Home > เศรษฐกิจไทย (Page 3)

ท่องเที่ยวทรุดส่งออกฟุบ ฉุดเศรษฐกิจไทย ดึง GDP ติดลบ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างทำให้หลายฝ่ายคาดว่า เศรษฐกิจโลกปี 2563 อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อีกครั้งในรอบกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วิกฤต Hamburger ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริโภคและการลงทุน รวมถึง “การส่งออก” ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2563 หดตัวที่ร้อยละ 4.5 ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดีกว่า” การคาดการณ์ที่หลายฝ่ายประเมินไว้ก่อนหน้านี้ โดยในด้านหนึ่งเป็นผลจากการได้อานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึงร้อยละ 180 แล้ว ขณะที่ตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในสัดส่วนสูงทั้งจีน EU สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย หดตัว “น้อยกว่าที่คาด” แม้ว่าการส่งออกของไทยโดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกปี 2563 จะหดตัวเพียงร้อยละ 0.8

Read More

พินิจภาคส่งออก ฟันเฟืองแห่งความหวังของเศรษฐกิจไทย

อย่างที่ทราบกันดีว่า การส่งออกเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกประมาณ 70-75 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพี หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม หมายความว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สถานการณ์การค้าโลกอยู่ในภาวะระส่ำและกระทบต่อการส่งออก นั่นจะเป็นต้นเหตุแห่งปัจจัยลบของเศรษฐกิจไทย นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอุบัติขึ้น ไทยในฐานะประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบในทุกระนาบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายด้านที่สร้างให้เกิดภาวะเฉื่อยในภาคการส่งออกของไทย ทั้งกรณีที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐฯ หรือกรณีเขตการค้าเสรี FTA ที่ไทยยังอยู่ในขั้นตอนของการเร่งเจรจา มูลเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประเทศไทยประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจอย่างไม่อาจต้านทานได้ แม้จะมีปัจจัยบวกจากด้านอื่นอยู่บ้าง ทว่า ไม่อาจช่วยให้ตัวเลขของการส่งออกบวกขึ้นได้ เมื่อตัวเลขการส่งออกของปี พ.ศ. 2562 ติดลบ 2.7% สถานการณ์วิกฤตที่กำลังรายล้อมอยู่รอบด้าน รวมไปถึงการสรุปผลตัวเลขการส่งออกปีที่ผ่านมา ทำให้กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องปรับเป้าประมาณการการส่งออกในปี 2563 ว่าน่าจะมีโอกาสเติบโต 1-3% เท่านั้น ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินภาคการส่งออกของไทยว่า น่าจะยังมีโอกาสเติบโตท่ามกลางมรสุมที่หลายชาติกำลังเผชิญ เพราะมองเห็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดกระแสธารเชิงบวก ได้แก่ การคาดการณ์จาก IMF (International Monetary Fund) ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีในปีนี้ถึง 3.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 2562 ขยายตัวได้เพียง 2.9

Read More

เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก หนี้ครัวเรือนโตแซงจีดีพี

นอกจากสถานการณ์ฝุ่นพิษขนาดจิ๋ว หรือ PM2.5 ที่กำลังคุกคามความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมไทยอย่างหนักหน่วงแล้ว ดูเหมือนว่าภัยคุกคามทางเศรษฐกิจลูกใหม่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ และพร้อมที่จะสร้างผลกระทบสั่นสะเทือนสังคม เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปไม่น้อยเลย หนี้ครัวเรือนไทยในช่วงปี 2563 หรือระยะนับจากนี้ ได้รับการคาดหมายว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงหรือแม้กระทั่งมีโอกาสที่จะเติบโตเร็วกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยข้อมูลล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าแม้หนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 3/2562 มียอดคงค้างที่ 13.239 ล้านล้านบาท ชะลอการเติบโตลงมาที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส หากแต่หนี้ครัวเรือนที่ชะลอตัวลงดังกล่าว เป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนขยับขึ้นเร็วกว่าการเติบโตของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกด้วยซ้ำ และมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนในปี 2563 ขยับขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณร้อยละ 80.0-81.5 ต่อจีดีพีเลยทีเดียว สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทยขยับไล่ระดับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 79.1 ในไตรมาสที่ 3/2562 สูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี จากระดับร้อยละ 78.7 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์หนี้สินและเงินออมของครัวเรือนปี 2562 ซึ่งพบว่าร้อยละ 44 ของผู้กู้-ครัวเรือนที่มีหนี้ มีภาระหนี้หรือเป็นหนี้เพิ่มขึ้น แม้ว่าผลสำรวจดังกล่าวจะสะท้อนภาพและมีจุดเน้นอยู่ที่ครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นด้านหลัก

