Home > Cover Story

อาณาจักรหมื่นล้าน “มิลเลนเนียม กรุ๊ป”  จากดีลเลอร์ BMW สู่เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว

ปี 2568 เป็นปีที่ บริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) หรือ MGC-ASIA ก้าวสู่ปีที่ 25 ของการดำเนินธุรกิจ และเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ในฐานะแม่ทัพใหญ่ ปลุกปั้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร จากดีลเลอร์รถบีเอ็มดับเบิลยู (BMW) สู่การเป็น Lifestyle Mobility ที่ไปไกลถึงการให้เช่าเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว กับรายได้หลักหมื่นล้านบาทต่อปี และบริษัทในเครือมากกว่า 10 บริษัท หลักไมล์ของมิลเลนเนียม กรุ๊ป เริ่มต้นขึ้นในปี 2542 เมื่อครอบครัวธรรมชวนวิริยะได้ก่อตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์  โดยในตอนเริ่มจัดตั้งใช้ชื่อ บริษัท วีอาร์ที เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (จากนั้นได้มีการเปลี่ยนชื่อครั้งที่ 1 ในปี 2554 เป็น บริษัท มาสเตอร์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น

Read More

S&P Ice-Cream Corner 52 ปี จากวันมหาวิปโยค

14 ตุลาคม 2516 พี่น้องตระกูลไรวาจับมือกันเปิดร้านเบเกอรี่และไอศกรีมเล็กๆ ในซอยประสานมิตร (สุขุมวิท 23) ใช้ชื่อว่า “S&P Ice-Cream Corner” แต่วันนั้นเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง “วันมหาวิปโยค” รัฐบาลนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร ปราบปรามผู้ประท้วงบริเวณพระบรมมหาราชวังและถนนราชดำเนินอย่างรุนแรง ทำให้การเปิดร้านวันแรกสุดเงียบเหงา อย่างไรก็ตาม ภัทรา ศิลาอ่อน หัวเรือใหญ่ของร้านเดินหน้าลุยธุรกิจฝ่าทุกมรสุมจนกิจการเติบโตต่อเนื่อง และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2532 โดยเริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ใช้ชื่อว่า บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อหุ้น SNP และชื่อแบรนด์ทางการตลาด S&P แน่นอนว่า เอส แอนด์ พี ซินดิเคท กลายเป็นผู้เล่นระดับบิ๊กในตลาด มีผลิตภัณฑ์อาหารและขนมสำเร็จรูป จัดจำหน่ายผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ ส่งออกอาหารแช่แข็งและขนมหวานไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า

Read More

“คุมอง” โตสวนตลาดกวดวิชา ปูพรมแฟรนไชส์เจาะหมู่บ้าน

“คุมอง” แฟรนไชส์สถาบันสอนคณิตศาสตร์ ยังคงติดอันดับท็อปๆ ในกลุ่มธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะความเก่าแก่ มีเครือข่ายกว่า 23,700 สาขา ใน 62 ประเทศ มีนักเรียนทั่วโลกมากถึง 3.5 ล้านคน ซึ่งถ้าเจาะเฉพาะประเทศไทยมีสาขากว่า 500 แห่ง กระจายทั่วประเทศและในทำเลต่างๆ ทั้งในศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์และย่านชุมชนในหมู่บ้านขนาดใหญ่ ขณะที่ตัวเลขของศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินตลาดโรงเรียนกวดวิชาในปี 2568 จะมีรายได้แตะ 3,300 ล้านบาท ยังคงขยายตัว 9.2% แต่มีแนวโน้มชะลอตัวเพราะอัตราการเกิดลดลงตามสภาพสังคมไทยที่ผู้คนแต่งงานช้าหรือแต่งงานแล้วขอไม่มีลูกไปจนถึงเลือกใช้ชีวิตโสดเพื่อหนีพิษเศรษฐกิจและปัญหาครอบครัวแตกแยก นั่นทำให้กลยุทธ์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลายเป็นโจทย์ข้อสำคัญซึ่งคุมองน่าจะมีจุดแข็งมากกว่าทั้งในแง่เครือข่ายสาขาและใช้กลยุทธ์ทดลองเรียนก่อนเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการเรียนการสอน หากย้อนดูที่มาที่ไปของคุมองเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1954 หรือเมื่อ 71 ปีก่อน แม่ของเด็กชายทาเคชิ คุมอง พบผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ของลูกชายซึ่งเวลานั้นเรียนอยู่ชั้น ป. 2 ลดต่ำลงเธอรีบปรึกษาสามีโทรุคุมองซึ่งเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนระดับมัธยมปลาย ทันใดนั้นเอง โทรุจึงเริ่มต้นออกแบบแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ให้ลูกชาย เพื่อให้ทาเคชิสามารถทำแบบฝึกหัดในแต่ละวันได้โดยไม่ยากลำบากและพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอ ปรากฏว่าทาเคชิสามารถพัฒนาความสามารถได้อย่างรวดเร็วผ่านการฝึกฝนทำแบบฝึกหัดทุกวัน วันละครึ่งชั่วโมง แถมเรียนก้าวหน้าจนทำแบบฝึกหัดแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential Calculus) และอินทิกรัล (Integral) ได้ตอนเพิ่งขึ้นชั้น ป. 6

