Home > health (Page 3)

BASEM แห่ง รพ. กรุงเทพ บริการเพื่อคนรักการออกกำลังกาย

  เพราะการบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นนักกีฬาหรือผู้ที่ชอบการออกกำลังกายทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายประเภทใดก็ตาม การรักษาอาการบาดเจ็บและฟื้นฟูสภาพให้สามารถกลับมาเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้โดยเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ  อีกทั้งการดูแลรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ยังคงเป็นกระแสฮอตฮิตของคนรุ่นใหม่ และไม่มีทีท่าจะแผ่วลงง่ายๆ ในทางกลับกันกลับมีแนวโน้มได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดธุรกิจและบริการต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ดังกล่าว ซึ่งบริการทางการแพทย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ (Bangkok Academy of Sports and Exercise Medicine) หรือ BASEM คือหนึ่งในบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลกรุงเทพทุ่มทุนกว่า 70 ล้านบาท เพื่อสร้างสถาบันด้านเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายที่ครบครัน และต้องการยกระดับให้เป็นผู้นำด้านการรักษาอาการบาดเจ็บและวิเคราะห์ผู้ที่มีปัญหาด้านการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ จุดมุ่งหมายของ BASEM คือให้การรักษาและให้คำปรึกษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการกีฬา ดูแลรักษานักกีฬาที่เกิดการบาดเจ็บ ฟื้นฟูและเพิ่มสมรรถภาพด้านร่างกาย รวมถึงให้คำปรึกษาด้านเทคนิคการเตรียมความพร้อม เทคนิคการเล่นกีฬา ออกแบบด้านการออกกำลังกาย อีกทั้งยังครอบคลุมงานด้านโภชนาการ และจิตวิทยาการกีฬาด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่การทดสอบ ประเมินสมรรถภาพร่างกาย วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ รักษาอาการบาดเจ็บทั้งด้วยยา ผ่าตัด และกายภาพบำบัด โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักกีฬาทุกประเภท ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจการออกกำลังกาย และต้องการเทคโนโลยีและวิทยาการเข้ามาช่วยดูแลรักษา ฟื้นฟู และป้องกันการบาดเจ็บ โดยให้บริการเครื่องออกกำลังกายที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นแม่เหล็กของ BASEM

Read More

เชื่อหรือไม่ … เรามี 2 สมอง

 Column: Well – Being คุณอาจเคยได้ยินมาแล้วเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า สารสื่อประสาท “เซโรโทนิน” มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพจิต แต่ที่คุณอาจยังไม่รู้คือ จริงๆ แล้วปริมาณเซโรโทนินในร่างกายอย่างน้อยร้อยละ 90 ผลิตโดยกระเพาะอาหาร ไม่ใช่สมอง นิตยสาร GoodHealth อธิบายว่า สุขภาวะของระบบย่อยอาหารมีอิทธิพลสูงมากต่ออารมณ์ของคุณ รวมถึงต่อความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเชื่อมโยงกับภาวะเสียสมดุลของ “เซโรโทนินในกระเพาะอาหาร” เช่น โรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจ ดร. เจน มูร์ แห่งภาควิชาวิทยาทางเดินอาหาร (gastroenterology) มหาวิทยาลัยโมแนช กล่าวว่า “เราเพิ่งค้นพบว่า สุขภาพของกระเพาะอาหารมีอิทธิพลต่อสุขภาพของร่างกายโดยรวมมากเพียงใด และกระเพาะอาหารกับร่างกายมีความเกี่ยวโยงกันอย่างแนบแน่นกว่าที่เราเคยคิดกันมาก”  เปิดตัว “สมอง” ในช่องท้อง ความเกี่ยวโยงดังกล่าวแนบแน่นมากจนนักวิทยาศาสตร์ถึงกับสรุปว่า เรามีสองสมอง คือ สมองที่อยู่ในกะโหลกศีรษะกับสมองที่อยู่ในกระเพาะอาหาร การที่สมองที่สองที่ตั้งอยู่ในระบบทางเดินอาหารหรือที่เรียกกันในเชิงเทคนิคว่าระบบประสาทของลำไส้ (enteric nervous system) นั้น ต้องประกอบด้วยสารสื่อประสาทที่แตกต่างกันมากกว่า 30 ล้านเซลล์ และเซลล์ประสาทอีก 600 ล้านเซลล์ กิจกรรมของสมองที่อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารก็จริง แต่สมองทั้งสองส่วนมีการติดต่อเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อสมองส่วนหนึ่งเกิดความผิดปกติ สมองส่วนที่สองก็มีปัญหาตามไปด้วย

