Home > On Globalization (Page 5)

สถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris Convid-19 นี่ร้ายจริงๆ ร้ายกว่าที่ใครๆ จะคาดคิด การระบาดที่รุนแรงทำให้เกิดการปิดประเทศทั่วโลก นอกจากวิกฤตด้านสาธารณสุขแล้ว ยังเกิดวิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคม ใช่แต่ไทย เศรษฐกิจฝรั่งเศสก็อิงการท่องเที่ยวด้วย เมื่อปราศจากนักท่องเที่ยวเสียแล้ว ธุรกิจแฟชั่นและสินค้าหรู โรงแรม ร้านอาหารต่างได้รับผลกระทบหมด การท่องเที่ยวฝรั่งเศสพึ่งนักท่องเที่ยวจากจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ฝรั่งเศสล็อกดาวน์ประเทศเป็นเวลา 2 เดือน ใครสายป่านสั้นก็หมดลมหายใจ เมื่อเลิกล็อกดาวน์ สิ่งที่เห็นทั่วไปคือร้านค้าหลายแห่ง โดยเฉพาะร้านอาหารถือโอกาสปรับปรุงร้านเพื่อเปิดใหม่ให้สดใสยิ่งขึ้นและเพื่อรองรับมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขจำนวนไม่น้อยปิดตัวถาวรเลย เห็นได้ชัดในย่านที่เคยคับคั่งด้วยนักท่องเที่ยว แถววิหาร Notre-Dame de Paris ร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกไม่มีทีท่าว่าจะเปิดใหม่ ร้านอาหารขนาดใหญ่ริมแม่น้ำแซน (Seine) ประกาศเซ้งร้าน ย่าน Saint-Germain-des-Prés แถวถนน rue Guisarde ซึ่งอยู่ในละแวกโบสถ์ Saint-Sulpice ร้านอาหารหลายแห่งปิดเงียบ ให้เสียดายร้านอาหารอิตาเลียน Alfredo Positano ที่เคยมีลูกค้าคับคั่ง กลับปิดตาย แต่อีกหลายร้านกลับมาเปิดใหม่อย่างคึกคัก ด้วยว่าปิดถนน แล้วตั้งโต๊ะกลางถนนเลย เหลือทางเดินนิดหน่อย เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสอนุมัติให้ร้านอาหารเปิดบริการได้ โดยต้องรักษาระยะห่างระหว่างโต๊ะ แรกทีเดียวให้แต่ละโต๊ะตั้งห่าง 2

