Home > research (Page 2)

สกสว.หนุนพัฒนาระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวไทยในเวทีโลก

สกสว.สนับสนุนเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นทิศทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวไทยในอนาคตให้ตรงจุดสู่ความยั่งยืน นักวิจัยชี้ควรจัดเก็บภาษีและกระจายคืนสู่ท้องถิ่น รวมถึงมีหน่วยงาน ‘คลังสมอง’ ระดับนโยบาย ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทยในอนาคต โดยมีผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วม ผู้อำนวยการ สกสว. ระบุว่าไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านการเดินทางและท่องเที่ยวอยู่ในอันดับ 34 ของโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าไทยมีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้เป็นผู้นำในมิติของการบริหารจัดการและขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการท่องเที่ยว นโยบายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ผ่านมายังไม่ตรงจุดกับการพัฒนาให้เกิดการเดินทางและการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั่วโลก สกสว. หรือ สกว.เดิม ได้สนับสนุนด้านการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง จึงหวังว่าเวทีในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย สกสว.จะยังคงสนับสนุนงานวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบให้กับประเทศ และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวต่อไป ด้าน รศ. ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทยในเวทีโลก” จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สกสว. และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ นำเสนอผลการศึกษาการวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทย สเปน และมาเลเซีย ว่าจุดอ่อนสำคัญที่สะท้อนถึงความไม่พร้อมของไทยในการบริหารจัดการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน คือ ขาดนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Read More

สกสว.จับมือ สป.อว.ดูงานวิจัยนิวซีแลนด์ เล็งตั้งมหาวิทยาลัย-พัฒนาสหกรณ์โคนม

สกสว.และสป.อว.นำทีมนักวิจัยไทยสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของนิวซีแลนด์ ด้านอัครราชทูตที่ปรึกษา ณ กรุงเวลลิงตัน แนะต่อยอดใช้ประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น เพื่อก้าวข้ามปัญหาความเชื่อมั่นงานวิจัยไทยของเอกชน รศ. ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ น.ส.วรากรณ์ รุ่งตระการ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) พร้อมคณะนักวิจัยที่ได้รับรางวัล 2019 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Award และรางวัล 2019 TRF-OHEC-Scopus Research Award จากการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่ พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. เดินทางไปร่วมกิจกรรมโครงการสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยได้เรียนรู้การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับโลก ตลอดจนศึกษาความก้าวหน้าในการพัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ มหาวิทยาลัยแมสเซย์ มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรี่ และ Callaghan Innovation รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สกสว. เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้มุ่งหวังให้นักวิจัยนำมาปรับใช้ในการพัฒนางานวิจัยของตนและของสถาบันได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยในระดับที่สูงขึ้นและต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเทศ

Read More

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยสู่สตาร์ทอัพ

สกว.จับมืออุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือกระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หวังต่อยอดสู่สตาร์ทอัพ ทุ่มงบวิจัยต่อยอดรวม 10 ทุน ด้านผู้บริหาร มช. ย้ำนักวิจัยมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมและยกระดับมหาวิทยาลัยเคียงบ่าเคียงไหล่นานาประเทศ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมงานสัมมนากระตุ้นการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “การแปลงงานวิจัยและยกระดับสู่การใช้ประโยชน์” และการศึกษาการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากงานวิจัยพื้นฐานภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. และเยี่ยมชมการดำเนินงานของอุทยานฯ และโรงงานต้นแบบ-บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การผลักดันของอุทยานฯ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวระหว่างการบรรยายโครงสร้างและระบบวิจัยใหม่ ว่าอยากให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะผู้บริหารและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีช่วยกันจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยแลลำนวัตกรรมของประเทศ โดยใช้กลไกสนับสนุนทุนวิจัย งบประมาณ และการติดตามประเมินผล เป็นตัวขับเคลื่อนงานวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ดีแบบมีส่วนร่วมผ่านกองทุนในระดับหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศ สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นน่าจะทำการวิจัยด้านปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่น่าลงทุน ขณะที่ รศ. ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนฐานนวัตกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 บทบาทของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจะทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากการสอนและทำวิจัยแล้วยังต้องสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสังคมด้วย มิฉะนั้นจะถูกดิสรัป ถ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ก้าวสู่มหาวิทยาลัยวิจัยก็จะไปไม่รอด เราจึงต้องยกระดับมหาวิทยาลัยให้เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาไปไกลแล้ว เช่น

