Home > ธุรกิจร้านอาหาร

ฐนิวรรณ กุลมงคล ร้านอาหารอยู่ยาก ติดกับระเบิด 2 ลูกใหญ่

แม้กรณี “เจ๊ไฝ” เชฟและเจ้าของร้านอาหารมิชลิน 7 ปีซ้อน ปัดกระแสข่าว “วางตะหลิว” เลิกกิจการ แต่มีการพูดถึงปัญหาต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ซึ่งช่วงต้นปีที่ผ่านมา เมนูขึ้นชื่อ “ไข่เจียวปู” ต้องปรับราคาแพงลิ่ว จานละ 4,000 บาท ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า ร้านอาหารเป็นธุรกิจ เมื่อต้นทุนสูงขึ้น ราคาอาหารต้องปรับขึ้น แต่ระดับเจ๊ไฝ แม้ราคาแพงอย่างไร ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงยังกิน ขณะที่ในภาพรวมธุรกิจร้านอาหาร คือ ปัญหาใหญ่ และสมาชิกสมาคมต่างเรียกร้องขอความช่วยเหลือมาตลอด “วัตถุดิบทุกรายการขึ้นราคา ขึ้นแล้วไม่ลงด้วย ซึ่งสมาคมภัตตาคารไทยพยายามหาแหล่งวัตถุดิบ หาซัปพลายเออร์ ช่วยเหลือ อย่างข้าวสาร เดือนที่แล้วขึ้นกระสอบละ 100 บาท กระสอบขนาด 50 กิโลกรัม  กก. ละ 2 บาท รวมถึงวัตถุดิบอื่นๆ

Read More

บิ๊กแบรนด์พ่ายพิษเศรษฐกิจ ปิด “เท็กซัสชิคเก้น” ไม่ตอบโจทย์

ธุรกิจร้านอาหารบิ๊กแบรนด์ทยอยปิดกิจการตั้งแต่ปลายปี 2566 ต่อเนื่องมาถึงปี 2567 โดยล่าสุด ร้านไก่ทอดเท็กซัส ชิคเก้น (Texas Chicken) ในเครือบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ประกาศอำลาตลาดเมืองไทย ปิดให้บริการทั้ง 97 สาขาในวันที่ 30 กันยายน 2567 หลังลุยสมรภูมิไก่ทอดนานกว่า 9 ปี ดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โออาร์ กล่าวว่า โออาร์พร้อมปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจตามบริบทโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยอยู่ระหว่างการทบทวนการลงทุน (Revisit investment portfolio) ในธุรกิจต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุนก่อนหน้านี้ เพื่อประเมินความเหมาะสมและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงเป้าหมายในอนาคต เพื่อกระจายการลงทุนไปสู่ธุรกิจใหม่ของ OR นอกเหนือจากธุรกิจหลักด้านน้ำมันและค้าปลีก โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจไลฟ์สไตล์และธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ซึ่งเป็นธุรกิจที่บริษัทต้องการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่อย่างครบวงจร ขณะที่วงในธุรกิจระบุว่า การถอดธุรกิจเท็กซัสชิคเก้นมาจากตัวแบรนด์และโปรดักส์ที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าคนไทยที่เข้ามาใช้บริการในสถานีบริการน้ำมัน PTT

Read More

ปิด “ไดโดมอน” ธุรกิจร้านอาหารเสี่ยงตาย

การปิดแบรนด์ปิ้งย่างระดับตำนานยุค 90 “ไดโดมอน (Daidomon)” ถือเป็นสัญญาณเตือนผู้เล่นในสมรภูมิธุรกิจร้านอาหาร เรื่องการวางเกมและกลยุทธ์ทุกช่องทาง เพื่อชี้ขาดว่า แบรนด์ไหนจะอยู่รอดหรือเจ๊ง!! หากย้อนเส้นทางการเติบโตของไดโดมอน เริ่มต้นกิจการเมื่อปี 2526 โดยปักหมุดร้านแรกในสยามสแควร์ซอย 3 จากนั้นขยายสาขาย่านเอกมัย (สุขุมวิท 63) และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ซึ่งช่วงเวลานั้นได้รับความนิยมมาก จนมีการร่วมทุนกันของยักษ์ใหญ่อย่างกลุ่มสหพัฒนพิบูล เอ็มเค เรสโตรองต์ และไมเนอร์ฟู้ด ตั้งบริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด เพื่อประกอบกิจการร้านอาหารปิ้งย่าง แบรนด์ “ไดโดมอน” เมื่อปี 2533 วันที่ 27 เมษายน 2544 บริษัทแปรสภาพบริษัทเป็น บริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ไดโดมอนทยอยปิดสาขาเนื่องจากผลประกอบการขาดทุน และขายกิจการ 23 สาขาให้ บริษัท ฮอท พอท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่

