Home > 2020 (Page 24)

“เกียรติธนาขนส่ง” รุกธุรกิจเต็มสูบหลังวิกฤติโควิด ผนึกการรถไฟ เปิดจุดยุทธศาสตร์ขนส่งภาคอีสาน

“เกียรติธนาขนส่ง” รุกธุรกิจเต็มสูบหลังวิกฤติโควิด ผนึกการรถไฟฯ เปิดจุดยุทธศาสตร์ขนส่งภาคอีสาน ทุ่มงบกว่า 100 ล้าน ขยายธุรกิจสู่ราง เข้าใช้สถานีขนถ่ายสินค้า เล็งสยายปีกเจาะตลาดใหม่ดึงขนส่งทางรถไฟ กลยุทธ์ใหม่เพื่อชิงเม็ดเงินจากตลาดขนส่งรถบรรทุก พร้อม ดึง “วีนิไทย” ประเดิมเส้นทางโคราช-มาบตาพุด มั่นใจรายได้เติบโตทะลุเป้า 15% “เกียรติธนา”ลุยธุรกิจเชิงรุกเต็บสูบหลังวิกฤติโควิด เปิดความร่วมมือกับการรถไฟฯ เข้าใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่สถานีบ้านกระโดน ทุ่มทุนกว่า 100 ล้าน รับแผนยุทธศาสตร์ขนส่งสินค้าทางราง โครงการรถไฟรางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น เชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมขนส่งภาคอีสานและเส้นทางระหว่างประเทศ นำร่องดึง “วีนิไทย” เปลี่ยนโหมด สู่ระบบราง ขนส่งวัตถุดิบเข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดโดยตรง เล็งปีนี้รายได้รวมโตทะลุเป้า 15% หลังไตรมาสแรกลุยปั๊มแล้ว 247 ล้าน เร่งขยายเส้นทางใหม่ ลูกค้าแห่ติดต่อใช้บริการ มินตรา มนต์เสรีนุสรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกียรติธนาขนส่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเร่งเดินหน้าธุรกิจเชิงรุก หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มผ่อนคลาย โดยล่าสุด บริษัทประกาศความพร้อมเปิดความร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)

Read More

ระเฑียร ศรีมงคล เร่ง Re-engineering องค์กร นำ KTC ฝ่าวิกฤต

“วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 อาจจะหนักที่สุดในรุ่นอายุของเรา และที่สำคัญมันทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตเปลี่ยนไปอย่างถาวร” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา ถึงการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและซึมลึกจนหลายฝ่ายมองว่าแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้อาจจะกลายเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก หลายธุรกิจที่ไม่สามารถทนต่อบาดแผลทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ ต้องประกาศล้มละลายหรือปิดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังอยู่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรนิวไฮมาได้ต่อเนื่องถึง 7 ปีซ้อน แต่วิกฤตโควิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ต้องเร่ง Re-engineering องค์กร หากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤต โดยบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องเตรียมรับมือกับโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการแพร่ระบาดของไวรัสและการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ลดลง ยอดการใช้บัตรในเดือนเมษายน 2563 ลดลงถึง 40% โดยกระทบทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจด้าน

Read More

ระบายสี ละลายความเครียดสะสม

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นบนโลก ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่กำลังซื้ออ่อนแรงลงเป็นทุนเดิม และยังถูกกระหน่ำซ้ำเติมจากระลอกคลื่นแห่งความโชคร้ายที่พัดพาเอาเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามาสร้างรอยแผลให้ลึกลงไปจากจุดเดิม นี่ยังไม่นับรวมปัญหาอื่นๆ ที่รายล้อมเข้ามาดั่งพายุลูกแล้วลูกเล่า ซึ่งยังไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ ปัญหาความอยุติธรรมในสังคม การประท้วงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในกลุ่มต่างๆ ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลล้วนนำมาซึ่งความเครียดที่ค่อยๆ แทรกซึมและหยั่งรากลึกลงไปในระบบความนึกคิด ความรู้สึก และแปรสภาพเป็นอาการที่แสดงออกมาทางกายภาพ ซ้ำร้ายกว่านั้น คือ เราได้ถ่ายทอดความตึงเครียดไปสู่ผู้คนในครอบครัวโดยที่เราไม่อาจรู้ตัว อาการที่บ่งชี้ว่า เราอยู่ในภาวะความเครียด ได้แก่ อาการที่แสดงออกทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น ยังมีอาการที่แสดงออกทางด้านจิตใจ เช่น สมาธิสั้น ความจำไม่ดี การตัดสินใจช้าลง วิตกกังวล อาการที่แสดงออกทางด้านอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่ายขึ้น ร้องไห้ มองโลกในแง่ร้าย ซึมเศร้า อาการที่แสดงออกทางด้านพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารจุบจิบ หรือรับประทานอาหารมากขึ้น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์ เมื่อเรามีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นหวัด หรือมีไข้ เราสามารถดูแลรักษาสุขภาพให้หายจากไข้หวัดได้ ด้วยการใช้ยาบรรเทาอาการ ออกกำลังกาย และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ความเครียดที่เกิดขึ้น

