Home > Cover Story (Page 28)

ส่งออกข้าวพุ่งทะยาน สวนทางชีวิตชาวนาจนที่สุด

ขณะที่เถ้าแก่โรงสีและผู้ส่งออกกำลังตื่นเต้นกับราคาข้าวพุ่งทะยานต่อเนื่องรับตลาดส่งออกขยายตัว ผลพวงสถานการณ์ภัยแล้ง พิษปรากฏการณ์เอลนีโญและการประกาศมาตรการห้ามการส่งออกข้าวขาวของอินเดีย แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาชีวิตชาวนายังเรื้อรัง หนี้เพิ่ม และยากจนที่สุดเมื่อเปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินเดีย เวียดนาม และเมียนมา ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ ราคารับซื้อข้าวในประเทศไทย ทั้งข้าวเปลือกและข้าวขาวปรับสูงขึ้นทุกชนิด โดยราคารับซื้อข้าวเปลือกเจ้า กข.89 และข้าวหอมปทุม ความชื้น 15% เดิมอยู่ที่ 8,000-8,500 บาทต่อตัน ปรับขึ้นเป็น 12,000 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี 1 จากเดิม 6,000-6,500 บาท/ตัน ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 9,800 บาทต่อตัน ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่า การส่งออกข้าวไทยยังขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า โดยส่งออกข้าวได้ทั้งสิ้น 4.04 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 75,526.2 ล้านบาท (2,223.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 14.9% และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น

Read More

กาแฟพันธุ์ไทย หรอยแรง ชู Story เมนูภูมิปัญญาไทย

กาแฟพันธุ์ไทยยังเร่งเปิดเกมสร้างการรับรู้กับกลุ่มลูกค้า งัดเครื่องดื่มที่ใช้วัตถุดิบ “ภูมิปัญญาไทย” ตั้งแต่เมล็ดกาแฟอาราบิก้า 100% จากแหล่งเพาะปลูกในอำเภอดอยสะเก็ด เมืองเชียงใหม่ ไปจนถึงเครื่องดื่มร้อนๆ เย็นๆ ที่ใช้ผลผลิตเกษตรหากินยากในประเทศไทย ปีที่ผ่านมา พันธุ์ไทยออกเมนูตามยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำตาลโตนดจากสงขลา ครีเอตเป็นกาแฟโตนด ชาไทยโตนด และนมสดโตนด การนำส้มมะปี๊ด ผลไม้ประจำท้องถิ่นของจันทบุรี มาทำเมนู จี๊ดกาแฟ และ จี๊ดชาไทย ซึ่งมีกระแสตอบรับจากลูกค้าอย่างดีและบรรจุเป็นเมนูถาวรของร้าน รวมถึงเมนูสีสัน “สตรอเบอร์เร่อ” ใช้ตรอเบอร์รี่พันธุ์ 80 ที่ปลููกในดอยสููง โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน จังหวัดเชียงใหม่ มาปีนี้ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทแม่เดินหน้าทันที เซ็นเอ็มโอยูประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบบระยะยาว ด้านหนึ่งดึงองค์ความรู้ต่อยอดเมนูใหม่ๆ ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นการเน้นภาพลักษณ์การช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชน เปิดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ผ่านร้านค้าแบรนด์ต่างๆ ในเครือข่ายพีทีจี ทั้งสถานีบริการน้ำมันพีที ร้านกาแฟพันธุ์ไทย และร้านสะดวกซื้อแมกซ์มาร์ท ทั่วประเทศ โดยเฉพาะวัตถุดิบท้องถิ่นเป็นจุดขายหลักต่างจากคู่แข่ง ความร่วมมือสองฝ่ายนำร่องโครงการแรก จัดซีรีส์เมนู “โพดจุกใจ ไร่สุวรรณ” ใช้น้ำนมและเมล็ดข้าวโพดจากศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ

