ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญๆ ทั้งจากดิจิทัลดิสรัปชันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงต่างๆ จนมาถึงยุคโควิดดิสรัปชันที่ส่งผลกระทบและสร้างแรงสั่นสะเทือนทั้งต่อการใช้ชีวิต การทำงาน การดำเนินธุรกิจ รวมถึงตลาดแรงงานด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันตลาดแรงงานของไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป
ล่าสุด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจทิศทางและสถานการณ์ของตลาดแรงงานไทย ของปี 2565 พบว่า ทิศทางของตลาดแรงงานและภาพรวมความต้องการแรงงานมีทิศทางดีขึ้นกว่าสถานการณ์โควิดรอบแรก เมื่อปี 2563 องค์กรและผู้ประกอบการพร้อมเดินหน้าธุรกิจด้วยมาตรการด้านความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงต่างๆ มีการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น และมีแนวโน้มปรับตัวไปสู่รูปแบบของธุรกิจใหม่ (New Economy) ที่ต้องวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาบุคลากร และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานปัจจุบันสู่อนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าความต้องการบุคลากรในตลาดแรงงานมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความต้องการทักษะใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การทำงานในปัจจุบันและการจ้างงานยุคใหม่
ด้านความต้องการของนายจ้างส่วนใหญ่ยังอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น สมุทรปราการ, ปทุมธานี, ระยอง, ชลบุรี, อยุธยา, ฉะเชิงเทรา, เชียงใหม่, นครราชสีมา และสงขลา เป็นต้น โดยที่นายจ้างส่วนใหญ่ต้องการแรงงานในลักษณะหมุนเวียนในประเทศและประจำพื้นที่
10 อันดับ
ดิจิทัลดิสรัปชันตลาดแรงงานสายงานมาแรงแห่งปี 2565โควิดดิสรัปชัน Read More