Home > Suporn Sae-tang (Page 53)

เอ็นพีพีจี ดัน A&W-มิยาบิ รุกธุรกิจอาหารบุกตลาดจีน

“นิปปอนแพ็ค” ปรับโครงสร้างใหญ่อีกครั้งตั้งแต่หัวขบวน เมื่อบอร์ดบริษัทตัดสินใจดึงผู้บริหารหนุ่มวัยไม่ถึง 40 “ศุภจักร ไตรรัตโนภาส” อดีตที่ปรึกษาทางการเงินบริษัทยักษ์ใหญ่ International investor เข้ามานั่งตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร พร้อมเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ “เอ็นพีพีจี” ล้างภาพธุรกิจแพ็กเกจจิ้ง เพื่อลุยธุรกิจอาหารแบบครบวงจร 360 องศา โดยมีบิ๊กแบรนด์อยู่ในมือ ทั้ง A&W มิยาบิ มิสเตอร์โจนส์ และเตรียมเงินก้อนโตกว้านซื้อกิจการร้านอาหารเข้ามาเติมเต็มพอร์ตภายในปีนี้ อย่างน้อยอีก 4 แบรนด์ เป้าหมายใหม่นอกจากการเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน หรือ Quick Service Restaurants (QSR) ที่มีไลน์ร้านอาหารทั้งคาว-หวาน ทั้งฟาสต์ฟู้ด อาหารอินเตอร์ อาหารญี่ปุ่น อาหารไทย คือ การรุกตลาดทั้งในประเทศและเร่งขยายฐานสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะบลูโอเชียนอย่าง “จีน” ศุภจักร ไตรรัตโนภาส ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นพีพีจี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจประเภทอาหารสามารถสร้างอัตรากำไร (มาร์จิน) ที่ดีแบบก้าวกระโดด

Read More

อาลีบาบา-สยามเกตเวย์ ย้อนรอยเจาะตลาดจีน

ในขณะที่รัฐบาลไทยกำลังตื่นเต้นกับความร่วมมือหลายๆ ด้านกับอาลีบาบากรุ๊ป เว็บไซต์ค้าปลีก (B2C) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเข้าถึงผู้บริโภคกว่า 1,400 ล้านคน โดยเฉพาะการเปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ของ Tmall.com ในเครืออาลีบาบากรุ๊ป เพื่อนำร่องผลักดันผู้ประกอบการและผู้ส่งออกข้าวเข้าถึงตลาดซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ (e-Commerce) และเปิดตัวแคมเปญส่งเสริมการขายทุเรียนผ่านเว็บไซต์อย่างเต็มรูปแบบก่อนขยายไปยังผลไม้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมังคุด มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า บริษัทไทย 2 แห่ง เกิดบิ๊กไอเดียสร้างธุรกิจเทรดดิ้งที่ให้บริการผู้ประกอบการเจาะตลาดต่างประเทศภายใต้คอนเซ็ปต์บริการแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว ตั้งแต่การสนับสนุนด้านเงินทุน กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย เหมือน “ศูนย์กลางส่งออกสินค้าครบวงจร” ทั้ง online, offline, B2B, B2C และช่องทางร้านค้าปลอดภาษี การบริหารการส่งออก โดยตั้งเป้าหมายแรก คือ ตลาดจีนและวางแผนขยายครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี หนึ่งบริษัท คือ กลุ่ม ที.เอ.ซี.คอนซูเมอร์ ผู้ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และสินค้าไลฟ์สไตล์