Read More

วิรัช จันทร์บูรณ์  โค้งสุดท้ายดัน “ปั้นคำหอม” เข้าตลาดหุ้น

“ปั้นคำหอมมีแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงไตรมาส 3 ปี 2569 บริษัทเตรียมมาหลายปีและปีนี้เข้าปีที่ 3 เป็น Process โค้งสุดท้าย เป้าหมายผมไม่ได้เน้นเรื่องเงิน แต่มองการพัฒนา System การวางโครงสร้างการบริหารมีคณะทำงานที่เป็นมืออาชีพระดับบอร์ด มีระบบการควบคุม มาตรฐานการดูแลตรวจสอบเหมือนบริษัทในตลาดฯ เพื่อสร้างการเติบโตและความยั่งยืนในอนาคต” “ถามว่าเราแข่งกับใคร ต้องตอบว่า แข่งกับตัวเอง ทำอย่างไรให้บริษัทมีความยั่งยืน ผลิตขนมไทยไปต่างประเทศ นั่นเป็นเป้าหมายหลัก” วิรัช จันทร์บูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีอาร์พี ฟู้ด แอนด์ เบเกอรี่ จำกัด เจ้าของแบรนด์ธุรกิจขนมไทยและเบเกอรี่ “ปั้น คำ หอม” กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงภารกิจและเป้าหมายช่วงปี 2568-2569 หลังใช้เวลากว่าสิบปีปลุกปั้นแบรนด์จากขนมหาบขายยุคคุณแม่ลำพาในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จนวันนี้กลายเป็นธุรกิจเบเกอรี่ครบวงจร “จริงๆ แล้ว ผมและภรรยา คือ คุณรัชดา (ปู) ทำงานแบงก์มาทั้งคู่ อยู่ธนาคารไทยพาณิชย์

Read More

พลิกขนมไทยแม่ลำพา สู่ธุรกิจเบเกอรี่แบรนด์หรู “ปั้นคำหอม”

“ปั้นคำหอม” แบรนด์ร้านขนมไทยและเบเกอรี่ ที่วันนี้กำลังเปิดเกมรุกเจาะตลาดกรุงเทพฯ หลังใช้กลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ขยายสาขาแถบภาคตะวันตก เริ่มต้นความหวานละมุนตั้งแต่ยุคแม่ลำพาเมื่อ 50 กว่าปีก่อน จากแม่ค้าชาวชุมชนตำบลหวายเหนียว ที่เดินหาบขายในบ้านพักเขื่อนแม่คลอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จนเปิดแผงร้านในตลาดสดและส่งต่อให้ทายาทรุ่นที่ 2 ปลุกปั้นธุรกิจเติบโตเกินคาดฝัน แน่นอนว่า ผู้คนในอำเภอท่าม่วงและท่ามะกาต่างรู้กันดีว่าแม่ลำพาตั้งใจทำขนมทุกชิ้น ใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบและส่วนผสมที่ดีที่สุด เช่น การเลือกมะพร้าวแต่ละชนิด คั้นกะทิ เลือกใบเตยและดอกมะลิ การอบขนมด้วยควันเทียนหอมที่จะทำให้ขนมอร่อยติดใจผู้ลิ้มรส จนเป็นเคล็ดลับความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะกระยาสารทดั้งเดิมที่มีความหอม เหนียว จากน้ำตาลโตนด การคั่วข้าวเม่า ถั่ว อย่างพอดี จนคว้ารางวัล OTOP นอกจากนั้น ยังมีเมนูขึ้นชื่อ “ข้าวเหนียวมูน” ที่เลือกใช้ข้าวเหนียวเขี้ยวงู พันธุ์ข้าวเหนียวที่มีเอกลักษณ์เมื่อนำมาทำข้าวเหนียวมูนจะมีความนุ่ม เหนียว และกะทิมูนที่ลอยน้ำดอกมะลิ ให้กลิ่นหอม มันกำลังดี เมื่อลูกค้าติดใจฝีมือ แม่ลำพาจึงเพิ่มขนมถาดแบ่งขาย อย่างขนมหม้อแกง ขนมน้ำกะทิต่างๆ ทองหยอด เม็ดขนุน ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง เผือกกวน ถั่วกวน มันสำปะหลังเชื่อม

