Home > Cover Story (Page 27)

Wish Upon A Star เปิดฉากซีรีส์เกาหลี

ละครโทรทัศน์ ซีรีส์เกาหลี เริ่มเข้ามาเจาะตลาดประเทศไทยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 นำเรื่อง ลิขิตแห่งดวงดาว Wish Upon A Star หรือ Star in My Heart ออนแอร์เมื่อปี 2543 ลิขิตแห่งดวงดาว เป็นเรื่องราวของหญิงสาวที่เติบโตในสถานเลี้ยงเด็ก เธอได้รับการอุ้มชูจากเพื่อนรักของพ่อ แต่ภรรยาและลูกขี้อิจฉาวางแผนสืบสาวภูมิหลังของหญิงสาว เพื่อสร้างความอับอายและกำจัดเธอออกจากครอบครัว แม้หญิงสาวมุมานะจนได้เป็นนักออกแบบแฟชั่นอนาคตไกล ท่ามกลางความเกลียดชังนั้นหญิงสาวเจอ 2 ชายหนุ่มที่เข้ามาหลงรักและทำให้เธอต้องเรียนรู้คำว่า “รักแท้” หลายคนพูดถึงซีรีส์เรื่องนี้ถูกจริตคอละครไทย เพราะเป็นเรื่องราวความรักของซินเดอเรลล่ายุคใหม่ โลกแห่งแฟชั่นและดนตรี การทรยศหักหลังและการให้อภัยในแนวคลาสสิก ปี 2544 สถานีโทรทัศน์ไอทีวีนำเสนอเรื่อง รักนี้ชั่วนิรันดร์ (Autumn in My Heart) มีคนดูจนติดงอมแงม เกิดคำพูดฮิต “พี่ชาย” และสามารถเรียกน้ำตาท่วมจอ ตามมาด้วยเรื่อง เพลงรักในสายลมหนาว (Winter Love Song) ในปี 2546 ซึ่งสร้างกระแสโด่งดังมาก มีการเลียนแบบทั้งลักษณะท่าทาง

Read More

Korean Wave แรงส์ เน็ตฟลิกซ์อัดคอนเทนต์ ยอดพุ่ง 6 เท่า

แม้สงครามสตรีมมิ่งแข่งขันด้านราคารุนแรง แต่ “คอนเทนต์” คือตัวชี้ขาดสำคัญ ไม่ว่า Netflix, Disney+, Amazon, HBO Go, viu, iQIYI และ Apple TV+ ซึ่งซีรีส์และภาพยนตร์เกาหลีเป็นหนึ่งจุดขายที่สามารถขยายฐานสมาชิกในตลาดบ้านเราตามกระแส Korean Wave หรือ Hallyu ที่โด่งดังทั่วโลกแถมยาวนานและเหนียวแน่น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เน็ตฟลิกซ์ (Netflix) ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริการายงานกำไรในไตรมาส 2 ปี 2566 สูงกว่าคาดการณ์ หลังใช้มาตรการห้ามแชร์รหัสบัญชีบริการสตรีมมิ่งโดยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 2/2566 อยู่ที่ 3.29 ดอลลาร์ และรายได้อยู่ที่ 8.19 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สำหรับจำนวนสมาชิกที่จ่ายค่าบริการสตรีมมิ่งทั่วโลก เพิ่มขึ้น 5.9 ล้านราย หรือประมาณ 8% และคาดการณ์รายได้ในไตรมาส 3/2566 จะอยู่ที่ 8.5

Read More

ปิดฉาก “แฟมิลี่มาร์ท” ในไทย เซ็นทรัลลุย “ท็อปส์เดลี่”

