะอยู่ที่ 6.94 แสนล้านบาท ด้านภาพรวมของเจ้าตลาด Marketplace อย่าง Lazada และ Shopee จะยังสามารถคงตำแหน่งขวัญใจนักชอปและยังสามารถทำกำไรได้ เนื่องจากมีการใช้งบประมาณในการทำตลาดน้อยลง ซึ่งทำให้ตัวเลขขาดทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด น้องใหม่อย่าง TikTok Shop ที่กำลังมาแรงแซงทุกโค้งด้วยกลยุทธ์ของแพลตฟอร์มที่ทำให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเป็นผู้ขายได้แม้ไม่มีสินค้าในมือก็ตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการทั้ง SME และ Startup จะหันมาใช้แพลตฟอร์มนี้ขยายตลาดมากขึ้น โดยสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด E-Commerce จากเจ้าตลาดมาได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ในปี 2022 และคาดการณ์ว่าในปีนี้จะได้เห็นส่วนแบ่งที่ TikTok แย่งชิงมาได้เพิ่มขึ้นเป็น 10-15 เปอร์เซ็นต์ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส

Read More