Home > Cover Story (Page 23)

กรณ์ ณรงค์เดช “ธรรมนูญของครอบครัว ต้องชัดเจนยิ่งขึ้น”

“บทเรียนจากคดีความกับการทำธุรกิจในอนาคต อันดับแรก คือ เรื่องธรรมนูญของครอบครัว ต้องชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นลายลักษณ์อักษร อะไรที่สมัยก่อนเคยอยู่ด้วยความไว้ใจต้องปรับให้ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งหมด เพื่อความเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย” กรณ์ ณรงค์เดช ทายาทครอบครัวณรงค์เดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด(มหาชน) เปิดใจกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงคดีความในกลุ่มตระกูลที่ดูเหมือนจะจบ แต่ยังไม่จบ และฝังรอยร้าวลึกอยู่ เมื่อฝ่ายหนึ่ง คือ เกษม ผู้เป็นพ่อและลูกชาย 2 คน “กฤษณ์-กรณ์” กับอีกฝ่าย คือ ณพ ลูกชายคนรองของนายเกษม ประเด็นคดีซื้อและโอนหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 ปี ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 นายกฤษณ์และกรณ์ พร้อมทนายความ เปิดแถลงข่าวกรณีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายณพและคุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา แม่ยายของนายณพ กับพวก

Read More

จากอากงห้างทอง “จูเจียบเซ้ง” สู่ทายาทรุ่น 3 อินเตอร์โกลด์

“อากงเคยบอกกับลูกค้าคนหนึ่งให้เก็บทองคำไว้ อีกหลายๆ ปีจะมีมูลค่ามหาศาล พูดในสมัยทองราคาสองสามร้อยบาท วันนั้นไม่มีใครเชื่อ วันนี้ขึ้นไปเป็นหลักหมื่น อากงเห็นเทรนด์ตั้งแต่ตอนนั้นจริงๆ” ธีรรัฐ จุฑาวรากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์โกลด์ โกลด์เทรด จำกัด เล่าถึงอากง นายเจียบ แซ่จู ผู้ก่อตั้งห้างเพชรทอง จูเจียบเซ้ง บนถนนเยาวราชเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว ก่อนสืบทอดขยายกิจการมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 เขาเล่าว่า อากงเป็นรุ่นลูกชาวจีนยุคเสื่อผืนหมอนใบ ใช้ชีวิตลำบาก ไม่ได้มีเงินทุนเปิดร้านทองทันที แต่เริ่มต้นแบบคนรุ่น 70 กว่าปีก่อน ทำกิจการค้าขายทุกอย่าง ตั้งแต่ซ่อมรองเท้า ขายของตามคลองถม สำเพ็ง และนิสัยคนจีนสมัยก่อนประหยัดเก็บออม อากงคงเห็นแนวโน้มราคาทองเพิ่มสูงขึ้น จึงซื้อสะสมเรื่อยๆ ซึ่งสมัยนั้นราคาทองถูกมาก บาทละหลักสิบหลักร้อย จนสามารถเปิดร้านทองได้ ปี 2499 อากงเจียบเปิดห้างทอง จูเจียบเซ้ง เป็นร้านทองร้านแรกๆ ของประเทศในย่านเยาวราช แต่เป็นกิจการขายส่งให้ร้านทองตามต่างจังหวัด โดยถือเป็นร้านค้าส่งรุ่นแรกๆ ของประเทศไทย สามารถคุมตลาดขายส่งทองเกือบทั้งประเทศ ซึ่งอากงเจียบยังเป็นหนึ่งในกลุ่มคนกำหนดราคาซื้อขายของสมาคมค้าทองคำรุ่นแรกๆ ด้วย “จูเจียบเซ้งเติบโตต่อเนื่อง