Read More

น้ำมีคุณมากกว่าที่เคยคิด

 Column: Well-being จากข้อเท็จจริงที่ว่า ร้อยละ 70 ของร่างกายคนประกอบด้วยน้ำ ทำให้เราเห็นความสำคัญของน้ำเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ทุกหนแห่ง น้ำในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ในเซลล์ร้อยละ 60 ที่อยู่นอกเซลล์ประมาณร้อยละ30 และที่อยู่ในเนื้อเยื่อ หรือเลือดอีกร้อยละ 10 ทำให้มนุษย์ต้องการน้ำวันละประมาณ 2–3 ลิตร โดยมีการขับน้ำออกจากร่างกายในลักษณะของปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ และลมหายใจ ซึ่งจะขับออกทางปัสสาวะวันละประมาณครึ่งลิตร ถึง 2.3 ลิตร น้ำที่ร่างกายต้องการต่อวันเพื่อสร้างความสมดุลก็คือน้ำที่ดื่มเข้าไปกับที่ขับถ่ายออกจากร่างกายต่อวัน ควรจะเท่ากันในสภาวะปกติ ถ้ามีการออกกำลังกาย ร่างกายจะเสียน้ำมากขึ้นทั้งจากเหงื่อและกล้ามเนื้อ จึงทำให้ต้องดื่มน้ำมากขึ้น ปริมาณน้ำในร่างกาย ถ้าลดลงเพียง 2% ร่างกายจะเริ่มทำงานสับสน ถ้าขาดน้ำถึง 5% การทำงานของร่างกายจะบกพร่องผิดปกติไปถึง 30% ถ้าเสียน้ำมากกว่านี้โดยไม่แก้ไข ร่างกายจะหมดกำลัง รู้สึกเวียนศีรษะ อาจถึงหมดสติและเสียชีวิตได้ เมื่อร่างกายเริ่มขาดน้ำจะรู้สึกว่าน้ำลายแห้งและเกิดความไม่สมดุล โดยการขาดน้ำจะกระตุ้นให้สมองส่วนล่าง (Hypothalamus) ทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งชี้ว่าร่างกายต้องการน้ำ นอกจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งของร่างกายแล้ว

Read More

Trail Running ข้ามผ่านทุกขีดจำกัดของการวิ่ง

 ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพมาแรงมากจริงๆ เห็นได้จากกิจกรรมงานวิ่งที่จัดขึ้นแทบทุกเดือน มีหลากประเภท หลายระยะทาง หลายสนาม ไล่เรียงไปตั้งแต่ Fun Run, มินิมาราธอน, ฮาล์ฟมาราธอน, ฟูลมาราธอน, ไตรกีฬา ไปจนถึงการวิ่งเทรล (Trail Running)  สำหรับการวิ่งประเภทต่างๆ น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงกว้าง แต่สำหรับการวิ่งเทรล หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร แตกต่างจากการวิ่งประเภทอื่นอย่างไร  การวิ่งเทรล หรือ Trail Running เป็นการวิ่งแบบผจญภัยบนพื้นที่ธรรมชาติ นักวิ่งต้องเผชิญความท้าทายที่มากกว่าการวิ่งบนถนนปกติ เส้นทางการวิ่งอาจจะประกอบไปด้วยภูเขา ทางชัน ป่า ที่แน่ๆ คือไม่ได้วิ่งบนถนนปกติ หรือเรียกแบบเข้าใจง่ายๆ อาจจะเรียกได้ว่ามันคือการวิ่งวิบากนั่นเอง ในต่างประเทศการวิ่งเทรลเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2006-2012 เทรนด์ของการวิ่งเทรลเพิ่มขึ้นถึง 30%  สำหรับในประเทศไทยในช่วงหลังมานี้กระแสการวิ่งเทรลเริ่มคึกคักมากขึ้น ดูได้จากจำนวนนักวิ่งเทรลคนไทยและงานวิ่งเทรลที่จัดในเมืองไทยซึ่งมีจำนวนมากขึ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี ตอบรับกระแสการวิ่งเทรล จึงได้จัดกิจกรรม “Go Adventure

