Home > Suporn Sae-tang (Page 52)

แสนสิริ-เอพี ศึกช่วงชิงกลุ่มมิลเลนเนียล

การเปิดตัวแบรนด์ไลฟ์สไตล์คอนโดมิเนียม “XT Condominium” ของยักษ์ใหญ่ “แสนสิริ” ด้านหนึ่งอาจเป็นเพียงกลยุทธ์การตลาดเพื่อเจาะเซกเมนต์กลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งที่สำคัญมากกว่า คือ การสะท้อนจุดเปลี่ยนของแนวรบในตลาดที่ไม่ใช่การแข่งขันประชันกันแค่ทำเลใจกลางเมืองหรือเกาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ขนาดห้อง หรือความหรูหราของล็อบบี้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงกลยุทธ์การตอบ “โจทย์” กลุ่มเป้าหมายให้โดนใจมากที่สุด โดยเฉพาะคนเมืองรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า Millennial หรือ Young Achiever นพปฎล พหลโยธิน ประธานบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มคนมิลเลนเนียลถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่บริษัทให้ความสำคัญและจับตามาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เพราะแนวโน้มกำลังซื้อเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถือเป็นกลุ่มผู้ซื้อขนาดใหญ่ โดยจากสถิติลูกค้าของแสนสิริตั้งแต่ปี 2556-2560 พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่อายุตั้งแต่ 21-30 ปี ซื้อโครงการของแสนสิริเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 25% ในระยะเวลา 5 ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต พูดถึงกลุ่มคนมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มประชากรที่เกิดในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1980-2000 หรือปี 2523-2543 เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เติบโตมากับเทคโนโลยี ใช้ชีวิตคล่องแคล่ว ที่สำคัญถือเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนับจากนี้ ขณะเดียวกัน ข้อมูลการสำรวจของฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท

Read More

“แบรนด์เนมมือสอง” บูม พลิกสมรภูมิธุรกิจใหม่

การพลิกกลยุทธ์ของโรงรับจำนำยี่ห้อเก่าแก่กว่า 40 ปี “ปิ่นคู่” ทั้งการสร้างภาพลักษณ์ใหม่และดึงร้านแบรนด์เนมมือสองยักษ์ใหญ่ชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น Brand Off Tokyo เข้ามาเปิดร้าน Brand Off Tokyo by Money Cafe แฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย ระดมสินค้ามากกว่า 300 ไอเท็ม ทั้งกระเป๋า นาฬิกา จิวเวลรี ที่พร้อมการันตีเรื่องคุณภาพและราคา ถือเป็นจุดเปลี่ยนจากธุรกิจโรงรับจำนำแบบเดิมสู่ Lifestyle Pawn Shop และเร่งสมรภูมิการแข่งขันธุรกิจแบรนด์เนมมือสองแนวใหม่รุนแรงมากขึ้น แน่นอนว่า หากพูดถึงแหล่งซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองยอดฮิตของเหล่านักชอปแบบเดิมๆ ทุกคนต้องไปตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เนื้อที่ขนาดใหญ่กว่า 66 ไร่ และรวบรวมสินค้ามากมายมหาศาล จัดแบ่งเป็นโซนหลักๆ ตั้งแต่โซนรองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า แต่มีข้อเสีย คือมีทั้งของแท้และของก๊อบผสมกันจนแยกไม่ออก ทำให้ต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการคัดสินค้า หรือจะเป็นตลาดขายสินค้ามือสองที่เจ้าของนำมาขายเอง ซึ่งมีทั่วไปตามตลาดนัดทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นตลาดนัดจตุจักร (JJ) ตลาดรถไฟ ตลาดนัดเลียบด่วน ตลาดหัวมุม ตลาดนกฮูก

Read More

“สหพัฒน์” ทรานส์ฟอร์ม เร่ง “บิ๊กดาต้า” สู้ทุกวิกฤต

เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ออกมาประกาศนโยบาย 5 ปี ตั้งเป้าหมายผลักดันบริษัทในเครือที่มีมากกว่า 200 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ามากกว่าพันรายการ รวมถึงเครือข่ายค้าปลีกที่กำลังเร่งขยายอย่างครบวงจร ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ โดยมีรายได้กว่า 3 แสนล้านบาท เป็นเดิมพันสำคัญ เหตุผลไม่ใช่แค่การประเมินปัจจัยในระยะสั้น 1-2 ปี แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันจะจัดการเลือกตั้งภายในปี 2562 หรือแม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวเกินคาด ชนิดที่หลายๆ หน่วยงานแห่ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ตัดสินใจปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2561 จากเดิม 3.6-4.6% เป็นคาดว่าจะเติบโต 4.2-4.7% ตามด้วยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับจีดีพีไทยปี 2561 คาดว่าจะเติบโต 4.3-4.8% จากเดิมคาดไว้ 4.0-4.5% ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50%

