Home > Suporn Sae-tang (Page 58)

“สเตเดี้ยม วัน” ผุดสปอร์ตฮับ ฟื้นตำนานตลาดหลังสนามศุภฯ

การเปิดตัว “สเตเดี้ยม วัน (Stadium One)” บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ โดยตั้งเป้าพัฒนาโครงการเป็นคอมมูนิตี้มอลล์แนวใหม่ “สเตเดี้ยม ออฟ ไลฟ์” (Stadium of Life) ศูนย์รวมค้าปลีกกีฬาและไลฟ์สไตล์ของคนรักการออกกำลังกายครบวงจร ด้านหนึ่งถือเป็นความท้าทายของกลุ่มนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ในการบุกเบิกตลาดอสังหาริมทรัพย์ฉีกแนว แต่อีกด้านหนึ่ง สเตเดี้ยม วัน กำลังจะพลิกฟื้นตำนานตลาดสนามศุภชลาศัยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งภายใต้รูปแบบธุรกิจที่มีสีสันมากขึ้น ตามแผนเบื้องต้น สเตเดี้ยม วัน ซึ่งกำหนดจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2560 จะประกอบด้วย 3 โซนหลัก คือ โซนร้านค้าปลีก (Sport Retail) มีร้านค้าปลีก จำนวน 129 ร้าน พื้นที่ค้าปลีก 5,000 ตารางเมตร โซนอาคารกีฬาในร่ม (Active Lifestyle) พื้นที่ 5,600 ตร.ม. และลานอีเวนต์ (Event in Action)

Read More

บีแลนด์ เร่งจิ๊กซอว์ตัวใหม่ ดันโครงการยักษ์ “มิกซ์ยูส”

อนันต์ กาญจนพาสน์ หรือ “เสี่ยช้าง” ลูกชายคนโตของมงคล กาญจนพาสน์ กลับจากการทำธุรกิจในฮ่องกงมาลุยธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน โดยวางแผนตั้งแต่วันแรกจะก่อสร้างอภิมหาโครงการขนาดยักษ์ “เมืองทองธานี” บนถนนแจ้งวัฒนะ เนื้อที่กว่า 4,500 ไร่ วาดฝันให้เป็น “กรุงเทพฯ แห่งอนาคต” โครงการเมืองใหม่สมบูรณ์แบบรองรับประชาชนทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน แต่ใครจะเชื่อว่า บางกอกแลนด์ที่มาพร้อมเม็ดเงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาทและพกพาความมั่นอกมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยยุคนั้น ประกาศผุดโครงการคอนโดมิเนียมแบบติดจรวดกว่า 30,000 ยูนิต กลับกลายเป็น “เมืองร้าง” ไปทันทีหลังเจอวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มส่อเค้าตั้งแต่ปี 2536 จนบาดเจ็บสาหัสจากพิษ “ต้มยำกุ้ง” แต่ใครจะเชื่ออีกเช่นกันว่า อนันต์สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ งัดทุกกลยุทธ์เปลี่ยนจาก “เมืองคอนโดมิเนียม” สู่ “ศูนย์กีฬายักษ์ใหญ่” เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ก่อนผันจุดขายหลักขึ้นชั้นศูนย์แสดงสินค้าและจัดประชุมขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ปี 2555 อนันต์ประกาศอิสรภาพล้างหนี้หลายหมื่นล้านทั้งหมดและเปิดฉากรุกขยาย

Read More

บีแลนด์พลิกโฉมรีเทล เซ็นทรัลเจอศึกหนัก

หลังจากชิมลางรุกตลาดรีเทล เปิดตัว “บีไฮฟ์ ไลฟ์สไตล์” ในเมืองทองธานี ล่าสุด บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผนยกเครื่องโครงการค้าปลีกครั้งใหญ่ ผุดอีก 2 โปรเจกต์ “เดอะพอร์ทอล” และ “คอสโม บาซาร์” พลิกโฉมตลาดนัดและอัพเกรดร้านค้าทั้งหมดเข้าสู่อาคารหรูระดับไฮเอนด์ตามมาสเตอร์แพลนแผนสร้างเมืองที่ครบสมบูรณ์ที่สุด ด้านหนึ่งเปิดกลยุทธ์สร้างการจับจ่ายของประชากรกว่า 200,000 คน และกลุ่มไมซ์ (MICE) หรือกลุ่มประชุมสัมมนาที่เดินเข้าออกในเมืองทองธานีมากกว่า 10-15 ล้านคนต่อปี อีกด้านหนึ่งเร่งต่อยอดสู่โครงการมิกซ์ยูสริมทะเลสาบอีก 700 ไร่ ซึ่งถือเป็นที่ดิน “สันใน” ราคาแพงที่สุดในเมืองทองธานี ซึ่งเฉพาะแผนการลงทุนระยะสั้น 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2562 บางกอกแลนด์มีโครงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม โรงภาพยนตร์ และสวนน้ำ กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร

