Home > Cover Story (Page 25)

POSH รากฐาน-สมดุลชีวิต ของ “สิรวิชญ์ เกิดพุฒ” น้องใหม่วงการอสังหาฯ

สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทยถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในช่วงวิกฤตโควิด กระนั้นก็ยังไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มกำลัง แม้จะเริ่มมีทิศทางและสัญญาณที่ดีขึ้นก็ตาม ภาพรวมอสังหาฯ ในปีที่ผ่านมาจากสายตาของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ มองว่ายังไม่เติบโตหากพิจารณาจากจำนวนยูนิตที่เปิดตัวใหม่ในตลาด โดยมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นมาเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งปัจจัยน่าจะมาจากต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งจากการปรับขึ้นราคาวัสดุก่อสร้าง ราคาที่ดิน และค่าจ้างแรงงาน หลังจากที่ไทยมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารงาน ซึ่งนักลงทุน ผู้ประกอบการ อาจมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้มีแนวโน้มที่น่าจะสดใสขึ้น จึงได้เห็นการประกาศเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 และหนึ่งในนั้นคือ POSH โครงการทาวน์โฮมหรูในย่านนาคนิวาส ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “บ้านที่รวมทุกความสมดุลของการใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์เมือง” ภายใต้การบริหารงานของ สิรวิชญ์ เกิดพุฒ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท 304 ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ที่ต้องบอกว่าเป็น “น้องใหม่” แห่งวงการอสังหาฯ โดยแท้ “แนวคิดในการดำเนินชีวิต สมดุลในชีวิตถ้าเราหาเจอ เราจะมีความสุข” ประโยคแนะนำตัวของ ไอซ์ สิรวิชญ์ เกิดพุฒ ก่อนจะบอกเล่าเหตุผลที่ผันตัวจาก “นักออกแบบตกแต่ง ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง รีโนเวตบ้าน อาคารสำนักงาน โชว์รูม” สู่การเป็น “นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” “ผมสั่งสมประสบการณ์จากการทำงานเกี่ยวกับการออกแบบตกแต่ง รีโนเวต บ้าน

Read More

ยูโอบีจับกลุ่มธุรกิจครอบครัว ส่งต่อแบบไม่สะดุด สร้างเครือข่ายระดับอาเซียน

ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่เป็นธุรกิจครอบครัวจำนวนถึง 451 บริษัท หรือคิดเป็นสัดส่วน 57% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด รวมกันประมาณ 8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้งหมด โดยอายุเฉลี่ยของบรรดาบริษัทเหล่านี้อยู่ที่ประมาณ 34 ปี อีกทั้งยังเกิดการจ้างงานราวๆ 920,000 คน คิดเป็น 53% แม้ธุรกิจครอบครัวจะมีสัดส่วนเกินครึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกทั้งยังมีแต้มต่อในเรื่องความเป็นเจ้าของและรากฐานทางธุรกิจที่ถูกวางไว้อย่างแข็งแกร่งจากรุ่นแรก แต่ถึงกระนั้นการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อเนื่องและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ที่ผ่านมาธุรกิจครอบครัวจำนวนมากที่สามารถสร้างชื่อและเจริญรุ่งเรืองในยุคก่อตั้ง แต่กลับไม่สามารถส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างราบรื่น หรือแม้กระทั่งต้องยุติการทำธุรกิจก็มีไม่น้อยเช่นกัน จนมีคำพูดที่หลายๆ คนคุ้นหูอย่าง “การสร้างธุรกิจเป็นเรื่องยากแล้ว แต่การรักษาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตได้เป็นเรื่องที่ยากกว่า” โดยอัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ตามข้อมูลจาก The Family Firm Institute ระบุว่า รุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวอยู่ที่ 100%, รุ่นที่ 2 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว 30%, รุ่นที่ 3 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว

