Home > Life (Page 21)

“แมลงกินได้” แหล่งโปรตีนชั้นยอด เทรนด์อาหารแห่งอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานความปลอดภัยอาหารสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ออกแถลงการณ์ขึ้นทะเบียนให้ “ตั๊กแตน” เป็นอาหารชนิดใหม่ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคของมนุษย์ นั่นทำให้ตั๊กแตนกลายเป็นอาหารของชาวโลกอย่างเป็นทางการ ต่อจากหนอนนกแบบแห้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีจิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาวรอต่อคิวขึ้นทะเบียนเป็นรายต่อไป ในรายงานของอีซีระบุไว้ด้วยว่าการจำหน่ายตั๊กแตนในตลาดของสหภาพยุโรปนั้นจะเป็นในรูปแบบของอาหารแห้ง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว หรือเครื่องปรุงรสแบบผง โดยผลิตภัณฑ์ทุกประเภทต้องนำขาและปีกของตั๊กแตนออกให้หมดเสียก่อน การบริโภคแมลงไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย เราคุ้นชินกับการบริโภคแมลงนานาชนิดมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งหรีด หนอนรถด่วน แมงดา หรือดักแด้ไหม ทั้งในฐานะอาหารพื้นถิ่นตามแต่ละภาค หรือในยุคที่ตั๊กแตนปาทังก้าทอดร้อนๆ เหยาะซอส โรยพริกไทยเป็นของกินเล่นแสนเพลิน จนกระทั่งปัจจุบันที่แมลงทอดหรือแมลงอบกรอบถูกบรรจุถุงวางขายอยู่ตามร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าต่างๆ มากมาย แต่สำหรับโลกตะวันตกการบริโภคแมลงเริ่มเป็นที่นิยมช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในฐานะเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารแห่งอนาคต องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ระบุว่า ภายในปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนมากถึง 9.7 พันล้านคน และอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมด ณ เวลานั้นจะต้องเพิ่มขึ้นทวีคูณ ซึ่งนั่นหมายถึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก ทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือเพิ่มพื้นที่การทำประมง เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหาร ในขณะที่จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่กลับถูกนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดความกังวลว่าในอนาคตโลกจะไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ การแสวงหาแหล่งอาหารทดแทนเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะขาดแคลนอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง ซึ่งนั่นทำให้ “แมลงกินได้”

Read More

เพิ่มพื้นที่สีเขียว ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง

ต้นไม้หนึ่งต้นปล่อยก๊าซออกซิเจนได้ถึง 200,000-250,000 ลิตร/ปี ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม/ปี สามารถดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและลดอุณหภูมิรอบบ้านลงได้ 3-5°C อีกทั้งยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี และยังช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและกรองสารพิษในอากาศได้อีกด้วย จะเห็นว่าต้นไม้เพียงหนึ่งต้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้นานัปการ พื้นที่สีเขียวคือสิ่งจำเป็นต่อชีวิตผู้คนในสังคม สวนหย่อมและสวนสาธารณะที่กระจายอยู่ในเมืองใหญ่ ต่างทำหน้าที่เสมือนปอดที่ช่วยฟอกอากาศให้กับผู้อาศัย อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้ออกไปสูดอากาศนอกตัวอาคาร และเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย ที่ช่วยพัฒนาทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้กับผู้อยู่อาศัยในเมือง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทำให้ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวที่เคยมีถูกแทนที่ด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารสำนักงาน และถนนหนทาง องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมสำหรับเมืองใหญ่ไว้ที่ 9 ตารางเมตร/คน ในขณะที่กรุงเทพมหานครที่ถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนยวดยานพาหนะและประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นสวนทางกับพื้นที่สีเขียวที่ลดน้อยถอยลง ทำให้สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพฯ ยังคงน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 กรุงเทพฯ มีจำนวนสวนสาธารณะทั้งสิ้น 8,819 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 40,816,665 ตารางเมตร โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนเฉพาะทาง, สวนชุมชน,

Read More

ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก ทางแก้ที่ทุกคนในบ้านต้องร่วมมือ