Read More

กุลวดี จินตวร 27 ปี สร้าง “เมืองทองธานี”

“เมืองทองธานีมาไกลมาก ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเมืองทองธานี ไม่มีอะไรเลย เป็นคนแรกๆ ที่มีโอกาสสร้างเมืองทองธานี ทำงานร่วมกับคุณอนันต์ (กาญจพาสน์) ยากลำบากมาก การสร้างเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย เราเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเจริญอย่างรวดเร็ว แม้มีสะดุดช่วงหนึ่งถูกหาว่าเป็นเมืองร้างและใช้เวลารีเทิร์นกลับมา มาวันนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามมาสเตอร์แพลน 100%” กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” ถึงอภิมหาโครงการ “เมืองทองธานี” บนที่ดินมากกว่า 4,500 ไร่ ที่ใช้เวลายาวนานถึง 27 ปี โดยเริ่มต้นทำงานกับอนันต์ตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูจนเจอวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งถือเป็นช่วงพีเรียดหนักหนาสาหัสที่สุด กุลวดี หรือ “คุณตุ้ม” รู้จักอนันต์ กาญจนพาสน์ เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่บริษัทสถาปนิกแห่งหนึ่งในฮ่องกง ขณะนั้นอนันต์กำลังมองหามืออาชีพด้านสถาปนิกเพื่อมาช่วยทำงานในโครงการเมืองทองธานี เวลานั้นกุลวดีมีทั้งประสบการณ์และความรู้ หลังจบปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ตัดสินใจไปเรียนโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่ฝรั่งเศส

Read More

สหพัฒน์ปลุก 20 ปี BSC พลิกบทเรียน “ต้มยำกุ้ง”

“เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเหมือนกำลังขับรถเกียร์ 3 เข้าสู่ขาขึ้นและใกล้เจอทางเรียบ ปีหน้าคาดว่าจะเป็นเกียร์ 4 คือเศรษฐกิจดี หากไม่มีอะไรมาสะดุดขาตัวเอง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยถือว่าดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน กำลังซื้อจากนี้ไปจะดีขึ้น เพราะสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งที่ผ่านมาคนไทยอยู่ในสถานการณ์โศกเศร้าเลยทำให้ไม่ค่อยซื้อสินค้า แต่สถานการณ์ซบเซามาปีกว่าแล้ว ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นหลังจากนี้" บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยด้วยความหวังและความมั่นใจ แม้ดูจะสวนทางกับบรรดานักวิเคราะห์และนักวิชาการที่ยังประเมินสถานการณ์ประเทศไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและต้องเผชิญกับปัจจัยลบอีกหลายตัว หลายคนหวาดกลัวกับภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาการส่งออก ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญ คือปัจจัยด้านการเมืองและความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง แน่นอนว่า เครือสหพัฒน์ผ่านวิกฤตหลายครั้ง โดยเฉพาะวิกฤตค่าเงินครั้งใหญ่ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540 ซึ่งบุณยสิทธิ์ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ แม้สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากเหมือนอดีต แต่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะปัญหากำลังซื้อหดตัว หากเปรียบเทียบปี 2540 มีปมใหญ่อยู่ที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจนแตะ 50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งโชคดีที่ธุรกิจของกลุ่มตระกูลโชควัฒนามีสัดส่วนการกู้เงินต่างประเทศจำนวนไม่มาก เพราะบริษัทในเครือเน้นนโยบายการทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง จึงไม่เกิดภาวะหนี้ท่วมเหมือนหลายๆ บริษัท แต่ผลกระทบในเวลานั้น คือกำลังซื้อของชาวบ้านลดลงอย่างหนัก เพราะสถานประกอบการหลายแห่งแบกรับหนี้ไม่ไหว ต้องปิดตัว เลิกจ้าง คนจำนวนมากไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน ในฐานะยักษ์ใหญ่สินค้าคอนซูเมอร์ บุณยสิทธิ์งัดกลยุทธ์จัดงาน “สหกรุ๊ป