Read More

3 ทศวรรษ โรงพยาบาลบางมด ผู้บุกเบิกศัลยกรรมความงามของไทย

หากพูดถึงศัลยกรรมความงามแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ปัจจุบันการทำศัลยกรรมเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากคลินิกและโรงพยาบาลด้านความงามที่ผุดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เรื่องของศัลยกรรมความงามยังไม่เปิดกว้างนักและถือว่ายังเป็นช่วงแห่งการบุกเบิก ซึ่งหนึ่งในผู้บุกเบิกที่สำคัญและไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ “โรงพยาบาลบางมด” โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกบนถนนพระราม 2 ที่ไม่เพียงมีชื่อเสียงด้านการรักษาพยาบาล แต่ยังสร้างชื่อด้านศัลยกรรมความงามมาอย่างยาวนานถึง 3 ทศวรรษ โรงพยาบาลบางมดเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในย่านถนนพระราม 2 มีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นคลินิกขนาดเล็ก ก่อนที่จะขยายเป็นโพลีคลินิก จนคนไข้เพิ่มขึ้นจึงมีการขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 50 เตียงเมื่อปี 2526 กระทั่งก่อตั้งเป็นโรงพยาบาลบางมดขนาด 100 เตียงขึ้นเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2531 และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลบางมดจึงได้ขยายขนาดสู่โรงพยาบาลขนาด 400 เตียงในที่สุด สมัยแรกเริ่มโรงพยาบาลยังไม่มีแผนกศัลยกรรม แต่ในยุคนั้นถนนพระราม 2 เป็นถนนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีเคสที่ต้องทำศัลยกรรมอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการผ่าตัดใบหน้า แต่ในสมัยนั้นการทำศัลยกรรมส่วนใหญ่เป็นเพื่อการรักษา ส่วนศัลยกรรมความงามยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งนั่นเป็นการจุดประกายให้กับนายแพทย์สุรสิทธิ์ อัศดามงคล ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบางมด ให้ตัดสินใจบินไปศึกษาต่อเฉพาะทางเพิ่มเติมด้านศัลยกรรมที่สหรัฐอเมริกา เพื่อกลับมาเปิดศูนย์ศัลยกรรมความงามขึ้นที่โรงพยาบาลบางมดอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้คนไข้ที่รอรับการรักษาเป็นจำนวนมาก และนับว่า

Read More

กองทุนประกันสังคม เม็ดเงินมหาศาล 2 ล้านล้าน

แนวความคิดการประกันสังคมเกิดขึ้นในยุโรปจากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต มีการค้นคิดเครื่องจักรทำให้มีการจ้างแรงงานมากขึ้น แต่เกิดปัญหาหลายอย่าง รัฐจึงต้องออกกฎหมายให้หลักประกันแก่คนงาน เริ่มจากการประกันด้านการเจ็บป่วย โดยเริ่มขึ้นที่ประเทศเยอรมนีในสมัยเจ้าชายบิสมาร์ค (Prince Otto Von-Bismarck) เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นขยายการประกันครอบคลุมมากขึ้น กลายเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สำหรับภูมิภาคเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายประกันสังคมในปี 2454 ด้านประเทศไทย การตั้งกองทุนเงินทดแทนเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทยที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อปี 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ในปีแรกครอบคลุมเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ แล้วค่อยๆ ขยายจนครบทุกจังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ต่อมา รัฐบาลจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 มีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น กลุ่มผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ อดีตอธิบดีกรมแรงงาน กลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม

Read More

บัตรทอง 6 รัฐบาล เป้าเพื่อไทยลุย “30 บาทพลัส”

บัตรทอง 30 บาท เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่มีการสานต่อมานานกว่า 22 ปี ผ่านรัฐบาลมาแล้ว 6 ชุด จนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบันของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่มี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยประกาศเดินหน้ายกระดับ 30 บาทพลัส ที่คุยว่าครอบคลุมการดูแลสุขภาพทุกมิติ พร้อมแผนการใหญ่ โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 โรงพยาบาล และปริมณฑล ก่อนเกิดโครงการบัตรทอง 30 บาท ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพ 5 ระบบ ได้แก่ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจ หรือโครงการบัตรสุขภาพเสียเงินรายเดือนหรือรายปี โครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) หรือ บัตรอนาถา และระบบประกันสุขภาพของภาคเอกชน ว่ากันว่า ทั้ง 5 ระบบสามารถครอบคลุมประชากรราว 70% แต่ยังเหลืออีกราว 20-30% ที่ยังไม่มีระบบประกันสุขภาพใดๆ รองรับ จริงๆ

