Home > E-Commerce (Page 6)

E-Commerce แข่งระอุ สนามประลองกำลังไทย-เทศ

ข่าวคราวการเข้ามาบุกตลาด E-Commerce ไทย ของนักลงทุนต่างชาติในช่วงนี้ น่าจะเป็นผลมาจากทิศทางการเติบโตของตลาดนี้ ที่เติบโตจากปี 2558 ถึง 12.42 เปอร์เซ็นต์ โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ยังเปิดเผยผลสำรวจอีกว่า ตลาด E-Commerce แบบ B2B (Business-to-Business) ยังกินส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดด้วยตัวเลข 1.3 ล้านล้านบาท และแบบ B2C (Business-to-Customer) มีมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท อันดับสุดท้ายคือ แบบ B2G (Business-to-Government) มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท การเติบโตของตลาด E-Commerce ดูจะสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของไทยโดยรวม เมื่อสภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาปัจจุบันดูจะขับเคลื่อนไปได้เฉพาะเครื่องจักรที่เรียกว่า “การส่งออกและบริการ” ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2560 ว่า มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวดี สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Read More

ดีลิเวอรี่แข่งเดือด “ซูเปอร์สโตร์-ตลาดสด” เปิดศึก

แม้มูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทยยังเติบโตไม่ถึง 15% ต่อปี และมีมูลค่าอย่างเป็นทางการราว 50,000 ล้านบาท หรือแค่ 1-2% ของมูลค่าค้าปลีกรวม แต่คาดการณ์อีก 3-5 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นถึงขั้นก้าวกระโดดหลายเท่าตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและการเดินหน้านโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ของรัฐบาล เฉพาะ 1-2 ปีนี้ หากสำรวจตลาดสินค้าออนไลน์พบว่า สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง และสินค้าอุปโภคบริโภคยังได้รับความนิยมสูงสุดบนช่องทางออนไลน์ แต่เทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น คือ สินค้าประเภทอาหารสดและอาหารพร้อมรับประทานกำลังกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจาก LINE ประเทศไทย เจ้าของบริการ “ไลน์ แมน” (LINE MAN) สะท้อนให้เห็นชัดเจน เพราะบริการ 4 ประเภทของไลน์แมน คือ บริการสั่งซื้ออาหาร (Food Delivery) บริการรับ-ส่งสิ่งของ (Messenger) บริการสั่งสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อ (Convenience Goods) และบริการรับส่งสิ่งของผ่านไปรษณีย์ (Postal)

Read More

จาก OBOR สู่ ALIPAY การรุกคืบที่เป็นรูปธรรมจากจีน

ข่าวว่าด้วยสังคมไร้เงินสดในจีน ที่จุดพลุกระตุ้นความสนใจจากความสำเร็จของ ALIPAY ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน ในด้านหนึ่งดูจะได้รับการประเมินอย่างจำกัดในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในเชิงพาณิชย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่หากพิจารณาภายใต้กรอบโครงความเป็นไปทางยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของจีน ทั้งในมิติของการประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road รวมถึงความพยายามของจีนที่จะผลักดันให้เงินสกุลหยวนเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเมืองระดับนานาชาติ ผ่านการจัดตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) จังหวะก้าวของ ALIPAY ในการรุกคืบสร้างสังคมไร้เงินสดก็เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมในเชิงรูปธรรมให้กับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ของจีนอย่างไม่อาจมองข้ามได้ การเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ภายใต้การนำของ ALIPAY ไม่ได้มีผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซอย่างจำกัดเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นประหนึ่งการนำไปสู่การเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ที่สามารถไหลบ่าและเคลื่อนย้ายสถานที่ไปได้อย่างเสรี ที่อยู่เหนือระเบียบข้อกำหนดไปไกล ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินที่มีมากถึงกว่า 600 ล้านครั้งในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมีอัตราเร่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า จากระดับ 177 ล้านครั้งในปี 2014 มาสู่ระดับกว่า

Read More

ธุรกิจลอจิสติกส์ตื่นตัว อานิสงส์ E-Commerce ไทยโต

ในยุคโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวัน ธุรกรรม รวมไปถึงธุรกิจ การค้า การลงทุน ล้วนแล้วแต่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเทคโนโลยีทั้งสิ้น พัฒนาของเทคโนโลยีถูกเปลี่ยนให้เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญทางธุรกิจ เมื่อมนุษย์ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตแบบก้าวกระโดด ชนิดที่เรียกได้ว่า ไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้ประเมินมูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทย และพบว่าในปี 2559 ตลาด E-Commerce มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.52 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.2 ล้านล้านบาท หรืออาจกล่าวได้ว่ามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 48 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นธุรกิจ E-Commerce หน้าใหม่ตบเท้าเดินเข้าสู่สังเวียนแห่งการต่อสู้ครั้งนี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและรุนแรงก็ตาม หากแต่เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนในเรื่องพื้นที่หน้าร้านสำหรับจัดวางสินค้าเพื่อรอให้ลูกค้าเดินทางมาเลือกซื้อ หากแต่เป็นการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่จะตอบสนองหรือนำเสนอบริการให้เข้าถึงผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ล่าสุดธุรกิจ E-Commerce สัญชาติสิงคโปร์ ShopBack เป็นอีกเจ้าที่เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย แม้ว่าจะเพิ่งเปิดบริการในประเทศสิงคโปร์ไปเมื่อเดือนกันยายน 2557 และเปิดให้บริการในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