Read More

Maguro Group ธุรกิจร้านอาหาร ชูวัฒนธรรมการให้มากกว่ารับ

เป้าหมายของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องคำชม และการยอมรับจากลูกค้า จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือยอดขาย ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสในการขยายสาขาในอนาคต แต่นั่นอาจไม่เพียงพอสำหรับ Maguro Group ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลี เมื่อก้าวสำคัญของ Maguro Group ที่เพิ่งเกิดขึ้นคือการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ จากความชอบและ Passion ที่เหมือนกันของเพื่อน 4 คน ประกอบด้วย เอกฤกษ์ แสงเสรีดำรง, ชัชรัสย์ ศรีอรุณ, รณกาจ ชินสำราญ และจักรกฤติ สายสมบูรณ์ สู่การรวมตัวกันก่อตั้งร้านอาหารภายใต้ชื่อ Maguro ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2556 สู่การสั่นกระดิ่งในวันที่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ MIA เอกฤกษ์ แสงเสรีดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าถึงจุดเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหาร และเหตุผลในจังหวะก้าวสำคัญของธุรกิจ ที่ดูจะไปไกลมากกว่าแค่การเป็นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเกาหลี “เราเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารเมื่อ 9 ปีก่อน จากการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบญี่ปุ่น ความใส่ใจ

Read More

ธุรกิจร้านอาหาร – บาร์ไปต่อ มูลค่าเฉพาะตลาดรวมร้านอาหาร 3.85 แสนล้านบาท

ธุรกิจร้านอาหาร - บาร์ไปต่อ มูลค่าเฉพาะตลาดรวมร้านอาหาร 3.85 แสนล้านบาท ด้านผู้จัด ฟู้ด แอนด์ ฮอสพิทาลิตี้ ไทยแลนด์ 2022 เปิดโซนใหม่ Restaurant & Bar Thailand นำวัตถุดิบและอุปกรณ์พรีเมี่ยมทั่วโลกร่วมโชว์ พร้อมกิจกรรมเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ เทรนด์ธุรกิจบาร์และร้านอาหารยังแรง สัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องคาดว่าจะพุ่งแรงปลายปี ด้านอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2022 มองบวกเร่งสนับสนุนผู้ประกอบการ เตรียมความพร้อมรับการจับจ่ายปลายปีและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ล่าสุดเปิดโซนใหม่ Restaurant & Bar Thailand สำหรับธุรกิจร้านอาหารและบาร์โดยเฉพาะ ดึงบริษัทชั้นนำของโลกร่วมจัดแสดงวัตถุดิบ อุปกรณ์เครื่องใช้พรีเมี่ยมระดับโลกร่วมโชว์ พร้อมกิจกรรมส่งเสริมความรู้และเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ นางสาวสุภาภรณ์ อังศรีสุรพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน Food & Hospitality Thailand 2022

Read More

โควิดระลอก 3 หายนะทางเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านอาหารช้ำกระอัก

โลกได้พบเจอกับมหันตภัยของเชื้อไวรัสโควิด-19 นับตั้งแต่ปลายปี 2562 ในขณะที่ไทยพบการแพร่ระบาดภายในประเทศในช่วงต้นปี 2563 ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงบททดสอบการรับมือกับวิกฤตของระบบสาธารณสุขของไทยเท่านั้น แต่เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ความร้ายกาจของเชื้อไวรัสได้ขยายวงไปสู่เศรษฐกิจทั้งประเทศ ภาคการส่งออกติดลบ ภาคธุรกิจไม่มีการขยายตัว การลงทุนหยุดชะงัก ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมติดลบ เส้นกราฟอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไต่ระดับลงอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่ไทยสามารถควบคุมวงจรการแพร่ระบาดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง รัฐบาลประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นหลายตัว เพื่อหวังให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากขับเคลื่อนไปได้ แน่นอนว่าหลังประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ บรรยากาศในหลายมิติดูมีชีวิตชีวามากขึ้น สถานการณ์ความเป็นไปในสังคมดำเนินไปตามปกติด้วยรูปแบบ New Normal ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง เมื่อมนุษย์ยังไม่อาจประกาศชัยชนะเหนือเชื้อไวรัสร้ายนี้ได้ หลายคนเริ่มยิ้มได้มากขึ้นภายใต้หน้ากากอนามัย เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นจากการที่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลง กระทั่งเป็นศูนย์ในบางวัน และวัคซีนเดินทางมาถึงไทย พร้อมกับได้ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในหลายพื้นที่ ทว่ารอยยิ้มอยู่ได้ไม่นาน เมื่อการติดเชื้อระลอก 3 เกิดขึ้น เส้นกราฟทางเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาไต่ระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ กลับถูกดึงให้ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากขึ้น ยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงขึ้นและทำนิวไฮอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงยอดผู้เสียชีวิตรายวันที่เพิ่มจำนวนอย่างน่าตกใจ ศบค. ประกาศยกระดับมาตรการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 คน ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มให้จำหน่ายในลักษณะการนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น