Read More

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล

สวทช. และสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม จับมือนำปัญญาประดิษฐ์พลิกโฉมการทำไร่อ้อยในประเทศไทยร่วมกับกลุ่มมิตรผล คาดโครงการวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และข้อมูลพยากรณ์อากาศแบบเจาะจงพื้นที่ ช่วยเพิ่มผลผลิตไร่อ้อย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for

Read More

งานวิจัยเอคเซนเชอร์ระบุกิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบเดิม ตามไม่ทันแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาในตลาดซึ่งพลิกโลกประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้

งานวิจัยเอคเซนเชอร์ระบุกิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบเดิม ตามไม่ทันแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาในตลาดซึ่งพลิกโลกประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ ดึงลูกค้าเข้ามาใกล้แบรนด์และพัฒนาประสบการณ์โดยเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ คือหัวใจแห่งการสร้างแต้มต่อการแข่งขัน งานวิจัยฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) ระบุว่า กิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ ยังตามหลังแบรนด์ใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาดรวมทั้งที่ข้ามมาจากอุตสาหกรรมอื่น ในเรื่องการสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของลูกค้า ซึ่งในเวลาที่อุตสาหกรรมต้องปรับตัวขนานใหญ่ กิจการเหล่านี้ควรลงทุนสร้างประสบการณ์ที่น่าพึงใจแก่ลูกค้ามากขึ้น และสร้างความประทับใจได้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังจากทุกๆ ธุรกิจ (liquid expectation) รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยผู้บริโภคพลังงานรุ่นใหม่ (New Energy Consumer research program) ที่เอคเซนเชอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคราว 70,000 รายที่ใช้บริการธุรกิจ 36 แห่ง รวมทั้งอีก 6 แบรนด์ที่มีอิทธิพลเขย่าตลาดต่างๆ ทั่วโลก การศึกษานี้จัดทำโดยเอคเซนเชอร์ รีเสิร์ช (Accenture Research) ร่วมกับฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการออกแบบและนวัตกรรมของเอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอคทีฟ (Accenture Interactive) มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจการเหล่านั้นในอุตสาหกรรมสาธารณูปโภค พร้อมทั้งวัดระดับความผูกพันกับแบรนด์ จากที่ได้ติดต่อสื่อสารกันทางกายภาพและผ่านช่องทางดิจิทัล สำหรับแบรนด์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนั้น นับรวมถึงธนาคารสำหรับรายย่อย บริการโทรคมนาคมสำหรับครัวเรือน ธุรกิจประกันสำหรับรายย่อย

Read More

สกว.หนุนวางแผนเมืองนิเวศกทม.-ปริมณฑล ส่งเสริมพลวัตของภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม

