Home > 2019 (Page 36)

หนี้สาธารณะ ภาระหนักเศรษฐกิจไทย

ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย ที่ดูจะไม่มีวี่แววว่าจะมีทิศทางปรับตัวกระเตื้องขึ้นในเร็ววัน ตัวเลขหนี้สาธารณะของไทยกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายสะท้อนความกังวลใจ หากแต่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่กระทบเศรษฐกิจ เพราะเป็นภาระหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในโครงการขนาดใหญ่และช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว ท่วงทำนองแห่งความเชื่อมั่นในลักษณะดังกล่าว นำไปสู่ความเคลื่อนไหวล่าสุดว่าด้วยการปรับขึ้นหนี้สาธารณะในปี 2562 อีก 2.3 หมื่นล้านบาทในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขหนี้สาธารณะไทยไปอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.32 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 42.7 ขณะที่ตัวเลขหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561 อยู่ที่ระดับ 6.833 ล้านล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม ทั้งเงินกู้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงินลงทุน 3.2 หมื่นล้านบาท และโครงการที่ขอบรรจุเพิ่มเติมขออนุมัติเพิ่มเติมใหม่อีก 6 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 2.8 หมื่นล้านบาท

Read More

ทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 62 ความท้าทายหรือวิกฤต

นับตั้งแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้มาตรการ Loan-to-Value หรือ LTV ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมสินเชื่อบ้านหรือการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เพื่อหวังจะลดปัญหาฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มาตรการ LTV ที่แบงก์ชาติประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2562 นั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ปี 2561 มีผู้ประกอบการเปิดตัวคอนโดมิเนียมมากกว่า 60,000 หน่วย และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แบงก์ชาติใช้มาตรการนี้ เพราะครั้งที่เกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 แบงก์ชาติเคยใช้นโยบาย Macroprudential ซึ่งมีด้วยกัน 3 มาตรการ 1. กำหนดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน Loan-to-Value หรือ LTV ในภาคอสังหาฯ 2. มาตรการด้าน Debt-to-Income เพื่อกำหนดเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และ 3. มาตรการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มสำหรับธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks:D-SIBs) ในอดีตแบงก์ชาติเคยประกาศใช้มาตรการนี้มาแล้ว 4 ครั้ง คือ ในปี 2546 ปี 2552 ปี 2554 และปี

Read More

เงินบาทแข็งค่า ปัจจัยฉุดส่งออกทรุดตัว

อีกครั้งที่ “การส่งออก” ฟันเฟืองตัวสำคัญของเศรษฐกิจไทยถูกพูดถึงภายใต้นัยที่แสดงถึงความวิตกกังวล ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ทั้งในเรื่องของศักยภาพในการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลก เมื่อพิจารณาจากผลงานการส่งออกของไทยตลอดทั้งปี 2561 ที่มีอัตราการขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทว่าในบางเดือนพิษจากสงครามการค้ากลับส่งผลให้การส่งออกของไทยติดลบหลายครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า การส่งออกของไทยมีการขยายตัวต่ำกว่าหลายประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการส่งออกของไทย จะเห็นได้ว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางมีสัดส่วนสูงสุดในการส่งออกของไทยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานกับประเทศต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าไทย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการส่งออกสินค้าขั้นกลางของไทยเริ่มส่งสัญญาณการชะลอตัวและมีสัดส่วนลดลง ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายกลับสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การส่งออกสินค้าของเวียดนามและฟิลิปปินส์ขยายตัวได้ดีและเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและมีบทบาทที่ลดลงในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ไทยเสียโอกาสที่จะกอบโกยรายได้จากอุตสาหกรรมแนวนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เข้ามามีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานแทนที่ไทย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไทยไม่สามารถแข่งขันด้านค่าแรงได้ เป็นเหตุให้ไทยไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนให้มาลงทุนสร้างฐานการผลิตในไทยได้ และแม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าขั้นสุดท้ายมากขึ้น แต่ปัจจุบันสินค้าขั้นสุดท้ายที่ไทยผลิตส่วนมากมีมูลค่าเพิ่มไม่สูงนัก เพราะไทยยังไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่ต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงดังเช่นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประเด็นนี้ แม้ว่าภาครัฐกำลังเร่งเครื่องอย่างหนักที่จะผลักดันให้ไทยกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม 4.0 ที่เน้นเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นสำคัญ และแน่นอนว่ากว่าเป้าหมายที่ไทยตั้งไว้จะบรรลุ การส่งออกสินค้าขั้นกลางอาจถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมากพอสมควร เมื่อไทยยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ การแข็งค่าของเงินบาทสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ประกอบการไทยไม่น้อย โดยภาคเอกชนมองว่า แนวโน้มที่ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนี้จะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทย และต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาควบคุมดูแลให้อยู่ในภาวะที่สมดุล ทว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ มองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท มีสาเหตุหลักจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง เพราะปัจจัยในประเทศสหรัฐฯ เช่นการเมือง การปิดตัวของรัฐบาล หรือ Government