Read More

“แอน จักรพงษ์” Content is Queen!! ทรานส์ฟอร์มเวทีประกวด สู่ผลิตภัณฑ์และบริการ

“แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์” แห่งอาณาจักร เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป เคยให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อครั้งประกาศเข้าซื้อธุรกิจองค์กรนางงามจักรวาลเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมาว่า การทุ่มเม็ดเงินถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 800 ล้านบาท ไม่ใช่แค่การซื้อเวทีประกวดนางงาม แต่เป็นการซื้อแบรนด์ที่มีอายุถึง 71 ปี ที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวที่ทรงคุณค่าและมีมูลค่ามหาศาล ด้วยฐานผู้ชมในแต่ละปีมากกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก พร้อมกันนั้นยังประกาศทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้เป็นมากกว่าเวทีประกวดนางงาม ด้วยการเปิดตัว MU Lifestyle หน่วยธุรกิจเฉพาะเพื่อการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าลิขสิทธิ์ภายใต้องค์กรนางงามจักรวาล เติมเต็มพอร์ตโฟลิโอด้านสินค้าไลฟ์สไตล์ของเจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป และต่อยอดแบรนด์ Miss Universe ไปพร้อมๆ กัน ด้วยระยะเวลาไม่ถึงปีนับจากการประกาศในครั้งนั้น ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แอน-จักรพงษ์ ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับแวดวงธุรกิจและนางงามอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว M*U Beverage กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ Miss Universe ออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและน้ำแร่อัลคาไลน์ธรรมชาติระดับพรีเมียม จากแหล่งน้ำบริสุทธิ์ประเทศไอซ์แลนด์ โดยดำเนินงายภายใต้บริษัท JKN Drink ตามมาติดๆ ด้วยการเปิดตัวธุรกิจ Miss

Read More

“แจ็ค แอนด์ จิล” 30 ปีในไทย ระยะเวลาอาจไม่นาน แต่ถือว่ามาได้ไกล

“จากปี 2536 ถึงปัจจุบัน ต้องบอกว่าระยะเวลาอาจไม่นานมาก แต่ถือว่าเรามาได้ไกลพอสมควร เพราะวันนี้แจ็ค แอนด์ จิล คือ 1 ใน 10 ของตลาดขนมขบเคี้ยวในเมืองไทย จากยอดขายศูนย์บาท ตอนนี้ยอดขายของเราอยู่ที่ 6-7 พันล้านบาท” ฐานันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้จัดการทั่วไป ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และรองประธานบริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความสำเร็จของขนมขบเคี้ยวแบรนด์แจ็ค แอนด์ จิล ในประเทศไทย เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับขนมหลากประเภทภายใต้แบรนด์ “แจ็ค แอนด์ จิล” (Jack’n Jill) กันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ฟันโอ, ทิวลี่, โรลเลอร์ โคสเตอร์, โลซาน, ดิวเบอร์รี่ หรือลูกอมไดนาไมท์ ที่วันนี้กลายเป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภค และยังติด Top 10 ของขนมขบเคี้ยวในไทย

Read More

ECOM ยกระดับผู้ประกอบการ E-commerce ไทย พร้อมสู้ศึกนักลงทุนจากจีน

นับตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในประเทศไทยคลี่คลาย ภาพรวมของตลาดชอปปิ้งออนไลน์ที่เคยมีมูลค่าลดลงในช่วงวิกฤต กลับมีทิศทางที่สดใสมากยิ่งขึ้น ปัจจัยหลักมาจากการเปิดประเทศ การเดินทางระหว่างประเทศ ภาคการผลิต ที่กลับสู่ภาวะปกติส่งผลเป็นแรงบวกสำคัญต่อตลาดนี้ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดอีคอมเมิร์ซ ของไทยว่า ปัจจุบันคนไทยมากกว่าครึ่งมีการซื้อหรือเคยซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ใช้งานสูงขึ้นจาก 30.7 ล้านคนในปี 2562 มาอยู่ที่ 41.5 ล้านคนในปี 2566 แรงผลักดันหลักมาจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจาก eCommerce-Thailand ชี้ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า/บริการผ่านตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่สูงขึ้นเกือบสามเท่าตัวจากปีละ 2,970 บาทต่อคนในปี 2562 ขึ้นมาอยู่ที่ 8,840 บาทต่อคนในปี 2566 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2565 มีมูลค่ากว่า 6.2 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องปีละ 6% และอาจแตะที่ 6.34-6.94 แสนล้านบาท ในปี 2566-2567 อีกด้านของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยที่น่าสนใจคือ สินค้านำเข้าจากจีนเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคไทย เนื่องจากมีราคาถูก สินค้ามีความหลากหลาย