เทคโนโลยีดิจิทัล ในยุคปัจจุบันมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ความเร็วเป็นเหมือนปีศาจในบางครั้ง เพราะในหลายๆ ครั้งที่เราเข้าไปสู่โลกเสมือน เรากลับหลงลืมเวลาในโลกแห่งความจริง เพิกเฉยต่อการดูแลตัวเอง เราเพลิดเพลินกับเวลาที่ได้ให้กับความบันเทิงผ่านทางสายตา โสตประสาท แต่เรากลับให้เวลาตัวเองน้อยลง โดยเฉพาะด้านสุขภาพ ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ หรือคนวัยทำงานเท่านั้น ที่ปล่อยตัวเองให้หลงอยู่ในโลกเสมือนและปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ละเลยการดูแลสุขภาพร่างกาย แม้จะมีข้อมูลผ่านตามากมายถึงวิธีการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร หรือแม้แต่วิธีการอ่านข้อมูลโภชนาการ เด็กไทยยุคปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาภาวะอ้วนเป็นจำนวนมาก สาเหตุของภาวะอ้วนในเด็กเกิดมาจากหลายสาเหตุ ในกรณีของเด็กเล็กพ่อแม่ผู้ปกครองบางส่วนอาจละเลยการดูแลโภชนาการด้วยตัวเอง บางครั้งคนรู้จักหรือญาติผู้ใหญ่มักมีขนมติดไม้ติดมือมาแบ่งปัน ความเอ็นดูจนเกินควรของผู้ใหญ่บางคน ที่มักจะมีทัศนคติที่ว่า เด็กยิ่งอ้วนจ้ำม่ำยิ่งน่าเอ็นดู การตามใจเกินเหตุ ส่งผลให้เด็กรับประทานขนมอย่างใดอย่างหนึ่งในปริมาณมากเกินกว่าที่สมควร และไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการสำหรับเด็ก ประกอบกับยุคสมัยที่โลกดิจิทัลพัฒนาอย่างรุดหน้า เด็กสมัยนี้แทบทุกคนมักจะใช้เวลาว่างอยู่ในโลกออนไลน์มากกว่าจะออกไปวิ่งเล่นกับเพื่อน หรือทำกิจกรรมตามสนามเด็กเล่นเช่นแต่ก่อน ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ภาวะการสะสมไขมันส่วนเกินจึงค่อยๆ เกิดขึ้น นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัยกล่าวว่า ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในเด็ก ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย โดยข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังกระทรวงสาธารณสุข (HDC) พบว่า เด็กเล็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนร้อยละ 8.7 เด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี พบร้อยละ 11.2

Read More

ฟิตอย่างมีเป้าหมาย เลือกการออกกำลังกายที่ใช่คุณ

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ หลายคนปล่อยตัวเองให้แสวงหาความสุขจากหน้าจอมือถือ คอมพิวเตอร์ และละเลยที่จะขยับหรือเคลื่อนไหวร่างกายตามสมควร แม้จะมีความปรารถนาที่อยากจะให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี หลายคนมองหาตัวช่วย อุปกรณ์ออกกำลังกายขนาดเล็กที่สามารถเล่นที่ไหนก็ได้ด้วยเวลาเพียงน้อยนิดต่อวัน อีกทั้งยังอวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถเนรมิตหุ่นให้สวย ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้ เช่นเดียวกับพรีเซนเตอร์ที่มานำเสนอ แม้จะไม่อยากยอมรับไปเสียหมด แต่อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นตัวช่วยที่สร้างให้เกิดสุขภาพที่ดี หุ่นแบบในฝันของใครหลายคนได้ แต่นั่นต้องมาพร้อมกับความอดทนและวินัยที่ดีเช่นกัน สุขภาพร่างกายที่ดี แข็งแรง ปราศจากโรคภัยเป็นสิ่งที่ใครหลายคนปรารถนา นอกจากการเลือกรับประทานให้ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่แล้ว การออกกำลังคือกิจกรรมสำคัญที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้ คำแนะนำมากมายระบุว่า เราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายที่หลายคนนิยม และง่ายที่จะเริ่มคือการวิ่ง แอโรบิก หรือกีฬาชนิดต่างๆ ที่มีอุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างก็สามารถเริ่มได้แล้ว แต่วันนี้เรามาเจาะลึกลงไปอีกนิด เพราะยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่า การออกกำลังกายแบ่งได้เป็นกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ข้อดี รวมไปถึงเหมาะสำหรับใครบ้าง การออกกำลังกายแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. Strength 2. Cardio 3. Flexibility ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อดีแตกต่างกัน วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” จะมาขยายความให้ได้เข้าใจกันมากขึ้น 1.