Read More

โคเมเฮียว บุกไทย จับมือ “สหพัฒน์” เจาะกลุ่มลักชัวรี

การประกาศลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่างบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กับยักษ์ใหญ่ธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมมือสอง “Komehyo” (โคเมเฮียว) จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อผุดแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย ด้านหนึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์เจาะรีเทลกลุ่มใหม่ของเสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ซึ่งไม่ใช่แค่รับเทรนด์การเติบโตของตลาดแบรนด์เนมมือสอง แต่ยังเกาะกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเรียกร้องพฤติกรรม Reuse สินค้าให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญ เสี่ยบุณยสิทธิ์กำลังรุกขยายเครือข่ายร้านค้าปลีกให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าต่างๆ มากขึ้นและฉีกกลยุทธ์ชนิดที่สหพัฒน์ไม่ต้องการวิ่งไล่หลังใครอีกแล้ว ไม่ให้เหมือน “ลอว์สัน” ที่ยังทิ้งห่างจากเซเว่นอีเลฟเว่นและแฟมิลี่มาร์ท หรือ “ซูรูฮะ” ซึ่งยังต้องไล่บี้คู่แข่งอย่างวัตสันและบู๊ทส์ แต่โคเมเฮียวที่มีทั้งทุนเต็มหน้าตักและโนว์ฮาวระดับเบอร์ 1 จากญี่ปุ่น น่าจะเปิดทางการก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดรีเทลกลุ่มแบรนด์เนมมือสองได้ไม่ยากนัก ว่ากันว่า เคยมีการคาดการณ์ตลาดสินค้าแบรนด์เนมมือสอง หรือ Pre-owned luxury ในตลาดโลก มีมูลค่าสูงถึง 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.7 แสนล้านบาท เฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องหนังและเสื้อผ้ามือสองมีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ยิ่งเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และอาจเจอวิกฤตอีกหลายรอบ ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมชื่อดังระดับโลกหลายค่ายไม่ได้พุ่งกระฉูดเหมือนก่อน แม้มีความพยายามเจาะตลาดประเทศใหม่ๆ มากขึ้น ทั้งการเปิดชอปและการส่งสินค้าจำหน่ายผ่านเอาต์เล็ตระดับโลก เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าหันไปซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองมากขึ้น ชนิดที่ว่า ตลาดแบรนด์เนมมือสองระดับหรูมีอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ลูกค้าส่วนใหญ่ต่างเห็นข้อดีหลายอย่าง

Read More

“สยามพิวรรธน์” ชน “เซ็นทรัล” ผุดโอเอซิส ลักชัวรีเอาท์เล็ต

“สยามพิวรรธน์ทำศูนย์การค้า 40 กว่าปี พัฒนาและลงทุนอภิมหาโปรเจกต์ในกรุงเทพฯ เป็นหลัก สร้างเดสทิเนชั่นของเมืองหรือของประเทศประสบความสำเร็จ มีความเชื่อมั่นและแข็งแรง หลายคนถามตลอดว่าเมื่อไหร่จะออกต่างจังหวัด วันนี้เรากำลังจะก้าวออกนอกกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เป็นก้าวย่างสำคัญและไม่ใช่การทำศูนย์การค้าแบบเดิมอีกแล้ว” ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ กล่าวถึงทิศทางการลงทุนครั้งใหม่และแผนการร่วมทุนกับไซม่อน พร็อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป บริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก ซึ่งใช้เวลาเจรจาแนวคิดและประสบการณ์ต่างๆ กว่าจะตกผลึกยาวนานร่วม 1 ปี เพื่อสร้าง “เมือง” หรือโอเอซิสแห่งใหม่ของประเทศไทยที่ตั้งเป้าดึงดูดผู้คนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันได้ทุกวัน โดยมี “ลักชัวรีพรีเมียมเอาท์เล็ต” เป็นแม็กเน็ตชิ้นสำคัญ แน่นอนว่า ธุรกิจเอาท์เล็ตไม่ใช่โมเดลค้าปลีกรูปแบบใหม่ในตลาดไทย แต่มีมานานมากกว่า 20 ปี โดยบริษัท เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จำกัด ของปรีชา ส่งวัฒนา ที่ต้องการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ “Flynow” ในช่วงธุรกิจในเมืองไทยเจอวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ในราคาที่ไม่บวกค่าขนส่งและค่าการตลาด ภายใต้แนวคิด “คุณภาพส่งออก ราคาผู้ผลิต” เวลานั้น เอาท์เล็ทฟลายนาวสามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบน เนื่องจากสินค้าของเอฟเอ็นเป็นแบรนด์เสื้อผ้าระดับพรีเมียมและมีสินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม

Read More

“เจริญ” รุกเกม Synergy กินรวบค้าปลีก-อสังหาฯ

เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจแสนล้าน “ทีซีซีกรุ๊ป” ดูเหมือนจะเร่งเดินหน้าแผน Synergy ธุรกิจค้าปลีก “บิ๊กซี” กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือ โดยเฉพาะโครงการเกิดใหม่ในทำเลทองตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะเปิดให้บริการอีกหลายเส้นทาง ชนิดที่ยึดเครือข่ายทั่วกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญ บิ๊กซีเองกำลังใช้จังหวะนี้ยกเครื่องสาขาใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ ทั้งเทสโก้โลตัสและกลุ่มเซ็นทรัล หลังจากทุ่มเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทยจากกลุ่มคาสิโนเมื่อปี 2559 เพื่อหวังเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญตามแผนขยายธุรกิจค้าปลีกอย่างครบวงจรของทีซีซีกรุ๊ป ตั้งแต่ธุรกิจศูนย์การค้าหลากหลายรูปแบบสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำทุกโมเดล ทั้งห้างค้าส่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จนถึงร้านสะดวกซื้อ ที่ผ่านมา อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี ในฐานะซีอีโอ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ใช้เวลาปรับระบบต่างๆ เพื่อแก้จุดอ่อนทั้งหมดของ “บิ๊กซี” แต่ต้องยอมรับว่า บิ๊กซียังต้องเสริมจุดแข็งหลายด้าน โดยเฉพาะการรีโนเวตสาขาเก่าเพื่อสร้างความสดใหม่การเพิ่มแม็กเน็ตสินค้าต่างๆ ตามเทรนด์การบริโภคของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

Read More

นับถอยหลัง “ไอคอนสยาม” ศึกค้าปลีกโค้งน้ำเจ้าพระยา

นับถอยหลังอีกไม่กี่เดือน อภิมหาโครงการ “ไอคอนสยาม” ของกลุ่มร่วมทุน 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (ในเครือซีพี) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พร้อมๆ กับการเริ่มต้นลุยสมรภูมิค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาระลอกใหม่ที่มีทั้ง “เอเชียทีค” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี และโครงการ “ล้ง 1919” ของกลุ่มตระกูลหวั่งหลี ที่ฉีกแนวเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบแนวศิลปวัฒนธรรมชนชาติจีน แน่นอนว่า โค้งน้ำเจ้าพระยากำลังจะพลิกโฉมอีกครั้ง ซึ่งหัวเรือใหญ่ไอคอนสยาม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ ย้ำกับสื่อมาตลอดว่า ไอคอนสยามจะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่สร้างเมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์ (The Icon of Eternal Prosperity) จุดประกายคุณค่าของแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เรื่อง เรื่องแรก คือการสัญจรไปมาทุกระบบการขนส่ง สอง คือเรื่องเศรษฐกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด และสาม คือการพัฒนาชุมชนรอบๆ โดยตั้งเป้าหมายดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้ชีวิต ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมกว่า

Read More

VGI พลิก “ออฟไลน์-ออนไลน์” บิ๊กมีเดีย 5 หมื่นล้านสยายปีก

นับจากวันแรกเมื่อ 20 ปีก่อน คีรี กาญจนพาสน์ ควักเงิน 5 ล้านบาท เปิดบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จนถึงวันนี้หลังผ่านวิกฤตหลายครั้ง มูลค่าของวีจีไอจาก 5 ล้านบาท พุ่งพรวดเป็น 5 หมื่นล้าน ซึ่งกวิน กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ย้ำกับสื่อว่า “เติบโตหมื่นเท่า” ทั้งหมดมาจากวิสัยทัศน์การ Synergy ระหว่างธุรกิจมีเดียกับธุรกิจระบบรางของบีทีเอสกรุ๊ป ล่าสุด ปี 2561 วีจีไอแปลงโมเดลธุรกิจอีกครั้งจากธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านเข้าสู่โลกธุรกิจใหม่ เชื่อมออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน จะไม่ใช่แค่ผู้นำสื่อนอกบ้านในกรุงเทพฯ ที่มีมูลค่าสื่ออยู่ในมือ 6,800 ล้านบาท แต่จะเป็นบิ๊กมีเดียเจ้าแรกที่รวบรวมตลาดมีเดียทั้งหมด ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “Pioneering Solutions for Tomorrow” กับโมเดลธุรกิจใหม่ Offline-to-Online: O2O Solutions