Read More

Facebook/Google : ทางออกภาษีโฆษณา กับการขยายตัวของ E-Commerce ไทย

เมื่อเทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบันถูกพัฒนาจนรุดหน้าไปไกล ส่งผลให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่าย จนให้ความรู้สึกว่า “ความห่างไกลกันคนละซีกโลกนั้น แทบไม่มีความหมายอีกต่อไป” นอกจากความสะดวกรวดเร็วที่ได้รับในด้านการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลแล้ว ความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลและสาระสำคัญรวมไปถึงข่าวสารต่างๆ บนโลกใบนี้ย่อมดำเนินไปตามครรลองเดียวกัน พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ถูกหยิบใช้เป็นเครื่องมือสำหรับนักการตลาด และนักธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง หรือธุรกิจขนาดย่อม เพื่อเป็นช่องทางที่จะสื่อสารและนำเสนอข้อมูล รายละเอียดของสินค้า ให้ไปถึงมือกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดและสามารถวัดผลได้ทันท่วงที ความทันสมัยของเทคโนโลยี รูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งาน รวมไปถึงความสามารถในการวัดผลและความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันทีนั้น ส่งผลให้ธุรกิจ E-Commerce ทั่วโลกเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่ที่ใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีเครือข่ายบนโทรศัพท์มือถือ ที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้ง 3G และ 4G นั่นทำให้รูปแบบการซื้อขายบนตลาดออนไลน์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 240,000 ล้านบาท หรือมีการเติบโตอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกเหนือไปจากความเร็วของเครือข่ายที่ถูกพัฒนาให้พร้อมรองรับจำนวนผู้คนที่ใช้งานแล้ว รูปแบบการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ของธนาคารต่างถูกพัฒนาให้มีความสะดวก ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ข้อดีของการทำธุรกิจ E-Commerce ที่นอกจากจะไม่มีต้นทุนด้านพื้นที่สำหรับวางจำหน่ายสินค้าแล้ว ความสามารถของเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ขายไม่ได้ถูกจำกัดพื้นที่อยู่ที่ใดเพียงที่เดียวทำให้จำนวนผู้ค้าออนไลน์เพิ่มจำนวนมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. สำรวจพบว่าในปี 2559 มีผู้ค้าออนไลน์ในประเทศจำนวน 527,324 ราย และมีมูลค่ารวมกว่า

Read More

“Priceza Awards 2016” ต่อยอดเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ E-Commerce ไทย

  “Priceza” ผู้ให้บริการเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา (Shopping Search Engine) อันดับ 1 ของประเทศไทย เตรียมจัดงาน “Priceza Awards 2016” เฟ้นหาสุดยอดธุรกิจ E-Commerce “เด่น-ดี-โดนใจ” นักช้อปชาวไทยขึ้นเป็นครั้งแรกของวงการ เพื่อเปิดเวทีและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่ดีและมีคุณภาพ ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนมากยิ่งขึ้น เพื่อตอกย้ำสร้างความมั่นใจ สร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยให้ขยายตัวเติบโตมากยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย Digital Economy ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด เปิดเผยถึงการจัดงาน “Priceza Awards 2016” ขึ้นเป็นครั้งแรกว่า หลังจากที่ Priceza เปิดให้บริการก้าวสู่ปีที่ 7 ด้วยการทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ชั้นนำที่หลากหลาย และเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ดีที่สุด ทั้งในด้านราคาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ โดยปัจจุบันมีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 9 ล้านครั้งต่อเดือน ทำให้มีฐานข้อมูลสินค้าและบริการ รวมถึงความต้องการผู้ซื้อที่มีขนาดใหญ่และครอบคลุมมากที่สุด “จากฐานข้อมูลของผู้เข้าชมมากกว่า 100 ล้านครั้งต่อปี

Read More

ทางแพร่ง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จำกัดความคิด ละเมิดสิทธิ ฉุดเศรษฐกิจดิจิทัล?

  เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) นับเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญของไทยที่ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นใหม่ ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชูเป็นธงนำหน้าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย  ทั้งนี้การเดินหน้าในเรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นทำให้ต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลจำนวน 8 ฉบับ ซึ่งเป็นการเสนอแก้ไขกฎหมายเดิม 4 ฉบับ และเสนอกฎหมายใหม่ 4 ฉบับ และหนึ่งในนั้นคือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่.. พ.ศ. ..) หากแต่ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ฯ) ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาทบทวนนั้น หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นห่วงใยต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ดังกล่าวว่า อาจจะส่งผลกระทบในเชิงลบที่อาจรวมไปถึงเสรีภาพการแสดงออกของสื่อ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจยุคดิจิทัลและสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศไทย  อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักจะถูกพ่วงเข้ามาในการฟ้องร้องจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อประชาชน ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่กำลังกังวลในกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน  ซึ่งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างแก้ไข พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ที่ได้รับเสนอจากกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ซึ่งร่างแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวกำลังอยู่ในวาระการพิจารณาของสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) ต่อมาในวันที่ 5 มิถุนายน 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย เครือข่ายพลเมืองเน็ต