ปัจจุบันเมืองต่างๆ ของไทยมีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การส่งเสริมให้เมืองมีความปลอดภัยและมีความพลวัตต่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากที่สุดนั้น จำเป็นที่หน่วยงานระดับท้องถิ่นและระดับประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายเหล่านี้ รวมถึงการวางแผนเพื่อส่งเสริมเมืองพลวัตให้เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤติต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศที่มีความเสี่ยงและประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อยหรือปานกลาง อีกทั้งมีความไม่เท่าเทียมอยู่ การวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วมยังถือว่าเป็นเรื่องท้าทายมาก หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะยังขาดเครื่องมือและขีดความสามารถในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกคน ความท้าทายสำคัญคือ การสื่อสารข้อมูลถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งสามารถเตรียมการวางแผนเพื่อปรับตัวไว้ล่วงหน้า แทนที่จะเป็นการรับมืออย่างเดียว คณะวิจัยจากหน่วยวิจัยอนาคตเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้พัฒนาชุดเครื่องมือ “กินดี..อยู่ดี” เพื่อใช้ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและมีเป้าหมายในการช่วยให้เกิดความตระหนักรู้ถึงสินทรัพย์ที่มีในชุมชนว่าจะช่วยสร้างความพลวัตรองรับภาวะวิกฤติในอนาคตทั้งระดับส่วนตัวและระดับส่วนรวมได้หรือไม่ โดยจำลองภาวะวิกฤติทางภูมิอากาศและวิกฤติเศรษฐกิจ ล่าสุดหน่วยวิจัยอนาคตเมืองฯ ได้ร่วมกับ Internation Institute for Environment and Development (IIED) สหราชอาณาจักร ภายใต้การสนับสนุนของโครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยนานาชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการ “การวางแผนเพื่อเมืองนิเวศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความพลวัตของภุมิอากาศ: การเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล” เพื่อนำเสนอองค์ความรู้จากงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้นำหรือตัวแทนชุมชนเครือข่าย โดยใช้เครื่องมือกินดีอยู่ดีในการส่งเสริมการวางแผนเมืองอย่างมีส่วนร่วม “ทีมวิจัยเราสนใจการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วมจึงจำเป็นต้องมีเครือข่ายจำนวนมากเพื่อที่จะตอบโจทย์ท้องถิ่นและเขตที่ดูแลได้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนและหน่วยงานภาครัฐและอยากให้เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ฝนตกหนักนอกฤดูและถี่ขึ้น จะจัดการแบบเดิมๆ หรือร่วมกันวางแผนหากเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพราะจะกระทบต่อน้ำท่วม น้ำแล้ง การกัดเซาะของน้ำทะเล ฯลฯ โดยการออกแบบที่อยู่อาศัย สินทรัพย์ การออมทรัพย์

Read More

สกว. เปิดเวทีรับฟังเสียงสะท้อนจากขุนเขา ชูแม่ฮ่องสอน “เมืองพิเศษทางวัฒนธรรม”

สกว.จับมือโบราณคดี ศิลปากร จัดเวทีสาธารณะระดมสมองรับฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งหาแนวทางในการพัฒนาแม่ฮ่องสอนสู่ความยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์ รองพ่อเมืองฝากข้อคิดการพัฒนาปรับปรุงศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว เกษตร และการตลาดร่วมกับพื้นที่ชายแดนพม่า นายประจวบ อาจารพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดเวทีสาธารณะเรื่อง “แม่ฮ่องสอนโมเดล: เสียงสะท้อนจากขุนเขา” อนาคตแม่ฮ่องสอน: ใครกำหนด? ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้องประชุมสวนหมอกคำรีสอร์ท จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนบนพื้นฐานของความรู้และกระบวนการมีส่วนร่วม สู่การบูรณาการร่วมกับการพัฒนายุทธศาสตร์ แผนและกลไกการพัฒนาตามลักษณะเฉพาะของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างมีเป้าหมายของสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลายภาคส่วนทั้งตัวแทนชุมชน นักวิจัยท้องถิ่น นักวิชาการสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ เอกชน นักศึกษา ประมาณ​ 60 คน รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า แม่ฮ่องสอนมีความพร้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม เราควรปรับปรุงพัฒนาเรื่องวัฒนธรรมการร่ายรำ แม้การแสดงจะน่าตื่นตาตื่นใจในครั้งแรกแต่เมื่อดูหลายครั้งก็นึกภาพออก เพราะเราอนุรักษ์อยู่ในท่าเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่รัฐคะยา ประเทศเมียนมา มีวัฒนธรรมไม่แตกต่างจากของเราแต่มีการปรับปรุงและประยุกต์พัฒนา ทำให้เห็นว่าเขามาไปไกลกว่า จึงควรนำขบคิดจะทำอย่างไรให้แม่ฮ่องสอนมีความ มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน

Read More

สกว.-มจธ.โชว์ฐานข้อมูลวิศวกรรมโบราณสถาน หวังไทยเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม

สกว.จับมือ มจธ. จัดกิจกรรมสื่อสัญจรโชว์การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานให้ใกล้เคียงของเดิม และคำนวณได้อย่างแม่นยำ พร้อมจัดทำต้นแบบฐานข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ด้านรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมหวังสร้างองค์ความรู้และบุคลากรเพื่อให้ไทยเป็นผู้นำภูมิภาคในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสื่อสัญจร “การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน” ณ ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ‘การพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย’ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงแถลงถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนการใช้นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ต่อไปว่ามูลค่าของมรดกวัฒนธรรม ไม่มีระบบการจัดเก็บที่คนสามารถเข้าไปสืบค้นและนำมากล่าวอ้างทางวิชาการได้ สกว. นอกจากช่วยเก็บฐานข้อมูลวิศวกรรมของประเทศแล้วจะช่วยให้กรมศิลปากรและคนทั่วไปสามารถเข้าไปดูข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการใช้โบราณสถานเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และจะขยายผลได้อีกต่อไป “แม้ว่าปัจจุบันบิ๊กดาต้าจะมีข้อมูลโบราณคดีและประวัติศาสตร์ทั่วไปที่สามารถเข้าไปดูได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ช่วยในการบูรณะอย่างถูกต้อง เรามองไปไกลกว่านั้นว่าจะมีบทบาทในกลุ่มภูมิอินโดจีนซึ่งมีลักษณะโครงสร้างใกล้เคียงกับประเทศไทย จึงอยากให้ไทยมีบทบาทนำและใช้ศักยภาพของประเทศในการสร้างเกียรติภูมิ ทั้งนี้สิ่งที่จะทำให้เรามีบทบาทในการเป็นผู้นำหรือจุดศูนย์กลางของภูมิภาคได้นอกจากการมีฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แล้วยังต้องมีคนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ามาร่วมทำงานกับกรมศิลปากร เพื่อเป็นตัวชี้วัดว่าเรามีองค์ความรู้และบุคลากรที่ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เพราะการสำรวจ รังวัด ปักหมุดอาจไม่ทันต่อความเจริญของบ้านเมือง จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการประกาศเขตเมืองเก่าและเข้าไปควบคุมดูแลหรืออนุรักษ์ นอกจากนี้ยังนำไปประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชนได้ ดังนั้นกรมศิลปากรจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นและพยายายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” ขณะที่ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ระบุว่างานวิจัยนี้เป็นการเปิดมิติใหม่ของการวิจัยและงานด้านโบราณสถานที่ถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเข้ามาศึกษาในหลายมิติ และเป็นครั้งแรกของไทยที่ได้นำเทคโนโลยีจากงานวิจัยเข้ามาศึกษางานที่มีมานานหลายร้อยปี นอกจากนี้ยังได้ชิ้นงานซึ่งเป็นนวัตกรรมหลายอย่าง

Read More

ธนาคารดูแลลูกค้าได้ดีเพียงใด?