Read More

จับตาค่าเงินบาท ปัจจัยลบเศรษฐกิจไทย?

ความกังวลใจว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงดูจะอยู่ที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างมาก จนมาอยู่ในระดับแข็งค่ามากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 6 ปีเมื่อช่วงวันสุดท้ายก่อนสิ้นปี 2562 และทำให้หลายฝ่ายพุ่งเป้าความสนใจจับตาการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในช่วงปี 2563 ว่าจะมีทิศทางอย่างไร พร้อมกับประเมินผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นนับจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐในช่วงวันที่ 30-31 ธันวาคม 2562 และในวันที่ 1 มกราคม 2563 จากระดับ 29.92 มาสู่ระดับ 29.87 และที่ระดับ 29.71 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐตามลำดับ ได้รับการอธิบายจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่าเป็นผลที่เกิดจากการเร่งทำธุรกรรมก่อนสิ้นปีของผู้ประกอบการบางรายในสภาวะที่ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ ความต้องการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศไม่สมดุลในช่วงก่อนวันหยุดสิ้นปี นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับสกุลเงินภูมิภาคในช่วงปลายปีด้วย อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทมีทิศทางและแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ภายใต้ปัจจัยหลักมาจากโครงสร้างของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะเกินดุลเดินสะพัด ขณะเดียวกันรายได้หลักของประเทศที่เดิมได้รับจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ทำให้ประเด็นค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นสิ่งที่ภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันจับตามองเป็นพิเศษ ทิศทางค่าเงินบาทไทยในปี 2563 ได้รับการคาดหมายว่าจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอีกเล็กน้อย โดยตลอดปี 2562 ที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 7-8 ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นกว่าปกติแล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์บางสำนักประเมินว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2563 ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าไปถึงระดับ

Read More

เคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทย ปลุก “สตรีทฟูด” พลิกวิกฤต

เริ่มเคานต์ดาวน์เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ปี 2563 ท่ามกลางข้อมูลหลายสำนักที่ฟันธงในทิศทางเดียวกัน คือ “แย่” และต้องถือว่า 2 วันสุดท้ายของปี 2562 บรรดาห้างร้านต่างอัดงบจัดเต็มสร้างบรรยากาศการนับถอยหลัง เพื่อดูดเม็ดเงินก่อนปิดยอดขายรายได้ เพราะไม่ใช่แค่การชี้ขาดผลการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน แต่ยังหมายถึงผลสะท้อนความสำเร็จและความล้มเหลวของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งใหญ่ หากประมวลตัวเลขต่างๆ แม้ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ปี 2563 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,223 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 11-20 ธ.ค. 2562 คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท เป็นมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 61 ที่มีมูลค่าการใช้จ่าย 135,279.74 ล้านบาท แต่อัตรา 1.9% กลับเป็นตัวเลขการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 14 ปี สาเหตุหลักมาจากประชาชนกังวลภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังที่สุด โดยค่าใช้จ่าย 137,809 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวในประเทศ 60,449.57

