Home > 2018 (Page 28)

กวิน ว่องกุศลกิจ อองเทอเพรอนัวส์ยุค 4.0

กวิน ว่องกุศลกิจ ใช้เวลาเกือบ 10 ปีบุกเบิกธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซในยุคที่หลายคนในวงการยังไม่รู้จัก จนล่าสุดลงทุนกว่า 600 ล้านบาท ผุด “โกลว์ฟิช ออฟฟิศ” รูปแบบใหม่ “ไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ” สาขาล่าสุดย่านสาทร ที่รวมทั้งบริการเซอร์วิสออฟฟิศและธุรกิจไลฟ์สไตล์รีเทลเข้าด้วยกันเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ที่สำคัญ โมเดลของโกลว์ฟิชเป็นไอเดียการทำธุรกิจที่กวินย้ำว่า ต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ และสะท้อนแพสชั่นการทำธุรกิจของเขาตั้งแต่เริ่มต้นครั้งแรก เป้าหมายไม่ใช่การหารายได้กำไรเพียงอย่างเดียว แต่สามารถยืนอยู่ได้และต้องการเติบโตไปด้วยกันในกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ตั้งแต่กลุ่มฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ และอองเทอเพรอนัวส์ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัว “ผมอยากสร้างโกลว์ฟิชให้เป็นธุรกิจฮีโร่ตัวหนึ่งของเมืองไทย...” กวินกล่าวกับ “ผู้จัดการ360องศา” กวินเล่าว่า เขาพยายามสร้างโกลว์ฟิชให้มีความแตกต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ เน้นการสร้างระบบนิเวศการทำงาน หรือ Ecosystem ให้เป็นพื้นที่ทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนที่มี 3 องค์ประกอบ คือ Work, Play and Grow Work คือ การทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานมีผลผลิตมากขึ้น Play คือ การออกแบบสถานที่ทำงานให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงาน ซึ่งไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นกิมมิกเท่านั้น ส่วน Grow เป็นการสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการเติบโตในธุรกิจของพันธมิตรผู้เข้ามาใช้บริการ ทั้งหมดจะช่วยให้ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาไปอย่างเข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจเติบโตแบบออร์แกนิก

Read More

โกลว์ฟิชดันไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ ฉีกคู่แข่ง อสังหาฯ-รีเทล

โคเวิร์กกิ้งสเปซหรือออฟฟิศสเปซในไทยกลายเป็นตลาด “Red Ocean” ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับคู่แข่งขันยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะการแห่เข้ามาบุกตลาดของบรรดาบริษัทข้ามชาติ แย่งชิงพื้นที่ทำเลทองใจกลางธุรกิจ เพื่อเจาะความต้องการของกลุ่มสตาร์ทอัพและคนทำงานฟรีแลนซ์รุ่นใหม่ กำลังซื้อสูง ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ “เจแอลแอล” ระบุว่า ผู้ประกอบการโคเวิร์กกิ้งสเปซหลายราย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกกำลังเร่งหาโอกาสเข้ามาเปิดธุรกิจในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มีแผนเข้ามาลงทุนเต็มรูปแบบ โดยต้องการพื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ระหว่าง 1,000-3,000 ตารางเมตรในอาคารสำนักงานเกรดเอตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน เฉพาะช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เจเอลแอลได้เป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายใหญ่ในการเช่าพื้นที่สำนักงาน เพื่อเตรียมเปิดโคเวิร์กกิ้งสเปซ พื้นที่ 5,000 ตร.ม. และอยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ เจรจาสัญญาเช่าให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 15,000 ตร.ม. ส่วนใหญ่ต้องการเช่าพื้นที่ขนาดประมาณ 3,000 ตร.ม. ต่อแห่ง ขณะที่บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) สำรวจข้อมูลพบว่า เจ้าของโครงการอาคารสำนักงานหลายรายที่มีแนวคิดก้าวหน้าเริ่มวางนโยบายบริหารพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นให้แก่ผู้เช่า ทั้งการมีโคเวิร์กกิ้งสเปซของตนเองและการมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นผู้เช่าในอาคาร เพื่อเติมเต็มความต้องการและไลฟ์สไตล์คนทำงานฟรีแลนซ์ โดยคาดการณ์ปี 2561 จะมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซจากต่างชาติเข้ามาเปิดให้บริการพื้นที่มากถึง 18,000 ตร.ม. ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติที่ออกมาประกาศแผนรุกตลาดชัดเจน เช่น บริษัท สเปซเซส