Read More

อุตสาหกรรมไมซ์ แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทย

นอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้ว อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE: Meeting, Incentives, Conventions, and Exhibitions) เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี สำหรับในปี 2567 อุตสาหกรรมไมซ์ สร้างรายได้เข้าประเทศได้มากถึง 148,341 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41.27% จากปี 2566 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น มาตรการยกเว้นวีซ่าแก่กลุ่มนักท่องเที่ยว มาตรการเกี่ยวกับวีซ่าหน้าด่าน ที่ให้สิทธินักท่องเที่ยวจากหลายประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าตัวเลขรายได้จากปีที่ผ่านมาจะสูงกว่าแสนล้าน แต่นั่นยังไม่สามารถกลับไปเทียบเท่ารายได้ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทว่า ปี 2568 อุตสาหกรรมไมซ์ ถูกตั้งความหวังว่าน่าจะสามารถสร้างรายได้ 2 แสนล้านบาท และจำนวนนักเดินทางสำหรับอุตสาหกรรมนี้ทั้งในและต่างประเทศ 34 ล้านคน จากทีเส็บ หรือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หน่วยงานรัฐที่ที่มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในทุกมิติ โดยยุทธศาสตร์ที่น่าจะทำให้ไทยเข้าใกล้เป้าหมายได้นั้น ทีเส็บวางไว้ 5 ข้อ ได้แก่ สนับสนุนงานไมซ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและดึงงานไมซ์ระดับโลก มุ่งเน้นตลาดศักยภาพใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง และกลุ่ม BRICS

Read More

ตลาดสินค้าแม่และเด็กขยายตัว สวนทางอัตราการเกิดต่ำ

ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับภาวะการเกิดต่ำ แต่อีกหลายประเทศกำลังประสบกับปัญหานี้ สาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในยุคปัจจุบันมีราคาสูง ความเครียดในวัยเจริญพันธุ์ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปทำให้หลายคู่เลือกที่จะไม่มีทายาท หลายประเทศกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาอัตราการเกิดต่ำ และออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนอยากมีลูกมากขึ้น เช่น สิงคโปร์ ที่เตรียมจัดสรรงบประมาณราว 7 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อโครงการส่งเสริมการแต่งงานและการมีบุตร ในปีงบประมาณ 2569 (เมษายน 2569- มีนาคม 2570) ซึ่งก่อนหน้านี้สิงคโปร์ออกนโยบาย Baby Bonus Scheme กระตุ้นการมีบุตรโดยรัฐบาลให้เงินสนับสนุนพ่อแม่คนละ 8,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อมีลูกคนแรก และคนที่ 2 และ 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เมื่อมีลูกคนที่ 3 เป็นต้นไป แม้ว่าไทยยังต้องเผชิญกับภาวะการเกิดต่ำ แต่โคโลญเมสเซ่ (ประเทศไทย) ผู้จัดงานแสดงสินค้าแม่และเด็ก ยังคงเดินหน้าจัดงาน Kind+Jugend ASEAN 2025 พร้อมบอกว่าตลาดขยายตัวเนื่องจากพ่อแม่ทุ่มเงินสำหรับเด็กมากขึ้น “ปีที่ผ่านมางาน Kind+Jugend ASEAN มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยดูจากจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้น 40% มีแบรนด์สินค้าเข้าร่วมมากกว่า

Read More

“เคทีซี พี่เบิ้ม” ปรับโฟกัส รุกธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างโอกาสแบบ Win-Win

