ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง สัญญาณความอ่อนแอเศรษฐกิจไทย
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวจนไปถึงขั้นชะงักงัน ทั้งปัจจัยภายในที่ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีผลต่อความไม่มั่นใจด้านการลงทุน หรือปัจจัยภายนอกอย่างสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่สร้างคลื่นระลอกใหญ่ส่งผลกระทบไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับภาวะวิกฤตมาได้ระยะหนึ่ง กำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายเป็นสัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทย ที่ทำลายระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากเป็นวงกว้างขึ้น นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินต่างๆ วิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของไทยค่อยๆ ไต่อันดับลงอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส บทวิเคราะห์เศรษฐกิจจึงเป็นไปในทิศทางที่ว่า เศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะพ้นจากวิกฤตและสามารถฟื้นฟูไปถึงขั้นเติบโตได้อีกครั้ง ความง่อนแง่นของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศไทย เห็นได้จากความสามารถในการจับจ่ายซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลง และใช้จ่ายแต่เฉพาะที่จำเป็น รวมไปถึงภาวะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ค่อยๆ สูงขึ้น ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้านสัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยต่อจีดีพีใน 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยในปี 2560 หนี้ครัวเรือนไทยมีสัดส่วนต่อจีดีพีอยู่ที่ 78.1 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มขึ้นเป็น 78.4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2561 ในปีถัดมา 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 79.8 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งมาถึงปี 2563 ในไตรมาสแรกที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไปแตะระดับ 80.1 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า ภาคครัวเรือนของไทยกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ทั้งนี้ แม้ภาพดังกล่าวจะตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยกำลังเผชิญ แต่ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะ 1.2 ปีข้างหน้านี้
Read More