Read More

การล่มสลายของธุรกิจไทย เปราะบาง-อิงต่างชาติมากเกินไป?

การประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีไทยในปี 2563 ที่อาจติดลบถึง 9 เปอร์เซ็นต์ เสมือนเป็นการยอมรับโดยดุษณีว่า เศรษฐกิจไทยยังไร้กำลังฟื้นตัว และวิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลเสียต่อระบบหนักกว่าเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจในหลายสถาบันต่างมองหาความเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวไปในรูปแบบใด ระหว่างรูปแบบตัว V รูปแบบตัว U หรือรูปแบบตัว L ซึ่งตัวแปรที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไม่ใช่อาศัยจังหวะที่เอื้ออำนวยอันนำมาซึ่งกำลังซื้อที่แข็งแรงขึ้นหรือนโยบายจากภาครัฐที่จะผลักดันให้อุปสงค์เพิ่มกำลังขึ้นเท่านั้น แค่เพียงนโยบายอุดหนุนจากรัฐบาลที่มุ่งหวังให้มีกระแสเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนในชาติด้วยกันเอง ดูจะไม่เพียงพอเสียแล้ว เมื่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการล้วนแต่ใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งดูจะเป็นการ์ดที่มีไว้ป้องกันตัวเอง เพราะสถานการณ์ในหลายด้านยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด ไม่ว่าจะจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สงครามการค้ารอบใหม่ที่เริ่มร้อนแรงขึ้น หรือเหตุการณ์โศกนาฏกรรมคร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก หลังจากมาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมทั้งนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ประชาชนยังใช้สิทธิไม่มากอย่างที่หวังไว้ สัดส่วนการเข้าใช้สิทธิ์ที่เกิดขึ้นเพียงกระผีกลิ้นจากโครงการดังกล่าว เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์ของกำลังซื้อภายในประเทศ และการระมัดระวังในการจับจ่ายของประชาชนมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อภาคเอกชนต่างเรียกร้องให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ด้วยหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนเข้ามายังสายใยของธุรกิจที่แบกความหวังอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่นับถอยหลังสู่การล่มสลาย เมื่อมองไม่เห็นสัญญาณในทางบวกที่พอจะไปต่อได้ นั่นอาจเป็นเพราะโครงสร้างของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยเกาะติดและยึดโยงกับรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เวลานี้อาจดูเป็นเรื่องยาก หากผู้ประกอบการไทยจะมองหาตลาดใหม่เข้ามาทดแทนตลาดเดิม เมื่อหลายประเทศคู่ค้ายังประสบกับสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ต่างกัน วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ สร้างผลกระทบให้แก่ธุรกิจทุกขนาด และทุกแวดวง โดยเฉพาะธุรกิจ SME ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อ

Read More

บ้านปูฯ ชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติเลือดขาดแคลนจากโควิด-19

บ้านปูฯ ชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิต ฝ่าวิกฤติเลือดขาดแคลนจากโควิด-19 ร่วมผลิตหน้ากาก “Mask for Blood Hero” ในโครงการ Plus One เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต แจกฮีโร่ผู้บริจาคกว่า 400,000 ชิ้นทั่วประเทศ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงัก เช่นเดียวกับการบริจาคโลหิตที่มียอดผู้บริจาคลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทว่าความต้องการในการใช้โลหิตเพื่อรักษาผู้ป่วยไม่ได้ลดลงเลย บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นวิกฤติดังกล่าว จึงร่วมมือกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนหน้ากาก “Mask for Blood Hero” ในโครงการ Plus One เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต สานต่อความตั้งใจแน่วแน่ในการร่วมดูแลสังคมไทยอย่างดีที่สุดทั้งในเวลาปกติและในภาวะวิกฤติ โดยบริษัทและไทยวาโก้ จัดสรรงบประมาณ 20 ล้านบาท สมทบโครงการฯ สำหรับผลิตหน้ากากอนามัย “Mask

