Home > ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Page 3)

แรงกดดันภาคอสังหาฯ ทำแบงก์ชาติผ่อนปรน LTV

มาตรการ LTV คือ ยาแรงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้โดยมุ่งหวังว่า จะเป็นการป้องปรามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระบบ โดยเฉพาะปัญหาทางการเงินของภาคครัวเรือน เมื่อแบงก์ชาติเล็งเห็นว่าการเกิดใหม่ของโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งจำนวนยูนิตที่ยังคงค้างอยู่ในตลาดยังไม่ถูกดูดซับออกไปเท่าที่ควร ทำให้ปริมาณที่อยู่อาศัยไทยเข้าสู่ภาวะล้นตลาด แม้การประกาศใช้หลักเกณฑ์ LTV (Loan-to-Value) ของแบงก์ชาติจะมีเหตุผลอันสมควรแล้วก็ตาม ทว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 เดือน อสังหาฯ ภาคเอกชนต่างโอดครวญและเรียกร้องเป็นเสียงเดียวกัน ให้ภาครัฐผ่อนปรนหรือเลื่อนเวลาในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวออกไป โดยอ้างเหตุผลว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาฯ เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ซึ่งภาคอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยไม่น้อย และจะทำให้ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังแรกเป็นไปได้ยากขึ้น เสียงเรียกร้องและข้อเสนอถูกส่งไปยังกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้พิจารณาถึงผลเสียที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งน่าแปลกที่ภาคเอกชนไม่ได้เห็นหรือย้อนกลับมาพิจารณาความเป็นจริงที่ว่า จำนวนที่อยู่อาศัยในตลาดขณะนั้นมีปริมาณมากเกินความจำเป็นเพียงใด เพราะนักวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ จำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาฯ ในปัจจุบันว่า อสังหาฯ ไทยอยู่ในช่วงโอเวอร์ซัปพลายโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวตั้ง และการที่แบงก์ชาติมีมาตรการยาแรงเช่นนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเชิงระบบที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เคยเปิดเผยภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปี 2562 พบว่า มีที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศ 2.2 แสนหน่วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าภาครัฐจะทานต่อเสียงเรียกร้องของภาคเอกชนต่อไปอีกไม่ไหว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนหลักเกณฑ์ LTV ด้วยหวังว่าการอ่อนลงของแบงก์ชาติจะช่วยให้สถานการณ์ภาคอสังหาฯ ไทยฟื้นตัวได้ หลังจากที่มาตรการ LTV กลายเป็นตัวการสำคัญทำให้ธุรกิจอสังฯ หาซบเซาดังเช่นที่หลายฝ่ายเคยให้ความเห็น และแม้ว่าหลังจากใช้หลักเกณฑ์ LTV ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจะไม่ใช่ประชาชนที่ซื้อบ้านหลังแรก

Read More

เฮือกสุดท้ายของอสังหาฯ ตัวแปรพลิกเศรษฐกิจไทย?

ต้องเรียกว่าสถานการณ์ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในศักราชนี้ “หืดขึ้นคอ” กันเลยทีเดียวสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่อยู่อาศัย เพราะผลกระทบแง่ลบจากเศรษฐกิจโลกที่แผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาอุบัติ และไม่ใช่เพียงแค่อิทธิพลจากสงครามการค้าเท่านั้น ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ แม้จะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม หลายมูลเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและไม่ใช้จ่ายเงินเข้าสู่ระบบเท่าที่ควร ไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีจะเป็นช่วงเวลาที่อุดมไปด้วยบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย ความคึกคักที่มักปรากฏให้เห็นจนชินตา กลายเป็นภาพอดีตและถูกแทนที่ด้วยบรรยากาศความหงอยเหงาเศร้าซึม ไม่เว้นแม้แต่มหกรรมยานยนต์ที่ปกติจะสร้างสีสันในช่วงปลายปี ทว่าปีนี้ทุกอย่างกลับแสดงผลในทางตรงกันข้าม จะมีก็เพียงธุรกิจ E-Commerce ที่สามารถจุดพลุฉลองยอดขายและความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Marketplace เจ้าตลาดอย่าง Lazada Shopee หรือ JD Central ที่สองเจ้าแรกมีนายทุนใหญ่จากต่างชาติเข้ามาสร้างอาณาจักรและกอบโกยเงินเข้ากระเป๋าอย่างสนุกสนานด้วยแคมเปญลดราคาทุกๆ เดือน และ JD Central ที่เครือเซ็นทรัลจับมือกับ JD ที่มีบริษัทแม่อยู่ประเทศจีน ขณะที่ตลาดอสังหาฯ ดูเหมือนจะไร้กระแสลมบวกที่จะส่งให้กราฟตัวเลขยอดขายพุ่งทะยาน แม้ส่วนหนึ่งของผลกระทบที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ ได้รับนั้นจะมาจากการออกมาตรการ LTV ของแบงก์ชาติ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่ลืมว่าโอเวอร์ซัปพลายที่เกิดขึ้นและล้นตลาดอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะสองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่เกิดจากการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องของผู้ประกอบการ โดยไม่ระวังสถานการณ์และความน่าจะเป็นของเศรษฐกิจในอนาคต การมองเพียงแง่มุมเดียวของผู้ประกอบการทำให้หลายค่ายเรียกร้องภาครัฐให้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือ เพื่อให้ซัปพลายที่มีอยู่ถูกดูดออกไปบ้าง ซึ่งนี่ทำให้เห็นมาตรการความช่วยเหลือที่รัฐบาลประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคำกล่าวอ้างของรัฐบาลที่มีต่อมาตรการเหล่านี้คือ ต้องการให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย แม้จะเป็นเหตุผลที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนเสียเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม และมาตรการที่รัฐออกมาเพื่อจะกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีคือ “โครงการบ้านดีมีดาวน์” ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยประชาชนที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อและโอนบ้านตั้งแต่วันที่ 27