Read More

ปรับทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร… ด่วน

 Column: Well – Being เรื่องราวที่นำเสนอต่อไปนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับการใช้อาหารเพื่อช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น หรือทำให้ผ่อนคลายที่ได้ลิ้มรสอาหารรสเลิศหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งวัน แต่เป็นการนำเสนอแนวคิดใหม่ล่าสุดที่ว่า การใส่อารมณ์ลงไปในมื้ออาหารด้วยนั้น ช่วยทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้นและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย นิตยสาร Shape กล่าวถึงกระแสของคนอเมริกันยุคนี้ ซึ่งอาจหมายรวมถึงคนในเมืองใหญ่ทั่วโลกด้วยว่า พวกเขามองว่าการบริโภคกลายเป็นภารกิจในการทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน กากใย สารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่สิ้นเปลืองเวลาน้อยที่สุด ที่สำคัญ คนอเมริกันไม่ต้องการใส่อารมณ์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ใส่ใจ” ลงไปในมื้ออาหารมากนัก เพราะอาจทำให้พวกเขาบริโภคมากเกินไป หรือบริโภคอาหาร “ผิดๆ” อย่างขนมปัง หรือคัพเค้ก ผลที่ตามมาคือ มื้ออาหารไม่ได้หมายถึงความสุขเพลิดเพลินจากอาหารแสนอร่อยอีกต่อไป แต่กลายเป็นหน้าที่ที่ต้องบริโภคในทำนองว่า “ฉันหิวแล้ว ขออาหารที่กินง่าย เร็ว และมีคุณค่า เพื่อจะได้รีบกลับไปทำอะไรอื่นอีกร้อยพันอย่าง” เราต่างให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่ดีที่ทำให้แข็งแรงขึ้น มีพลัง และมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้เราทำกิจกรรมอันสับสนวุ่นวายจนลุล่วงไปได้พร้อมๆ กัน เราหวั่นวิตกมากว่า ถ้ายอมตามใจปาก บริโภคแต่อาหารขยะ เราจะสูญเสียการควบคุมทั้งหมด และได้รับพลังงานส่วนเกินอย่างมหาศาล แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับเห็นว่า ถ้าเราไม่มีความสุขขณะบริโภค เราจะเกิดความพึงพอใจลดลง และมีแนวโน้มบริโภคเกินด้วยซ้ำไป โดย เจนนี เทตซ์

Read More

คุณรู้จักไขมันในตัวคุณดีแค่ไหน

 Column: Well-being นิตยสาร GoodHealth นำเสนอข้อมูลล่าสุดที่น่าสนใจยิ่งว่า วงการวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งเกี่ยวกับไขมันที่คุณต้องไม่พลาดที่จะรู้ เพื่อกำจัดออกจากร่างกายได้อย่างถูกวิธี แต่ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไขมันที่มีบทบาทต่อน้ำหนักตัวของเรา โดยบทความของนายแพทย์มานิตย์ วัชรชัยนันท์กล่าวว่า ขณะที่ออกกำลังกาย เซลล์กล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อการขับเคลื่อน โดยได้จากการเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในร่างกายนั่นเอง กล้ามเนื้อที่ผ่านการบริหารเป็นประจำจะสร้างฮอร์โมน Irisin ขึ้นไหลเวียนในกระแสเลือด มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ไขมัน ด้วยการทำหน้าที่สะสมไขมันเอาไว้ภายในเซลล์ เพื่อเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เซลล์ไขมันเหล่านี้เรียกว่า เซลล์ไขมันสีขาว (white fat cells) แต่ในร่างกายยังมีเซลล์ไขมันอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เซลล์ไขมันสีน้ำตาล (brown fat cells) ไม่มีหน้าที่สะสมไขมัน แต่มีบทบาทในการใช้ไขมันที่สะสมภายในเซลล์ไขมัน ดังนั้น ถ้าต้องการลดน้ำหนักตัว คุณจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณเซลล์ไขมันสีน้ำตาล และลดปริมาณเซลล์ไขมันสีขาวลง บทความของ Thai Anti Aging ยังกล่าวถึงไขมันว่ามีประโยชน์มากมาย เช่น ให้พลังงานและความอบอุ่น ละลายวิตามินบางตัวที่ต้องทำละลายในไขมันเท่านั้น ได้แก่ เอ ดี อี เค เพื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด ภาวะอ้วนของคนเราเกิดจากมีไขมันสะสมตามกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ในกรณีนี้คือการสะสมไขมันหน้าท้องซึ่งมี 2 ประเภทคือ ไขมันใต้ผิวหนัง