Read More

โอบอ้อมคลินิก บุกปั๊ม ปตท. เปิด O2O Hub

“หลังผ่านสถานการณ์โควิด สปสช. ขยายการรักษาโรคทั่วไป 42 อาการผ่านระบบ Telemedicine จึงเกิดไอเดียสร้าง Hub เพราะหลายครั้งก่อนเจอคุณหมอ ต้องตรวจร่างกาย ซึ่ง Telemedicine ตรวจร่างกายไม่ได้ ต้องเดินเข้าคลินิก มีพยาบาลตรวจร่างกายและเผอิญโออาร์ต้องการพาร์ตเนอร์ตรงนี้พอดี....” นีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด (Clicknic) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงจุด “คลิก” ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ และคลิกนิก เฮลท์ จนเกิดโครงการ “โอบอ้อมคลินิก” ในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station แห่งแรก โดยพุ่งเป้าให้บริการผู้ป่วยกลุ่มบัตรทอง แต่จุดแตกต่างจากคลินิกทั่วไป คือ รูปแบบ Omni-channel ผสมผสาน

Read More

กลุ่มธุรกิจ TCP กับภารกิจด้านความยั่งยืน “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ”

กลุ่มธุรกิจ TCP จัดงานประชุมด้านความยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้แนวคิด “Net Zero Transition...From Commitment to Action” หรือ “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” ปลุกพลังอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เร่งลงมือหนุนประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero สัญญาณเตือนและทิศทางระดับประเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ดังนั้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เกษตรกรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จึงมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ นอกจากนี้ ยังมีกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ระดับโลกที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกบททดสอบหนึ่งสำหรับภาคธุรกิจ เปลี่ยนจากการดำเนินการโดยสมัครใจไปสู่ข้อกำหนดที่เป็นทางการร่วมกัน ทั้งนี้ รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (2022) แนะนำทางออกให้ไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจหรือ GDP เติบโตขึ้น 1.2% จากปีฐาน หรือเพิ่มขึ้น 0.1-0.2% ต่อปีภายในปี 2030 และมีโอกาสสร้างงานได้ถึง 160,000

Read More

เทรนด์ Pet Humanization มาแรง ดันธุรกิจสัตว์เลี้ยงโต ธุรกิจอื่นปรับตัว

การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงของคนเปลี่ยนไป เพราะผู้คนต้องอยู่บ้านและได้ใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงมากขึ้น จนเกิดเป็นเทรนด์การเลี้ยงสัตว์ที่เรียกว่า “Pet Humanization” ที่สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ประกอบกับสังคมปัจจุบันที่แนวโน้มประชากร Gen Z, Gen Y และประชากรสูงอายุนิยมเลี้ยงสัตว์แก้เหงามากขึ้น อีกทั้งครอบครัวสมัยใหม่มักมีลูกน้อยลงหรือเลือกที่จะไม่มีลูกเลย และเลือกที่จะเลี้ยงสัตว์แทน ซึ่งล้วนทำให้เทรนด์ Pet Humanization ขยายตัวมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งการดูแลสุขภาพ สินค้า และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เติบโตอย่างก้าวกระโดด และในขณะเดียวกันยังส่งผลให้ธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหาร รวมถึงคมนาคม ต่างก็ปรับตัวเพื่อรับกับกระแสความนิยมที่เกิดขึ้น สัตวแพทย์หญิง กฤติกา ชัยสุพัฒนากุล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ให้ข้อมูลไว้ว่า ตลาดสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด โดยข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่า ภาพรวมตลาดสัตว์เลี้ยงของไทย ซึ่งประกอบด้วย มูลค่าสัตว์เลี้ยง อาหารสัตว์เลี้ยง ของเล่น และอื่นๆ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยในปี 2561 มีมูลค่าตลาด 31,000 ล้านบาท

Read More

ย้อนเส้นทาง “โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ” จากคลินิกห้องแถว สู่โรงพยาบาลสัตว์อันดับหนึ่ง