Read More

เมเจอร์เดินหน้ากินรวบ งัดโรงหนังเด็กขยายฐาน

เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เดินหน้าเร่งปูพรมสาขาอย่างต่อเนื่อง และงัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบตามแผนการก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าปี 2020 หรือภายในปี พ.ศ. 2563 จะขยายเครือข่ายโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ครบ 1,000 โรง และเจาะยึดตลาดทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่เด็ก 5 ขวบจนถึงวัยเกษียณ ที่สำคัญ คือ การสร้างเมืองหนังและศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลกที่ดีที่สุด ทั้งรูปโฉม นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบการฉายภาพยนตร์ แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบคู่แข่งอย่าง “เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น” ของกลุ่มตระกูลทองร่มโพธิ์แล้ว การดำเนินธุรกิจของ “วิชา พูลวรลักษณ์” เน้นการหาพันธมิตรเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เพราะสามารถขยายฐานลูกค้าแบบ “ดับเบิ้ล” และ “วิน-วิน” ทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการดึงบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาร่วมเป็นเนมสปอนเซอร์ สร้างความแตกต่างของตัวโรงภาพยนตร์ เน้นความหรูหราและภาพลักษณ์ระดับพรีเมียม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอิออน กลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน เอไอเอส กลุ่มทรู อย่างสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ซึ่งเมเจอร์ฯ ดึงเข้ามาเป็นเนมสปอนเซอร์ เปิดโรงภาพยนตร์

Read More

แนวรบธุรกิจ รพ. แข่งเดือด ไทย-เทศ รุกเจาะอาเซียน

ธุรกิจโรงพยาบาลที่คาดการณ์กันว่ามีมูลค่าเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท ยังถือเป็นสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือดและต้องอาศัยกลยุทธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายรอบด้าน แต่อีกด้านหนึ่งไม่มีใครปฏิเสธความเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีปัจจัยบวกสนับสนุนการเติบโตอย่างโดดเด่น ซึ่งเหล่ากูรูนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ต่างฟันธงในทิศทางเดียวกันว่า กลุ่มโรงพยาบาลจะสามารถทำกำไรสุทธิในปี 2561 ไม่ต่ำกว่า 15% ที่สำคัญ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่และขนาดกลางที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีรายได้รวมกันสูงถึง 65-70% ของรายได้โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด และหากดูข้อมูลปี 2560 กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถสร้างผลกำไรรวมกัน 17,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.5% จากปี 2559 โดยบริษัท โรงพยาบาลมหาชัย (M-CHAI) จำกัด (มหาชน) มีอัตราเติบโตสูงสุด 256% ทำกำไรได้ 1,284 ล้านบาท รองลงมาคือ โรงพยาบาลราชธานี (RJH) มีกำไร 231 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49% อันดับ 3 โรงพยาบาลเอกชล (AHC) มีกำไร 127

Read More

เพ็ญศิริ ทองสิมา ปั้นภาพลักษณ์ใหม่ “นครธน” สู้เชนยักษ์

“นครธนไม่ใช่แค่โรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไป หรือแค่โรคหวัด แต่เราเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพผู้เข้ารับบริการทุกเพศ ทุกช่วงวัย ทุกครอบครัว ไม่จำเป็นต้องวิ่งเข้าไปหาโรงพยาบาลใจกลางกรุงเทพฯ” เพ็ญศิริ ทองสิมา รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด โรงพยาบาลนครธน ย้ำกับสื่อถึงเป้าหมายในปีนี้ที่จะแก้โจทย์ทางการตลาดชิ้นสำคัญ การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ เปลี่ยนจาก General Hospital หรือโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไป สู่การเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีความพร้อมรอบด้าน หลังจากดำเนินธุรกิจอย่างเงียบๆ มานานกว่า 22 ปี ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอย่างรุนแรงบนถนนพระราม 2 กับเครือข่ายโรงพยาบาลยักษ์ใหญ่ที่ปักหมุดรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรงพยาบาลบางปะกอกที่พยายามขยายเน็ตเวิร์คครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และรอบนอก ทั้งโรงพยาบาลบางปะกอก 1 โรงพยาบาลบางปะกอก 3 โรงพยาบาลบางปะกอก 8 โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล มีสถานพยาบาลบางปะกอก 2 บางบอน บางปะกอกคลินิกเวชกรรม และซื้อหุ้นกิจการโรงพยาบาลปิยเวทจากกลุ่มกระทิงแดงเมื่อปี 2559 ก่อนรุกเข้าสู่ย่านรังสิตภายใต้แบรนด์โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต 2 หรือกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ที่มีทั้งโรงพยาบาลพญาไท 3 และโรงพยาบาลสมิติเวชธนบุรี เป็นเครือข่ายเจาะฐานลูกค้าย่านฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะย่านพระราม 2 เขตบางขุนเทียน ซึ่งมีกลุ่มชุมชนขนาดใหญ่และกลุ่มกำลังซื้อใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ขณะที่โรงพยาบาลนครธน

