Home > โควิด-19 (Page 9)

คำแถลงการณ์ ดร. ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้

คำแถลงการณ์ ดร .ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ เนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดความสูญเสียด้านบุคลากรและทรัพยากร รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยอันเป็นที่รักของเราก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สยามอะเมซิ่งพาร์ค แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวไทยและชาวต่างชาติเองก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการควบคุมที่เข้มข้นในปีที่แล้วและช่วงต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี บัดนี้สยามอะเมซิ่งพาร์คได้รับความกรุณาจากภาครัฐว่าเป็นสถานที่ที่ประชาชนยังสามารถเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจคลายความเครียดได้ เนื่องจากขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่า 300 ไร่ แวดล้อมไปด้วยต้นไม้หลายพันต้นจึงเชื่อว่าเป็นสถานที่ปลอดโปร่งและเป็นปอดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ผู้ที่มาเยือนยังสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้พนักงานกว่า 400 คน ไม่ต้องตกงาน สามารถทำมาหาเลี้ยงครอบครัวโดยสุจริตได้ต่อไป ผมจึงขอเรียนแจ้งแฟนเพจของสยามอะเมซิ่งพาร์คซึ่งสอบถามกันมาอย่างมากมายและทุกท่านซึ่งเป็นห่วงและไม่แน่ใจว่าว่าเราเปิดทำการตามปกติหรือไม่ว่าสยามอะเมซิ่งพาร์คยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจและเที่ยวสวนน้ำสวนสนุกได้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี เพื่อให้ประชาชนได้เที่ยวพักผ่อนอย่างมีความสุขและปลอดความกังวลตามแบบ New Normal สยามอะเมซิ่งพาร์คขอความร่วมมือทุกท่านปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT ซึ่งก็คือแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัดทั้งก่อนเข้าใช้บริการและตลอดเวลาที่ใช้บริการ สุดท้ายนี้ผมขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะก้าวผ่านบททดสอบนี้ไปด้วยกันในที่สุดครับ ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

ปีแห่งความท้าทายของ KTC เร่งขยายสินเชื่อ-เป็นผู้นำครบวงจร

แม้จะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจสินเชื่อและบัตรเครดิตที่สร้างผลกำไรนิวไฮมาตลอดหลายปี แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 และลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้บริษัทบัตรกรุงไทย หรือเคทีซี ต้องปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พร้อมเร่งขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและเพดานดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง การระบาดของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ของเคทีซีได้รับผลกระทบ โดยเดือนเมษายน 2563 ยอดการใช้บัตรลดลงถึง 40% และกระทบในทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ อีกทั้งมาตรการลดเพดานดอกเบี้ยทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ ยังส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของปี 2563 ลดลงกว่า 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้บริษัทต้องปรับตัวขนานใหญ่ ซึ่งปีที่ผ่านมา เคทีซีปรับตัวโดยเน้นการพัฒนากระบวนการทำงานทั้งระบบ (End to End Process Improvement) ลดความซ้ำซ้อนและซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น และปรับ Business Model โดยเดินหน้าสินเชื่อมีหลักประกันอย่าง “เคทีซีพี่เบิ้ม” ที่ครอบคลุมทั้งทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ทดแทนส่วนอื่น ทำให้ผลประกอบการ ณ สิ้นปี 2563 เคทีซียังคงสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 5,332

Read More

ไทย-เยอรมัน ลงนามความร่วมมือในโครงการ “เพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมการทำความสะอาดมือ” ลดเสี่ยงโควิด-19

นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.), มร.ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย และ มร.สายัณห์ รอย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี. บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อเริ่มดำเนินโครงการ “เพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมการทำความสะอาดมือ” เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยผ่านโครงการ DeveloPPP.de COVID-19 Response โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก มร.ยาน แชร์ อัครราชทูต รองหัวหน้าสำนักงาน และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ สถานทูตเยอรมัน เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ โดยความร่วมมือของหน่วยงานทั้งสามมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในประเทศไทย ด้วยการใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมันในการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตเจลล้างมือแอลกอฮอล์ SOFTA-GEL เพื่อใช้ในโครงการนี้ โดยเจลล้างมือดังกล่าวเป็นเจลล้างมือที่มีคุณภาพและผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EN 14476 ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ซึ่งรวมถึงไวรัสโคโรนา มาตรฐาน EN 1500 ขององค์การอนามัยโลก และมาตรฐาน EN 1276 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Read More