Read More

ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ปัญหาที่ไม่ควรถูกเมินเฉย

“การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก” เป็นข่าวคราวที่ไม่เคยห่างหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามสื่อออนไลน์ต่างๆ ทั้งที่เกิดจากคนในครอบครัว โรงเรียน หรือคนแปลกหน้า และนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ถือเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงและไม่ควรถูกเมินเฉยจากสังคม ตัวเลขเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวยังคงไม่ลดน้อยถอยลง และในบางกรณียังสร้างความสะเทือนใจให้เกิดขึ้นในสังคมเป็นอย่างมาก และเหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของเด็กโดยตรง และยังสร้างรอยแผลเป็นระยะยาวในชีวิตของเด็กจนเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวไว้ว่า เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกทำร้าย การถูกละเลยทอดทิ้ง และการถูกแสวงประโยชน์ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก ตั้งแต่อาการบาดเจ็บทางกาย พัฒนาการ ความสามารถในการเรียนรู้ และผลการเรียนของเด็ก นอกจากนั้น ยังส่งผลเสียระยะยาวที่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่ ในประเทศไทย มีเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ทั้งการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ถูกละเลยทอดทิ้งเป็นจำนวนไม่น้อย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2560 มีเด็กเกือบ 9,000 คนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากถูกทำร้าย โดยส่วนใหญ่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะที่ ปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้เปิดเผยถึงสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิฯ ประจำปี 2563 (ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 25 ธันวาคม 2563) รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น

Read More

Aged Society เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

เมื่อไม่นานมานี้ “มิวเซียมสยาม” ได้จัดการประชุม Museum Forum 2021 ภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจอย่าง “มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อสังคมสูงวัย Far-sighted Museum: Sighting forward to Aging Society” เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย ความจริงแล้วไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีประชากรผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 10.4% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึง ณ ปัจจุบัน ปี 2564 ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรผู้สูงวัยในสัดส่วน 20% จากประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2578 อาจจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 30% องค์การสหประชาชาติแบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึงมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ

Read More

Work Life Balance กู้คืนความสมดุลให้ชีวิต

ค่านิยมในการทำงานที่หลายคนเคยคิดว่า ยิ่งทุ่มเทยิ่งดี หรือทำงานหนักแบบถวายชีวิตให้องค์กร อาจไม่ใช่ความสำเร็จที่แท้จริงอีกต่อไป เพราะการทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานชนิดที่ว่า แทบไม่เคยเห็นแสงยามรุ่งอรุณ หรือยามอาทิตย์อัสดง เมื่อต้องออกจากบ้านตั้งแต่ยังไม่สว่าง และกลับถึงบ้านหลังพระอาทิตย์ตกดิน แม้จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ชีวิตส่วนตัวอาจบกพร่อง หลายคนพยายามมองหาความพอดี พอเหมาะ เพื่อที่จะได้สร้างสมดุลในชีวิต เมื่องานยังคงมีความสำคัญในชีวิตเพราะเป็นแหล่งรายได้หลัก ในขณะที่ชีวิตส่วนตัว หรือชีวิตครอบครัวยังต้องประคองรักษาไว้ให้ดี ทว่า การสร้างสมดุลระหว่างสองส่วนนี้อาจไม่ง่ายเลย Work Life Balance คือสิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในช่วงชีวิต แต่ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าการสร้างสมดุลชีวิตการทำงานนี้มีองค์ประกอบที่ต้องทำความเข้าใจหลายด้าน หลายคนอาจใช้ทฤษฎี 8-8-8 โดยแบ่งเวลาใน 24 ชั่วโมง และใช้เกณฑ์นี้เป็นตัวกำหนด คือการทำงาน 8 ชั่วโมง สันทนาการ 8 ชั่วโมง และพักผ่อน 8 ชั่วโมง หรือเข้าใจง่าย ๆ คือ งาน 50 ใช้ชีวิต 50 นับเป็นทฤษฎีที่ง่าย และน่าจะปฏิบัติได้ไม่ยากนัก แต่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนวัยทำงานส่วนใหญ่แทบจะคิดถึงงานอยู่ตลอดเวลา หรือบางครั้ง งานก็คิดถึงเราตลอดเวลา เช่น เมื่อเราเลิกงานกลับถึงบ้าน