Read More

คีรี กาญจนพาสน์ “BTS มั่นใจทำได้ ไม่ต้องรอต่างชาติ”

“ผมไม่รู้ว่ามีบริษัทต่างประเทศมาแข่งหรือไม่อย่างไร อย่างน้อยที่สุดงานนี้เราทำได้สบายๆ แต่ถ้าต่างประเทศมาลงทุนด้วย ถือว่าดี ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติดูดี ต่างประเทศสนใจจะเอาก้อนเงินมหาศาลมาลงทุนที่เมืองไทยบ้านเรา เพราะอินฟราสตรักเจอร์พวกนี้ 50 ปี 100 ปีเอาไปไหนไม่ได้ อยู่ที่บ้านเรา เรามั่นใจบริษัทในไทยว่าเราทำได้ ไม่จำเป็นต้องรอต่างชาติเข้ามาลงเงิน 2 แสนกว่าล้านนี้ ไม่มั่นใจว่าต่างชาติจะรักบ้านเราเหมือนคนไทยรักกันเองหรือเปล่า” คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยืนยันกับสื่อทันทีถึงความพร้อมในการชิงโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการรวมมากกว่า 220,000 ล้านบาท ซึ่งบิ๊กโปรเจ็กต์ตัวนี้มีคู่แข่งระดับยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กลุ่ม ปตท. กลุ่ม ช.การช่าง และกลุ่มทุนต่างชาติที่จ้องเข้ามาฮุบโครงการอีกหลายราย ล่าสุด รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทเอกชนร่วมลงทุนโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3

Read More

ไปรษณีย์ไทยสู้ศึกรอบด้าน เร่งผลงานสนองกลยุทธ์ 4.0

กลายเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมาเมื่อมีรายงานว่า สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท) ไม่ผ่านการประเมินผลงานประจำปี 2560 จนเกิดกระแสรวมตัวชุมนุมประท้วงของกลุ่มพนักงานพร้อมติดริบบิ้นดำเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา แม้ล่าสุด บอร์ดไปรษณีย์ไทยรีบออกมติสยบความเคลื่อนไหวยืนยันการประเมินผลงานยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา แต่ดูเหมือน “ไปรษณีย์ไทย” กำลังเจอศึกรอบด้าน ทั้งการแข่งขันในสมรภูมิธุรกิจโลจิสติกส์ที่เคยผูกขาดมาอย่างยาวนาน เพราะมีคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามารุกตลาดดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นเคอรี่เอ็กซ์เพรส เอสซีจีเอ็กซ์เพรส และไลน์แมน แถมบิ๊ก ปณท ยังถูกเกาะติดผลงานชนิดมีสิทธิ์หลุดจากตำแหน่งได้ ทั้งหมดทำให้ไปรษณีย์ไทยในฐานะองค์กรรัฐวิสาหกิจต้องเร่งปรับกลยุทธ์ทุกวิธี โดยเฉพาะการสนองนโยบาย 4.0 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งผลงานรูปธรรมชิ้นสำคัญก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 แผนสำคัญ คือการให้ไปรษณีย์ไทยเป็นตัวกลางต่อยอดเครือข่ายเน็ตประชารัฐที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 24,700 หมู่บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายรายได้ด้วย “อีคอมเมิร์ซ” โจทย์สำคัญ คือ ชาวบ้านขายสินค้า ปณท เป็นตัวกลางติดต่อผู้ซื้อด้วยระบบออนไลน์ เงินมาถึงชาวบ้านทั่วประเทศ ลูกหลานไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองใหญ่ ชาวบ้านในชุมชนลืมตาอ้าปากได้ ถ้าสำเร็จย่อมหมายถึงผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล คสช. ซึ่งบิ๊กไปรษณีย์อย่างสมร เทิดธรรมพิบูล รับรู้ความต้องการและเป้าหมายของรัฐบาลอย่างดีตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งช่วงเดือนมกราคม 2559 แน่นอนว่า

Read More