Read More

กลโกงสมบัติปิกัสโซ

Column: From Paris เห็นผลงานของปาโปล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) เมื่อไปเที่ยววัลโลริส (Vallauris) เมืองเล็กๆ ทางใต้ของฝรั่งเศส ความพิเศษอยู่ที่ปาโบล ปิกัสโซเคยมาใช้ชีวิตที่เมืองนี้ และเขียนภาพฝาผนังให้โบสถ์ด้วย ชื่อ La guerre et la paix สงครามและสันติภาพ ปาโบล ปิกัสโซมีผู้หญิงหลายคนในชีวิต คือโอลกา โคคลอฟวา (Olga Khokhlova) มีลูกชื่อ Paolo ต่อมา Marie-Thérèse Walter มีลูกนอกสมรสชื่อ Maya ส่วนฟรองซ็วส จีโลต์ (Françoise Gilot) มีลูกนอกสมรส 2 คนคือ โคล้ด (Claude) และปาโลมา (Paloma) และสมรสกับฌาคเกอลีน รอค (Jacqueline Roque) ดังนั้นเมื่อปาโบล ปิกัสโซถึงแก่กรรมในปี 1973

Read More

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์

ความเป็นไปของงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 ซึ่งปิดฉากลงไปแล้ว อาจเป็นดัชนีชี้วัดประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันได้พอสมควร หากแต่ในภาพที่กว้างออกไป ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติทุกการเคลื่อนไหว” ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะนอกจากค่ายรถยนต์แต่ละรายจะนำเสนอยนตรกรรมรุ่นใหม่ๆ ที่ประกอบส่วนด้วยนวัตกรรมและการออกแบบที่ล้ำหน้าไปในแต่ละปีแล้ว ประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองก็คือการมาถึงของรถยนต์พลังงานกึ่งไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า ที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนผ่านทั้งในมิติของการเป็นผู้นำตลาด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตอีกด้วย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความพยายามว่าด้วยการส่งเสริมการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ได้รับการกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ หากแต่ดูเหมือนว่ารูปธรรมที่ชัดเจนทั้งในมิติของนโยบายหรือมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตกลับยังโดดเด่นให้จับต้องได้มากนัก กระทั่งพัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นเริ่มปรากฏภาพที่แจ่มชัดขึ้น เมื่อผู้ประกอบการหลายรายต่างทยอยเปิดตัวเทคโนโลยีและรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและกึ่งไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในห้วงเวลาปัจจุบัน การปรับตัวของผู้ประกอบการยานยนต์เข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐไทยที่พยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับแผนพัฒนาในโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้ไหลบ่าเข้ามาช่วยดูดซับภาวะเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แรงส่งจากนโยบายดังกล่าวดูจะได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการพอสมควร เมื่อไมเคิล เกรเว่ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า นโยบายว่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทั้งในส่วนของการสนับสนุนการผลิตและการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภค จัดได้ว่าดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในห้วงเวลาปัจจุบัน และทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ตัดสินใจเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งตรงกับแนวทางของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วโลกที่วางแผนในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ ก่อนหน้านี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้ดำเนินการรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV ในหลากหลายรุ่น และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ กำลังดำเนินการปรับปรุงแผนการผลิตของโรงงานใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชนิดปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