Read More

Gen Y กับวลี ‘ของมันต้องมี’ หนี้ครัวเรือนก็ต้องมา

นับเป็นอีกปีที่ไทยต้องเผชิญมรสุมที่พัดกระหน่ำมาจากรอบด้าน งานหนักของรัฐไทยชุดปัจจุบันที่ต้องนำพารัฐนาวาให้ผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปให้ได้ แม้ว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนจะเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่คล้ายให้กำลังใจตนเองมากกว่าว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอย ไม่วิกฤต เพียงแต่ไร้แรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้แรงขับเช่นในปัจจุบัน นั่นเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะงักงัน และอิทธิพลของสงครามการค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นมูลเหตุของปัจจัย แน่นอนว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่จะยอมอ่อนข้อหรือเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจึงได้เห็นการโต้ตอบชนิดที่เรียกว่า สวนกันหมัดต่อหมัดบนเวทีการค้าโลก กระนั้นการระรานของสหรัฐฯ ยังขยายอิทธิพลไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก และไทยเองที่เป็นเพียงประเทศคู่ค้า เหมือนจะถูกระลอกคลื่นของสงครามครั้งนี้ในทุกระนาบ ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลายตัวที่หากไม่ดับสนิท แต่ก็ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพให้ฟื้นขึ้นมาได้ในเร็ววัน ทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนไปโดยปริยาย ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในระดับบนของระบบเท่านั้น ทว่าปัญหากลับแทรกซึมเข้าสู่เนื้อในของเครื่องจักร ทำให้แม้แต่ฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนได้เฉกเช่นวิกฤตที่ผ่านๆ มา ปีนี้นับเป็นอีกปีที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการออกมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทว่า ไทยยังต้องเผชิญกับยุคเข็ญทางเศรษฐกิจไปอีกพักใหญ่ เมื่อยังต้องอาศัยอานิสงส์จากกระแสลมบวกจากภายนอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐจะหามาตรการใดออกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่าชีพจรที่ควรจะฟื้นกลับมาเต็มสูบ ทำได้เพียงแผ่วเบา มีเพียงลมหายใจรวยรินที่ยังประคองชีพให้อยู่ไปได้แบบวันต่อวัน ขณะที่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ น่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนที่ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นนั้นมาจากกลุ่มคน Gen Y นี่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักเศรษฐศาสตร์ไทย เมื่อคน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมปัจจุบันในหลายแง่มุม Gen Y เป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่ต้องการสร้างฐานะและความมั่นคง มีอิสระทางความคิด มั่นใจในตัวเอง เข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มธุรกิจหรือนักการตลาด เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แม้ตัวเลขรายจ่ายต่อเดือนจะวิ่งควบตามหลังรายได้มาติดๆ การใช้จ่ายของ Gen

