Home > สินเชื่อ (Page 2)

Gen Y กับวลี ‘ของมันต้องมี’ หนี้ครัวเรือนก็ต้องมา

นับเป็นอีกปีที่ไทยต้องเผชิญมรสุมที่พัดกระหน่ำมาจากรอบด้าน งานหนักของรัฐไทยชุดปัจจุบันที่ต้องนำพารัฐนาวาให้ผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปให้ได้ แม้ว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายคนจะเอื้อนเอ่ยถ้อยคำที่คล้ายให้กำลังใจตนเองมากกว่าว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่ถดถอย ไม่วิกฤต เพียงแต่ไร้แรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ส่วนหนึ่งของต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจไทยไร้แรงขับเช่นในปัจจุบัน นั่นเพราะสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะงักงัน และอิทธิพลของสงครามการค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นมูลเหตุของปัจจัย แน่นอนว่า จีนไม่ใช่ประเทศที่จะยอมอ่อนข้อหรือเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียว เราจึงได้เห็นการโต้ตอบชนิดที่เรียกว่า สวนกันหมัดต่อหมัดบนเวทีการค้าโลก กระนั้นการระรานของสหรัฐฯ ยังขยายอิทธิพลไปในอีกหลายประเทศทั่วโลก และไทยเองที่เป็นเพียงประเทศคู่ค้า เหมือนจะถูกระลอกคลื่นของสงครามครั้งนี้ในทุกระนาบ ประกอบกับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลายตัวที่หากไม่ดับสนิท แต่ก็ไม่สามารถกู้สัญญาณชีพให้ฟื้นขึ้นมาได้ในเร็ววัน ทั้งภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การชะลอตัวของการลงทุนภาครัฐ ที่ส่งผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนไปโดยปริยาย ปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นในระดับบนของระบบเท่านั้น ทว่าปัญหากลับแทรกซึมเข้าสู่เนื้อในของเครื่องจักร ทำให้แม้แต่ฟันเฟืองตัวเล็กๆ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนได้เฉกเช่นวิกฤตที่ผ่านๆ มา ปีนี้นับเป็นอีกปีที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งหามาตรการออกมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทว่า ไทยยังต้องเผชิญกับยุคเข็ญทางเศรษฐกิจไปอีกพักใหญ่ เมื่อยังต้องอาศัยอานิสงส์จากกระแสลมบวกจากภายนอกเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่ารัฐจะหามาตรการใดออกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่าชีพจรที่ควรจะฟื้นกลับมาเต็มสูบ ทำได้เพียงแผ่วเบา มีเพียงลมหายใจรวยรินที่ยังประคองชีพให้อยู่ไปได้แบบวันต่อวัน ขณะที่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยในห้วงยามนี้ น่าจะเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และสัดส่วนที่ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงขึ้นนั้นมาจากกลุ่มคน Gen Y นี่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักเศรษฐศาสตร์ไทย เมื่อคน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมปัจจุบันในหลายแง่มุม Gen Y เป็นคนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่ต้องการสร้างฐานะและความมั่นคง มีอิสระทางความคิด มั่นใจในตัวเอง เข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่มธุรกิจหรือนักการตลาด เพราะมีรายได้ค่อนข้างสูง แม้ตัวเลขรายจ่ายต่อเดือนจะวิ่งควบตามหลังรายได้มาติดๆ การใช้จ่ายของ Gen

Read More

ศึกช่วงชิงแบรนด์ มหากาพย์ “เงินติดล้อ”

 ในตลาดสินเชื่อ “รถแลกเงิน” แบรนด์ “ศรีสวัสดิ์” ถือเป็นผู้บุกเบิกสร้างตลาดสินเชื่อรายย่อยระดับรากหญ้า เปิด “ตลาดใหม่” ให้บรรดาสถาบันการเงินเข้ามาสร้างรายได้จำนวนมหาศาล และเป็นแบรนด์ที่ถูกช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มตระกูล “แก้วบุตตา” กับยักษ์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบเหมือนมหากาพย์เรื่องยาว มีการเจรจาหลายรอบและฟ้องร้องอยู่นานหลายเดือน  จุดเริ่มต้นของ “ศรีสวัสดิ์” เกิดจากแนวคิดของเสี่ยเจ้าของธุรกิจอู่ซ่อมรถในจังหวัดเพชรบูรณ์ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ซึ่งมีเครือข่ายลูกค้าที่นำรถยนต์มาใช้บริการในอู่อยู่เป็นประจำ และส่วนใหญ่มักเจอปัญหาการติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเอกสารรายได้ทางการเงิน การตรวจสอบเครดิต รวมถึงการเดินทางไปยังสาขาต่างๆ ของธนาคาร  ปี 2522 ฉัตรชัยตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน โดยใช้ชื่อมารดา “ศรีสวัสดิ์ แก้วบุตตา” ตั้งชื่อกิจการว่า “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” เริ่มต้นธุรกิจให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ จนเป็นที่รู้จักและถือเป็นเจ้าตลาดในจังหวัด เนื่องจากมีการจัดระบบการให้สินเชื่ออย่างเป็นระบบ มีหลักฐานสัญญาชัดเจน และสามารถเจรจาผ่อนผันการชำระได้  ดำเนินธุรกิจเกือบ 20 ปี  บริษัท ศรีสวัสดิ์

Read More

“ศรีสวัสดิ์พาวเวอร์” ลั่นกลองรบ รุก “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน”

 ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอดีตนายแบงก์ กระโดดเข้ามาร่วมถือหุ้นและรับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเพียงบริษัทขนาดกลาง เหตุผลไม่ใช่แค่สัมพันธ์ฉันเพื่อนกับฉัตรชัย แก้วบุตตา ในฐานะร่วมวงก๊วนกอล์ฟมานานหลายสิบปีเท่านั้น แต่เกิดจากแนวคิดของฉัตรชัยเรื่องการสร้างระบบสินเชื่อรายย่อย หรือ “Micro Finance” อย่างมีมาตรฐาน คิดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นธรรม และสร้างโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เพื่อเปิดช่องทางให้ลูกค้าระดับชาวบ้านทั่วไปเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้น   โดยเฉพาะปีนี้ ฉัตรชัย แก้วบุตตา วางแผนการใหญ่เพื่อรุกตลาดสินเชื่อทะเบียนรถแบบก้าวกระโดด ตั้งเป้าหมายขยายสาขาทั่วประเทศครบ 1,000 สาขา และผลักดันรายได้แตะ 10,000 ล้านบาทภายใน 3-5 ปี  การเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 250 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงไตรมาส 1-2  เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,000 ล้านบาท และใช้ชื่อ “SAWAD” ในการซื้อขายหมวดธุรกิจการเงิน จึงเป็นความพยายามสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจและสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ

Read More