Read More

พีเฟรชมาร์ท บุกจีสโตร์ สงคราม “มินิซูเปอร์” เดือด

“ซีพีเฟรชมาร์ท” เปิดฉากเดินหน้าขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากปรับโฉมงัดโมเดลล่าสุด “คอมแพ็กต์ซูเปอร์ (Compact Super)” ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดย่อมในชุมชนเข้ามาบุกตลาดและล่าสุดกระโดดเข้าสู่สมรภูมิ “จีสโตร์” ในสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งถือเป็นแนวรบที่มีคู่แข่งจับจองพื้นที่และต่อสู้อย่างดุเดือด ที่สำคัญ เมื่อค่ายยักษ์ใหญ่ คือ ซีพีเฟรชมาร์ทของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสของเทสโก้โลตัส มินิบิ๊กซีของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และน้องใหม่ “สพาร์ (SPAR)” ของบางจาก ประกาศอัดงบลงทุนปูพรมสาขาและสร้างจุดขายอย่างเข้มข้น เพื่อยึดส่วนแบ่งในช่องทางจีสโตร์ทำให้สงครามมินิซูเปอร์มาร์เก็ตร้อนฉ่าขึ้นทันที ทั้งนี้ แผนเบื้องต้นในปี 2560 บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” ตั้งเป้าขยายร้านซีพีเฟรชมาร์ทโมเดลใหม่ 100 สาขา และทยอยรีโนเวตสาขาเดิมจากปัจจุบันมีสาขารวมทั้งสิ้น 420 แห่ง ปรับโฉมเป็นสาขารูปแบบคอมแพ็กต์ซูเปอร์แล้ว 100 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในสถานีบริการน้ำมันแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ สาขาปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ นครอินทร์ ซึ่งปรับโฉมใหม่เพิ่ม Coffee Counter และโซน TO

Read More

ซีพี เปิดศึกอาหารสุขภาพ รุกตลาดเรดดี้มีลหมื่นล้าน

การเปิดตัวอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์ล่าสุด “สมาร์ทมีล (Smart Meal)” ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” สะท้อนเกมรุกธุรกิจอาหารขั้นต่อไปของเครือซีพีและย้ำชัดถึงวิสัยทัศน์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งกำลังต่อยอดผนึกแผนสร้าง “ครัวโลก” และ “ธุรกิจอาหารยุค 4.0” ภายใต้แนวคิด 3 สูง 1 ต่ำ คือเทคโนโลยีสูง ประสิทธิภาพสูง และการลงทุนสูง เพื่อนำมาสู่ต้นทุนที่ต่ำลง เทคโนโลยีสูง คือ มีผู้ช่วยหลัก “หุ่นยนต์” ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง ประสิทธิภาพสูง คือ การเร่งยกระดับทรัพยากรบุคคลในองค์กรทดแทนการใช้แรงงานและภายใต้สังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่ดีขึ้นจะทำให้องค์ความรู้เรื่องการผลิตอาหารดีมากขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดต้องอาศัยการลงทุนสูง ธนินท์ยังระบุผ่านสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “สิ่งที่ซีพีมองหลังจากนี้ คืออาหารในอนาคตที่มีความหลากหลาย และเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันมากขึ้น เป็นการผลิตอาหารสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทำให้คนเจ็บป่วยน้อยลง เน้นการป้องกันตัวเองมากกว่าการรักษา อาหารสุขภาพจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ คนเราอาจอยู่ได้ยืนยาวกว่า 100 ปี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซีพีกำลังเตรียมผลิตอาหารเพื่อคนสูงอายุและก้าวเข้าสู่ธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร” ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า

Read More

ปิดฉากยกแรก มหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์”