Read More

คาร์ดิโอ vs เวท เทรนนิ่ง

Column: Well – Being การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเคยถูกมองว่าเป็นมาตรฐานระดับทองคำในการลดน้ำหนักตัว ซึ่งอาจใช้เวลานานและบางครั้งอาจน่าเบื่อบ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำเมื่อต้องการลดน้ำหนัก แต่เมื่อทำกันบ่อยครั้งเข้า มันก็ค่อนข้างซับซ้อนพอควร นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังกายจึงตระหนักว่า ยังมีอีกวิธีหนึ่งในการช่วยลดน้ำหนัก นั่นคือ การทำเวท เทรนนิ่ง หรือการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (resistance training) ที่พวกเขาค้นพบว่า มีประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมันหรือลดน้ำหนักได้ ถ้าไม่มากกว่าก็พอๆ กัน นักวิจัยพบว่า เวท เทรนนิ่ง (โดยพื้นฐานแล้วเป็นการออกกำลังกายอะไรก็ได้ที่ใช้น้ำหนักตัวของคุณเป็นเหมือนดัมบ์เบลล์หรือลูกน้ำหนัก) ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อไร้ไขมันได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ระบบเผาผลาญของคุณทำงานได้เร็วขึ้น และเผาผลาญพลังงานได้มากกว่า ยิ่งกว่านั้น ยังช่วยคงระบบเผาผลาญที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย หมายความว่า เมื่อเสร็จสิ้นการออกกำลังกายแล้ว คุณยังเผาผลาญพลังงานได้ต่อเนื่องไปอีกนาน แม้เมื่อขณะคุณกำลังนอนด้วยซ้ำ นิตยสาร GoodHealth รายงานว่า ปัจจุบันมีการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนว่า ระหว่างการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอกับเวท เทรนนิ่ง วิธีไหนจะดีกว่ากันในเมื่อทั้ง 2 วิธีต่างก็ช่วยกำจัดไขมันและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมเหมือนกัน เอ็มมา เบรก ผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังกายโดยรวมและนักกำหนดอาหาร กล่าวว่า เริ่มแรกเราจำเป็นต้องชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังพยายามทำเสียก่อน “เมื่อเราพูดเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก สิ่งที่เราหมายถึงจริงๆ คือ ไขมันในร่างกาย” เอ็มมา ผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมฟิตเนสมานาน 10 ปี

Read More

นักอ่านตื่นกระแส หนังสือแนวประวัติศาสตร์ขายดี

ปิดฉากไปแล้วสำหรับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 (46th National Book Fair and 16th Bangkok International Book Fair 2018) พร้อมๆ กับคำนิยามที่บ่งบอกถึงปรากฏการณ์ทางสังคมว่า “เกินคาด” ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทั่วโลก สร้างความวิตกกังวลไม่น้อยกับผู้คนที่อยู่ในวงการหนังสือ โดยเฉพาะในสังคมไทย ว่าจะทำอย่างไรให้หนังสือเล่มสามารถยืนหยัดอยู่ใน “สังคมก้มหน้า” แห่งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง แน่นอนว่าหลายสำนักพิมพ์เริ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพัฒนาด้วยการหยิบจับเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดในธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมานิยมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น กระนั้น หนังสือเล่ม หนังสือกระดาษ ก็ยังเป็นที่ชื่นชอบและยังได้รับความสนใจจากนักอ่าน โดยหลายคนให้เหตุผลว่า “การได้สัมผัสหน้ากระดาษทำให้การอ่านได้อรรถรสมากกว่า” แม้ว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง จะมีบรรยากาศไม่แตกต่างไปจากปีก่อนๆ มากนัก หากแต่ปีนี้กลับมี “ปรากฏการณ์” ใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ “หนังสือแนวประวัติศาสตร์” ได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักอ่าน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์มาจากกระแสละคร “บุพเพสันนิวาส” ซึ่งละครเรื่องนี้ก็ส่งผลให้นวนิยายเล่มนี้ของรอมแพง ตีพิมพ์ซ้ำกว่า 70 ครั้ง โดยสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายว่า “น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ในงานสัปดาห์หนังสือฯ