Read More

ดุสิตธานีเผยผลประกอบการปี 2561 กำไรสุทธิเติบโต 8.6% ปัจจัยหลักมาจากการเดินหน้าแสวงหาโอกาสลงทุน

ดุสิตธานีเผยผลประกอบการปี 2561 กำไรสุทธิเติบโต 8.6% ระบุปัจจัยหลักมาจากการเดินหน้าแสวงหาโอกาสลงทุน-สร้างความหลากหลายและกระจายความเสี่ยง ดุสิตธานีเผยผลประกอบการประจำปี 2561 รายได้รวม 5,565 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 290 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 267 ล้านบาท คิดเป็น 8.6% แม้ว่าจะขาดรายได้จากโรงแรมดุสิตปริ๊นเซส โคราช และยังมีรายจ่ายพิเศษจากการเตรียมปิดปรับปรุงโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ในช่วงต้นปี 2562 สะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จที่น่าพอใจของการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ธุรกิจ นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC เปิดเผยว่า ผลประกอบการของกลุ่มดุสิตธานีในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นที่น่าพอใจ โดยบริษัทฯ ยังมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ของโรงแรมดุสิตปริ๊นเซส โคราชที่ถูกขายออกไปในปี 2560 และยังมีรายจ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากการจ่ายเงินตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ เนื่องจากการปิดปรับปรุงโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ซึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้ดุสิตธานีมีกำไรเพิ่มขึ้นนั้น มีปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ธุรกิจทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย การขยายการเติบโต การกระจายความเสี่ยง

Read More

กลุ่มสังคมคนซื่อสัตย์ สร้างสรรค์ 3 คลิปสะท้อนความซื่อสัตย์คนไทย ร่วมปลูกจิตสำนึก “ความซื่อสัตย์” ให้สังคมไทย

กลุ่มสังคมคนซื่อสัตย์ สร้างสรรค์ 3 คลิปสะท้อนความซื่อสัตย์คนไทย “รู้จักความซื่อสัตย์ไหม - ใครเป็นคนซื่อสัตย์ - เก็บเงิน” ร่วมปลูกจิตสำนึก “ความซื่อสัตย์” ให้สังคมไทย “ความซื่อสัตย์” เป็นคำที่เราได้ยินกันมานาน ซึ่งส่วนใหญ่เด็กทุกคนจะได้รับการปลูกฝังเรื่องของความซื่อสัตย์จากผู้ใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความซื่อสัตย์อาจเป็นเพียงคำที่ผ่านหูเราไป โดยไม่ได้มีใครตระหนักถึงความสำคัญเท่าใดนัก ด้วยเหตุนี้ กลุ่มสังคมคนซื่อสัตย์ (Honest Society) จึงได้จัดโครงการ “ซื่อสัตย์ เพื่อชาติ” ที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างค่านิยมและปลูกจิตสำนึกเรื่องความซื่อสัตย์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มเยาวชน และกระตุ้นให้คนไทยกลับมาเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ โดยได้ผลิตคลิปวิดีโอออกมาจำนวน 3 เรื่องในขณะนี้ ได้แก่ เรื่องแรก “รู้จักความซื่อสัตย์ไหม” เป็นการตั้งคำถามกับเด็กเพื่อทดสอบว่ารู้จักและเข้าใจความหมายของคำว่าซื่อสัตย์มากน้อยเพียงใด เรื่องที่สอง “ใครเป็นคนซื่อสัตย์” เป็นการตั้งคำถามกับเด็กว่า ใครเป็นคนซื่อสัตย์ในสายตาของเขา โดยสัมภาษณ์เด็กอายุ 8-12 ปี จำนวนนับร้อยคนทั่วประเทศ แบบไม่มีคำตอบให้เลือก ซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจว่าเด็กไทยส่วนใหญ่รู้จักคำว่า “ความซื่อสัตย์” และกับคำถามที่ว่า ใครเป็นคนที่ซื่อสัตย์ที่สุด เด็กๆจะตอบว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 มากถึง 90% และล่าสุดคลิปเรื่องที่สาม