Read More

ยุคเข็ญเศรษฐกิจไทย กลไกรัฐหมดแรงขับเคลื่อน

ความเป็นไปของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีหมู 2562 ดูจะไม่ปรากฏสัญญาณบวกหรือกระเตื้องขึ้นตามที่กลไกรัฐคาดหวัง หากแต่ยังอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามและถูกถมทับด้วยปัจจัยลบ ที่ก่อให้เกิดความกังวลใจอย่างกว้างขวางว่าเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลานับจากนี้จะเดินหน้าเข้าสู่จุดวิกฤต และเผชิญกับภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่กำลังคืบใกล้เข้ามา แม้ว่าตลอดระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา รัฐนาวา ภายใต้การนำของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะพยายามโหมประโคมและระบุว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่ฟื้นตัวขึ้นจากความซบเซา และกำลังดำเนินไปอย่างราบรื่นภายใต้เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้ากลับกลายเป็นการปรับลดต่ำลงของตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต้องมีการปรับลดประมาณการและคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ก่อนที่ล่าสุดจะปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ทั้งที่รัฐบาลจะทุ่มเทเงินงบประมาณจำนวนกว่า 3 แสนล้านบาทด้วยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี แต่ดูเหมือนว่าความพยายามดังกล่าวจะอยู่ไกลจากเป้าหมายที่วางไว้ ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยได้กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2562 ไว้ที่การเติบโตร้อยละ 3 พร้อมกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบลดแลกแจกแถมสารพัด แต่ดูเหมือนว่ามาตรการของรัฐเหล่านี้จะไม่ได้ส่งผลในเชิงบวกมากนัก ขณะที่ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนโดยสวนดุสิตโพล พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ 65.54 ระบุว่ารัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ และทำให้เกิดปัญหาข้าวของแพง และมีปัญหาการว่างงาน กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าในปัจจุบัน ประเด็นที่น่าสนใจจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ประการหนึ่งอยู่ที่การประเมินปัญหาที่รุมเร้าว่าหากมองว่าเศรษฐกิจย่ำแย่ ก็จะเกิดความรู้สึกรับรู้ว่าย่ำแย่ และนำไปสู่ความรู้สึกโดยรวมที่ไม่ดีขาดความมั่นใจ จนนำไปสู่ภาวะชะลอตัวในการบริโภคและการลงทุน ซึ่งทัศนะเช่นว่านี้ทำให้กลไกรัฐดูจะไม่ได้ยืนอยู่บนตรรกะและข้อเท็จจริงของสภาพที่เผชิญอยู่ และพยายามเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจไทยยังไปได้ ทั้งที่สถานการณ์โดยรวมไม่ได้เป็นไปตามที่เอ่ยอ้างเช่นนั้น การออกมายอมรับของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ว่าเศรษฐกิจไทยซึ่งเคยขับเคลื่อนด้วยการส่งออก

Read More

จากสงครามการค้าสู่ GSP แผลกดทับคุกคามเศรษฐกิจไทย

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 นอกจากจะปราศจากสัญญาณบวกที่จะมาช่วยกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวกระเตื้องขึ้นในระยะสั้นแล้ว ดูเหมือนว่าในระยะยาวที่ถัดออกไปสภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมก็ถูกกระหน่ำด้วยปัจจัยลบและความเสี่ยงที่ฉุดรั้งทั้งความเชื่อมั่นและศักยภาพในการพัฒนาที่น่ากังวลไม่น้อยเลย ภาวะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มักได้รับการอธิบายจากภาครัฐว่าเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกว่าด้วยข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจแผ่กว้างไปทั่วทุกมุมของโลก แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังมีพื้นฐานที่ดี และกำลังดำเนินไปบนหนทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางและวิสัยทัศน์ที่รัฐบาลได้กำหนดวางไว้ตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา และเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ระยะยาวอีก 20 ปีข้างหน้าก็ตาม ตัวเลขการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาสในลักษณะที่พร้อมสร้างปรากฏการณ์จุดต่ำสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ได้รับการอธิบายว่ายังเป็นตัวเลขที่สะท้อนการขยายตัวอยู่แต่น้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งที่ควรวิตกกังวลมากนัก เพราะรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาถูกทางแล้ว และผู้ประกอบการรวมถึงประชาชนควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากกว่าที่จะเรียกร้องมาตรการความช่วยเหลือจากรัฐ กรณีที่ว่านี้ ส่งผลทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากการสำรวจในแต่ละเดือน ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบ 18 ปี แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่โหมประโคมออกมาอย่างหนักก็ตาม เหตุปัจจัยที่ปรากฏจริงอยู่เบื้องหน้าไม่สามารถฉุดรั้งความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งใน-นอกประเทศได้ ที่พร้อมจะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของกลไกภาครัฐในการผลักดันมาตรการและนโยบายเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และกลายเป็นเงื่อนไขว่าด้วยความกังวลใจในเสถียรภาพทางการเมืองในอนาคต ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในระดับ 57.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมในระดับ 67.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.3 สะท้อนการปรับตัวลดลงทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกันยายน ที่อยู่ในระดับ 59.3 68.5 และ 88.9 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติและถอยห่างจากระดับที่ 100 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความรู้สึกและจิตวิทยาของสังคมว่าผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ความเป็นไปดังกล่าวส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 47.9 มาอยู่ที่ระดับ 46.5

Read More

เศรษฐกิจไทยปลายปี 62 ดำดิ่งสู่จุดต่ำสุดใหม่?

ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ยังคงดำเนินไปอย่างไร้สัญญาณบวกที่จะส่งผลให้เกิดการกลับตัวทะยานขึ้น หลังจากที่ต้องตกอยู่ในภาวะถดถอยและทรุดตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเกือบทุกชนิดที่ใช้อ้างอิงก็บ่งชี้ไปในทิศทางที่ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับอนาคตที่กำลังจะคืบคลานเข้ามา ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมา ได้ปรับตัวลดลงอย่างหนัก โดยในเดือนสิงหาคม 2562 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเร่งเร้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้มูลค่าของงบประมาณกว่า 3.16 แสนล้านบาท เหตุที่เป็นดังนั้นก็เนื่องเพราะผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่มีความรุนแรงมากขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจจากตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นที่สะท้อนออกมาครั้งล่าสุดอยู่ที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งอยู่ในระดับ 60.9 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมที่ระดับ 69.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 90.4 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงในทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกรกฎาคม ที่อยู่ในระดับ 62.2 70.9 และ 91.9 ตามลำดับ โดยดัชนีความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตมากนัก การปรับตัวลดลงของดัชนีในทุกรายการอย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 33เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 เป็นต้นมา จากระดับ 75.0

Read More

เศรษฐกิจถดถอย คนไทยต้องอดทน

หลังการแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทว่าตัวเลขดังกล่าวกลับสะท้อนทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์ ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจไทยทุกตัวอยู่ในภาวะชะงักงัน เครื่องจักรทางเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม นั่นเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ฟาดฟันกันด้วยกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ สร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ และทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นติดลบ ผู้ประกอบการสินค้าเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังระส่ำระสาย เพราะสงครามการค้าไม่ได้มีเพียงสองคู่อริอย่างจีนกับสหรัฐฯ เท่านั้น ยังมีสงครามการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐฯ เรื่องภาษีดิจิทัล และสงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แม้ว่าตำแหน่งที่ไทยยืนอยู่บนเวทีโลกจะไม่สามารถเป็นคู่ชกกับประเทศใดได้ แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมจากทุกสงครามที่เกิดขึ้น สงครามการค้าที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายอาจจะมองในแง่ที่ว่า ไทยอาจสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ ทว่าเรื่องจริงกลับไม่สวยงามดังนิยาย เมื่ออิทธิพลของสงครามการค้าขยายไปสู่ภาคการลงทุน ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเหล่านี้อาจเลือกย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงพิษสงกำแพงภาษีไปยังไปประเทศอื่น และแน่นอนว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากมายที่อาจทำให้เข้าใจว่าอาจถูกเลือกเป็นฐานการผลิตใหม่ และนั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะตามมา รวมไปถึงการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นด้วย ทว่า อีกครั้งที่เหมือนการดับฝันภาคอุตสาหกรรมในไทย เมื่อเวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน พื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเตรียมปักหมุดในเวียดนาม ที่เปรียบเสมือน “ตาอยู่” ในภูมิภาคนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามชูโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหวังให้นักลงทุน ผู้ประกอบการ เล็งเห็นศักยภาพที่ภาครัฐกำลังนำเสนอและตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนพื้นที่ดังกล่าว แต่ถึงเวลานี้ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล ค่าเงิน อาจทำให้นักลงทุนมองว่ายังมีประเทศอื่นที่น่าจะสร้างโอกาสได้ดีกว่า นอกจากสงครามการค้าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพการณ์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว

Read More