Read More

จับชีพจรอสังหาริมทรัพย์ บน 3 มาตรการกระตุ้นของรัฐ

ความซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดูจะเป็นอีกหนึ่งในความกังวลใจทางเศรษฐกิจของไทย หลังจากที่พบว่านอกจากปริมาณบ้านและที่อยู่อาศัยจะมีอยู่อย่างล้นเกินความต้องการของตลาดแล้ว กำลังซื้อของผู้บริโภคยังหดหายจากผลของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งต้องปิดหรือเลื่อนการเปิดโครงการลงทุนใหม่ๆ ออกไป ปัจจัยหนึ่งที่ถูกระบุว่าเป็นเหตุแห่งการชะลอตัวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่การประกาศเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีการปรับเกณฑ์ด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน หรือ LTV ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 และจำนวนเงินในการวางเงินดาวน์เปลี่ยนไป ขณะที่ธนาคารที่จะปล่อยสินเชื่อถูกควบคุมให้ปล่อยวงเงินกู้รวมที่เกี่ยวกับบ้านไม่เกินร้อยละ 100 ของหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน ผลของประกาศดังกล่าวสะท้อนออกมาเป็นตัวเลขยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นตลาดหลัก ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ที่มีจำนวนหน่วยการโอนปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 13.5 และมีมูลค่ารวมกว่า 1.33 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ก่อนที่เกณฑ์ LTV จะมีผลบังคับใช้ ขณะที่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ยอดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีจำนวนหน่วยการโอนลดลงร้อยละ 18.9 และมีมูลค่าลดลงร้อยละ 16.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 คณะรัฐมนตรีจะพยายามบรรเทาผลกระทบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1

Read More

บทวิเคราะห์ตลาดบ้านพักอาศัยครึ่งแรกปี 2562 และทิศทางครึ่งปีหลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีแรก การขยายตัวไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะภาคการส่งออก และการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ซึ่งเป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ประกอบกับความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครึ่งปีแรกติดลบระดับ 15-20% ขณะที่ตลาดบ้านพักอาศัย ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮาส์ ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่ายังมีอุปทานเหลือขายในตลาดอยู่ประมาณ 86,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่าเกือบ 390,000 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และมาตรการ LTV แต่ตลาดหลักยังคงเป็นผู้อยู่อาศัยจริงที่ ยังคงมีความต้องการซื้ออย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากปัจจัยลบจึงน้อยกว่า ที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะการซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไปที่ปริมาณสินเชื่อปล่อยใหม่ลดลง 36% ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ขณะที่ประเมินแล้วพบว่า ที่อยู่อาศัยประเภทบ้านพักอาศัยในช่วงดังกล่าวนั้นติดลบประมาณ 10% ขณะเดียวกันสภาวะตลาดบ้านพักอาศัย สำนักวิจัย LPN (LPN Wisdom) ได้ทำการสำรวจตลาดช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 พบว่า มีโครงการเปิดใหม่รวมทั้งสิ้น 103 โครงการ 17,873