ในที่สุด Family Mart ร้านสะดวกซื้อสัญชาติญี่ปุ่น ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา จะถอนแบรนด์ออกจากสมรภูมิร้านสะดวกซื้อเมืองไทย หลังตะลุยสู้ศึกช่วงชิงส่วนแบ่งกับเซเว่นอีเลฟเว่นมานานมากกว่า 30 ปี และสัญญาแฟรนไชส์กับบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC สิ้นสุดไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนร้านสาขาเดิมทั้งหมดจะทยอยพลิกโฉมเปลี่ยนชื่อเป็น Tops Daily ของกลุ่มเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล พร้อมๆ กับการปรับยุทธศาสตร์ใหม่ ปลุกปั้นมินิซูเปอร์มาร์เกตที่มีความเหนือชั้นมากกว่าเจ้าตลาดคอนวีเนียนสโตร์ สำหรับแฟมิลี่มาร์ทเป็นกิจการร้านค้าประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซันกรุ๊ป เจ้าของกิจการห้างสรรพสินค้าเซบุและร้านซูเปอร์สโตร์เซยู เปิดสาขาแรกเมื่อปี 2518 และบุกเข้าสู่ตลาดประเทศไทย โดยบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซัน กรุ๊ป บริษัท อิโตชู ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จับมือเซ็นสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีก

Read More

สาวกโอปป้า กำลังซื้อสูง ค้าปลีกขยายฐานแห่เจาะ

กระแส Korean Wave ที่ร้อนแรงกลายเป็นอีกช่องทางขยายฐานลูกค้าของห้างค้าปลีก เพราะเหล่าสาวกส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์ กำลังซื้อสูง และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทั้งเหล่าแฟนคลับคนไทย รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวเกาหลีที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ล่าสุด องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี (อสท. เกาหลี) ประจำประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของการท่องเที่ยวเกาหลี โดยปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเที่ยวประเทศเกาหลีราว 570,000 คน ขณะเดียวกันมีนักท่องเที่ยวเกาหลีเดินทางมาประเทศไทยมากกว่า 1.89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มาเยือนประเทศไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก ดังนั้น เมื่อการแพร่ระบาดผ่อนคลายและมีการเปิดประเทศ โดยเฉพาะปี 2565 ถือเป็นปีแห่งการฟื้นฟูตลาดการท่องเที่ยวขนานใหญ่ โดยเกาหลีไฟเขียวให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 มีการจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ ภายใต้แคมเปญ Travel to Korea, Begins Again และจับมือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศความร่วมมือระดับทวิภาคี กำหนดให้ปี 2566-2567 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวระหว่างเกาหลีและไทย (2023-2024

Read More

ตลาดสมุนไพร 5 หมื่นล้าน กับโอกาสของผู้ประกอบการไทย

“ตลาดสมุนไพร” มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมา ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศมีมูลค่าสูงถึง 52,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 48,108 ล้านบาท, ปี 2563 มูลค่าราว 45,997 ล้านบาท, ปี 2562 มูลค่าราว 53,396 ล้านบาท และปี 2561 มีมูลค่าราว 49,071 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2566 จะมีมูลค่าตลาดไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ในขณะที่ Euromonitor คาดการณ์ว่า ในปี 2569 ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 59,500 ล้านบาทเลยทีเดียว ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านสมุนไพรสูง เพราะมีสมุนไพรกว่า 1,800 ชนิด ที่ปรากฏสรรพคุณและมีการนำมาใช้ประโยชน์ โดยตั้งแต่ปี 2560-2565 ไทยมีการส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Read More

ก้าวใหม่ “บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค” บริษัทยาของคนไทย ที่พร้อมแข่งในตลาดโลก

หลังจากคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมยามานานถึง 30 ปี “บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค” กำลังสร้างตำนานบทใหม่ให้กับบริษัท ด้วยการเข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นครั้งแรกในวันที่ 21 มิถุนายน 2566 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “BLC” เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทและสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยาของประเทศไทย “ยา” ถือเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และในขณะเดียวกัน “อุตสาหกรรมยา” ก็นับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศด้วยเช่นกัน โดยในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ของไทย มีมูลค่าตลาดถึง 2.4 แสนล้านบาท มีอัตราการเติบโต 3-5% แบ่งเป็น การผลิตในประเทศ 30% และนำเข้า 70% ซึ่งมีมูลค่าการตลาดที่สูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าการจำหน่ายยาระหว่างปี 2566-2568 จะมีอัตราการเติบโต 5-6% ต่อปี แต่ที่น่าสังเกตคือ 70% จากมูลค่าตลาด 2.4 แสนล้านบาทนั้น เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ หากสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และหันมาส่งเสริมการผลิตยาในประเทศจะเป็นการสร้างการเติบโตและความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมยาของไทย และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศในอนาคตต่อไปได้ โดยปัจจุบันผู้ผลิตยาในไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

