Home > 2017 (Page 3)

“ยูนิเซฟ” ชวนคุณร่วมทำบุญกับเซเลบด้วยการบริจาค “ตะกร้าแห่งความหวัง”

มาร่วมกันเปลี่ยนเทศกาลปีใหม่นี้ให้มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากกว่าครั้งไหน ร่วมกับเหล่าเซเลบแถวหน้าของเมืองไทย อาทิ คุณใหม่ ดาวิกา คุณพีช พชร คุณวู้ดดี้ วุฒิธร และคุณนานา ไรบีนา ในโครงการ Basket of Hope ตะกร้าแห่งความหวัง ของขวัญที่ช่วยให้เด็ก ๆ มีโอกาสรอดชีวิตจากสาเหตุอันเลวร้ายมากมายที่พวกเขากำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น ความอดอยาก ความหนาวเย็น และโรคภัยต่าง ๆ ที่คร่าชีวิตพวกเขาได้ทุกนาที โดยทุก ๆ หนึ่งนาทีมีเด็ก 11 คนต้องเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะสาเหตุจากความขาดแคลนปัจจัยสำคัญเพื่อการอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นอาหารบำบัดฉุกเฉิน ผ้าห่ม วัคซีน และยารักษาโรค เพื่อใช้ป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุทั้งหมดนี้ “เราสามารถช่วยปกป้องพวกเขาได้” ยูนิเซฟจึงอยากใช้เทศกาลแห่งความสุขนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะสามารถมอบของขวัญที่ช่วยเด็ก ๆ ให้มีโอกาสรอดชีวิต ด้วยการร่วมบริจาคตะกร้าแห่งความหวัง โดยตะกร้าแต่ละใบจะบรรจุของขวัญที่แตกต่างกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็ก ๆ จากหลากหลายสาเหตุ ในราคาเพียงตะกร้าละ 999 บาท ซึ่งเป้าหมายในปีนี้คือ 1,699 ตะกร้า

Read More

ฟุตบอลฟีเวอร์ “บูม” ไม่หยุด “สาธิต-อินเตอร์” ผุดคอมเพล็กซ์

ภาพการแข่งขัน “ศึกฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 28” ของ 4 โรงเรียนดัง สวนกุหลาบ กรุงเทพคริสเตียน อัสสัมชัญ และเทพศิรินทร์ ที่เหล่ากองเชียร์แห่เข้าชมล้นอัฒจันทร์สนามศุภชลาศัย สะท้อนกระแสฟุตบอลฟีเวอร์ที่ยังร้อนแรงไม่หยุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี รวมถึงเหล่าแข้งจิ๋วตั้งแต่อายุ 6 ขวบที่บรรดาผู้ปกครองต่างพุ่งเป้าปลุกปั้นลูก เพื่อหวังเป็นซูเปอร์สตาร์ในอนาคต เมื่อ “นักฟุตบอล” กลายเป็นกีฬาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้สูงถึงหลักแสนบาทต่อเดือน ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน จากเดิมมีเพียงโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาชื่อดังที่เปิดโควตานักกีฬาฟุตบอล คัดเลือกเด็กจบประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเด็กที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับทุนเรียนฟรีและอยู่ประจำ “กิน-นอน” ไม่ต่างจากอะคาเดมีระดับประเทศ ปัจจุบันพบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาแทบทุกแห่งหันมาเปิดโควตานักกีฬาฟุตบอล เพื่อสร้างทีมนักเตะตั้งแต่อายุ 12-18 ปี ไม่เว้นแม้กระทั่งโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติชื่อดัง เป็นจุดขายดึงดูดผู้ปกครอง นอกเหนือจากความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน จิรวรรณ ชัยรุ่งเรือง รองผู้จัดการโรงเรียนสาธิตกรุงเทพธนบุรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ขยายการเรียนการสอนเปิดโรงเรียนสาธิตกรุงเทพธนบุรีเมื่อเดือนเมษายน 2560 เพื่อเป็นต้นแบบของโรงเรียนยุคใหม่ ภายใต้หลักสูตรสาธิตตามแบบกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มเติมภาษาที่สองและสาม คือ ภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล (อายุ 2

