Home > 2017 (Page 6)

ศึกฟาสต์ฟู้ด แมค-เคเอฟซี เมื่อ “เมเจอร์” ต้องชน “ไทยเบฟ”

สมรภูมิฟาสต์ฟู้ดพลิกโฉมครั้งใหญ่และกลายเป็นสงครามกลุ่มทุนไทยเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะคู่แข่งตลอดกาลอย่าง “เคเอฟซี” และ “แมคโดนัลด์” เมื่อบริษัทไทยเบฟเวอเรจของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มทุนกว่า 11,300 ล้านบาท ซื้อกิจการร้านเคเอฟซี 240 แห่ง และร้านที่กำลังเปิดใหม่ในประเทศไทยจากบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสร้างเน็ตเวิร์กรุกขยายธุรกิจร้านอาหาร ขณะที่กิจการร้านแมคโดนัลด์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท แมคไทย จำกัด มี นายวิชา พูลวรลักษณ์ จากค่ายเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผู้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์ และกลุ่มพันธมิตร ถือหุ้นใหญ่กว่า 70% โดยกลุ่มนายวิชากระโดดซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นกลุ่มต่างประเทศเมื่อปี 2549 เคเอฟซีในฐานะแบรนด์ร้านอาหารจานด่วนอันดับหนึ่งในประเทศไทย โดยวัดจากส่วนแบ่งและจำนวนสาขา ยังมีผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์อีก 2 ราย คือ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (ซีอาร์จี) ในกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ของยัมฯ มายาวนานกว่า 30 ปี มีประสบการณ์ในธุรกิจอาหาร

Read More

สกว.หนุนสมาร์ทฟาร์มมิ่ง สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

วัฏจักรของปัญหาว่าด้วยผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาด คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ราคาตกต่ำ แต่ในขณะที่บางช่วงผลผลิตที่ได้กลับไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตร อันเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่พยายามคิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ตลาดผลไม้ได้ทำความรู้จักกับมะม่วงสายพันธุ์ใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันให้กับตลาด ในชื่อ “มะม่วงมหาชนก” มะม่วงพันธุ์เฉพาะของไทย ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซทของอเมริกากับพันธุ์หนังกลางวันของไทย จนได้มะม่วงที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากมะม่วงในท้องตลาด มะม่วงมหาชนกมีลักษณะผลกลมยาว ปลายงอน ผลใหญ่ กลิ่นหอมมีเอกลักษณ์ ผลเมื่อสุกมีสีแดงสวยงาม รสชาติหวานหอม เนื้อไม่เละ เป็นที่ต้องการของทั้งผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ และเป็นผลไม้ที่มีอนาคตไกลสำหรับการส่งออก ในขณะนั้นปริมาณการส่งออกมะม่วงมหาชนกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งแบบผลสุกและแปรรูป ระยะต่อมาความนิยมในมะม่วงมหาชนกกลับลดลง เหตุเพราะพบปัญหาสีของผลที่สุกแล้วกลับไม่เป็นสีแดงอันเป็นเอกลักษณ์ของมะม่วงมหาชนก เหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้ผู้บริโภคลดความนิยมลง ทั้งที่เป็นมะม่วงที่ปลูกง่าย ให้ผลเร็ว ทนต่อโรคและแมลง ให้ผลตอบแทนต่อต้นสูง และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่การศึกษาวิจัย “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีแดงและปริมาณสารสกัดแอนโทไซยานินอันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในมะม่วงมหาชนก” ของ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงมหาชนก อันจะนำไปสู่การต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จากการวิจัยพบว่า

Read More

ธุรกิจพลังงาน: ทางเลือกเพื่อทดแทนหรือกระแสทุน?

ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นว่าด้วยการขยายตัวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนของบรรษัทใหญ่น้อย ทั้งที่เป็นธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการรุกคืบเข้ามาขยายธุรกิจของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อแสวงหาช่องทางรายได้ใหม่ในอนาคต หลังจากที่ธุรกิจเดิมเริ่มส่อเค้าว่ากำลังเดินทางเข้าสู่หนทางตัน กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อยเลย ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้กำหนดแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP: 2015 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015) ซึ่งนับเป็นกรอบโครงในการพัฒนาพลังงานที่มีระยะยาวถึง 20 ปี ภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล ควบคู่กับการกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนตามแผน AEDP 6 ประเด็น ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง การปรับมาตรการจูงใจสำหรับการลงทุนจากภาคเอกชนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งการพัฒนาสู่ระบบ Smart Grid การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจต่อประชาชน การส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแบบครบวงจร หากแต่เป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตาม AEDP: 2015 กลับมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 20

Read More

บ้านปูจับธุรกิจปลายน้ำ เดินหมากด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ความแข็งแกร่งของบริษัทบ้านปูดูจะเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติไม่น้อย ด้วยชื่อชั้นการเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านพลังงานจากถ่านหิน น่าจะสามารถเรียกได้ว่าเป็นมือวางอันดับต้นๆ ในแวดวงธุรกิจพลังงาน กระนั้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา การเปิดตัวบริษัทลูกที่ถือว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการธุรกิจพลังงานอย่างบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร “ถ้าเปรียบบริษัทบ้านปู เป็นเหมือนลูกชาย บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี ก็เป็นเหมือนลูกสาว” สมฤดี ชัยมงคล กรรมการบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด กล่าวในพิธีเปิด แม้ว่านัยหนึ่งของการเบนเข็มธุรกิจของบ้านปูมาให้ความสำคัญในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น จะสอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล ที่มีแผนว่าจะพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยแผนดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2558-2579 (Alternative Energy Development plan: AEDP 2015) ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ตั้งเป้าเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนโดยรวมของประเทศจาก 13.9 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน เป็น 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2579 กระนั้นอีกนัยหนึ่งที่น่าขบคิดว่า นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี นั่นเพราะการขาดทุนสูงถึง 1,534 ล้านบาท ในปี 2558

Read More

มองสัมพันธ์ จีน-อินเดีย ผ่าน BRICS Summit

การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจได้รับการประเมินจากผู้นำและสื่อบางประเทศว่ามีความสำคัญในฐานะที่ได้เข้าร่วมในการประชุมประเทศคู่สนทนาระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Dialogue between Emerging Market Economies and Developing Countries : EMDCD) หากแต่ภายใต้กรอบโครงที่ใหญ่กว่านั้น BRICS Summit กำลังเป็นเวทีที่สองมหาอำนาจในเอเชีย ทั้งจีนและอินเดีย ต่างสำแดงพลัง และสร้างสมดุลใหม่ให้เกิดขึ้น แม้ว่า BRICS จะประกอบส่วนด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ แต่ความสนใจหลักจากการประชุมในครั้งนี้ ดูจะพุ่งประเด็นหลักไปที่บทบาทของจีนในการประกาศยุทธศาสตร์เชิงรุกผ่านกลไกของ EMDCD และท่าทีของจีนต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่มีต่ออินเดีย มหาอำนาจอีกรายหนึ่งที่กำลังแสดงพลังคัดง้างบทบาทของจีนอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ร่วมในกรอบความร่วมมือ BRICS ด้วยกันก็ตาม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนและแข่งขันการมีบทบาทของจีนและอินเดียในเวทีเศรษฐกิจการเมืองโลกไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หากมีประวัติศาสตร์และพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่อาจเรียกได้ว่าทั้งรักทั้งชัง ที่ดำเนินไปด้วยความร่วมมือและขัดแย้งอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนริเริ่มยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2013 ซึ่งต่อมาได้รับการขนานนามในฐานะ The One