Read More

ก้าวสำคัญของ ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ สู่สะพานเชื่อมการลงทุนในนาม บริดจ์ แคปปิตอล

ปัจจุบันธุรกิจสินเชื่อมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงตามสภาพความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ ในแง่มุมหนึ่งหากเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวสูง แต่ภาคครัวเรือนขาดสภาพคล่องส่งผลให้มีความต้องการธุรกิจสินเชื่อมากขึ้น แต่ บริดจ์ แคปปิตอล ภายใต้การนำของ ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ เป็นการปล่อยสินเชื่อระยะสั้นและผลิตภัณฑ์ร่วมลงทุนในหนี้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Private Credit Business and Real-Estate Investment Participation Product) แห่งแรกในประเทศไทย การเข้าถึงแหล่งเงินทุนยากของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม และในแง่ของนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่มีเงินเย็น เงินเก็บ แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนที่ไหน คือจุดเริ่มต้นของ บริดจ์ แคปปิตอล ฐิติวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริดจ์ แคปปิตอล แมเนจเม้นท์ จำกัด “เราเล็งเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ในขณะที่ธุรกิจกำลังเติบโต การขาดเงินทุนส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันทางธุรกิจ และอีกด้านคือ นักลงทุนคนไทยมีเงินเก็บเยอะ แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนในด้านไหน เราจึงเป็นทางเลือกให้นักลงทุน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำแต่ผลตอบแทนน่าจูงใจ” ฐิติวัฒน์นำประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเงินที่มีหลายสิบปี และการมองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจนี้ เพื่อให้บริการปล่อยสินเชื่อภาคเอกชนแก่ผู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพในประเทศไทยเป็นหลักประกัน หลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาในการขอเงินกู้จากแหล่งสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม แม้ว่าจะมีอสังหาริมทรัพย์มาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และหลายครั้งผู้ประกอบการหันไปพึ่งพาการกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง “ด้วยเหตุผลที่ว่ามา เราจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่ดี โดยบริดจ์

Read More

เนด้า หนุนการรถไฟลาว เอื้อเศรษฐกิจเวียงจันทน์ หนองคาย

หากเอ่ยถึงองค์การที่ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา JICA หรือ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น ที่คอยให้คำปรึกษาตลอดจนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น ขณะที่ไทยมีหน่วยงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency หรือ NEDA (เนด้า) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ด้วยบทบาทหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ โดยประเทศที่เนด้าให้ความช่วยเหลืออยู่ในกลุ่ม CLMV เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สปป.ลาว ซึ่งที่ผ่านมาเนด้าได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วกว่า 30 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท และอีกหนึ่งโครงการใน สปป.ลาว ที่เนด้าให้ความช่วยเหลือคือ การก่อสร้างสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ที่เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ปี 2562 โดยใช้งบประมาณก่อสร้างรวม 994.68 ล้านบาท ปัจจุบันยังไม่ได้ทำการส่งมอบเนื่องจากยังต้องรอการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยแล้วเสร็จ ซึ่งการส่งมอบและพิธีเปิดน่าจะเกิดขึ้นในช่วงการประชุมความร่วมมือ “อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง” หรือ ACMECS ครั้งที่ 10