Read More

ไวทัลไลฟ์ประกาศความภาคภูมิใจ ในฐานะศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยนอกแห่งแรกของโลกที่ได้รับมาตรฐาน ‘ดีเอ็นวี.จีแอล’

 เหล่าผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จครั้งสำคัญของไวทัลไลฟ์ ซึ่งเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแห่งแรกของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ‘ดีเอ็นวี.จีแอล’ เพื่อผู้ป่วยนอก ในงานแถลงข่าว เนื่องในวาระที่ไวทัลไลฟ์ได้รับการรับรองมาตรฐาน ‘ดีเอ็นวี.จีแอล’ เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2558  ดร. สุธร ชุตินิยมการ ผู้อำนวยการด้านการบริหารศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ได้กล่าวว่า “เรามีความยินดีและภาคภูมิใจ ที่ ‘ดีเอ็นวี.จีแอล’ เล็งเห็นถึงศักยภาพและคุณภาพทั้งทางด้านการแพทย์ การบริการ การบริหารในทุกๆ ภาคส่วนของไวทัลไลฟ์ และจัดให้เราอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ทัดเทียมกับสถานพยาบาลและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนำมาสู่การรับรองมาตรฐานให้เราเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพระดับเวิลด์คลาส” นอกจากนี้ นพ.พันศักดิ์ ศุกระฤกษ์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ความสำเร็จครั้งนี้จะเป็นกำลังใจให้บุคลากรไวทัลไลฟ์ทุกคน  ส่วนผู้เข้ามารับบริการทั้งชาวไทยและต่างชาติจะมั่นใจได้ยิ่งขึ้นว่าท่านจะได้รับความปลอดภัย และได้รับการดูแลรักษาอย่างเอาใจใส่ให้เหมาะกับผู้รับบริการแต่ละท่าน ด้วยคุณภาพระดับสากลในทุกๆ ขั้นตอน”   

Read More

สิทธิในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในประเทศยูกันดา

 Column: Women in Wonderland ยูกันดาเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา ปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก หลังจากมีการโค่นล้มรัฐบาลชุดก่อน และ Yoweri Museveni ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2529  รัฐบาลยูกันดาได้ทำการปฏิรูปการเมือง โดยพยายามส่งเสริมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม ความเป็นประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการปฏิรูปเศรษฐกิจตามแบบประเทศตะวันตก โดยเน้นเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ยูกันดามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูงพอๆ กับประเทศจีน มีภาคการเกษตรและภาคการค้าบริการเป็นรายได้หลักของประเทศ โดยในส่วนของภาคการเกษตรนั้นถือเป็นภาคที่มีการจ้างแรงงานสูงที่สุด พืชเศรษฐกิจหลักคือมันสำปะหลังและข้าว เพราะชาวยูกันดานิยมบริโภคและมีศักยภาพสูงในการปลูกมันสำปะหลัง  เรื่องการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนั้น รัฐบาลยูกันดาได้มีการลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และยังมีการลงนามในอนุสัญญาต่างๆ ระหว่างประเทศในภูมิภาค และข้อตกลงต่างๆ ในประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน อย่างเช่นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (the Convention on Economic, Social