Read More

เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ-NIA ดึงสตาร์ทอัปไทยโชว์ของ ปลุกตลาดเทรนด์การแพทย์และสุขภาพ

ระบบการดูแลสุขภาพของไทยติดอันดับ Top5 ของโลก และมีค่าใช้จ่ายการทางการแพทย์ต่อประชากรต่ำที่สุดใน 10 ประเทศ ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีการดูแลด้านสุขภาพที่ดี หรือมีความมั่นคงทางสุขภาพสะท้อนจาก Gloval Health Security (GHS) Index 2021 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ไทยอยู่ในอันดับ 5 ของโลก และอันดับ 1 ของเอเชีย ในการรับมือวิกฤตโควิด ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทยธนชาติ คาดการณ์แนวโน้มรายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยเติบโตเทียบเท่าก่อนวิกฤตโควิด-19 ได้ในปีนี้ รายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปี 2562 อยู่ที่ราว 2.47 หมื่นล้านบาท และลดลงมากกว่า 100% ในช่วงวิกฤตโควิด เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างดี แต่ตัวเร่งที่จะทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นคือการผสานเทคโนโลยี นวัตกรรมเข้ามาในอุตสาหกรรมการแพทย์ การดูแลสุขภาพในทุกมิติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขภาพกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ startup ให้ความสนใจและสร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพมากขึ้น นั่นเพราะทิศทางการเติบโตของธุรกิจนี้ในไทยเริ่มเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เดฟนี โยว ผู้อำนวยการบริหารโครงการ กลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ในฐานะผู้จัดงาน Medical Fair Thailand

Read More

โคคา-แคนตัน คู่แข่งอังรีดูนังต์

ยุคสมัยเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ย่านสยามสแควร์ด้านถนนอังรีดูนังต์มีสุกี้ 2 ร้านใหญ่ที่ดึงดูดผู้คนมากมาย เจ้าแรกคือ โคคา (COCA) ที่ถือเป็นต้นกำเนิดเชนร้านสุกี้ในปัจจุบัน สำหรับสุกี้โคคา (COCA) เริ่มตำนานเมื่อปี 2500 จากห้องอาหารจีนกวางตุ้งขนาด 20 ที่นั่งย่านถนนเดโช ก่อตั้งโดย ศรีชัย พันธุ์เพ็ญโสภณ และปัทมา ภรรยาคู่ใจ หลังจากนั้นไม่นานย้ายไปอยู่ที่ซอยทานตะวัน ถนนสุรวงศ์ เปิดภัตตาคารขนาด 800 ที่นั่ง ในยุคนั้นโคคาถือเป็นภัตตาคารแห่งแรกที่นำการปรุงอาหารแบบสุกี้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบหลากหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล และผักสดต่างๆ แยกเป็นจานเล็กๆ แทนการจัดจานและเสิร์ฟรวมเป็นชุดใหญ่ๆ แบบดั้งเดิม เป็นจุดขายสร้างชื่อเสียงให้โคคา ในฐานะสุกี้ต้นตำรับ และชื่อเรียก  “COCA” แปลว่า “ความอร่อย” เป็นคำดัดแปลงจากภาษาจีนกลางที่ออกเสียงว่า “เคอโคว์ (Kekou)” หมายถึง “เอร็ดอร่อย” และสำเนียงกวางตุ้งที่ออกเสียงว่า “หอเห่า (HouHào)” หรือความอร่อยที่น่ารับประทาน ซึ่งโดนใจทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ ส่วนโคคายุคใหม่ ศรีชัยส่งต่อให้ลูกชาย คือ