Read More

ฟื้นตำนานพม่ากุลาร้องไห้ 30 ปี พลิกท้องทุ่งหอมมะลิ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก องค์การสหประชาชาติจึงริเริ่มโครงการปฏิวัติเขียว ซึ่งประเทศไทยถือเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ คนไทยทำไร่นามาอย่างยาวนาน ปี 2493 รัฐบาลอเมริกาส่งผู้เชี่ยวชาญ 2 คนมายังประเทศไทย เพื่อช่วยปรับปรุงพันธุ์ข้าว มีการส่งพนักงานข้าว 30 คนที่เข้าอบรมแยกย้ายไปเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวพันธุ์ดีจากทั่วประเทศ ศึกษาทดลองและคัดเลือกพันธุ์ เมื่อการคัดพันธุ์และปลูกทดลองข้าวหอมมะลิเป็นผลสำเร็จ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์จึงประกาศให้ใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ที่ 105 ขยายพันธุ์ได้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2502 ใช้ชื่อว่า “ขาวดอกมะลิ 4-2-105”  ซึ่ง 4 หมายถึงอำเภอที่ 4 คือ อำเภอบางคล้า 2 หมายถึงพันธุ์ข้าวที่ 2 และ 105 คือ รวงข้าวที่เลือกพันธุ์ออกมา แต่มักเรียกกันว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปี 2502 กรมการข้าวเริ่มโครงการทำนาสาธิตแปลงใหญ่นับร้อยไร่รอบๆ ทุ่งกุลา ซึ่งขณะนั้นเป็นทุ่งร้างกว้างใหญ่ ครอบคลุมเขตรอยต่อ 5 จังหวัด คือ สุรินทร์

Read More

ไร่ปิดทองหลังพระ ชวนหนีกรุงมาเป็นเกษตรกร

“ใช้ชีวิตในเมืองสิบกว่าปี ร่างกายเริ่มไม่ไหว ครั้งแรกเจอเนื้องอกในไตแบบไม่รู้สาเหตุ อาจเกิดจากการเป็นออฟฟิศซินโดรมและกินยาเยอะ ทำร้ายไต แต่เป็นเพียงก้อนเนื้อ พอช่วงโควิดเจออีกก้อนบริเวณปีกมดลูกข้างซ้าย ครั้งนี้เป็นมะเร็งระยะ 2 ต้องตัดมดลูกและรังไข่ รู้เลยว่าต้องกลับบ้าน กลับไปหาธรรมชาติ บำบัดทั้งร่างกายและจิตใจ...” นุชจรินทร์ เฉลิมบุญ เล่าถึงการตัดสินใจหนีกรุงมาเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2559 เอ่ยปากขอที่นากว่าสิบไร่จากพ่อแม่สร้างศูนย์เรียนรู้วนเกษตร “ไร่ปิดทองหลังพระ ก้าวหน้ายั่งยืน (เฉลิมบุญ)” ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตั้งเป้าหมายระยะยาวเปิดจุดแคมปิ้งธรรมชาติบำบัดให้คนเมืองได้สูดอากาศบริสุทธิ์ กินอาหารอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัว ปั่นจักรยาน และทำกิจกรรมในบรรยากาศธรรมชาติสุดๆ เธอเล่าว่า พ่อแม่เป็นลูกชาวนาสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มีที่ดินนับร้อยไร่เป็นโฉนดที่ดินที่ออกในสมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 แต่ครอบครัวแบ่งขายไปเรื่อย เหลือที่นาส่วนหนึ่งของพ่อ ซึ่งเป็นกำนัน ต.บ้านใหม่ อ.มหาราช และพี่น้องบางคน จริงๆ เธอไม่เคยคิดอยากเป็นเกษตรกร พ่อแม่รู้สึกเช่นกันไม่อยากให้ลูกๆ 3 คน เป็นชาวนา เพราะลำบาก ต้องปากกัดตีนถีบ รายได้ไม่พอ ปีหนึ่งทำนาได้ครั้งเดียว 3 เดือน เนื่องจากที่ไม่อุ้มน้ำ น้ำไม่ถึง ต้องรอเก็บเกี่ยวผลผลิตและปล่อยร้างอีก

Read More