Read More

ก้าวผ่านความเศร้า เมื่อน้องหมาน้องแมวกลับดาว

การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา ธรรมชาติ เป็นวงจรชีวิตของทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะคน หรือสัตว์ และเป็นเรื่องยากที่จะหลีกหนีความเป็นจริงพ้น บางคนอาจบอกว่า “การตายไม่ใช่เรื่องยาก แต่การอยู่โดยที่ยังคงระลึกถึงผู้ที่จากไปต่างหากที่ยากกว่า” เช่นเดียวกันกับการจากไปของเหล่าสัตว์เลี้ยง ที่เจ้าของมักจะตกอยู่ในห้วงเวลาของความเศร้า ความคิดถึง จนยากที่จะทำใจ ใครไม่เลี้ยงก็คงไม่รู้ บางคนอาจคิดว่าการจากไปของสัตว์ทั้งหลาย เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ชีวิตเล็กๆ ที่จากไปไม่น่าทำให้ใครต้องเศร้าเสียใจมากมายนัก ถ้าเพียงแค่หาตัวใหม่มาเลี้ยงก็พอเยียวยาจิตใจได้ ในขณะที่บางคน แม้จะมีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้ามาเติมเต็มในหัวใจไม่ว่าจะอีกกี่ตัวก็ตาม แต่สัตว์เลี้ยงตัวที่จากไป ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร “เจ้าตัวแสบ” ทั้งหลายจะยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำเสมอ นั่นเพราะ ความรัก ความผูกพันที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่อาจจะสูญหายไปได้ง่ายๆ ตามกาลเวลา นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ทางความรู้สึก ที่หลายคนคงเคยได้พบเจอมาแล้ว ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในหลายมิติ โดยเฉพาะกับสถาบันครอบครัว คู่รักหลายคู่ตัดสินใจจะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเพียงลำพัง หลายคู่เลือกที่จะไม่มีลูกด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป หลายคู่เป็นคู่รักในกลุ่ม LGBT ที่มองหาสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ มาเลี้ยงเป็นเสมือนลูก จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มคนรักสัตว์ในยุคสมัยนี้จะค่อยๆ ขยายตัวมากขึ้น และผู้เลี้ยงสัตว์มือใหม่หลายคนมักมีคำถามเมื่อความสูญเสียมาถึง “รับมือกับความสูญเสียอย่างไร” คำแนะนำที่พบเจอได้ง่ายคือ “ทำใจ” และ “หาสัตว์เลี้ยงตัวใหม่มาทดแทน” คล้ายจะง่าย แต่ไม่ง่ายเลยที่จะทำเช่นนั้นในแง่ความรู้สึก วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา”

