Home > 2021 (Page 57)

สรรพเสียงจากธรรมชาติ บำบัดจิตใจ ฟื้นฟูร่างกาย

ปัจจุบันนับเป็นยุคทองของอินเทอร์เน็ต ผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางโลกโซเชียลมีเดีย ก้มหน้าและฝังตัวอยู่กับโลกเสมือนที่ถูกย่อส่วนลงมาในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งที่เราเป็นผู้กำหนดความอยากรู้นั้นเอง และจากความคาดหวังของผู้คนรายล้อมรอบตัว บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นจนเกินความพอดี และสะสมจนก่อให้เกิดความเครียดทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นอาการป่วย หรือโรคเครียด คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทุกอุปกรณ์ 9 ชั่วโมง 1 นาทีต่อวัน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจจาก บมจ. ซิกน่า ประกันภัย พบว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเครียดสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก จากทั้งหมด 23 ประเทศที่ทำการสำรวจ โดยมีคนไทยถึง 91 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าตัวเองมีความเครียด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 84 เปอร์เซ็นต์ และที่แย่ไปกว่านั้น มีอยู่ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ความเครียดที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่เกิดจากสาเหตุใด ซึ่งทำให้ไม่สามารถจัดการและรับมือกับความเครียดได้ การใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากกว่าอยู่นอกบ้าน และนั่นทำให้เราใช้เวลาอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ผลคือ แม้เราจะใช้เวลาในช่วงวันหยุดเพื่อพักผ่อนอยู่กับบ้าน ทว่า เรายังไม่ได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากโลกที่อุดมไปด้วยความเครียด ความกดดัน และยิ่งห่างไกลจากธรรมชาติมากขึ้นไปด้วย ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสลัดตัวเองให้หลุดจากความเครียดที่เกาะกินจิตใจได้ อาจเพราะเข้าใจว่า การที่จะหลีกหนีให้พ้นจากภาวะความเครียดได้จำเป็นต้องออกเดินทางไปหาธรรมชาติ แน่นอนว่าหากสามารถทำได้คงจะดีไม่น้อย

Read More

จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา เปิดแผนบิ๊กโปรเจกต์ ปลุกสวนสยาม

“สยามอะเมซิ่งพาร์ค” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “สวนสยาม” ประกาศเดินหน้าทุ่มงบลุยโครงการ Bangkok World โดยตั้งเป้าสร้างแลนด์มาร์กแห่งใหม่ “เมืองพระนคร” กระตุ้นรายได้ครั้งใหญ่ หลังจบวิกฤตโควิด-19 และนักท่องเที่ยวต่างชาติไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารจัดการโครงการบางกอกเวิลด์ บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด ทายาทสาวของไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ยอมรับว่าบริษัทเจอปัญหาเข้ามาต่อเนื่อง เป็นวิกฤตระดับโลก ทุกประเทศได้รับผลกระทบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ แม้ประเทศไทยอาจไม่ได้ผลกระทบมากในแง่การระบาด แต่เรื่องเศรษฐกิจถือว่าหนักมากๆ “สวนสยามอยู่มา 41 ปี ผ่านวิกฤตเยอะมาก วิกฤตต้มยำกุ้งหนักกว่านี้ก็ผ่านมาแล้ว เพราะเรามองเหมือนหน้าฝนที่ผ่านเข้ามาและผ่านไป ลำบากบ้าง ป่วยบ้าง เหน็ดเหนื่อยบ้าง แต่ทุกครั้งหลังวิกฤตผ่านไปจะเจอฟ้าที่สดใสมาตลอด ครั้งนี้หวังจะเป็นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมโครงการบางกอกเวิลด์ที่น่าจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2565 หลังสถานการณ์ทุกอย่างฟื้นตัวแล้ว” ทั้งนี้ หากนับเวลาก่อสร้างโครงการตั้งแต่วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561 จะนานกว่า 3-4 ปี และเดิมตั้งเป้าเผยโฉมทั้งหมดภายในปี 2564 แต่เจอวิกฤตโควิดระลอกแรกและระลอกใหม่