จากคลินิกรักษาสัตว์ที่เป็นห้องแถวเล็กๆ ในซอยสุขุมวิท ปัจจุบัน “โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ” เติบโตอย่างก้าวกระโดด และผงาดสู่การเป็นโรงพยาบาลสัตว์เอกชนอันดับหนึ่งของประเทศ ด้วยรายได้หลักพันล้านบาทต่อปี และมีสาขากว่า 20 แห่งทั้งในและต่างประเทศ ถึงตอนนี้ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 30 ด้วยโมเดลธุรกิจที่น่าติดตาม “ผู้จัดการ 360 องศา” จึงขอพาไปย้อนเส้นทางเดินและปัจจัยสู่ความสำเร็จ รวมถึงแผนธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของโรงพยาบาลสัตว์ที่มีรายได้หลักพันล้านบาทต่อปีแห่งนี้ ถ้าพูดถึงโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อแล้ว แน่นอนว่า ชื่อของ “สัตวแพทย์หญิง กฤติกา ชัยสุพัฒนากุล” มักปรากฏควบคู่มาด้วยเสมอ ทั้งในฐานะประธานกรรมการบริหาร และในฐานะผู้ก่อตั้ง ที่เป็นดั่งคนตัดสายสะดือให้กับโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ (รพส. ทองหล่อ) สพ.ญ. กฤติกา ได้ย้อนถึงจุดเริ่มต้นของ รพส. ทองหล่อ ไว้ว่า ก่อนจะมาเป็น รพส. ทองหล่อ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมงอย่างในทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นมาจากคลินิกรักษาสัตว์ย่านสุขุมวิทที่เป็นห้องแถวเล็กๆ “ตอนแรกเราเปิดเป็นคลินิกปิด 2 ทุ่ม แต่ปรากฏว่าไม่เคยได้กลับบ้าน 2 ทุ่มเลย จะมีหมาแมวเข้ามาให้รักษาตลอดเวลา บางทีเป็นอุบัติเหตุ มาแล้วเราปฏิเสธไม่ได้เพราะสงสารและอยากช่วยเขา กว่าจะได้กลับบ้านก็เที่ยงคืน

Read More

แฟนๆ เตรียมควักกระเป๋า เมื่อ POP MART อาร์ตทอยส์สุดฮิต เปิดแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในไทย

สิ้นสุดการรอคอย เมื่อ “ป๊อปมาร์ท” (POP MART) แบรนด์อาร์ตทอยส์สุดฮิต ที่มีแฟนคลับเหนียวแน่นและเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมของเล่น เปิดตัวแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ปักหมุดห้างใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง “เซ็นทรัลเวิลด์” และที่สำคัญยังมาพร้อมคอลเล็กชั่นพิเศษที่มีเฉพาะในไทย “ป๊อปมาร์ท” (POP MART) ถือเป็นผู้นำตลาดธุรกิจอาร์ตทอยส์จากคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนที่มาในรูปแบบของกล่องสุ่ม หรือ Blind Boxes ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมของเล่น ตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาดอาร์ตทอยส์ (Art Toys) เบอร์หนึ่งของโลก ด้วยการสร้างเทรนด์นิยมในสไตล์ป๊อปคัลเจอร์ (POP Culture) ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะผ่านการผนึกพลังไอเดียการออกแบบฟิกเกอร์ตัวการ์ตูนที่เป็นของเล่นและของสะสมร่วมกับศิลปินและนักออกแบบจากทั่วโลกกว่า 350 คน เดินหน้าขยายการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเสริมความแข็งแร่งให้กับบริษัทฯ ด้วยการเปิดตัวแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย ป๊อปมาร์ท เปิดตัวครั้งแรกในประเทศจีน เมื่อปี 2010 ก่อนที่จะขยายสาขาไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตามกระแสความนิยมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดกับการเปิดตัวแฟลกชิปสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย ณ ห้างใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง “เซ็นทรัลเวิลด์” ด้วยพื้นที่กว่า 169 ตารางเมตร ซึ่งแฟลกชิปสโตร์แห่งนี้เป็นการร่วมทุนกันระหว่างป๊อปมาร์ทและไมเนอร์ ไลฟ์สไตล์ (Minor Lifestyle) โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการขยายตลาดในประเทศไทย คีย์แมนคนสำคัญของป๊อปมาร์ท อย่าง มร.จัสติน

Read More