Read More

“กลุ่มทองสิมา” เร่งเครื่อง ขยายบิ๊กโปรเจกต์พระราม 2

ช่วงเวลาไม่ถึง 2 เดือน “กลุ่มตระกูลทองสิมา” ออกมาเปิดตัวทั้งบิ๊กโปรเจกต์ ผุดโรงเรียนนานาชาติเบซิส กรุงเทพฯ และบิ๊กแคมเปญ โครงการนครธน แฟมิลี่ คลับ ยกระดับโรงพยาบาลนครธนจาก “General Hospital” หรือโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วไป เป็น “โรงพยาบาลเฉพาะทาง” เพื่อลุยสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด และมากไปกว่านั้น คือ แผนการสานต่อโครงการสร้างเมืองย่านพระราม 2 เนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ ของเจ้าพ่อที่ดินฝั่งธนบุรี “ญาณเดช ทองสิมา” หลังจากเก็บเนื้อเก็บตัวทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงพยาบาลนครธนอย่างเงียบๆ มานานกว่า 10 ปี แน่นอนว่า ในแวดวงการเมืองระดับท้องถิ่น ชื่อ “ญาณเดช ทองสิมา” คลุกอยู่ในสนามการเมืองกรุงเทพมหานครนานกว่า 10 ปี เคยร่วมงานในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชุดผู้ว่าฯ พิจิตต รัตตกุล และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในวงการธุรกิจแล้ว ญาณเดชถือเป็นนักอสังหาริมทรัพย์ตัวยง อดีตนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรคนแรกของเมืองไทยเมื่อปี 2523 มีที่ดินและเก็บสะสมแลนด์แบงก์มากที่สุดในย่านฝั่งธนฯ โดยเฉพาะย่านบางขุนเทียน เนื่องจากกลุ่มตระกูลทองสิมายึดหลักปักฐานอาศัยในย่านดังกล่าวมานานกว่า

Read More

ฟิตเนสปลุกตลาดหมื่นล้าน ยึดทำเลทองแข่งเปิด 24 ชม.

ธุรกิจฟิตเนสกลับมาบูมอย่างแข็งแกร่งได้อีกครั้ง หลังพ้นวิกฤตปัญหาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ลอยแพลูกค้า พร้อมๆ กับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่หันมาเน้นการออกกำลังกายตามไอดอลนักกีฬา ศิลปินนักร้อง เน้นรูปร่างที่สวยงามและการใช้ชีวิตอยู่ในตึกสูง ส่งผลให้เม็ดเงินในตลาดพลิกกลับมาเติบโตและมีแนวโน้มทะลุหลักหมื่นล้าน โดยมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศตบเท้าเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งอย่างดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เวอร์จิ้น แอคทีฟ (Vergin Active) จากประเทศอังกฤษ เจ็ท ฟิตเนส (Jetts Fitness) จากประเทศออสเตรเลีย ฟิตเนส 24 เซเว่น (Fitness 24 Seven) จากประเทศสวีเดนที่มีสาขาทั่วสแกนดิเนเวีย และจาโตมิ ฟิตเนส จากประเทศโปแลนด์ ขณะเดียวกันยังมีฟิตเนสไทยรายใหญ่ที่เดินหน้าทุ่มงบลงทุนเปิดสาขายึดทำเลทองปลุกปั้นแบรนด์ เพื่อยกระดับการแข่งขันสู้ยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ทั้งกลยุทธ์การสอนบวกไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ทีมโค้ช อุปกรณ์ออกกำลังกายและบริการ รวมถึงราคาและโปรโมชั่นต่างๆ อย่าง “วีฟิตเนส (WE Fitness)” ของวิชัย พูลวรลักษณ์ เจ้าของธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการทั้งสิ้น 7 แห่งในเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน สุขุมวิท-เอกมัย ปิ่นเกล้า เอสพลานาด รัชดา เอสพลานาด แคราย