Marketbuzzz ร่วมกับ Potentiate เผยผลวิจัย Banking Benchmark ล่าสุด เน้นความสำคัญของการประเมินประสบการณ์ลูกค้าธนาคารในทุกๆ Touchpoints เช่นเดียวกับทุกธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงสู่ธนาคารสมัยใหม่ในแทบทุกด้าน ส่งผลให้บรรดาธนาคารต่างๆ ในประเทศไทยต้องลงทุนในด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกขั้นตอนของการใช้บริการธนาคาร เริ่มจากการเปลี่ยนวิธีการชำระเงิน เปลี่ยนบทบาทของธนาคาร และวิธีสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับธนาคาร ซึ่งความคาดหวังของลูกค้า ไม่ใช่แค่การแวะไปตามสาขาของธนาคารหรือใช้ตู้เอทีเอ็มเท่านั้น แต่รวมถึงการเชื่อมต่อธนาคารที่แต่ละคนใช้กับธนาคารออนไลน์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ ด้วยวิธีการเข้าถึงธนาคารที่เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงต้องการเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และได้กลายมาเป็นการแข่งขันกันที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สำหรับธนาคารแล้ว เรื่องความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ธนาคารเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนจากวิธีคิดแบบการให้บริการในเชิงธุรกรรม เป็นการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ส่วนธนาคารจะสามารถสร้างประสบการณ์เดียวกันในทุกช่องทางให้กับลูกค้าได้หรือไม่? Marketbuzzz ร่วมกับ Potentiate บริษัทด้านเทคโนโลยีข้อมูล ได้จัดทำงานวิจัยเพื่อติดตามธุรกิจธนาคารและประเมินประสบการณ์ของลูกค้าธนาคารชั้นนำต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งการประเมินประสบการณ์ลูกค้าในทั่วทุกภูมิภาคนี้ เป็นงานวิจัยเพื่อหาเกณฑ์มาตรฐานของการดำเนินงานของธนาคารเกี่ยวกับประสบการณ์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์รายใหญ่และสำรวจ Touchpoints ทั้งหมดที่ลูกค้าใช้เพื่อสื่อสาร/ปฏิสัมพันธ์กับธนาคารของตน นายแกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมาร์เก็ตบัซซ (Marketbuzzz) ในฐานะพันธมิตรของบัซซี่บีส์ กล่าวว่า "นี่เป็นงานวิจัยตัวแรกๆ ที่ศึกษาเกณฑ์มาตรฐานธนาคารในประเทศไทย ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าใจระดับความพึงพอใจและประสบการณ์ของลูกค้าได้ ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นๆ ในประเทศไทยได้อีกด้วย สำหรับธนาคารแล้ว ความต้องการที่จะเข้าใจประสบการณ์ของลูกค้าในทุก Touchpoints มีความสำคัญมาก และเราสำรวจในทุกระดับของการปฏิสัมพันธ์

Read More

ค่าเช่าออฟฟิศในกรุงเทพฯ รั้งอันดับ 92 ของโลก

แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี เผยผลสำรวจจากรายงาน ค่าเช่าสำนักงานชั้นนำทั่วโลกประจำปี 2561 (Prime Office Occupancy Costs) ซึ่งเป็นการสำรวจอัตราค่าเช่าพื้นที่สำนักงานเฉพาะในอาคารชั้นนำจาก 120 เมืองทั่วโลก จากการสำรวจในครั้งนี้พบว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 92 ของเมืองที่มีค่าเช่าพื้นที่สำนักงานที่แพงที่สุดในโลกอันดับ โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2561 อาคารสำนักงานชั้นนำในย่านใจกลางธุรกิจหรือซีบีดีมีค่าเช่าเฉลี่ย 1,186 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ขณะที่ย่านเซ็นทรัลของฮ่องกงยังคงเป็นทำเลที่มีค่าเช่าสำนักงานที่แพงที่สุดในโลกด้วยค่าเช่า 8,673 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ตามด้วยย่านเวสต์เอนด์ในกรุงลอนดอนและไฟแนนซ์สตรีทในกรุงปักกิ่งมีค่าเช่า 6,649 บาทและ 5,684 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนตามลำดับ ปัลมา เด มายอร์กา ในสเปน เป็นเมืองที่มีค่าเช่าพื้นที่สำนักงานที่ถูกที่สุดจากทั้งหมด 120 เมืองทั่วโลกที่ทำการสำรวจ โดยมีค่าเช่าเพียง 505 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เคป ทาวน์ ในแอฟริกาใต้และ มอนทรีอัล (ชานเมือง) ในแคนาดาเป็นเมืองที่มีค่าเช่าพื้นที่สำนักงานที่ถูกที่สุดรองลงมาด้วยค่าเช่า 587 บาทและ 632

Read More