Read More

บิ๊กไบเทคดันซัมเมอร์ลาซาล เปิดคอมมูนิตี้มอลล์ Sunny

หลังจากปลุกปั้นออฟฟิศบิลดิ้งสไตล์ตึกสูงเกรดพรีเมียม “ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์” รูปแบบมิกซ์ยูสร่วมกับศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ใจกลางย่านสุขุมวิท-พร้อมพงษ์ และภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค อาคารสำนักงานเกรดเอร่วมสมัย ย่านสุขุมวิท-บางนา ล่าสุด ปิติภัทร บุรี ทายาทหนุ่มกลุ่มบริษัทภิรัชบุรี เจ้าของอาณาจักรไบเทค กำลังเร่งเครื่องโครงการ “ซัมเมอร์ลาซาล” และเตรียมเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์ “SUNNY at Summer Lasalle” ที่เน้นความเป็นคอมมูนิตี้อย่างแท้จริง ที่สำคัญ “ซัมเมอร์ลาซาล” ถือเป็นโครงการสไตล์ใหม่สมบูรณ์แบบของภิรัชบุรี ที่ต่างจากอดีต ตั้งแต่ยุคบุกเบิกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจาะตลาดอาคารสำนักงานเมื่อ 30-40 ปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เน้นอาคารสูงขนาดใหญ่ มีเพียงเพื้นที่ให้เช่าและต่างคนต่างทำงานในแต่ละบริษัทเท่านั้น ปิติภัทร บุรี กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี กล่าวว่า ตามแผนทั้งหมดของโครงการซัมเมอร์ลาซาล (Summer Lasalle) มีที่ดินรองรับมากกว่า 60 ไร่ จะเป็นการพัฒนาอาคารสำนักงานแนวราบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ออฟฟิศแคมปัส” ซึ่งบริษัทเคยทำโปรเจกต์นำร่องในโครงการภิรัช ทาวเวอร์

Read More

ปิติภัทร บุรี เจาะ “ออฟฟิศแคมปัส” สู้วิกฤต

“การสร้างออฟฟิศไม่ใช่แค่ตึกสูงอย่างเดียว...” “เหมือนโรงแรมที่ไม่ใช่มีแค่ 1 ดาว 2 ดาว แต่มี 1-5 ดาว หลากหลาย ตั้งแต่สไตล์บูทีค เรียบง่าย จนถึงบริการเต็มที่ เป็นอาคารสำนักงานที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ใกล้ชิดชุมชน เทรนด์นี้จะเป็นออฟฟิศในอนาคต” ปิติภัทร บุรี กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ภิรัชบุรี กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ในร้านกาแฟ Roots at Sathon พาร์ตเนอร์ที่เข้ามาเติมเต็มความเป็นอาคารสำนักงานแนวใหม่ บรรยากาศเรียบง่ายสบายตา มี Open Bar ส่วนกลางที่เหล่าบาริสต้าสร้างสรรค์เครื่องดื่มแก้วพิเศษ แน่นอนว่า ในร้านเต็มไปด้วยคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้ากันกับสถานที่ เหมือนต่างฝ่ายต่างมีจุดร่วมกันอย่างเหมาะเจาะ ปิติภัทรเล่าว่า ที่ผ่านมา กลุ่มภิรัชบุรีมีอาคารสำนักงาน ภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ ซึ่งไปได้ดีมากกับห้างสรรพสินค้า ภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค เป็นอาคารใหญ่ แต่ตอนนี้บริษัทจะทำอาคารสำนักงานรูปแบบแคมปัส สร้างอาคารเล็ก เป็น Village เล็กๆ และกลับมาให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น

Read More

นับถอยหลัง “สามย่านมิตรทาวน์” ปลุกกระแส One Bangkok

นับถอยหลัง วันที่ 20 กันยายนนี้ โครงการมิกซ์ยูส “สามย่านมิตรทาวน์” จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตามแผนขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์กินรวบทำเลทองย่านพระราม 4 ของกลุ่มทีซีซีกรุ๊ป หลังจากเริ่มต้นปักหมุดแรก “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์” ยึดแยกพระราม 4-รัชดาภิเษก และเร่งเดินหน้าอีก 3 โปรเจกต์ โดยเฉพาะอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก (One Bangkok) บริเวณแยกสวนลุมพินี-สาทร ที่จะเผยโฉมอย่างอลังการในปี 2566 แน่นอนว่า หากรวมเม็ดเงินที่กลุ่มทีซีซีกรุ๊ปทุ่มทุนมากกว่า 2 แสนล้านบาท ถือเป็นเดิมพันธุรกิจครั้งใหญ่ของเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยเฉพาะเป้าหมายการปลุกปั้นเขตธุรกิจใจกลางเมืองเทียบชั้นเส้นสุขุมวิทตลอดสายและ “สามย่านมิตรทาวน์” คือ จิ๊กซอว์ชิ้นล่าสุดที่จะพิสูจน์ฝีมือความเชี่ยวชาญ ท่ามกลางการแข่งขันของบรรดายักษ์อสังหาฯ ที่ต่างพุ่งเป้าผุดโครงการ “มิกซ์ยูส” ทั้งหมด ธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์ ในเครือทีซีซีกรุ๊ป กล่าวว่า