Read More

กวิน ว่องกุศลกิจ อองเทอเพรอนัวส์ยุค 4.0

กวิน ว่องกุศลกิจ ใช้เวลาเกือบ 10 ปีบุกเบิกธุรกิจโคเวิร์กกิ้งสเปซในยุคที่หลายคนในวงการยังไม่รู้จัก จนล่าสุดลงทุนกว่า 600 ล้านบาท ผุด “โกลว์ฟิช ออฟฟิศ” รูปแบบใหม่ “ไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ” สาขาล่าสุดย่านสาทร ที่รวมทั้งบริการเซอร์วิสออฟฟิศและธุรกิจไลฟ์สไตล์รีเทลเข้าด้วยกันเป็นแห่งแรกในเมืองไทย ที่สำคัญ โมเดลของโกลว์ฟิชเป็นไอเดียการทำธุรกิจที่กวินย้ำว่า ต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ และสะท้อนแพสชั่นการทำธุรกิจของเขาตั้งแต่เริ่มต้นครั้งแรก เป้าหมายไม่ใช่การหารายได้กำไรเพียงอย่างเดียว แต่สามารถยืนอยู่ได้และต้องการเติบโตไปด้วยกันในกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ตั้งแต่กลุ่มฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ และอองเทอเพรอนัวส์ที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัว “ผมอยากสร้างโกลว์ฟิชให้เป็นธุรกิจฮีโร่ตัวหนึ่งของเมืองไทย...” กวินกล่าวกับ “ผู้จัดการ360องศา” กวินเล่าว่า เขาพยายามสร้างโกลว์ฟิชให้มีความแตกต่างจากโคเวิร์กกิ้งสเปซอื่นๆ เน้นการสร้างระบบนิเวศการทำงาน หรือ Ecosystem ให้เป็นพื้นที่ทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนที่มี 3 องค์ประกอบ คือ Work, Play and Grow Work คือ การทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานมีผลผลิตมากขึ้น Play คือ การออกแบบสถานที่ทำงานให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงาน ซึ่งไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นกิมมิกเท่านั้น ส่วน Grow เป็นการสร้างแรงบันดาลใจส่งเสริมการเติบโตในธุรกิจของพันธมิตรผู้เข้ามาใช้บริการ ทั้งหมดจะช่วยให้ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาไปอย่างเข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจเติบโตแบบออร์แกนิก