“ความร่วมมือครั้งนี้เกิดมาจากการมีอุดมการณ์ร่วมกันของทั้งสองธุรกิจที่อยากช่วยเหลือ ‘คนตัวเล็ก’ ที่อาจยังไม่มีโอกาส แต่มีความฝันที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรือคนที่มีรายได้ไม่เพียงพอและอยากมีอาชีพเสริมมาช่วยเหลือครอบครัว ให้เขาได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่รวดเร็ว ถูกต้อง และโปร่งใส เคทีซีมองว่าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง แต่ยังติดปัญหาด้านเงินทุน และการจับมือกับ “ไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด” จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้คนที่มีรถสามารถใช้สินทรัพย์ของตัวเองเป็นหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อและเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น” เรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อรถยนต์ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี กล่าวไว้ในการประกาศความร่วมมือระหว่าง “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” กับ “ไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด” แฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดที่มีสาขามากกว่า 2,500 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของ “เคทีซี พี่เบิ้ม” สินเชื่อทะเบียนรถจากค่ายเคทีซี ที่ตอนนี้ปรับโฟกัสหันมาเดินหน้ารุกธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ที่ต้องการลงทุนในแฟรนไชส์ และเพื่อสร้างการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อให้กับเคทีซี พี่เบิ้ม ท่ามกลางสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังน่าเป็นห่วง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินสถานการณ์สินเชื่อรายย่อยในระบบธนาคารพาณิชย์ว่า สินเชื่อรายย่อยยังคงมีแนวโน้มที่จะหดตัวต่อเนื่องในปี 2568 โดยอาจหดตัวลงประมาณ 1.0% ส่วนปี 2567 หดตัวลงประมาณ

Read More

“ไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด” เส้นทาง 16 ปี จากตลาดนัด สู่แฟรนไชส์อันดับ 4 ของประเทศ

“อนพ วัฒนกูล” เริ่มต้นธุรกิจลูกชิ้นทอด “ไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด” จากร้านลูกชิ้นทอดเล็กๆ ในตลาดท่าอิฐ ด้วยเงินทุนจากการเออร์ลี่รีไทร์ เมื่อ 16 ปีที่แล้ว ปัจจุบันไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด ขยายสาขาไปมากถึง 2,500 สาขาทั่วประเทศ และครองตำแหน่งแฟรนไชส์อันดับ 4 ของเมืองไทย จุดเริ่มต้นของความสำเร็จและการเดินทางตลอด 16 ปี ของแบรนด์ไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด เป็นอย่างไร “ผู้จัดการ 360 องศา” จะพาไปทำความรู้จัก แบรนด์ไจแอ้น ลูกชิ้นระเบิด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 โดย “อนพ วัฒนกูล” ที่มีความคิดอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง หลังจากที่เริ่มรู้สึกอิ่มตัวกับการเป็นพนักงานออฟฟิศ ที่ทำงานด้านการขายและการตลาดมานานกว่า 20 ปี เขาใช้ช่วงปีสุดท้ายที่ทำงานให้กับบริษัทเริ่มศึกษาและสำรวจตลาดตามที่ต่างๆ เพื่อหาโอกาสในการทำธุรกิจ โดยยึดหลัก “การตลาดต้องอยู่ในตลาด ไม่ใช่ที่โต๊ะทำงาน” สิ่งที่เขาทำในช่วงนั้นคือการเดินตลาดในทุกจังหวัดที่มีโอกาสไปทำงาน เพื่อหาสิ่งที่ทุกตลาดมีขายเหมือนกันและสิ่งที่ทุกตลาดขาดไปคล้ายกัน ในตอนแรกเขาเลือกสินค้าขึ้นมาหลายตัวเพื่อจะนำมาขายและสร้างแบรนด์ เช่น กล้วยทอด

Read More

ตี๋น้อยลุยต่อ “บุฟเฟต์ปิ้งย่าง” เกมกินรวบสุกี้-บาร์บีคิว

“สุกี้ตี๋น้อย” เปิดเกมรุกรอบใหม่เปิด “Teenoi BBQ (บุฟเฟต์ปิ้งย่าง)” ประเดิมร้านแรกสาขาเลียบทางด่วน และล่าสุดเปิดสาขาแจส กรีน วิลเลจ คู้บอนเลียบทางด่วน ย่านชุมชนใหม่ที่เต็มไปด้วยโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ กลุ่มเป้าหมายกำลังซื้อสูง สำหรับบุฟเฟต์ปิ้งย่าง Teenoi BBQ ราคาคนละ 299 บาท หากรวมค่าเครื่องดื่มรีฟิลล์ ของหวาน และภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคารวมสุทธิ 362 บาท ระยะเวลา 2 ชั่วโมง โดยบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) เจ้าของร้านสุกี้ตี๋น้อย ย้ำว่า ปิ้งย่างจัดเต็ม ฟินได้ทุกวัน เมนูมากกว่า 100 รายการ ทั้งทะเล หมู เนื้อ และพร้อมสลัดบาร์แบบไม่อั้น มีเมนูแนะนำ เช่น เนื้อคารูบิราดซอสยากินิกุ เนื้อบริสเก็ตออสเตรเลีย เนื้อริบอาย เนื้อน่องลาย

Read More