Read More

เปิดหนังสือลาตาย ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ

ย้อนกลับไปอดีต วันที่ 28 ตุลาคม 2481 เด็กชายโอ๊ย แซ่อึ๊ง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อไทยว่า ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ เกิดที่ตลาดบางเขน บิดาชื่อ ย่งเจ็ง เป็นคนจีนมาจากประเทศจีน และย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากในประเทศไทย ส่วนมารดาชื่อ ไน้ เป็นคนจีนที่เกิดในไทย เมื่อเกิดสงครามครั้งที่ 2 เด็กชายโอ๊ย อายุได้ 5 ขวบ ครอบครัวต้องหนีภัยสงครามไปพักอาศัยที่บ้านญาติผู้ใหญ่แถวคลอง 12 อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เด็กชายต้องต้อนควายออกไปกินหญ้า เข้าเล้าเป็ดเก็บไข่ เลี้ยงไก่ ให้ข้าวหมู แลกอาหาร 3 มื้อ หลังสงครามยุติ ครอบครัวย้ายกลับมาที่ตลาดบางเขนอีกครั้ง พออายุได้ 7 ขวบ บิดามารดาแยกครอบครัวออกมาเปิดร้านขายของชำชื่อว่า อึ้ง ย่ง เจ็ง เป็นร้านเล็กๆในตลาดบางบัว ริมคลองบางบัว ค้าขายได้ทั้งทางเรือและทางบก ไชยวัฒน์เริ่มเรียนรู้โลกกว้างตั้งแต่อายุ 12 ปี เริ่มลุยงานทุกอาชีพ ตั้งแต่เป็นเด็กรับจ้างในร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งย่านบางเขน เป็นกระเป๋ารถเมล์

Read More

เดินหน้า ‘บางกอกเวิลด์’ จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายเติมเต็ม สยามพาร์ค

แม้วิกฤตโควิดที่ยาวนานมากกว่า 1 ปี ส่งผลให้โครงการบางกอกเวิลด์ (Bangkok World) ต้องเลื่อนกำหนดการเปิดออกไปอีก 1 ปี หรือจะเปิดภายในสิ้นปี 2565 โดยถือเป็นอภิมหาโครงการที่ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานคณะกรรมการกลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ประกาศเดินหน้าทุ่มงบอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างให้ Siam Amazing Park เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ครบวงจรของคนไทยและต่างชาติ ที่สำคัญ นี่จะเป็นมรดกธุรกิจชิ้นสุดท้ายในชีวิต เพื่อส่งต่อทายาทรุ่นต่อไป และเติมเต็มความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น จิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา หรือคุณเก๋ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารจัดการการโครงการบางกอกเวิลด์ บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด ทายาทสาวของบิ๊กสวนสยาม กล่าวกับ “ผู้จัดการ360” ว่า โครงการบางกอกเวิลด์วางศิลาฤกษ์เมื่อปี 2561 การก่อสร้างล่าสุดคืบหน้าต่อเนื่อง แต่อาจล่าช้ากว่ากำหนด เพราะมีการขยับเลื่อนเพื่อเตรียมความพร้อมหลังเกิดวิกฤตโควิด และประเทศไทยยังเจอผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวไทยที่กลุ่มทัวริสต์หายไป 1 ปีแล้ว ร้านค้าต่างๆ ไม่มีกำลังทรัพย์ลงทุนเปิดร้านใหม่ ผลกระทบยิ่งใหญ่มากสำหรับนักลงทุนและธุรกิจแบบสวนสยามด้วย อย่างไรก็ตาม ภาพรวมโครงการทุกอย่างเดินหน้าตามแผนเดิม

Read More

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย

ยันม่าร์สนับสนุนชาวไร่อ้อย ตัดอ้อยสด ลดการเผา เดินหน้าผลิตเครื่องสางใบอ้อย หวังเป็นตัวช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต บริษัทยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่ “เครื่องสางใบอ้อย” สนับสนุนให้เกษตรกรตัดอ้อยสดตามนโยบายภาครัฐ เพิ่มรายได้ ลดปัญหาการเกิดมลพิษ PM2.5 อีกทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิต (Productivity) อ้อยที่ได้ลำต้นใหญ่ คงความหวานได้ราคาดีกว่าอ้อยเผา ใบอ้อยยังนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าชีวมวลสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกด้วย นายธัชพล ชวินธนโชติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ให้ความเห็นว่าหากเกษตรกรยังใช้วิธีเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว ผลเสียโดยตรงนอกจากจะทำให้ได้น้ำหนักอ้อยลดลงแล้ว คุณภาพความหวานที่ลดลงยังส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรอีกด้วย การเผายังทำลายอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินสูญเสียความชื้น เกิดวัชพืชได้ง่าย ซึ่งวัชพืชจะมาแย่งอาหาร ทำให้อ้อยตอแคระแกร็น และเมื่อปลูกอ้อยใหม่ในปีถัดมา เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอ้อยตอเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างเกษตรกรที่ใช้วิธีเผา และเกษตรกรที่ใช้เครื่องสางใบอ้อย แน่นอนว่าแปลงที่ใช้เครื่องสางใบอ้อยย่อมได้ผลผลิตดีกว่า จึงอยากแนะนำและสนับสนุนให้เกษตรกรเลือกใช้เครื่องสางใบอ้อยก่อนตัดอ้อย และไถกลบใบอ้อยที่เหลือเพื่อช่วยถนอมหน้าดินไม่ให้ธาตุอาหารในดินถูกทำลาย และช่วยลดมลพิษทางอากาศอีกด้วย และด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ ยันม่าร์ได้ให้ความสำคัญ จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับการปลูกอ้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก และการเก็บเกี่ยว ด้วยแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่หลากหลาย ประกอบกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยสไตล์ยันม่าร์ ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อลดขั้นตอนการปลูก ช่วยประหยัดเวลา อาทิ