ในที่สุด ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องกรณีบริษัทเงินติดล้อ จำกัด หรือชื่อเดิม “บริษัทซีเอฟจี จำกัด” เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหา บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ เลียนแบบเครื่องหมายการค้าบริการคำว่า “ศรีสวัสดิ์” แต่ใช่ว่า มหากาพย์การช่วงชิงแบรนด์ที่กินเวลายาวนานหลายปีจะจบลงง่ายๆ เนื่องจากฝ่ายบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ จำกัด เตรียมหาแนวทางฟ้องกลับบริษัท เงินติดล้อ จำกัด เปิดสงครามรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดวงใจ แก้วบุตตา ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพยายามนำเสนอข่าวมาตลอดว่า บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ฯ มีพฤติกรรมลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าบริการ รวมทั้งมีข่าวออกมาเป็นระยะๆ จะรื้อถอน ปลดป้าย ของบริษัท ทำให้ลูกค้าและคนทั่วไปสับสน และบริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง “จากคำตัดสินของศาลพิสูจน์แล้ว เราไม่ผิด ไม่ได้มีพฤติกรรมที่สร้างความสับสนให้ผู้บริโภค เราสามารถใช้คำว่า ศรีสวัสดิ์ ได้ ซึ่งการถูกฟ้องและให้ข่าวฝ่ายเดียวของบริษัทเงินติดล้อ จำกัด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งบริษัทและรายบุคคลที่ถูกกล่าวหา รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเตรียมจะฟ้องกลับด้วย” ทั้งนี้ บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ฯ

Read More

เร่งเครื่อง Debt Clinic ภารกิจล้างหนี้แสนล้าน

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา งัดปฏิบัติการล้างหนี้นอกระบบและลดหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) โครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์) จนล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจกดปุ่มเริ่มงาน “คลินิกแก้หนี้ (Debt Clinic)” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด และหนี้ส่วนบุคคลของลูกหนี้ที่มีหนี้หลายทางและค้างชำระเกิน 3 เดือน หวังล้างหนี้ครั้งใหญ่ของลูกหนี้จำนวน 5 แสนราย มูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ตามแผนของ ธปท. “คลินิกแก้หนี้” มีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) หรือ บสส.ทำหน้าที่บริหารจัดการทั้งหมด หรือ “One Stop Service” เชื่อมโยงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคุณสมบัติลูกหนี้ที่ยื่นเข้าโครงการ เจรจาหารือ พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้-รับชำระหนี้ การติดตามรายงานผลต่อเจ้าหนี้ รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาความรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ

Read More

“SAWAD” พลิกสินเชื่อห้องแถว ลุย “สถาบันการเงินทางเลือก”

การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของ “กลุ่มศรีสวัสดิ์” ในรูปแบบโฮลดิ้งคอมปะนีและจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกระดับจากสินเชื่อห้องแถวหรือ “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เป็น “สถาบันการเงินทางเลือก” แบบครบวงจร สะท้อนการแข่งขันที่ร้อนแรงในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและมูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ธิดา แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบว่า ถ้าดูตัวเลขจำนวนรถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดกว่า 36 ล้านคัน แต่มีรถยนต์ที่ทำสัญญาเงินกู้กับเราแค่ 4 แสนกว่าคัน นั่นหมายถึงโอกาสการขยายตลาดอีกหลายเท่าตัว ทั้งนี้ ระยะเวลากว่า 38 ปี นับตั้งแต่ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน เริ่มจาก “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” ให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ ตั้งสำนักงานห้องแถวเจาะถึงกลุ่มลูกค้า อาศัยจุดขายเรื่องการจัดระบบการให้สินเชื่อ มีหลักฐานสัญญาชัดเจน และกลยุทธ์สำคัญ คือ เจรจาผ่อนผันการชำระได้ เพียงไม่กี่ปี ศรีสวัสดิ์เติบโตอย่างรวดเร็วและปูพรมสาขาทั่วประเทศ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่ผู้เล่นรายใหญ่และกลุ่มแบงก์พาณิชย์แห่เข้ามาช่วงชิงตลาด “สินเชื่อรถแลกเงิน” บวกกับเจอวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายครั้ง ทำให้ฉัตรชัยต้องปรับโครงสร้างธุรกิจหลายรอบ พร้อมๆ

Read More