Read More

แอน จักรพงษ์ เปิด JKN Shopping ดัน C-TRIA ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พร้อมนั่งแท่นพรีเซนเตอร์

แอน จักรพงษ์ เปิด JKN Shopping ดัน C-TRIA ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวสวยเด้ง พร้อมนั่งแท่นพรีเซนเตอร์ เปิดตัวครั้งแรกยอดสั่งซื้อถล่มทลาย! แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ที่ล่าสุดเปิดตัวธุรกิจใหม่ “JKN Shopping” ดันผลิตภัณฑ์ความงามตัวแรกที่จะช่วยให้คุณผิวขาวกระจ่างใสเห็นผลได้ใน 1-2 สัปดาห์ จากการทดลองและพิสูจน์ด้วยตัวแม่แอนเองมาแล้วกว่า 1 ปี ของไม่ดี แม่แอนไม่ขาย ในชื่อว่า C-TRIA (ซี - เทรีย) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จะช่วยเปล่งประกายให้เป็นคุณคนใหม่กับผิวสุขภาพดี สูตรลับฉบับนางพญาของแม่แอน พร้อมคืนความนุ่ม ชุ่มชื้น คืนความอ่อนเยาว์ให้ผิวพรรณภายใน 1 เดือน ด้วยแผนการตลาดออนไลน์ที่จะมี โค-พรีเซนเตอร์ และ อินฟลูเอนเซอร์ มากมาย มาร่วมในโปรเจค JKN

Read More

ธุรกิจไทยยังทรุดหนัก ทุกสำนักปรับลด GDP ติดลบ

สถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยยังคงทรุดตัวหนักและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นคืนกลับมาได้โดยง่ายและในเร็ววัน และทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 2 อยู่ในภาวะที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่าทางเศรษฐกิจก็หดหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาทอีกด้วย ความพยายามที่จะกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมความหวังและเป็นจักรกลหนุนนำเศรษฐกิจไทยมาในช่วงก่อนหน้านี้กลายเป็นฝันสลายเมื่อแนวความคิดว่าด้วย Travel Bubble ที่เป็นการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศคู่เจรจาถูกพับฐานลงไปเมื่อจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละประเทศยังคงพุ่งทะยานขึ้นสูงและทำให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวต้องรอคอยให้ COVID-19 คลี่คลายไปมากกว่านี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมามักได้รับการประเมินว่าเป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลก หากแต่ในความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งสภาพเศรษฐกิจไทยที่ปรากฏขึ้นอยู่นี้เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการของรัฐที่ขาดความรอบคอบและการวางแผนเพื่อรับมือผลกระทบที่จะตามมาจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในกรณีดังกล่าวอยู่ที่ผลของมาตรการปิดเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรมและร้านอาหารค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจขนส่งและธุรกิจบันเทิงที่มีผลกระทบรวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้รับผลกระทบมากถึง 5 แสนล้านบาท ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่ดำเนินอยู่ก่อนหน้าโดยปราศจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลกระทบรวมกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท กรณีเช่นว่านี้ทำให้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ให้อยู่ในระดับติดลบร้อยละ -8.4 ถึงลบร้อยละ -11.4 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ท่ามกลางการส่งออกที่ติดลบร้อยละ 10.2 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะติดลบร้อยละ -8.8 ถึงร้อยละ -12.0 การลงทุนรวมติดลบร้อยละ -8 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ -5.4 ถึงร้อยละ -7.4 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวหายไปถึงร้อยละ 82.3 จากเดิมที่คาดว่าจะหายไปร้อยละ 74.3-78.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบร้อยละ

Read More

สมาคมกาแฟพิเศษไทย สร้างประวัติศาสตร์วงการกาแฟ จัดประมูลออนไลน์ “เมล็ดกาแฟไทย” ทำรายได้ยอดประมูลกว่า 3 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์

