เทคโนโลยีพิชิตโลกร้อน…สู่ป่า GrabForGood ผลิตผลของโครงการ “ชดเชยคาร์บอน” จากการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการแกร็บ
หลายคนอาจเคยตั้งคำถามว่า เหตุใดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างออกมาแสดงจุดยืนและประกาศนโยบายในด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้มข้น ซึ่งรวมถึงเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) กันอย่างจริงจัง นั่นเป็นเพราะเราทุกคนกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลต่อภาวะโลกรวน (Global Warming) รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ อย่างปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า กิจกรรมต่างๆ ในเชิงธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม ล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการหลักที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว
แกร็บ (Grab) ในฐานะผู้ให้บริการแอปพลิเคชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้กับคนไทย รวมถึงผู้คนนับล้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่มีความตื่นตัวและขับเคลื่อนนโยบายในด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม แม้ดูผิวเผินธุรกิจหลักของ Grab อาจไม่ได้สร้างผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มตัวกลางที่คอยเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้บริการ (ไม่ว่าจะเป็น ผู้โดยสาร ผู้สั่งอาหารหรือสินค้า) กับร้านค้าและคนขับ แต่ต้องยอมรับว่าบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันและบริการเดลิเวอรีต่างมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากยานยนต์ในท้องถนนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น ในปี 2565 แกร็บจึงได้มีการประกาศเป้าหมายในด้านความยั่งยืนขององค์กร (Grab’s ESG Goals) ซึ่งรวมถึงประเด็นในด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินต่างๆ
EcoMatcherGrabGrabForGoodบาส ฟรานเซนวรฉัตร ลักขณาโรจน์แกร็บ Read More