Read More

โควิดโผล่ระลอก 3 CRG รุกช่องทางใหม่ลุย Mobile Box

ธุรกิจร้านอาหารมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท เจอวิกฤตอีกรอบ หลังเกิดเหตุโควิด-19 แพร่ระบาดระลอก 3 โดยรอบนี้มีคลัสเตอร์ใหญ่จากสถานบันเทิงย่านทองหล่อ และจำนวนผู้ติดเชื้อกระจายอย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนว่าสถานการณ์การพลิกฟื้นรายได้กลายเป็นโจทย์ยากขึ้น และต้องอาศัยการปรับกลยุทธ์ต่างๆ ชนิดที่ว่า ใครพลิกรับปัจจัยเสี่ยงได้เร็วจะมีโอกาสรอดและเจ็บตัวน้อยที่สุด แม้สมาคมภัตตาคารไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยืนยันสาเหตุการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ไม่ได้เกิดจากร้านอาหาร แต่เกิดจากสถานบริการเปิดเกินเวลา และมีจำนวนคนเข้าใช้บริการแออัด ไม่เว้นระยะห่าง เจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ร้านอาหารและภัตตาคารทำตามกฎระเบียบของสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดมาตลอด ต่อให้ร้านอาหารขายแอลกอฮอล์และเปิดได้ถึง 23.00 น. จะไม่ทำให้เกิดการติดต่อหรือแพร่กระจายโรค ทั้งการจัดโต๊ะเว้นระยะห่าง มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และสวมแมสก์ก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด อุปกรณ์ จานชาม ช้อมส้อม แก้ว มีการห่อคลุมป้องกันอย่างดี โต๊ะ เก้าอี้ มีการฉีดแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่มีการใช้ ลูกค้าถูกจำกัดให้นั่งรับประทาน นั่งดื่ม ที่โต๊ะในกลุ่มของตัวเองเท่านั้น ไม่มีการยืนเต้นรำ รำวง หายใจรดต้นคอกันเหมือนสถานบันเทิง หรือสถานประกอบการอื่น ลูกค้าที่ดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เมามายจนขาดสติหรือสนุกสนานจนเกินการควบคุมเหมือนสถานบันเทิง แต่โควิดระลอก 3 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของกลุ่มลูกค้าและอาจถึงขั้นทำให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้บริการหยุดชะงัก

Read More

ซีอาร์จี งัดแผนธุรกิจชุดใหญ่ TRANSFORM FOR THE FUTURE ลุย 5 กลยุทธ์ พลิกรายได้ทะลุ 1.2 หมื่นล้าน

ซีอาร์จี (CRG) จัดเต็มงัดแผนธุรกิจชุดใหญ่ “CRG 2021: TRANSFORM FOR THE FUTURE” รับเศรษฐกิจพลิกฟื้นกำลังซื้อเติบโต ลุย 5 กลยุทธ์หลักตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ลูกค้า ผนึกกำลัง (Synergy) จุดแข็ง 16 แบรนด์ร้านอาหารในเครือ ดัน Shop in Shop - Cross Sale สั่งอาหารหลากหลาย ตอบโจทย์ความสะดวกให้แก่ลูกค้ายุคใหม่ ส่ง Mobile Box Model บุกปั๊มน้ำมัน รุกขยายดีลิเวอรี่ ผุด Cloud Kitchen ตั้งเป้า 50 แห่งทั่วประเทศ ผนึกแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์รายใหญ่รุกตลาด ลั่นปีนี้เผยโฉมอีก 2-3 แบรนด์ใหม่ ดึงพาร์ตเนอร์กลุ่มสตรีตฟู้ดโชว์ความสำเร็จผลักดันยอดขายแบบ “วิน-วิน” พร้อมประกาศรายได้ทะลุ 12,000 ล้านบาท เติบโต 18-20% ณัฐ