นับเป็นปรากฏการณ์หน้าใหม่ให้กับวงการกาแฟไทยอีกครั้ง เมื่อสมาคมกาแฟพิเศษไทย (SCATH) และ บริษัท คลาวด์แอนด์กราวนด์ จำกัด จัดการประมูล สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ของรายการประกวด Thailand Specialty Coffee Awards 2020 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของงาน Thailand Coffee Fest 2020 หลังจากเลื่อนการจัดงานออกไปด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การประมูลเกิดขึ้นในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรก และสร้างความสำเร็จที่เกินคาด โดยในส่วนของการจัดการประมูลสุดยอดเมล็ดกาแฟไทยในปีนี้เป็นไปอย่างดุเดือด และใช้เวลาไปกว่า 6 ชั่วโมง เนื่องจากมีผู้สนใจร่วมประมูลเป็นจำนวนมาก เมล็ดกาแฟที่มีมูลค่าการประมูลสูงสุดในปีนี้ อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 27,210 บาท คิดรวมเป็นมูลค่า 1,006,770 บาท และยังมีรายการอื่นๆ อีก 29 สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย ที่ทำให้ยอดการประมูลในปีนี้ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,407,329 บาท ถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์ของวงการกาแฟไทย สร้างความภาคภูมิใจให้กับเกษตรกรชาวสวนกาแฟเป็นอย่างมาก สำหรับการจัดประกวด สุดยอดเมล็ดกาแฟไทย 2020 (Thailand Specialty Coffee

Read More

“เอเชีย แค็บ” จับมือ “กลุ่มเดอะมอลล์” ส่ง “แค็บบ์” แท็กซี่มาตรฐานลอนดอน ให้บริการที่จุดจอดแท็กซี่ 7 แห่ง

ผศ.ดร.ศรายุทธ เรืองสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย แค็บ จำกัด ผู้ผลิตและดำเนินกิจการให้บริการรถแท็กซี่สาธารณะแบบครบวงจรที่แรก ภายใต้ชื่อ “CABB (แค็บบ์)” กล่าวว่า ขณะนี้ แค็บบ์อยู่ระหว่างการเตรียมการเพื่อเปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้ โดยจะแบ่งการบริการออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การจองรถล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชัน CABB หรือ คอลล์เซ็นเตอร์ 02-026-8888 และการให้บริการที่จุดจอดรถแท็กซี่ของห้างสรรพสินค้าที่เป็นพันธมิตรกับ เอเชีย แค็บ ซึ่งล่าสุด เอเชีย แค็บ ได้จับมือกับห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเดอะมอลล์เป็นรายแรก เพื่อนำแค็บบ์จำนวน 30 คัน ออกให้บริการลูกค้าของห้างสรรพสินค้าในกลุ่มเดอะมอลล์ 7 แห่ง ได้แก่ เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ เดอะมอลล์ สาขารามคำแหง ท่าพระ งามวงศ์วาน บางกะปิ และบางแค โดยสามารถใช้บริการได้ที่จุดจอดแท็กซี่วีไอพีของห้างในสาขาดังกล่าวตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป แค็บบ์ เป็นบริการแท็กซี่มาตรฐานใหม่

Read More

“เรียงช่อง” วุ่นไม่เลิก ทีวีดิจิตอล ดาวเทียม เคเบิล ต่างอ้างความเสียหาย หาข้อยุติไม่เจอ

กลายเป็นประเด็นร้อนที่ส่อเค้าสร้างความปั่นป่วนให้ผู้ชมทีวีและอุตสาหกรรม สืบเนื่องจากกรณีศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาประกาศ “เรียงช่อง” ปี 2558 ของ กสทช. ในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี เป็นคำสั่งไม่ชอบด้วยกฏหมาย ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะนัดไต่สวนในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ หากคำพิพากษาศาลปกครองกลางสูงสุดยืนตามศาลชั้นต้น จะส่งผลให้ลำดับช่องของดิจิตอลทีวีในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีเกิดความอลหม่านอีกครั้งทันที แม้คู่คดีฟ้องร้องศาลปกครอง คือ กสทช. กับโครงข่ายทีวีดาวเทียม,เคเบิลทีวี แต่ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือช่องทีวีดิจิตอล หมายเลขช่องที่ประมูลมาไร้ความหมาย ส่งผลกระทบสร้างความสับสนต่อผู้ชมจนหาช่องไม่เจอ และอาจมีการฟ้องร้องกันไปมาไม่จบเป็นมหากาพย์ เมื่อบ่ายวานนี้ 4 สิงหาคม ในประชุมกลุ่มย่อย (focus group) การกำหนดหมวดหมู่และจัดลำดับบริการโทรทัศน์ ครั้งที่ 2 ที่หอประชุม กสทช. จึงเกิดปรากฏการณ์แม่ทัพผู้บริหารช่องทีวีดิจิตอลทุกช่องรวมตัวแสดงพลังสนับสนุนแนวทางประกาศเรียงช่องฉบับใหม่ของ กสทช. นำทัพโดยสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมดิจอตอลทีวี, ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม GMM 25, ถกลเกียรติ วีรวรรณ One 31, สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ ช่อง33, วัชร

Read More