Read More

ดีลิเวอรี่แข่งเดือด “ซูเปอร์สโตร์-ตลาดสด” เปิดศึก

แม้มูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทยยังเติบโตไม่ถึง 15% ต่อปี และมีมูลค่าอย่างเป็นทางการราว 50,000 ล้านบาท หรือแค่ 1-2% ของมูลค่าค้าปลีกรวม แต่คาดการณ์อีก 3-5 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นถึงขั้นก้าวกระโดดหลายเท่าตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมและการเดินหน้านโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ของรัฐบาล เฉพาะ 1-2 ปีนี้ หากสำรวจตลาดสินค้าออนไลน์พบว่า สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง และสินค้าอุปโภคบริโภคยังได้รับความนิยมสูงสุดบนช่องทางออนไลน์ แต่เทรนด์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น คือ สินค้าประเภทอาหารสดและอาหารพร้อมรับประทานกำลังกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจาก LINE ประเทศไทย เจ้าของบริการ “ไลน์ แมน” (LINE MAN) สะท้อนให้เห็นชัดเจน เพราะบริการ 4 ประเภทของไลน์แมน คือ บริการสั่งซื้ออาหาร (Food Delivery) บริการรับ-ส่งสิ่งของ (Messenger) บริการสั่งสินค้าผ่านร้านสะดวกซื้อ (Convenience Goods) และบริการรับส่งสิ่งของผ่านไปรษณีย์ (Postal)

Read More

“เทสโก้” ดิ้นปรับโฉม ดัน “ไฟน์เนส” เจาะพรีเมียม

“เทสโก้ โลตัส” ประกาศปรับภาพลักษณ์แผนกอาหารสดครั้งใหญ่ โดยจะประเดิมสาขาไฮเปอร์มาร์เกต สุขุมวิท 50 เผยโฉม “นิวลุค” แห่งแรกเป็นต้นแบบในวันที่ 7 กันยายนนี้ ก่อนขยายไปยังสาขาอื่นๆ ด้วย 2 จุดขายหลัก คือ เน้นความพรีเมียมและกลุ่มสินค้านำเข้า ความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่ซูเปอร์สโตร์ครั้งนี้ส่งสัญญาณความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายฐานลูกค้ากลุ่มกำลังซื้อสูง เพื่อกระจายความเสี่ยงจากพิษเศรษฐกิจที่ยังเจอปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงไม่หยุดและในภาวะสงครามการแข่งขันอย่างรุนแรง ลด แลก แจก แถม แม้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้ แต่กลายเป็นโปรโมชั่นไม่ต่างจากคู่แข่งและยิ่งกดดันเรื่องการทำรายได้ ที่สำคัญ การทุ่มงบจัดแคมเปญตัดราคาสินค้ากลับไม่ได้กระตุ้นความถี่หรือยอดจับจ่ายต่อบิลสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะระดับล่างถึงกลางเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความถี่ เลือกซื้อเฉพาะสินค้าจำเป็น จำนวนน้อยชิ้นและขนาดเล็กลงไปด้วย ข้อมูลล่าสุดจากบริษัท กันตาร์ เวิล์ดพาแนล (ไทยแลนด์) หรือ KWP บริษัทวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคในเชิงลึก ระบุผลวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อเพื่อใช้ในบ้านและไลฟ์สไตล์การบริโภคนอกบ้าน โดยใช้ฐานผู้บริโภคตัวอย่างกว่า 4,000 กลุ่มครัวเรือนทั่วประเทศในช่วงครึ่งปีแรก พบว่า ผู้บริโภคชะลอจับจ่ายต่ำสุดในรอบ 10 ปี และคนไทยไม่มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจเลย เนื่องจากเกิดปัจจัยลบหลายอย่าง ทั้งผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ ปัญหาการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรยังตกต่ำ

Read More

ตรวจแนวรบคอนวีเนียนสโตร์ สมรภูมิชนช้างชิงพื้นที่

ล่าสุด เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ออกมาย้ำอีกครั้งถึงความร่วมมือกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในการขยายร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ต่อไปตามสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟพาร์ตเนอร์อีก 6 ปี โดยยังคงใช้รูปแบบการเติบโตไปด้วยกันและตั้งเป้าจะขยายครบ 1,700 แห่ง จากปัจจุบันมีทั้งสิ้นประมาณ 1,100 แห่ง แต่เรื่องอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงได้ และช่วงปลายปี 2560 บอร์ด ปตท. จะพิจารณาแผนการลงทุนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งรวมถึงธุรกิจนอนออยล์ พร้อมๆ กับการเร่งแยกธุรกิจค้าปลีกเป็นบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (PTTOR) โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตาม พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) เร่งโอนทรัพย์สินให้ PTTOR ก่อนวันที่ 1 ธ.ค. 2560 เพื่อนำ PTTOR เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