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More

บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) การผนึกพลังครั้งใหญ่ของ “ฟีนิกซ์ประกันภัย” ผสานกำลัง “เจมาร์ท” ก้าวสู่เบอร์ 1 ด้าน InsurTech

บริษัท ฟีนิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน กางแผนรุกธุรกิจปีนี้ ประกาศรีแบรนด์ดิ้งครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี ในชื่อ บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดทัพรับแผนการตลาดเชิงรุกปี 61 สร้างผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่หลากหลาย และขยายฐานลูกค้า มุ่งสู่บริการดิจิทัล ตอกย้ำความแข็งแกร่งจากการผสานกำลัง “กลุ่มเจมาร์ท” ผู้นำในธุรกิจค้าปลีกและการเงินที่มีฐานลูกค้าทั่วประเทศ และก้าวสู่เบอร์ 1 ด้าน InsurTech อย่างสมบูรณ์แบบ นายเพียรไกร อัศวโภคา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เจพี ประกันภัยเกิดจากการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ฟีนิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และกลุ่มเจมาร์ทที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 55 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการอัดเงินลงทุนกว่า 390 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ที่สำคัญจึงได้มีการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ของ

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ผนึกพันธมิตร ผุดโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 420 เมกะวัตต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. โดยจะสรุปลงนามสัญญาร่วมทุนภายในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี นาง ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยเพิ่มเติมกรณี รมว.พลังงานส่งสัญญาณไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปี ไม่ได้มีผลต่อบริษัทเนื่องจากโครงสร้างรายได้หลักมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประเภท SPP กว่า 2,200 เมกะวัตต์ จากโครงการทั้งหมดที่มีสัญญาแล้วทั้งสิ้น 2,518 เมกะวัตต์ และบริษัทมีโอกาสในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่นโครงการพลังงานน้ำในสปป. ลาว โครงการสายส่งในกัมพูชาและเวียดนาม และโครงการพลังงานทดแทนในฟิลิปปินส์

Read More

บทบาทของ NEDA กับเส้นทาง R12 และความคาดหวังที่ต้องแบก

ภารกิจของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) ในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน จุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดความจำเริญในด้านอื่นๆ ตามมา ตลอดระยะเวลา 13 ปี ดำเนินการไปแล้วกว่า 70 โครงการ ภาพจำที่หลายคนมีต่อเนด้า (NEDA) คือโครงการทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม กระนั้นผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวล้วนยังประโยชน์ให้หวนกลับมาสู่ประเทศไทยในรูปแบบคู่ขนาน ทว่าโครงการล่าสุดที่เนด้าต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบในครั้งนี้ เมื่อมองผิวเผินคงจะไม่ยี่หระนักสำหรับเนด้า และไม่แตกต่างจากเส้นทางคมนาคมเส้นทางอื่นที่เนด้าเคยเข้าไปรับผิดชอบในการพัฒนา หากแต่เส้นทางนี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบใหม่ของเนด้า เมื่อหลายฝ่ายให้ความสำคัญ เพราะเส้นทางดังกล่าวเสมือนอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ของไทยในการขับเคลื่อน Logistics ที่มีผลต่อการขยายหน้าสัมผัสให้สินค้าส่งออกของไทยมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ถนน R12 เส้นทาง R12 มีบทบาทสำคัญต่อโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งในอนุภูมิภาค โดยเส้นทางดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้เกิดการพิจารณาขยายขอบเขตข้อตกลงการขนส่งข้ามพรมแดน (Greater Mekong Sub-region Cross-Border Transport Agreement: CBTA) จากถนน R9 เส้นทางเดียว ให้ครอบคลุมเพิ่มเติมตั้งแต่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว

Read More