Read More

อัฟกานิสถาน ประเทศที่ผู้หญิงไม่มีตัวตน

Column: Women in Wonderland คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่แย่สุดในการอยู่อาศัยถ้าหากคุณเป็นผู้หญิง เพราะอัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้กฎหมายของศาสนาอิสลามในการปกครองประเทศ ทำให้ผู้หญิงถูกลิดรอนสิทธิ์ต่างๆ และยังมีความเชื่อในวัฒนธรรมบางอย่างที่ทำให้ผู้หญิงถูกลิดรอนสิทธิ์มากกว่า ผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านอาจคิดว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นนานมาแล้ว และปัจจุบันผู้หญิงน่าจะมีสิทธิต่างๆ ในสังคมเหมือนกับหลายประเทศที่ใช้กฎศาสนาอิสลามเป็นกฎหมายประจำชาติ แต่ก็เริ่มจะมีการแก้กฎหมาย เพื่อให้สิทธิ์กับผู้หญิงมากขึ้น เช่น ซาอุดีอาระเบีย ก็มีแก้กฎหมายและอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถขับรถเองได้แล้วตั้งแต่มิถุนายน ปี 2018 เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง ผู้หญิงในอัฟกานิสถานยังคงไม่ได้รับสิทธิใดๆ เหมือนกับผู้หญิงมุสลิมในประเทศอื่น ประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายประจำชาติอย่างอัฟกานิสถานนั้น ผู้หญิงจะไม่ได้รับอนุญาตให้ไปไหนคนเดียว ต้องมีญาติที่เป็นผู้ชายเดินทางด้วยตลอดเวลา หากผู้หญิงต้องการเดินทางไปต่างประเทศจะต้องมีหนังสืออนุญาตจากสามีหรือบิดาจึงจะสามารถทำหนังสือเดินทางและเอกสารต่างๆ ได้ ผู้หญิงมุสลิมจะต้องแต่งกายมิดชิดไม่เปิดเผยอวัยวะในร่างกายให้คนอื่นได้เห็นนอกจากคนในครอบครัว เราจึงเห็นผู้หญิงแต่งตัวมิดชิดปกคลุมใบหน้า ที่เรียกว่า “ฮิญาบ” ซึ่งในประเทศที่เคร่งมากอย่างซาอุดีอาระเบีย ผู้หญิงจะใส่ฮิญาบเพื่อปกปิดทั้งใบหน้า มีเพียงดวงตาเท่านั้นที่คนอื่นสามารถมองเห็นได้ ในอัฟกานิสถานผู้หญิงจะต้องใส่ฮิญาบเพื่อปกปิดทั้งใบหน้าเช่นเดียวกัน และต้องมีผ้าตาข่ายเพื่อปกปิดดวงตาด้วย ในบางประเทศผู้หญิงจะไม่ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เพราะตามหลักศาสนาแล้วหากผู้หญิงแต่งงานไปก็ถือเป็นทรัพย์สินของสามีหากยังไม่แต่งงานก็ถือเป็นทรัพย์สินของบิดา จึงทำให้ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งในอัฟกานิสถานก็เช่นเดียวกัน ผู้หญิงไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ ได้แม้แต่ลูกของตัวเอง กรณีที่หย่าร้างผู้หญิงอาจได้รับสิทธิ์เลี้ยงดูลูก แต่หากผู้หญิงแต่งงานใหม่จะต้องส่งคืนลูกให้สามีเก่าเป็นผู้เลี้ยงดู แม้สามีเก่าอาจไม่ต้องการและไม่เคยเลี้ยงดูลูกของตัวเองเลยก็ตาม ประเทศที่เคร่งครัดกฎหมายศาสนาอิสลามมาก อย่างซาอุดีอาระเบียและอัฟกานิสถานนั้น ผู้หญิงมักจะถูกผู้ชายทำร้ายร่างกายหากปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม เพราะเชื่อว่านี่คือการสั่งสอนให้พวกเธอปฏิบัติตัวให้ดี เชื่อฟัง และจะไม่ทำให้พวกเขาเสื่อมเสียเกียรติ และการถูกทำร้ายร่างกายจากคนในครอบครัวนั้น บางประเทศไม่ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

Read More

The man in an iron mask

Column: From Paris Alexandre Dumas เป็นนักเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสได้ดีที่สุด แม้จะเป็นที่เดียดฉันท์ของเพื่อนนักเขียนในยุคนั้น เพราะเขียนหนังสือเพื่อเงิน และมีผู้ร่วมงานเขียนคือ Auguste Maquet แวดวงวรรณกรรมละเลย Alexandre Dumas จวบจนปี 2002 ในวาระ 200 ปีของการเสียชีวิต รัฐจึงจัดงานใหญ่เพื่อเป็นเกียรติแก่นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ผู้นี้ ด้วยการนำอัฐิของ Alexandre Dumas เข้าสู่ Panthéon อันเป็นที่สถิตของบุคคลสำคัญของฝรั่งเศส รวมทั้งนักเขียน อาทิ Victor Hugo Voltaire Jean Jacques Rousseau André Malraux เป็นต้น โดยประธานาธิบดี Jacques Chirac เป็นประธานในรัฐพิธีนี้ Le Vicomte de Bragelonne เป็นหนึ่งในหนังสือของ Alexandre Dumas อันเกี่ยวเนื่องกับ “สามทหารเสือ” Les trois

Read More

ผลกระทบการทำแท้งแบบถูกกฎหมาย หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