Read More

สัญญาณบ่งชี้ว่าต้องทำจิตบำบัด

 Column: Well – Being ผู้คนจำนวนมากเคยชินกับการยอมเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยทางอารมณ์โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร แต่นิตยสาร GoodHealth ให้ข้อคิดและคำแนะนำว่า นักจิตวิทยาช่วยให้คุณผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากทางจิตใจได้ “มีคนมากมายยอมจมปลักอยู่กับความทุกข์ทรมานอย่างเงียบๆ พวกเขาอับอายเกินกว่าจะยื่นมือออกมาขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งที่อาจช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้” ดร.ลุยซี บลันเดลล์ แห่งสถาบันจิตวิทยาบริสเบนซิตีอธิบาย “ภาวะซึมเศร้าทางอารมณ์เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างไม่ปกติในชีวิตของเรา และภาวะดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาตามปกติที่มีต่อสถานการณ์ที่ผิดปกติหรือยากลำบาก การทำจิตบำบัดช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ที่กำลังเผชิญกับความยุ่งยากในชีวิตได้อย่างไม่น่าเชื่อ” ศูนย์ให้คำปรึกษาและการสะกดจิตบำบัดให้นิยามว่า จิตบำบัด คือ การบำบัดรักษาอารมณ์และจิตใจหรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติ โดยวิธีทางจิตวิทยา เพื่อบรรเทาปัญหาและความผิดปกติของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยมีวุฒิภาวะที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจและพึ่งตนเองได้ ปัจจัยสำคัญในการบำบัดรักษาที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดรักษากับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ที่ดีผ่านกระบวนการความสัมพันธ์นี้ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าเขาสามารถที่จะแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความคิด ทัศนคติและประสบการณ์กับผู้ให้การบำบัดได้ และในขณะเดียวกันผู้ให้การบำบัดก็จะต้องให้ความอบอุ่น เข้าใจ ยอมรับ ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ไม่ตำหนิผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆ ต้องเคารพในตัวผู้ป่วย และยอมรับในคุณค่าของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน จิตบำบัดเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคนสองคน คือผู้ป่วยและผู้บำบัดรักษา ในที่นี้ผู้ป่วยคือบุคคลที่มีปัญหา และผู้บำบัดรักษาคือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอาจเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย หรือนักการศึกษาก็ได้ ทั้งนี้แล้วการบำบัดทางจิตสามารถแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ ได้แก่ จิตบำบัดรายบุคคล และจิตบำบัดแบบกลุ่มนิตยสาร GoodHealth

Read More

ศาสตร์การควบคุมลมหายใจ

 Column: Well – Being บทความเรื่อง “The Science of Breathing” ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Yoga Journal กล่าวว่า ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของตะวันตกยอมรับแล้วว่า ศาสตร์การควบคุมลมหายใจจัดเป็นหนึ่งในวิธีที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยลดความเครียดในชีวิตประจำวัน และทำให้ปัจจัยด้านสุขภาพต่างๆ ตั้งแต่อารมณ์ไปจนถึงระบบการเผาผลาญดีขึ้น ปราณายามะคือคำตอบ จากข้อความข้างต้น ทำให้ ดร.โรเจอร์ โคล ครูสอนโยคะและนักวิจัยด้านสรีรศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า “ปราณายามะจึงมีความสำคัญขึ้นมาในฉับพลัน จากที่เป็นทั้งการฝึกเพื่อสุขภาพกาย ฝึกเพื่อสุขภาพจิต และการทำสมาธิ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงการฝึกลมหายใจ แต่เป็นการฝึกจิตใจโดยใช้การหายใจเป็นเครื่องมือ ปราณายามะจึงทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น” ขณะที่สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน อธิบายความหมายของ “ปราณายามะ” ซึ่งมาจากคำว่า “ปราณะ” (ลมหายใจ) ผสมกับ “อยามะ” (การควบคุม) ว่าเป็นการฝึกควบคุมลมหายใจ การฝึก ปราณายามะนอกจากก่อให้เกิดผลดีด้านกายภาพมากมาย ยังเอื้อให้ผู้ฝึกมีอารมณ์มั่นคง มีจิตสงบ พร้อมสำหรับการฝึกเทคนิคของโยคะขั้นสูงขึ้นไป ซึ่งล้วนเป็นเทคนิคที่ว่าด้วยการฝึกจิตทั้งสิ้น  การฝึกปราณายามะจึงเป็นการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อของระบบหายใจ ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยประสาททั้ง 2 ระบบ คือ ระบบประสาทสั่งการ และระบบประสาทอัตโนมัติ การที่เราควบคุมกล้ามเนื้อระบบหายใจผ่านทางระบบประสาทอย่างสม่ำเสมอ น่าจะส่งผลให้เรามีช่องทางที่จะควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติได้

Read More