Read More

กิมจิช่วยลดอาการซึมเศร้า

Column: Well – Being รสชาติของกิมจิที่ทั้งเผ็ดร้อน เค็ม เปรี้ยว และกรอบ เป็นผลจากการหมักพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักกาดขาวกับผักกวางตุ้ง ผสมผสานกับหัวไชเท้า พริกป่นเกาหลี กระเทียม และขิง กิมจิได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดของเกาหลี โดยมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปจนถึงศตวรรษที่ 12 เมื่อชาวเกาหลีพัฒนาระบบการนำผักมาหมักเกลือเพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้บริโภคในฤดูหนาว ทุกฤดูใบไม้ร่วง ทุกครอบครัวจะมารวมตัวกันเพื่อทำกิมจังซึ่งเป็นประเพณีการเตรียมทำกิมจิร่วมกัน ขณะที่กิมจิที่วางขายอยู่ตามร้านอาหารเพื่อสุขภาพและตู้แช่ในซูเปอร์มาร์เก็ตนั้น โดยทั่วไปมักทำจากกะหล่ำปลีเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ในเกาหลีเองมีกิมจิแตกต่างกันมากกว่า 100 ชนิด ที่ทำจากส่วนประกอบอันหลากหลายตามสภาพท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาคและแต่ละฤดูกาล เช่น ปา–กิมจิ (ทำจากต้นหอม) บริโภคในฤดูใบไม้ผลิ ส่วนออยโซบากิ (แตงกวา) บริโภคในฤดูร้อน วอมบ็อกในฤดูใบไม้ร่วง และดงชิมิในฤดูหนาว ถือกันว่ากิมจิออร์แกนิกที่มีคุณภาพดีเป็นเครื่องเคียงที่สมบูรณ์แบบสำหรับอาหารทุกมื้อที่มีต้นกำเนิดจากเอเชีย นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่ากิมจิคือคำจำกัดความของอาหารที่กินแล้วสนุกปาก ยังมีอีกเหตุผลสำคัญของการเพิ่มอาหารหมักรสชาติถูกปากนี้เป็นเครื่องเคียงในจานอาหารของคุณ พลังของอาหารดิบ นับจากโบราณกาล วัฒนธรรมดั้งเดิมได้รวมเอาอาหารหมักดองที่มีความดิบและไม่ผ่านความร้อนลงไปในมื้ออาหารของคนโบราณด้วย เพราะอาหารเหล่านี้มีสรรพคุณทางยาที่ให้ผลอย่างชะงัด กระบวนการหมักเป็นการเพิ่มคุณสมบัติทางชีวภาพของสารอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น ดังนั้น อาหารหมักจึงมีสารอาหารเข้มข้นกว่าผักดิบชนิดเดียวกัน นอกจากนี้ กิมจิซึ่งเป็นอาหารหมักตามธรรมชาติและดิบ ยังมีกรดแลคติกและจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ยังมีชีวิต เช่น แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ผลการวิจัยระบุว่า การกินอาหารหมักในปริมาณที่มากพอ เป็นหนทางในการช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียชนิดดีในระบบทางเดินอาหารของคุณได้ การมีแบคทีเรียดังกล่าวอยู่ในร่างกายในปริมาณมากพอจึงมีความสำคัญมาก เพราะระบบทางเดินอาหารเป็นแหล่งกำเนิดของระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุดของร่างกายเรา

Read More

ชาลี โสภณพนิช แผน “ซิตี้แคมปัส” รุกโปรเจกต์มิกซ์ยูส

การทุ่มเม็ดเงิน 2,600 ล้านบาท ขยายโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ แคมปัสแห่งใหม่ เนื้อที่ 15 ไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนพระราม 9 ของนักลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่าง “ชาลี โสภณพนิช” เป้าหมายไม่ใช่แค่การสานอุดมการณ์การสร้างโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจสร้างโปรเจกต์มิกซ์ยูสในเนื้อที่อีกหลายสิบไร่ หลังประสบความสำเร็จกับการบุกเบิกโรงเรียนโชรส์เบอรี ริเวอร์ไซด์ แห่งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน จนกลายเป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญของโครงการต่างๆ ในย่านเจริญกรุง ชาลี ในฐานะผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด ยืนยันว่า เขาไม่ได้คาดหวังรายได้และกำไรจากตัวโรงเรียน โดยประเมินจะถึงจุดคุ้มทุนภายใน 5-10 ปี จากจำนวนนักเรียนประมาณ 640 คน อัตราค่าเล่าเรียนเริ่มต้น 640,000 บาทต่อปี แต่โชรส์เบอรีจะเป็นหมุดสำคัญที่ดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาหมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ภายใต้แผนก่อสร้างโครงการ “มิกซ์ยูส” เนื้อที่อีก 30 ไร่ ตามแผนเบื้องต้น บริษัทเตรียมเงินลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท

Read More

ทุนใหญ่แห่ยึด รร.นานาชาติ “โสภณพนิช” ดัน “โชรส์เบอรี” บุกจีน

บรรดาทุนใหญ่ เศรษฐีตระกูลดัง แห่กระโดดเข้าสู่สมรภูมิธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีนักเรียน 30,000-40,000 คน และมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุดจากจำนวนใบจองที่นั่ง “Waiting List” ในโรงเรียนอินเตอร์ชื่อดังอีกนับร้อยรายชื่อในแต่ละแห่ง แม้ค่าเล่าเรียนจะสูงกว่า 500,000-600,000 บาทต่อปี บางแห่งสูงเฉียดล้านบาทต่อปีก็ตาม ประมาณกันอีกว่า แม้ก่อนหน้านี้ โรงเรียนนานาชาติหลายแห่งยอมถอดใจ เลิกกิจการ เพราะไม่สามารถแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ล่าสุดยังมีโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมากถึง 200 โรง และเชื่อว่าจะเปิดเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ผู้ปกครองต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของโรงเรียนทั่วไป ชาลี โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ กล่าวว่า ตลาดโรงเรียนนานาชาติยังมีการเติบโต แม้มีผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ปกครองเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะเห็นชัดเจน เมื่อมีโรงเรียนนานาชาติระดับกลางหลายแห่งเลิกลงทุน เพราะปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพการเรียนการสอน หลักสูตร ครูอาจารย์ และชื่อเสียงของโรงเรียนแม่จากต่างประเทศ ชาลีเปรียบเทียบกับ “โชรส์เบอรี” ซึ่งกลุ่มโสภณพนิช ตัดสินใจร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี ประเทศอังกฤษ ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000

Read More

หอการค้าเปิดแผนหนุนภาครัฐ ท่องเที่ยวคือกุญแจสำคัญ

ดูเหมือนว่า “ไตรมาสสุดท้ายของปี” จะเป็นตัวเร่งเร้าสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายต้องระดมสรรพสมองเพื่อขบคิดและสรรหานโยบายรังสรรค์แผนการสำหรับการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และ “การท่องเที่ยว” กลายเป็นเครื่องจักรตัวสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อมีการคาดการณ์รายได้รวมจากการท่องเที่ยวปี 2560 อยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท โดยประมาณ ตัวเลขรายได้ของการท่องเที่ยว ที่แม้จะเป็นเพียงประมาณการรายได้ทั้งปี หากแต่ด้วยตัวเลขที่สูงเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายภาคส่วนยังมุ่งเน้นที่จะสร้างสรรค์แคมเปญที่มีความเกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยวอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ประเดิมแคมเปญใหม่ในช่วงสิ้นปีภายใต้กรอบโครงความคิดที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เมื่อการมุ่งเน้นที่จะขายวัฒนธรรมท้องถิ่นดูจะเป็นจุดขายหลักที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการเปิดปีท่องเที่ยววิถีไทยอย่างเป็นทางการในชื่องาน “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ Amazing Thailand Tourism Year 2018 ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 นอกจากนี้ฟากฝั่งของหอการค้าไทยเอง ที่มีการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในช่วงวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2560 นั้น ประเด็นสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ดูจะมุ่งเน้นไปให้ถึงผลลัพธ์ของการเติบโตของตัวเลขจีดีพีโดยรวมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “Executing Trade & Service 4.0: เติบโตทั่วถึง แบบไทยเท่”

Read More

AEC 2025 ก้าวย่างที่ท้าทายของอาเซียน

การประชุมหารือของคณะรัฐมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 15 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 31 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นการหารือครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เมื่อปี 2015 กำลังเป็นภาพสะท้อนความคืบหน้าและจังหวะก้าวของ ASEAN ที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะการหารือดังกล่าวในด้านหนึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) ซึ่งที่ประชุม AEC Council ได้รับรองแผนงานรายสาขา (Sectoral Work Plans) จนครบถ้วนทั้ง 23 แผนงาน โดย 3 แผนงานสุดท้ายที่ได้รับรองอยู่ที่แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนธุรกรรมทางการค้าลงร้อยละ 10 ภายในปี 2020 และเพิ่มมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเป็น 2 เท่า ภายในปี

Read More

สายการบินเร่งปรับตัว รับสมรภูมิเดือดบนฟากฟ้า

ธุรกิจการบินของไทย ดูจะเป็นธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวเป็นที่น่าจับตามองมากกลุ่มหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุเพราะการปรับเปลี่ยนและการรุกคืบของกลุ่มทุนใหม่ๆ เข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่มีความเข้มข้นนี้กำลังส่งผลต่อภูมิทัศน์และกรอบการดำเนินธุรกิจให้มีความวูบไหวอย่างมีนัยสำคัญ เพราะในขณะที่การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปองค์กรระยะที่ 3 ภายใต้แนวคิด “การเติบโตอย่างยั่งยืน” ยังคงบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/2560 ในระดับขาดทุนสุทธิ 5,208 ล้านบาท ขณะที่ในไตรมาส 3/2560 ยังบันทึกผลขาดทุนสุทธิอีกกว่า 1,800 ล้านบาท ความพยายามของการบินไทยในการพลิกฟื้นสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาแม้จะประสบความสำเร็จพอสมควร เมื่อปรากฏว่าอัตราการใช้ประโยชน์เครื่องบินต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระดับ 11.6 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ในไตรมาส 3 ของปี 2559 มาสู่ระดับ 12.1 ชั่วโมงต่อเครื่องต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK: Available Seat Kilometer) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 78.2 สูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 73.5 โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้นประมาณ 5.99-6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 แม้ว่าผลการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อยในไตรมาส 3/2560