Read More

ตี๋น้อย จัดเต็มชน MK “คาเฟ่-เป็ดย่าง” ต้องมา

ปี 2566 “สุกี้ตี๋น้อย” เร่งเครื่องรุกตลาดแบบจัดเต็ม หลังช่วงปลายปีที่ผ่านมาปิดดีลได้ยักษ์ใหญ่กลุ่มบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรถือหุ้นในบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (BNN) จำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 30% เม็ดเงินเต็มหน้าตักกว่า 1,200 ล้านบาท ที่สำคัญ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART ประกาศว่า การเข้าลงทุนกับบี เอ็น เอ็นฯ ผู้บุกเบิกแบรนด์ร้านอาหาร “สุกี้ตี๋น้อย” ถือเป็น Strategic Partner ที่มีศักยภาพการเติบโตในระดับสูง เพราะบี เอ็น เอ็นฯ ใช้เวลาเพียง 4 ปี ผลักดันรายได้จากปี 2562 อยู่ที่ 499 ล้านบาท

Read More

ลาซาด้า-เซเว่นฯ ศึกชิงชัยช่องทางออนไลน์

แม้บิ๊กคอนวีเนียนสโตร์ “เซเว่นอีเลฟเว่น” รุกหนักแพลตฟอร์มออนไลน์ เร่งสปีดเครือข่ายสาขาตามการขยายตัวของชุมชน โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แหล่งท่องเที่ยวและทุกทำเลทอง หวังเจาะเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดและต่อยอดผลักดันบริการ All Online และแอปพลิเคชัน 7-Elven พร้อมบริการดีลิเวอรีส่งฟรีรวดเร็ว แต่ยังมีโจทย์ใหญ่ การแข่งขันต่อสู้กับยักษ์ออนไลน์ที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน แต่กลับรุกคืบแย่งชิงลูกค้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ผลวิจัยของ Kantar บริษัทข้อมูลการตลาดและการวิเคราะห์ระดับโลกในรายงาน Brand Footprint Thailand 2023 ที่แสดงถึงความแข็งแกร่งและความสามารถในการปรับตัวของแบรนด์ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทาย ในกลุ่มค้าปลีก พบว่า Top Outstanding Retailer กลายเป็นกลุ่ม Online Pure Player ที่แซงขึ้นมาเป็นช่องทางที่มีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคสูงสุดในการจับจ่ายทางออนไลน์ (Online Shopping) และลาซาด้า (Lazada) ยืนที่ 1 สถิติ 8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 3 ล้านครั้งจากปีก่อน ถ้าย้อนดูผลวิจัยปีก่อนหน้า Top Outstanding Retailer คือ ช่องทาง

Read More

39 ปี แสนสิริ พลิก 1 ล้าน สู่แสนล้าน

28 กันยายน 2527 จุดเริ่มต้นของอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ “แสนสิริ” เมื่อกลุ่มจูตระกูลจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท แสนสราญ โฮลดิ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ปี 2531 หลังวางยุทธศาสตร์นานกว่า 4 ปี บริษัท แสนสำราญ บุกเข้าสู่ธุรกิจเรียลเอสเตท ปลุกปั้นโครงการแรก คือ “บ้านไข่มุก” คอนโดมิเนียมตากอากาศริมหาดหัวหิน มีมูลค่าต้นทุน 250 ล้านบาท และประสบความสำเร็จกลายเป็นผู้เล่นใหม่ในฐานะผู้พัฒนาโครงการในตลาดระดับสูง ภายใต้การบริหารของ 2 บิ๊กเนม คือ อภิชาติ จูตระกูล และเศรษฐา ทวีสิน คนแรกเป็นลูกชายคนที่ 2 ของชนาทิพย์ น้องสาวของบัญชา ล่ำซำ ที่แต่งงานกับโชติ จูตระกูล ส่วนคนหลัง คือ ลูกโทนของชดช้อย จูตระกูล ซึ่งแต่งงานกับอำนวย ทวีสิน ปี 2536 แสนสำราญ โฮลดิ้ง

Read More