Read More

อาลีบาบา กรุ๊ป ทำยอดขาย 1.207 แสนล้านหยวน จากมหกรรมชอปปิ้ง “11.11 โกลบอล ชอปปิ้ง เฟสติวัล” ประจำปี 2559

  อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด (NYSE: BABA) เผยว่าบริษัทสามารถทำยอดซื้อขายสินค้ารวมมูลค่ากว่า 1.207 แสนล้านหยวน (1.78 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ผ่านช่องทางค้าปลีกของบริษัทสำหรับลูกค้าในประเทศจีนและทั่วโลก และระบบชำระเงินออนไลน์ อาลีเพย์ ในมหกรรม “11.11 โกลบอล ช้อปปิ้ง เฟสติวัล” เมื่อ11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยจากยอดซื้อขายสินค้ารวมทั้งหมดนี้ มียอดซื้อขายผ่านอาลีเพย์บนอุปกรณ์พกพาคิดเป็นอัตราส่วนถึงร้อยละ 82 “มหกรรมช้อปปิ้ง 11.11 ในปีนี้ ถือเป็นการเผยโฉมอนาคตของวงการค้าปลีกในยุคหน้า ที่จะผสมผสานทั้งความบันเทิง การค้าขาย และการโต้ตอบกับผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดเป็นประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างลงตัว” นายแดเนียล จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอาลีบาบา กรุ๊ป กล่าว “ตลอดในทุกช่วงของการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมช่วงก่อนเริ่มงาน งานกาลานับถอยหลัง หรืองานมหกรรมชอปปิ้งระดับโลก 24 ชั่วโมงนี้ เราพบว่ามีการติดต่อสื่อสารและโต้ตอบกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ขายสินค้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มหกรรม 11.11 เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นอนาคตในยุคที่ธุรกิจค้าปลีกในโลกออนไลน์และออฟไลน์จะพลิกโฉมจนเกิดเป็นประสบการณ์ชอปปิ้งรูปแบบใหม่ สำหรับลูกค้าหลายร้อยล้านคนที่คุ้นเคยและสนใจในเทคโนโลยีโมบายและดิจิทัล” ในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนการเปิดฉากมหกรรมชอปปิ้ง 11.11 อย่างเป็นทางการ ณ เวลาเที่ยงคืน

Read More

“สตาร์ทอัพ” บูม Wazzadu รุกออนไลน์สู้ยักษ์

  ทั้งกระแสธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start Up) และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ที่ขยายตัวหลายเท่า โดยคาดการณ์ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2559 จะมีเงินสะพัดมากกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลพวงจากตลาดสมาร์ทโฟนและราคาแพ็กเกจบริการ 4จี ที่ถูกลง กระตุ้นให้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือพุ่งพรวดแบบก้าวกระโดด ดึงดูดทุกธุรกิจ ทั้งค่ายยักษ์ใหญ่และกลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาช่วงชิงเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล     มีข้อมูลล่าสุดจากบริษัท โธธ โซเชียล จำกัด (Thoth Zocial) พบว่า จากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 38 ล้านคน หรือ 55.84% ของประชากร และยอดผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยพุ่งไปถึง 41 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17% จากทั้งโลก 1,590 ล้านคน ไทยเป็นอันดับ 8  สำหรับโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้ในไทยเพิ่มสูงสุด คือ อินสตราแกรม เพิ่มขึ้น 74% จากปีก่อน คาดปีนี้จะมีผู้ใช้

Read More

ศึกออนไลน์แข่งเดือด “ซีพี-เซ็นทรัล” ชิง 2 ล้านล้าน

  ตลาดค้าปลีกออนไลน์กลายเป็นสมรภูมิดุเดือดยิ่งขึ้น ทั้งมูลค่าเม็ดเงินที่คาดว่าจะพุ่งทะลุ 2.1 ล้านล้านบาท และผู้เล่นที่เข้ามาเปิดเกมรุกล่าสุด ทุกค่ายล้วนเป็นยักษ์ค้าปลีก โดยเฉพาะเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และกลุ่มเซ็นทรัลที่ประกาศต่อยอดขยายจากแนวรบในประเทศไทยสู่สงครามอาเซียนด้วย ถ้าดูตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเมื่อปี 2558 เกือบๆ 2.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.65% จากปี 2557 ที่มีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นอีคอมเมิร์ซระหว่างธุรกิจด้วยกัน (B2B) ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท, ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) 4.7 แสนล้านบาท และระหว่างธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) 4 แสนล้านบาท โดยการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซของ B2C กับ B2G เพิ่มขึ้น 15.2% และ 3.9% ตามลำดับ ยกเว้น B2B ที่ปรับตัวลดลง  ที่สำคัญตัวเลข 2 ล้านล้านบาทเมื่อปีก่อนสามารถเติบโตมากกว่านั้น หากไม่เจอสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต

Read More