Column: Women in wonderland ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ โดยระบุว่า 25% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะจบการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง และในช่วงเวลาหนึ่งปีมีผู้หญิงประมาณ 25 ล้านคน ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เสียชีวิตประมาณ 4.7%-13.2% สาเหตุก็มาจากการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย และที่น่าตกใจกว่าคือ มีเด็กผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี ประมาณ 3 ล้านคนที่ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยไม่ได้คิดถึงผลเสียที่ตามมา การทำแท้งถูกกฎหมายเป็นเรื่องที่ถกเถียงในสังคมมานาน โดยทั่วไปแล้วการทำแท้งถูกกฎหมายสามารถทำได้ในทุกประเทศในกรณีการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลถึงอันตรายต่อชีวิต ถูกข่มขืน หรือมีการตรวจยืนยันว่าเด็กมีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางประเทศอนุญาตให้การทำแท้งถูกกฎหมาย โดยผู้หญิงสามารถทำแท้งได้หากระยะเวลาครรภ์อยู่ในช่วงที่กฎหมายกำหนดให้ทำแท้งได้ เพราะรัฐบาลเล็งเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ที่ทำแท้งแบบถูกกฎหมายนั้นน้อยกว่าหลายสิบเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่จะต้องมีในกรณีทำแท้งเถื่อนและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้ นี่ยังไม่รวมเด็กที่คลอดแล้วพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ กลายเป็นหน้าที่ของรัฐ การอนุญาตให้ทำแท้งจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการให้ทำแท้งถูกกฎหมายจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้วัยรุ่นไม่รู้จักการป้องกัน เพราะหากตั้งครรภ์ก็สามารถทำแท้งได้รวมไปถึงความเชื่อทางศาสนาที่ทุกศาสนาสอนไม่ให้ฆ่าคนตาย และการทำแท้งก็ถือเป็นการฆ่าคนด้วยเช่นกัน ดังนั้นประเทศที่การทำแท้งไม่สามารถทำแบบถูกกฎหมายได้ ผู้หญิงหลายคนที่มีเหตุจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องทำแท้งผิดกฎหมาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ไม่มีทางเลือก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2019

Read More

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: FROM PARIS Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันเป็นช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 1815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18 และชาร์ลส์

Read More

ชีวิตของผู้หญิงที่เปลี่ยนไป หลังการแพร่ระบาด COVID-19

Column: Women in wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นยังคงมีไปทั่วโลก บางประเทศผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง บางประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ แต่ก็กลับมามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก และในขณะเดียวกันบางประเทศก็เริ่มที่จะไม่มีผู้ที่ติดเชื้อแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ 7.4 ล้านคน และเสียชีวิตแล้ว 414,780 คน โดยประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐฯ บราซิล และรัสเซีย สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อ 2.1 ล้านคน ส่วนบราซิลและรัสเซียมีผู้ติดเชื้อ 742,084 คน และ 493,657 คน ตามลำดับ เสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐฯ 114,267 คน สหราชอาณาจักร 40,883 คน และอันดับสามคือบราซิล 38,497 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10

Read More

Chloroquine ไม่จบเสียที

Column: From Paris Didier Raoult ให้สัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์ LCI เกี่ยวกับการห้ามใช้ยา Chloroquine และ Hydroxychloroquine ในการรักษาผู้ติดเชื้อ Covid-19 และท้าให้ไปสำรวจความคิดเห็นเลยว่าชาวฝรั่งเศสนิยมตัวเขาหรือ Olivier Véran รัฐมนตรีสาธารณสุข ผลก็คือความนิยมในตัวเขาสูงกว่ารัฐมนตรี Didier Raoult แพทย์ประจำวิทยาลัยแพทย์และโรงพยาบาลเมืองมาร์เซย (Marseille) เป็นผู้จุดประกายการใช้ยา Chloroquine รักษาผู้ติดเชื้อ Coronavirus ด้วยการใช้ยา Hydoxychloroquine ควบคู่ไปกับ Azithromycine ได้เป็นผลดี แต่ได้รับการต่อต้านจากแพทย์ที่มีตำแหน่งในองค์กรแพทย์และสาธารณสุขใหญ่ๆ ของฝรั่งเศส เป็นเหตุให้เขาถอนตัวจากคณะที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ซึ่งประธานาธิบดี Emmanuel Macron แต่งตั้งเมื่อ Covid-19 เริ่มระบาดใหญ่ในฝรั่งเศส แพทย์ที่ไม่เห็นด้วยย้ำว่า Chloroquine มีผลข้างเคียงที่รุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาหัวใจได้ การถกเถียงเป็นไปอย่างเข้มข้น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม The Lancet วารสารการแพทย์ได้พิมพ์ผลการศึกษาย้อนหลังซึ่งชี้ให้เห็นว่าคนไข้ที่ป่วยด้วย Covid-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และได้รับการรักษาด้วยยา