Read More

เป็นมิตรกับไขมันกันดีกว่า & กินมากไปทำไงดี

Column: Well – Being ที่พูดกันว่า ไขมันทำให้คุณอ้วนได้นั้น เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะไขมันให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน แต่ร่างกายของคุณจำเป็นต้องได้รับไขมันเพื่อทำหน้าที่ให้ได้ดีที่สุด และไขมันบางชนิดก็มีคุณสมบัติและคุณภาพดีกว่าชนิดอื่นๆ ในการช่วยค้ำจุนสุขภาพโดยรวมของคุณ การตรวจสอบปริมาณไขมันที่กินเข้าไปอย่างระมัดระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักตัว แต่การกินอะโวคาโดสักสองสามชิ้น เนยถั่วสักหนึ่งช้อนพูน หรือเหยาะน้ำมันมะกอกลงในสลัดสักหน่อย สามารถทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น หรือสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นด้วยซ้ำ และที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไขมันทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้นเสียด้วย หนังสือ Prevention Guide: Eat Clean กล่าวว่า หัวใจสำคัญอยู่ที่การเลือกกินไขมันให้ถูกชนิด เพราะไขมันที่มีอยู่ทั้งหมดไม่ได้ถูกผลิตขึ้นอย่างเท่าเทียมหรือเหมือนกัน แล้วคุณจะแยกแยะได้อย่างไรล่ะว่าไขมันชนิดไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดคือ นึกถึงไขมันในรูปของสัญญาณไฟจราจรนั่นเอง ไขมันบางชนิดจัดอยู่ในประเภทไฟเขียว บางชนิดเป็นไฟเหลือง และบางชนิดเป็นไฟแดง ไขมันประเภทไฟเขียว เป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fat) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fat) และกรดไขมันโอเมก้า–3 ซึ่งสามารถช่วยให้คุณลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้คงที่ ซึ่งช่วยลดอาการอยากอาหารขยะที่มีรสหวานได้ด้วย คุณแสวงหาไขมันประเภทไฟเขียวนี้ได้จากอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งอาหารประเภทธัญพืชเต็มเมล็ดด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่ น้ำมันมะกอก ผลมะกอก อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง และเนยถั่ว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

Read More

งานวิจัยเอคเซนเชอร์ระบุกิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบเดิม ตามไม่ทันแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาในตลาดซึ่งพลิกโลกประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้

งานวิจัยเอคเซนเชอร์ระบุกิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบเดิม ตามไม่ทันแบรนด์ใหม่ที่เข้ามาในตลาดซึ่งพลิกโลกประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ ดึงลูกค้าเข้ามาใกล้แบรนด์และพัฒนาประสบการณ์โดยเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ คือหัวใจแห่งการสร้างแต้มต่อการแข่งขัน งานวิจัยฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) ระบุว่า กิจการสาธารณูปโภคเพื่อรายย่อยแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ ยังตามหลังแบรนด์ใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาดรวมทั้งที่ข้ามมาจากอุตสาหกรรมอื่น ในเรื่องการสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมของลูกค้า ซึ่งในเวลาที่อุตสาหกรรมต้องปรับตัวขนานใหญ่ กิจการเหล่านี้ควรลงทุนสร้างประสบการณ์ที่น่าพึงใจแก่ลูกค้ามากขึ้น และสร้างความประทับใจได้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังจากทุกๆ ธุรกิจ (liquid expectation) รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยผู้บริโภคพลังงานรุ่นใหม่ (New Energy Consumer research program) ที่เอคเซนเชอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคราว 70,000 รายที่ใช้บริการธุรกิจ 36 แห่ง รวมทั้งอีก 6 แบรนด์ที่มีอิทธิพลเขย่าตลาดต่างๆ ทั่วโลก การศึกษานี้จัดทำโดยเอคเซนเชอร์ รีเสิร์ช (Accenture Research) ร่วมกับฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการออกแบบและนวัตกรรมของเอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอคทีฟ (Accenture Interactive) มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ลูกค้ารู้สึกอย่างไรกับประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจการเหล่านั้นในอุตสาหกรรมสาธารณูปโภค พร้อมทั้งวัดระดับความผูกพันกับแบรนด์ จากที่ได้ติดต่อสื่อสารกันทางกายภาพและผ่านช่องทางดิจิทัล สำหรับแบรนด์ใหม่ๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนั้น นับรวมถึงธนาคารสำหรับรายย่อย บริการโทรคมนาคมสำหรับครัวเรือน ธุรกิจประกันสำหรับรายย่อย

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ เสริมความแข็งแกร่ง ซื้อโรงไฟฟ้า โกลว์ เอสพีพี 1-ระยอง เพิ่มกำลังการผลิต ขยายโอกาสในพื้นที่มาบตาพุด

บี.กริม เพาเวอร์ เสริมความแข็งแกร่ง ซื้อโรงไฟฟ้า โกลว์ เอสพีพี 1-ระยอง เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีก 124 เมกะวัตต์ ขยายโอกาสในพื้นที่มาบตาพุด ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศ ได้เปิดเผยความสำเร็จการเข้าซื้อหุ้น 100% ของบริษัท โกลว์ เอสพีพี 1 จำกัด (Glow SPP1) ซึ่งดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า โกลว์ เอสพีพี 1 ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมโคเจนเนอเรชั่นมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 124 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 90 ตัน/ชั่วโมง น้ำปราศจากแร่ธาตุ 190 ลบ.ม./ชั่วโมง ในมูลค่าซื้อขายรวม 3,300 ล้านบาท