Read More

โกลว์ฟิชดันไลฟ์สไตล์เวิร์กสเปซ ฉีกคู่แข่ง อสังหาฯ-รีเทล

โคเวิร์กกิ้งสเปซหรือออฟฟิศสเปซในไทยกลายเป็นตลาด “Red Ocean” ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับคู่แข่งขันยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะการแห่เข้ามาบุกตลาดของบรรดาบริษัทข้ามชาติ แย่งชิงพื้นที่ทำเลทองใจกลางธุรกิจ เพื่อเจาะความต้องการของกลุ่มสตาร์ทอัพและคนทำงานฟรีแลนซ์รุ่นใหม่ กำลังซื้อสูง ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ “เจแอลแอล” ระบุว่า ผู้ประกอบการโคเวิร์กกิ้งสเปซหลายราย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกกำลังเร่งหาโอกาสเข้ามาเปิดธุรกิจในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มีแผนเข้ามาลงทุนเต็มรูปแบบ โดยต้องการพื้นที่สำนักงานขนาดใหญ่ระหว่าง 1,000-3,000 ตารางเมตรในอาคารสำนักงานเกรดเอตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน เฉพาะช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เจเอลแอลได้เป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายใหญ่ในการเช่าพื้นที่สำนักงาน เพื่อเตรียมเปิดโคเวิร์กกิ้งสเปซ พื้นที่ 5,000 ตร.ม. และอยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ เจรจาสัญญาเช่าให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ คิดเป็นพื้นที่รวมกว่า 15,000 ตร.ม. ส่วนใหญ่ต้องการเช่าพื้นที่ขนาดประมาณ 3,000 ตร.ม. ต่อแห่ง ขณะที่บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) สำรวจข้อมูลพบว่า เจ้าของโครงการอาคารสำนักงานหลายรายที่มีแนวคิดก้าวหน้าเริ่มวางนโยบายบริหารพื้นที่ที่มีความยืดหยุ่นให้แก่ผู้เช่า ทั้งการมีโคเวิร์กกิ้งสเปซของตนเองและการมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซเป็นผู้เช่าในอาคาร เพื่อเติมเต็มความต้องการและไลฟ์สไตล์คนทำงานฟรีแลนซ์ โดยคาดการณ์ปี 2561 จะมีผู้ให้บริการโคเวิร์กกิ้งสเปซจากต่างชาติเข้ามาเปิดให้บริการพื้นที่มากถึง 18,000 ตร.ม. ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ มีบริษัทต่างชาติที่ออกมาประกาศแผนรุกตลาดชัดเจน เช่น บริษัท สเปซเซส

Read More

วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล 4 ปี ดัน “วอริกซ์” เข้าตลาดหุ้น

“วอริกซ์เข้ามาเป็นตัวแทนผลิต จัดจำหน่ายเสื้อทีมชาติไทยตั้งแต่ปี 2559 เซ็นสัญญา 4 ปี 400 ล้านบาท ตอนนั้นหลายๆ คนบอกว่าเจ๊งแน่ๆ แต่ดูยอดและตัวเลขตอนนี้ บริษัทได้ยอดขายจากเฉพาะตัวสินค้าของทีมชาติไทยเติบโตขึ้นถึง 200 ล้านบาท มียอดขายรวมสินค้าอื่นๆ เติบโต 300% และเตรียมดันบริษัทเข้าตลาดหุ้นในปีนี้หรืออย่างช้าไม่เกินต้นปีหน้า” วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด ย้ำกับสื่อถึงความสำเร็จในวันนี้หลังจากใช้เวลาฟันฝ่าธุรกิจอยู่ในวงการอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้ามานานกว่า 10 ปี โดยใช้กลยุทธ์เจาะตลาดนิชมาร์เก็ตในกลุ่มเสื้อผ้ายูนิฟอร์มและชุดนักเรียน จนกระทั่งเห็นช่องทางและโอกาสบุกตลาดชุดกีฬาที่เน้นนวัตกรรมใหม่ฉีกแนวจากเจ้าตลาดหน้าเก่า ก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านไลฟ์สไตล์สปอร์ตแวร์ แน่นอนว่า การคว้าสิทธิ์ออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายชุดแข่งขันและเครื่องแต่งกายทัพช้างศึกไทยอย่างเป็นทางการสามารถผลักดันให้แบรนด์ “วอริกซ์” ติดตลาดทอปทรีในตลาดไทย และสร้างยอดขายเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะปี 2560 มีรายได้รวมเติบโตถึง 3 เท่าตัว ปิดยอดขายที่ 564 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายจากเสื้อฟุตบอลทีมชาติไทยประมาณ 200 ล้านบาท หรือขายได้ 5 แสนตัว

Read More