Read More

ปรากฏการณ์ Baby Boom ในอีก 9 เดือนข้างหน้าที่สหรัฐอเมริกาเป็นไปได้หรือไม่

Column: Women in Wonderland การระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มียอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกทะลุกว่า 282,000 คนไปแล้ว และจำนวนผู้ติดเชื้อกว่า 4 ล้านคน (พ.ค. 63) ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงสุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อกว่า 1.3 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 79,000 คน จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 นั้นมีมากกว่าทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตในสนามรบช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งมีทหารเสียชีวิต 58,220 นาย เวลานี้สถานการณ์ในสหรัฐฯ ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีแนวโน้มลดลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้ว่าการรัฐ 42 รัฐจาก 50 รัฐประกาศภาวะฉุกเฉินและมีมาตรการปิดเมือง โดยให้ประชาชนอยู่บ้าน แต่ประธานาธิบดี Donald Trump กลับแถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2020 ว่า สหรัฐฯ วางแผนที่จะเปิดประเทศในเร็วๆ นี้ เนื่องจากมาตรการปิดเมืองทำให้มีคนตกงานมากกว่า

Read More

พิพิธภัณฑ์ในสถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris เมื่อ Covid-19 เริ่มระบาดในฝรั่งเศส แปลกใจที่เห็นโรงภาพยนตร์และพิพิธภัณฑ์ยังเปิดให้บริการอยู่ จนประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ให้ประชาชนเก็บตัวอยู่แต่ในที่พักอาศัย และปิดสถานบริการทั้งมวล ยกเว้นซูเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต และร้านที่ขายสินค้าบริโภค พิพิธภัณฑ์ก็อยู่ในข่ายที่ต้องปิดด้วย เสียดายก็แต่บรรดานิทรรศการจรที่ลงทุนลงแรงจัด ก็ต้องยกเลิกไป ไม่ว่าจะเป็น Turner ที่ Musée Jacquemart–André ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม-20 กรกฎาคม Monet, Renoir, Chagall … voyages en Méditerranée ที่ La Halle–Atelier des Lumières ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-31 ธันวาคม Otto Freundlich–La révélation de

Read More

กักตัวอยู่บ้าน ความรุนแรงในครอบครัวก็เพิ่มมากขึ้น

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลกนั้น เกือบทุกประเทศมีนโยบายป้องกันการแพร่ระบาดด้วยการขอความร่วมมือให้ประชาชนงดออกจากบ้าน ไปในพื้นที่ชุมชน งดการรวมกลุ่ม สนับสนุนให้ work from home เมื่อมาตรการนี้ไม่ได้ผล เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในแต่ละประเทศมีจำนวนมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศจึงประกาศล็อกดาวน์หรือการปิดเมืองหรือรัฐที่มีคนติดเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มมากขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศพร้อมใจจะล็อกดาวน์ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป บางประเทศให้งดเดินทางเข้าออกทุกช่องทาง บางประเทศแค่ปิดสนามบินเท่านั้น ส่วนการควบคุมประชาชน รัฐบาลสั่งให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน ออกจากบ้านได้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปิดบริการทั้งหมด เหลือเพียงแค่ร้านขายยา ร้านอาหารที่อนุญาตให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น ธนาคาร และซูเปอร์มาร์เก็ต มีเวลาเปิดทำการสั้นลงกว่าช่วงเวลาปกติ เพื่อเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอยลงจากก็ตาม เพราะหากมีอัตราการติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว อย่างสหรัฐอเมริกา อิตาลี และสเปน อาจทำให้โรงพยาบาลที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา อย่างอิตาลีที่โรงพยาบาลและเตียงมีไม่พอต่อจำนวนผู้ป่วย ทำให้หมอต้องตัดสินใจเลือกรักษาผู้ที่มีโอกาสหายสูงกว่า หรือประเทศเอกวาดอร์ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากจนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จนห้องเก็บศพและสถานที่เก็บศพต่างๆ เต็มหมด

Read More