Read More

ความรุนแรงในครอบครัวของคนผิวดำในประเทศอเมริกา

Column: Women in Wonderland ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาโดยตรงที่กระทบกับความมั่นคงทางการเมือง หรือการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ จึงทำให้หลายประเทศไม่เห็นว่าปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กนั้นเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข แต่หากเราได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างถี่ถ้วนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนทุกชนชั้น ทุกเชื้อชาติ และทุกวัฒนธรรม การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กถือเป็นการแสดงออกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของบางสังคมที่ยังคงมีบรรทัดฐานและความเชื่อในสังคมว่า ผู้หญิงมีฐานะที่ต่ำต้อยกว่าผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติจากผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น บรรทัดฐานและความเชื่อต่างๆ เหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ และยังคงถูกแสดงออกให้เห็นว่าผู้หญิงได้รับการเลือกปฏิบัติผ่านองค์กรทางสังคมและการเมืองต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งความเชื่อและบรรทัดฐานเหล่านี้ทำให้มีผู้หญิงและเด็กจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016–2017 องค์การสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยข้อมูลสถิติเรื่องการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กดังนี้ 7 ใน 10 ของผู้หญิงจากทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือ/และถูกใช้ความรุนแรงทางเพศอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต 1 ใน 3 ของผู้หญิงจากทั่วโลกถูกทำร้ายร่างกายหรือ/และถูกใช้ความรุนแรงทางเพศจากคนที่เป็นสามีหรือคนรู้จักอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต มีผู้หญิงถึง 603 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่การใช้ความรุนแรงในครอบครัวไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรม 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีแฟนถูกทำร้ายร่างกายหรือ/และถูกใช้ความรุนแรงทางเพศจากคนที่เป็นสามีหรือเป็นแฟนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต 38% ของผู้หญิงจากทั่วโลกที่ถูกฆาตกรรมโดยสามีของตัวเอง 1 ใน 4 ของผู้หญิงเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกใช้ความรุนแรงทางเพศระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงอายุระหว่าง 15–44 ปี มีความเสี่ยงสูงมากในการถูกข่มขืนและถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวมากกว่าที่จะเป็นมะเร็ง ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน สงคราม

Read More

ปิดฉากแบรนด์ PURE ยกปั๊มให้ ESSO สวมสิทธิ์

ข่าวความเคลื่อนไหวในแวดวงพลังงานไทยรอบล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวใดกระตุ้นความสนใจของผู้คนในแวดวงธุรกิจให้รู้สึกตื่นตาตื่นใจเท่ากับข่าวยุติการทำตลาดสถานีน้ำมันภายใต้แบรนด์ “PURE” จำนวน 49 แห่ง พร้อมกับการแปลงร่างสวมทับด้วยแบรนด์ “ESSO” เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุที่กรณีดังกล่าวได้รับความสนใจ เพราะทั้ง ESSO และ RPC ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด (PTEC) ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “PURE” ต่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำให้ข่าวที่ว่านี้กลายเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทไต่ระดับขึ้นสูงในการซื้อขายช่วงที่ผ่านมา แม้จะเป็นหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่อาจไม่มีนัยความหมายหรือสะท้อนสภาพความเป็นไปในเชิงโครงสร้างที่แท้จริงของตลาดหลักทรัพย์ไทยมากนัก แต่สำหรับนักลงทุนระยะสั้นหรือประเภทซื้อมาขายไปในวันเดียวในลักษณะ day trade ข่าวความเคลื่อนไหวเช่นว่านี้กลับกลายเป็นปัจจัยส่งเสริมที่กระตุ้นการซื้อขายและผลักดันราคาให้เห็นเป็นข่าวได้อย่างมีสีสัน ทั้งนี้ จากการแจ้งของ บมจ.อาร์พีซีจี (RPC) ที่ระบุว่า คณะกรรมการบริษัทที่อนุมัติให้บริษัท เพียวพลังงานไทย จำกัด (PTEC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจการค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมัน ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เพียว” ปรับเปลี่ยนการบริหารงานเป็นสถานีบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้า “เอสโซ่” เพื่อเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งทางธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต โดยได้ลงนามความร่วมมือระหว่างกันกับ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) เพื่อทำสัญญาซื้อขายน้ำมันและให้ใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้า “เอสโซ่” ซึ่งภายหลังจากนี้ สถานีบริการน้ำมันของ PTEC จำนวน 49

Read More