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่

เดอะมอลล์ บางแค การ์ดไม่ตก! ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่ พร้อมคุมเข้ม 5 มาตรการสุขอนามัย ความปลอดภัยสูงสุด ตอกย้ำความมั่นใจลูกค้าช้อปปลอดภัย ดูแล ใส่ใจ ไปด้วยกัน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 บริเวณ 6 ตลาดย่านบางแค ได้แก่ ตลาดสิริเศรษฐนนท์, ตลาดศูนย์การค้าบางแค, ตลาดกิตติ, ตลาดภาสม, ตลาดใหม่บางแค และตลาดวันเดอร์ นั้น เดอะมอลล์ บางแค ตอกย้ำความมั่นใจให้ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ทำ Big Cleaning ครั้งใหญ่เป็นพิเศษ นอกเหนือจากมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยที่ศูนย์การค้าฯ ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน พร้อมเดินหน้าคุมเข้มมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด เพื่อเพิ่มความมั่นให้ผู้ใช้บริการในเขตบางแค และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ครอบคลุมทุกมิติ นายอมร อมรกุล ผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 บริเวณ

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More

หวังพึ่งปาฏิหาริย์วัคซีน ปลุกอสังหาริมทรัพย์ฟื้น

การมาถึงของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดูกำลังจะเป็นประหนึ่งยาวิเศษและแก้วสารพัดนึกที่ปลุกให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายกลับมามีความหวังหลังจากที่ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องมานานกว่า 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรค แม้ว่าการนำเข้าวัคซีนดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีการนำเข้าวัคซีนเชิงพาณิชย์จากจีน หลังจากที่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้รับวัคซีนด้วยวิธีอื่นๆ ไปก่อนหน้าแล้วก็ตาม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นับเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มี Multiplier Effect สูงมาก ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อทาวน์เฮาส์เท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจสี ปูนซีเมนต์ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องครัว ซึ่งการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจและน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไปกว้างขวางยิ่งขึ้น หากแต่ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ ลดลงร้อยละ 2 มาอยู่ที่ 197 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 ไตรมาส ขณะที่แนวโน้มราคาและอุปทาน มีทิศทางลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก โดยกำลังซื้อจากผู้บริโภคต่างชาติที่หายไปนาน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวช้าลงจากที่คาดไว้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ โดยล่าสุด พบว่า COVID-19 ระลอกใหม่ส่งผลให้แนวโน้มราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว และจะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ด้านดัชนีอุปทานก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาเร่งระบายสต็อกคงค้างและชะลอการเปิดโครงการใหม่ ขณะที่ความต้องการซื้อก็ถูกดูดซับไปจำนวนมากจากสงครามราคาที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสงครามราคาอาจไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว หากแต่มาตรการเยียวยาจากภาครัฐอย่างตรงจุดและความชัดเจนของการฉีดวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ส่วนมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

Read More

เมื่อความหวังเดินทางมาถึง และโอกาสของการท่องเที่ยวไทย

ทันทีที่ล้อของเครื่องบินแอร์บัส A350-900 เที่ยวบินที่ TG 675 ที่เดินทางออกจากปักกิ่งแตะพื้นรันเวย์กรุงเทพ นั่นหมายความว่า “ความหวังเดินทางมาถึง” และการรอคอยด้วยใจจดจ่อสิ้นสุดลงเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เมื่อวัคซีนล็อตแรกจำนวน 200,000 โดสจากทั้งหมด 2 ล้านโดส ส่งตรงจากบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค จำกัด จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูกส่งถึงจุดหมายปลายทาง นอกจากนี้ ยังมีวัคซีนจากแอสตราเซเนกา จำนวน 117,000 โดส ที่เดินทางมาถึงไทยเช่นกัน โดยวัคซีนล็อตแรกนี้จะถูกฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 โรคเบาหวาน โรคอ้วน กลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนคือกุญแจสำคัญในการปลดล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะนอกจากหน้าที่หลักของวัคซีนคือการลดความรุนแรงและโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิดให้แก่ประชาชนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ แม้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัวก่อนที่โลกจะได้รู้จักกับความร้ายกาจของโควิด-19 แต่เชื้อไวรัสโควิดกลับสร้างรอยช้ำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงหนักกว่าเดิม โดยในปี 2563 ภาพรวมจีดีพีไทยหดตัวลงถึง 6.1 เปอร์เซ็นต์ หลายอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหยุดชะงัก

Read More