Read More

Iskandar Malaysia จากระเบียงเศรษฐกิจสู่การปิดล้อม

ความพยายามในการกระตุ้นพัฒนาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคจะวันออกของมาเลเซีย (East Coast Economic Region: ECER) ที่ดำเนินการผ่านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงรูปธรรมครั้งใหม่ที่ดำเนินผ่าน East Coast Rail Link (ECRL) อภิมหาโครงการที่มีมูลค่ากว่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่งทำพิธีวางศิลาฤกษ์ไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ดูเหมือนว่ามาเลเซียได้ประกาศตัวที่จะคัดง้างบทบาทของสิงคโปร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากวันที่ 9 สิงหาคมจะถือเป็นวันชาติสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่ย้อนหลังกลับไปในปี 1965 หากแต่ในอีกมิติหนึ่งวันที่ 9 สิงหาคมในส่วนของมาเลเซีย ถือเป็นวันแห่งการขับไล่สิงคโปร์ หลังจากที่รัฐสภาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซียลงมติขับสิงคโปร์ออกจากการเป็นสมาชิกในสหพันธรัฐ และทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศเอกราชเกิดใหม่ขึ้นมา ความสัมพันธ์ที่ขมขื่นแบบทั้งรักทั้งชัง และความพยายามช่วงชิงบทบาทนำในภูมิภาคระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่ฝังรากลึกอยู่ภายใน และเมื่อรัฐเกิดใหม่อย่างสิงคโปร์สามารถระดมสรรพกำลังในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไกลกว่าสหพันธรัฐที่เป็นฝ่ายขับไล่ออกมา ยิ่งเป็นประหนึ่งแรงขับที่ผลักดันให้ผู้นำมาเลเซีย พยายามวางโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม เพื่อก้าวข้ามภาพหลอนแห่งความสำเร็จที่สิงคโปร์ได้รับยิ่งขึ้นไปอีก จุดเปลี่ยนผ่านในเชิงนโยบายเศรษฐกิจครั้งสำคัญของมาเลเซียในการไล่ตามความสำเร็จของสิงคโปร์เกิดขึ้นเมื่อ Abdullah Ahmad Badawi ก้าวขึ้นเป็นผู้นำมาเลเซียด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของมาเลเซียในเดือนตุลาคม 2003 ต่อจาก Mahathir Mohamad ที่นำพาประเทศมาต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษ

Read More

จังหวะก้าว PTTRM ฝันไว้ไกลแต่ยังไปไม่ถึง

การประกาศความพร้อมที่จะถือธงนำในการรุกคืบเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีกในสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้แบรนด์ ปตท.-จิฟฟี่ โดยผู้บริหารของ PTTRM หรือ ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความคลุมเครือในความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท. กับคู่ค้าที่แนบแน่นอย่าง CP ALL ซึ่งเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ขึ้นมาในทันที ก่อนที่ผู้บริหารในระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทแม่เหนือ PTTRM ต้องออกมาชี้แจงว่ายังคงร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ 7-11 ต่อไป แต่ประเด็นแห่งปัญหาว่าเพราะเหตุใด ข้อความที่สื่อสารโดยเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของบริษัทในเครือ ปตท. จึงมีความคลาดเคลื่อนและแตกต่างกันในนัยความได้มากขนาดนั้น ประเด็นหลักที่สื่อมวลชนหลายสำนักต่างระบุโดยอ้างคำกล่าวของจิราพร ขาวสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด (PTTRM) อยู่ที่การพิจารณาว่า ปตท. จะต่อสัญญากับ 7-11 ที่มีอยู่กว่า 1 พันแห่งในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ต่อไป หรือจะให้จิฟฟี่เข้ามาบริหารจัดการแทน ที่นำไปสู่ประเด็นพาดหัวข่าวในทิศทางเดียวกันว่า ปตท. จ่อเลิกสัญญากับ

Read More