Read More

ธุรกิจโลจิสติกส์หวังฟื้น หลังผ่านมรสุม COVID-19

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาคเศรษฐกิจสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือโลจิสติกส์ ที่ได้รับผลจากการปิดพรมแดนและการระงับการขนส่งสินค้าและพัสดุทางอากาศในหลายประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวในธุรกิจโลจิสติกส์นี้มากกว่าร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว วิกฤตจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เนื่องจากการขนส่งทั้งทางบกในประเทศ และขนส่งข้ามแดนมีความล่าช้า จากการล็อกดาวน์หลายพื้นที่ ส่วนการขนส่งทางอากาศถูกระงับไปหลังจากที่ธุรกิจการบินไม่สามารถทำการบินได้ ซึ่งทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบด้านรายได้อย่างหนัก ขณะที่การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ยังมีการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกอยู่บ้าง สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2563 มีแนวโน้มจะหดตัวลงมากถึงร้อยละ 30-40 ซึ่งแม้ว่าการขนส่งหลายประเภทจะอยู่ในภาวะหดตัว แต่การขนส่งพัสดุ การขนส่งสินค้าถึงบ้านหรือเดลิเวอรี่ต่างๆ กลับมีการเติบโตสูงมาก สวนกระแสตลาดโดยรวม เนื่องจากห้างร้านปิดให้บริการ และการที่ประชาชนได้รับคำแนะนำให้อยู่บ้านเพื่อหยุดโรค ทำให้การใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและบริการส่งตรงถึงบ้านปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขที่น่าสนใจในธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ธุรกิจนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดขนส่งพัสดุในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากระดับ 18,000 ล้านบาทในปี 2559 มาสู่ระดับ 25,000 ล้านบาทในปี 2560 และพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วมาสู่ระดับ 35,000 ล้านบาทในปี 2561 ก่อนที่จะขึ้นสู่ระดับ 49,000 ล้านบาทในปี 2562 และมาสู่ระดับ 66,000

Read More

เชลล์เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จอีวีแห่งแรกในไทย จับมือ BMW นำเสนอจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

เชลล์เปิดตัว Shell Recharge จุดชาร์จอีวีแห่งแรกในไทย จับมือบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทยนำเสนอโซลูชันส์บริการจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมกับ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เชิญชวนลูกค้าร่วมสัมผัสโซลูชันส์พลังงานคาร์บอนต่ำแห่งอนาคตด้วยการเปิดตัวจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายใต้ แบรนด์ Shell Recharge ซึ่งเป็นจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง ควิกชาร์จแห่งแรกสำหรับเชลล์ในประเทศไทยที่สถานีบริการน้ำมันเชลล์บนถนนกาญจนาภิเษก ทั้งนี้ เป็นการผนึกความเชี่ยวชาญของเชลล์ ผู้นำในธุรกิจพลังงานและบีเอ็มดับเบิลยู ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก สนับสนุนการพัฒนาระบบ E-mobility ในไทย เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนด้านพลังงานและรองรับความต้องการการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศ จุดบริการใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าของเชลล์สามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าระหว่างเดินทางได้ที่สถานีบริการน้ำมันแฟลกชิปของเชลล์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ปัจจุบันโลกกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมีการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิลมาสู่พลังงานทางเลือกที่สะอาดและลดการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรายหลักของโลก แต่การพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ๆ อย่างไฟฟ้าก็นับว่ามีความสำคัญเช่นกัน โดยประเทศไทยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 750,000 คันต่อปีภายในปี 2573 นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้ประกาศแผนแม่บทที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางยานพาหนะไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2568 และขยายความร่วมมือกับพันธมิตรจากหลายภาคส่วนเพื่อเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ 1 เชลล์มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในธุรกิจบริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดอื่นๆ ผ่านการขยายเครือข่ายการให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 60,000 สถานีทั่วทวีปยุโรป และได้นำความเชี่ยวชาญดังกล่าวมาสนับสนุนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน นายเรืองศักดิ์ ศรีธนวิบุญชัย รักษาการกรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย

Read More

LPN Wisdom ระบุ 3 เทรนด์ การออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564

LPN Wisdom ระบุ การออกแบบโดยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น, ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยในการอยู่อาศัย, และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่พักอาศัย เป็นเทรนด์ของการออกแบบที่ตอบทุกโจทย์การอยู่อาศัยของคนทุกวัยในปี 2564 นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (LPN Wisdom) บริษัทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการออกแบบที่อยู่อาศัยในปี 2564 ว่า หลังการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2562 ไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและต่อเนื่องมาถึงปี 2564 ผนวกกับประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ที่หันมาให้ความสนใจในการซื้อบ้านพักอาศัยมากขึ้นจากผลการสำรวจของ LPN Wisdom พบว่าปี 2563 มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 44,001 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนถึง 63% ของจำนวนโครงการที่เปิดขาย 70,126 ยูนิต

Read More

Dirty Coffee ความเปรอะเปื้อนที่กลมกล่อม

“Dirty Coffee ต้องใช้เวลาสักครู่นะครับ” เสียงตอบกลับจากบาริสต้าประจำร้าน เมื่อได้รับออเดอร์เป็น Dirty coffee เมนูกาแฟชื่อแปลกหูแต่แฝงไว้ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กาแฟชื่อชวนสงสัยแก้วนี้ได้รับความนิยมจากบรรดาคอกาแฟเป็นอย่างมาก ร้านกาแฟหลายร้าน โดยเฉพาะร้านกาแฟประเภท Specialty coffee หรือกาแฟพิเศษ ต่างบรรจุเมนูนี้ไว้ในลิสต์เพื่อดึงดูดลูกค้า จนกลายเป็นตัวชูโรงให้กับบางร้านไปเลยทีเดียว แต่หลายคนคงมีคำถามผุดขึ้นในใจว่า Dirty Coffee คืออะไร ทำไมใช้คำว่า dirty ที่แปลว่า สกปรก มาผสมกับเครื่องดื่มอย่างกาแฟ และทำไมถึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบอยู่ในชณะนี้ จริงๆ แล้ว Dirty Coffee คือกาแฟนมที่เสิร์ฟแยกชั้นกันอย่างชัดเจนและต้องเสิร์ฟมาในแก้วใสแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง ด้านล่างเป็นชั้นสีขาวของนมสดที่แช่มาจนเย็น ส่วนด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มของ espresso shot หรือ ristretto shot ที่ค่อยๆ ไหลแทรกซึมเข้ากับชั้นของนมด้านล่าง ก่อให้เกิดลวดลายเฉพาะตัว เขรอะนิดๆ อาร์ตหน่อยๆ อันเป็นที่มาของชื่อ Dirty Coffee เมนูกาแฟที่โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และรสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์ ต้นกำเนิดของกาแฟแก้วพิเศษนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก โดยมาจากการสร้างสรรค์ของ “คัตซึยูกิ ทานากะ”

Read More

ลาซาด้า จัดงาน “Lazada Forward Women Awards” ครั้งแรก ชูศักยภาพผู้ประกอบการหญิงดาวเด่น ส่งต่อแรงบันดาลใจด้านอีคอมเมิร์ซ

6 สุดยอดผู้ประกอบการหญิงลาซาด้าจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเจ้าของร้าน AggieHome จากประเทศไทย คว้ารางวัลจากการดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ลาซาด้า จัดงาน ‘Lazada Forward Women Awards 2021’ หรือ รางวัลสุดยอดผู้ประกอบการหญิงแห่งปีจากลาซาด้า 2564 ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ในวันสตรีสากล เพื่อยกย่องศักยภาพผู้ประกอบการหญิง 6 ราย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บุกเบิกแนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ ที่แสดงถึงการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และนำนวัตกรรมมาปรับใช้ตลอดเส้นทางการดำเนินธุรกิจในฐานะผู้ประกอบการ รางวัลดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเป็นการฉลองให้แก่ความสำเร็จและเป้าหมายสำคัญของผู้ประกอบการหญิงในภูมิภาค ที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคและความท้าทายต่างๆ ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว ชุมชน สังคมและวัฒนธรรม โดยรางวัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ รางวัลสุดยอดผู้ประกอบการไอเดียสร้างสรรค์ (Creative Seller Award) รางวัลสุดยอดผู้ประกอบการดีเด่น (Enterprising Seller Award) และรางวัลสุดยอดผู้ประกอบการที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring Seller Award) โดยผู้ประกอบการหญิงที่ได้รับรางวัลทั้ง 6 คนนี้ มีความโดดเด่นในการนำวิธีการที่หลากหลายมาใช้เพื่อก้าวข้ามผ่านอุปสรรคความท้าทายต่างๆ

Read More