Read More

ZEN พร้อมนำเมนูปลาดิบมาให้บริการเต็มรูปแบบอีกครั้ง หลังมาตราการผ่อนคลาย

“ZEN Group” พร้อมนำเมนูปลาดิบมาให้บริการเต็มรูปแบบ พร้อมเผยหลังมาตราการผ่อนคลายระยะ 3 ยอดขายรวมพุ่ง บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN ผู้นำธุรกิจร้านอาหาร เตรียมความพร้อมร้านอาหารในเครือเซ็นกรุ๊ป ให้กลับมาให้บริการเต็มรูปแบบ พร้อมนำเมนูปลาดิบกลับมาให้บริการลูกค้าอีกครั้งในร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์ที่รัฐบาลได้มีมาตราการผ่อนคลายระยะ 3 ส่งผลดีทำให้แบรนด์ร้านอาหารในเครือฯ มียอดขายเพิ่มขึ้น นายบุญยง ตันสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN ผู้ประกอบธุรกิจบริการอาหาร (Food Services) เปิดเผยว่า “ร้านอาหารญี่ปุ่นเซ็น พร้อมนำเมนูปลาดิบกลับมาให้บริการลูกค้า โดยปลาแซลมอนสดที่จำหน่ายภายในร้านอาหารในเครือนำเข้าจากประเทศนอร์เวย์ ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสภาอุตสาหกรรมนอร์เวย์ว่าสามารถรับประทานแบบดิบได้ เช่น เมนูซูชิ ซาซิมิที่ปราศจากการแช่แข็ง เนื่องจากผ่านกรรมวิธีการเลี้ยงแบบพิเศษ และควบคุมการจัดส่งจากต้นทางอย่างเข้มงวดทุกกระบวนการ จึงมั่นใจได้ว่าจะปราศจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่และพยาธิปนเปื้อน “เซ็นกรุ๊ป” ทำงานร่วมกับสมาคมการค้าอาหารทะเล ประเทศนอร์เวย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยไร้ไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ ทั้งนี้

Read More

สิงห์-ช้าง รุกหนักขยายแนวรบ “ฟู้ดรีเทล”

2 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเครื่องดื่ม “สิงห์-ช้าง” กำลังเร่งขยายแนวรบธุรกิจร้านอาหารอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะเกมการไล่ล่าซื้อกิจการ เพิ่มแบรนด์ในพอร์ต สร้างเครือข่ายอาณาจักรให้แข็งแกร่งที่สุด เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดที่มีมากกว่า 4 แสนล้านบาท ที่สำคัญ ธุรกิจร้านอาหารกลายเป็นทั้งพระเอก ตัวชูโรงและจิ๊กซอว์เชื่อมโยงตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งเครื่องดื่ม อาหาร สแน็ก ซอส และยังหมายถึงแผนรุกเครือข่ายช่องทางสมัยใหม่ ตั้งแต่หน้าร้าน บริการเดลิเวอรี่ และแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ถือเป็นบลูโอเชียนที่บรรดาคู่แข่งขันต้องรีบวางโครงสร้างธุรกิจครอบคลุม 360 องศา เพราะหากใครทำได้เหนือกว่าย่อมหมายถึงโอกาสการต่อยอดเติบโตไม่รู้จบ สำหรับค่ายสิงห์ หรือกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ หลังจากปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ภายใต้ธุรกิจ 6 เสาหลัก 1. ธุรกิจเบียร์ โซดา และน้ำดื่ม 2. ธุรกิจบรรจุภัณฑ์บางกอกกล๊าส 3. ธุรกิจระดับภูมิภาค (รีจินัล) ภายใต้กลุ่มสิงห์ เอเชีย โฮลดิ้ง 4. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสิงห์เอสเตท 5. ธุรกิจซัปพลายเชน ภายใต้บุญรอดซัพพลายเชน และ 6. ธุรกิจอาหาร โดยฟู้ด แฟคเตอร์

Read More