Read More

ไร้สัญญาณบวก! เศรษฐกิจไทยรอขยับหลังเลือกตั้ง

ภายใต้เงื่อนไขว่าด้วยกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันดำเนินไปอย่างไร้ปัจจัยบวก เพื่อมาเกื้อหนุนพลวัตให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง มิหนำซ้ำศักยภาพและแนวคิดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ก็ดูจะตีบแคบลงจนหัวหน้าคณะ คสช. ถึงกับต้องเอ่ยปากให้ประชาชนพึ่งพาตนเองและปรับตัวรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นี้เองด้วย แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าและบริการที่เติบโตต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวดีด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ กำลังซื้อภาคครัวเรือนมีการปรับตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดแรงงาน ความกังวลใจว่าด้วยทิศทางเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้ง นอกจากจะอยู่ที่รูปร่างหน้าตาของคณะรัฐบาลว่าจะมีการจัดตั้งภายใต้พรรคการเมืองใดเป็นแกนนำ และจะมีเสถียรภาพในการนำพานโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ก้าวหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องติดตามผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดมีขึ้นแล้ว บรรยากาศระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการเมืองไทยในระยะสั้น ปรับตัวดีขึ้นบ้าง และช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2562 ซึ่งสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะถัดจากนี้ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านๆ มา ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าในระหว่างที่มีการรณรงค์หาเลือกตั้ง จะมีเม็ดเงินสะพัดและสร้างความคึกคักให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 3-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งปริมาณเม็ดเงินที่หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการณ์ที่มีข้อสงวนในเงื่อนไขและเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามนอกเหนือจากสภาพการเมืองไทยหลังจากทราบผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีเสถียรภาพอย่างไรแล้ว ยังมีปัจจัยว่าด้วยเศรษฐกิจระดับมหภาคและสถานการณ์การค้าโลก ที่ดำเนินผ่านคู่ขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่กำลังกดทับให้เศรษฐกิจการค้าโลกมีแนวโน้มที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับข้อมูลขององค์กรการค้าโลก WTO ที่ระบุว่าสถานการณ์การค้าโลกในห้วงปัจจุบันตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) ก็กลายเป็นปัจจัยลบที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจระดับโลก ท่ามกลางปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่ดำเนินอยู่รอบด้าน ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

Read More

ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ความหวังในการแก้ปัญหา PM2.5?

ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ดูเหมือนจะลดน้อยลงหลังจากที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งทำให้สถานการณ์ของฝุ่นพิษทยอยจางไปกับสายลมและการรับรู้ของสาธารณชน หากแต่ประสบการณ์ของฝุ่นพิษที่เกิดซ้ำและเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายของแต่ละปี ทำให้หลายฝ่ายพยายามชี้ให้เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมิได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามฤดูกาลเท่านั้น และยังมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย ความเป็นไปด้านหนึ่งในมิติที่ว่านี้ ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการกล่าวถึงเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในฐานะที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาและพยุงสถานะของคุณภาพอากาศให้ปลอดจากฝุ่นพิษ ควบคู่กับการยกระดับมาตรฐานไอเสียไปสู่ Euro 5 ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ในระยะยาว ประเด็นปัญหาทั้งในกรณีของรถยนต์ไฟฟ้าและมาตรฐานไอเสีย Euro 5 อยู่ที่มาตรการในการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกลไกและระเบียบพิธีในหน่วยราชการไทยหลายแห่งโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานไอเสียตั้งแต่ Euro 5 รวมถึงมาตรการส่งเสริมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กรณีดังกล่าวทำให้ความเคลื่อนไหวของกรมสรรพสามิตได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะการศึกษาเพื่อลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ให้เหลือร้อยละ 0 ในฐานะที่เป็นมาตรการหนึ่งในการลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน โดยในปัจจุบันมีผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศจำนวน 15 รายอยู่ในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์อีวีอยู่ที่ร้อยละ 2 ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car ในประเทศไทยยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามประชาสัมพันธ์ว่าอยากส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นในไทย เพื่อประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี แต่ดูแหมือนที่ผ่านมาจะขาดนโยบายและมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมที่เด่นชัดออกมา ขณะที่ราคารถยนต์ไฟฟ้าในท้องตลาดประเทศไทยยังมีราคาค่อนข้างสูง เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2 ล้านบาทต่อคัน เนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนรถยนต์ประเภทนี้ยังมีราคาแพง คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ

Read More