Read More

เมื่อโควิดทำให้เราโหยหาการเดินทาง

“อยากไปนั่งชิลล์ริมทะเล” “อยากไปเดินป่า” “คิดถึงภูเขา” “เปิดประเทศเมื่อไหร่จะไปญี่ปุ่น” (และนานาประเทศ) รวมถึงการโพสต์ภาพท่องเที่ยวแล้วตบท้ายด้วยคำว่า “เที่ยวทิพย์” และอีกหลากหลายประโยคบนโซเชียลมีเดียที่บ่งบอกถึงการโหยหาการท่องเที่ยว ในยุคที่โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่สามารถทำได้ดั่งใจหวัง เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นภัยพิบัติของทั้งโลก การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว แม้แต่การเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัดยังเป็นไปได้ยาก หลายคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ลดการเดินทาง กิจกรรมที่เคยทำไม่สามารถทำได้ บางคน work from home มาหลายระลอกตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้ออกไปไหนไกล ไม่ได้ไปเที่ยว ต้องอยู่แต่ในบ้าน และยิ่งแล้วใหญ่เมื่อผนวกกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียม กลายเป็นโดนจำกัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปเสียอย่างนั้น ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเครียด กังวล เบื่อหน่าย และไร้พลัง จนโหยหาการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาเยียวยาหัวใจและคลายความเครียด การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เพิ่มความสุข และช่วยให้เราสามารถหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในทางจิตวิทยาการท่องเที่ยวยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนากระบวนการคิด ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การท่องเที่ยวส่งผลดีต่อหัวใจ การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเที่ยวชมเมืองหรือชมวิวธรรมชาติ ทำให้เราได้เดิน ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องออกแรง เป็นการได้ออกกำลังกายไปในตัว ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพโดยรวม เพิ่มสารแห่งความสุขและเติมเต็มรอยยิ้มให้กับชีวิต เพราะการท่องเที่ยวคือความสนุก ยามที่เราได้ออกไปเที่ยว เพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมใหม่ๆ พบเจอวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แม้กระทั่งได้กินอาหารอร่อยๆ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้เราผ่อนคลายสบายใจ และแน่นอนว่ารอยยิ้มย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยิ่งยิ้มมากเท่าไรชีวิตก็สดใสมากขึ้นเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นสิ่งที่ประสบพบเจอได้เป็นประจำ

Read More

โควิดอยู่นาน กับทักษะที่เพิ่มขึ้น

เป็นเวลา 1 ปีกว่า ที่เราได้เผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 จากความพยายามที่จะเอาชนะและหยุดยั้งเชื้อไวรัสที่ว่า กลายเป็นว่ามนุษย์โลกต้องเรียนรู้ ปรับตัว เพื่อที่จะอยู่กับโควิดให้ได้ โดยเป้าหมายหลักอยู่ที่การเปิดประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แม้เชื้อร้ายยังไม่หมดไป แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายคนอาศัยจังหวะนี้เพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเอง มาดูว่ากัน ทักษะไหนบ้างที่เราจะเรียนรู้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เริ่มจากทักษะง่ายๆ ใกล้ตัว ทักษะด้านเกษตร ปลูกต้นไม้ เพาะขยายพันธุ์ไม้ หลายคนอาจเริ่มเรียนรู้ทักษะด้านนี้จากความชอบ หรือเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ บ้างก็ใช้การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ แน่นอนว่า ประโยชน์ของการปลูกต้นไม้ นอกจากจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจได้แล้ว ยังช่วยให้เราได้รับอากาศที่สดชื่นขึ้น ขณะที่หลายคนใช้ทักษะด้านนี้ต่อยอดในการสร้างรายได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในกลุ่ม ไม้ใบ ไม้ฟอกอากาศ ไม้ด่าง ที่ขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก เพียงแค่ทำความเข้าใจถึงลักษณะของสายพันธุ์นั้นๆ นับว่าเป็นทักษะที่สามารถสร้างเงินแสน หรืออาจถึงเงินล้านได้ภายในเวลาไม่นาน ทักษะการลงทุน บางคนมีความสนใจด้านการลงทุนอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง ห้วงยามนี้ดูเหมาะเจาะที่จะเรียนรู้ และค้นหาข้อมูลสำหรับการลงทุนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่าง Cryptocurrency ที่เริ่มมีบทบาทในชีวิตจริง อย่างไรก็ตาม แม้บางบริษัทจะมีผู้แนะนำการลงทุนคอยให้คำปรึกษา แต่ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจส่งผลต่อค่าเงินและการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อาจเสี่ยงต่อภาวะสงคราม

Read More