Read More

เจาะเมืองแห่งอนาคต สูตรกลยุทธ์ของแสนสิริ

ยักษ์ใหญ่อสังหาฯ “แสนสิริ” ออกมาประกาศวิสัยทัศน์ The Next Best Living District ตามยุทธศาสตร์สร้าง “เมือง” เพื่อการอยู่อาศัยที่ดีที่สุดแห่งต่อไป โดยรอบนี้ทุ่มเม็ดเงินก้อนใหม่ปลุกปั้นที่ดินย่าน “กรุงเทพกรีฑา” กว่า 300 ไร่ ให้เป็นเมืองแห่งอนาคต “Well-living Town for the Next Generation” หลังซุ่มพัฒนาโครงการชิมลางตลาดมานานเกือบ 5 ปี ที่สำคัญ ยุทธศาสตร์การสร้างเมืองกลายเป็นสูตรกลยุทธ์ที่แสนสิริสามารถตอบโจทย์คนรุ่นใหม่และเหมือนเดินมาถูกทางตั้งแต่เริ่มบุกเบิกทำเลใหม่ๆ พยายามเก็บที่ดินผืนใหญ่ เพื่อสร้าง “ฮับ” หรือ “เมือง” เป็นชุมชนขนาดใหญ่ก่อนเติมเต็มองค์ประกอบต่างๆ ต่อยอดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขยายอาณาจักรย่านรามอินทรา เนื้อที่มากกว่า 700 ไร่ พัฒนาโครงการบ้านยึดฐานลูกค้าอย่างเหนียวแน่นและแตกไลน์ธุรกิจทั้งธุรกิจสนามกอล์ฟ และธุรกิจการศึกษา เปิดโรงเรียนสาธิตพัฒนา ซึ่งปัจจุบันถือเป็นโรงเรียนสาธิตเอกชนที่ได้รับการยอมรับในตลาดการศึกษาและมีอัตราค่าเทอมแพงระดับพรีเมียม หรือการจับที่ดินย่านอ่อนนุชผุดเมือง “ที77” ภายใต้คอนเซ็ปต์ A Good Town for A Good Life

Read More

วัลลภา ไตรโสรัส ดันหุ้น AWC เดิมพันบิ๊กโปรเจกต์

เจริญ สิริวัฒนภักดี เปิดเกมรุกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รอบใหญ่อีกครั้ง ยกเครื่องโครงสร้างจาก “กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์” เป็น บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) “Asset World Corporation (AWC)” พร้อมกับยื่นจดทะเบียนนำสินทรัพย์มูลค่ากว่าแสนล้านเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่สำคัญ คือ การเปิดตัวลูกสาวคนเก่ง วัลลภา ไตรโสรัส ออกโรงในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในวงการมานานหลายสิบปี อีกด้านหนึ่ง เจริญจัดวางทิศทางธุรกิจในเครือทีซีซีกรุ๊ปลงตัวชัดเจน โดยทายาททั้ง 5 คน เริ่มจาก อาทินันท์ พีชานนท์ ดูแลธุรกิจประกันและการเงิน วัลลภา ไตรโสรัส ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฐาปน สิริวัฒนภักดี ดูแลธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร ที่มีทั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอฟแอนด์เอ็น ฐาปนี เตชะเจริญวิกุล

Read More

จาก “ไทยเบฟ” ถึง “AWC” ระดมทุนลุยอสังหาฯ แสนล้าน

11 มิถุนายน 2562 วัลลภา ไตรโสรัส ลูกสาว เจริญ สิริวัฒนภักดี ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) เปิดแถลงข่าวใหญ่เกี่ยวกับทิศทางธุรกิจในอนาคต พร้อมๆ กับยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยถือเป็นการผลักดันบริษัทที่เจริญปลุกปั้นมากับมือ หลังจากเคยถูกต่อต้านอย่างหนักเมื่อครั้งผลักดันบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จนต้องล้มแผนไปเมื่อปี 2548 ครั้งนั้น เจริญปรับโครงสร้างธุรกิจในเครือเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแอลกอฮอล์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสถาบันการเงินและประกัน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจอยู่ภายใต้ ทีซีซี โฮลดิ้ง โดยธุรกิจแอลกอฮอล์อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ทีซีซี แลนด์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินอยู่ภายใต้การจัดการของ บริษัท ทีซีซี แคปปิตอล ทั้งนี้

Read More