Read More

อานิสงส์เงินเยนอ่อนค่า Hotel101 นิเซโกะ-ฮอกไกโด ขายคนไทย

สถานการณ์ค่าเงินเยนอ่อนลง ส่งผลในหลายมิติ ทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติบนดินแดนอาทิตย์อุทัย ในแต่ละปีประเทศญี่ปุ่นนับเป็นจุดหมายปลายทางของตลาดนักท่องเที่ยวไทย คาดการณ์กันว่าปี 2566 ตลาดคนไทยเที่ยวญี่ปุ่นจะกลับมาแบบ 100% หรือประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด ขณะที่ไตรมาสแรกพบว่า นักท่องเที่ยวไทยเดินทางเข้าญี่ปุ่นแล้วประมาณ 497,000 ราย และคนญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทยประมาณ 326,347 ราย นอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตลาดอสังหาฯ ญี่ปุ่นจะเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีโอกาสฟื้นตัวสูงขึ้นเนื่องจากเงินเยนอ่อนค่าลง เห็นได้จากที่มีการลงทุนสูงถึง 1.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2023 เติบโตขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ปัจจัยด้านค่าเงินส่งผลดีต่อนักลงทุนต่างชาติ เช่นที่ บริษัท ดับเบิ้ล ดราก้อน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตัดสินใจซื้อที่ดินทำเลสวยนิเซโกะ-ฮอกไกโด ปักหมุดโครงการ Hotel101 โดยมีตลาดหลักเป็นกลุ่มนักลงทุน นักท่องเที่ยวไทย ทั้งนี้ นิเซโกะแม้จะเป็นเพียงเมืองเล็กๆ แต่มีความโดดเด่นด้านทัศนียภาพ และการเป็นเมืองสกี รีสอร์ต ที่สามารถเปิดได้ตลอดทั้งปี จึงเริ่มเห็นสัญญาณดีมานด์จากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยว และมีการลงทุนเพิ่มขึ้น บริษัท ดับเบิล

Read More

ศิริราชชูโมเดลดูแลผู้ป่วยสูงวัย Transitional care  เตรียมรับมือสังคมสูงอายุระดับสุดยอด

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2565 ปัจจุบันจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 12.7 ล้านคน และในอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด หรือ Super-aged society ซึ่งจะมีผู้สูงวัยสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ ข้อมูลจากกรมผู้สูงอายุชี้ว่า จำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งประกอบไปด้วยช่วงอายุ 60-69 ปี กว่า 7 ล้านคน เมื่อพิจารณาถึงรายได้จากแหล่งที่มาของผู้สูงวัยทั้งหมด พบว่า 1 ใน 3 จะมาจากการทำงาน และอีก 1 ใน 3 มีรายได้มาจากบุตร และประมาณ 1 ใน 4 ของผู้สูงวัยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากบุตรในครัวเรือนนั้น ได้รับเพียง 1,000-4,999 บาทต่อปีเท่านั้น

Read More

สมรภูมิน้ำอัดลม 62,000 ล้าน กับการแก้เกมของ “เอส” จากไทยเบฟฯ

ตลาดน้ำอัดลมเมืองไทยมีมูลค่ารวมกว่า 62,000 ล้านบาท แบ่งเป็นน้ำดำ 75% และน้ำสี 25% มีผู้เล่นเบอร์ใหญ่ที่ครองตลาดอย่าง “โค้ก” ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 54% ในขณะที่ “เป๊ปซี่” ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 30% ตามมาด้วยแบรนด์สัญชาติไทยอย่าง “เอส” ในเครือไทยเบฟฯ ที่แม้จะตามมาห่างๆ แต่กำลังตีตื้นขึ้นมาทุกขณะ ท่ามกลางการขับเคี่ยวที่ดุเดือดของ 2 แบรนด์ใหญ่ เอส (est) เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2555 โดยมีบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ก่อนที่จะเข้าไปอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ อาณาจักรยักษ์ใหญ่ด้านเครื่องดื่มในระยะต่อมา สำหรับ บมจ. เสริมสุข ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศไทยมากว่า 6 ทศวรรษ โดยเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มโคล่า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เป๊ปซี่” ในประเทศไทย จากเป๊ปซี่โค อินค์. สหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่ปี 2496 กระทั่งปี 2555 บริษัท เป๊ปซี่โค

Read More

อิน สาริน – ไท้ วสุวัส ปั้นแบรนด์ Holiday Pastry จากร้านขนมออนไลน์ สู่ Food Retail

หากเอ่ยชื่อ “อิน-สาริน รณเกียรติ” เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่ไม่น้อย ในบทบาทการเป็นนักแสดงซีรีส์ชื่อดังหลายๆ เรื่อง ทั้งบท “ภูผา” ในซีรีส์ชุดลูกผู้ชาย หรือบท “พ่อเพิ่ม” ในละครเรื่องทองเอก หมอยา ท่าโฉลง รวมถึงผลงานสร้างชื่อในซีรีส์วายออริจินัลเรื่องแรกของช่อง 3HD อย่าง “คุณหมีปาฏิหาริย์” แต่นอกจากการเป็นนักแสดงแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่น่าจับตาไม่แพ้กัน คือการเป็นเจ้าของแบรนด์ Holiday Pastry ร้านขนมสุดฮิต ที่มีนักธุรกิจหนุ่มทายาทตระกูลดังอย่าง “ไท้-วสุวัส คูหาเปรมกิจ” เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และที่สำคัญเขากำลังต่อยอดสร้างการเติบโตให้กับ Holiday Pastry จากร้านขนมออนไลน์ สู่การเป็น Food Retail ที่รวบรวมความอร่อยจากทุกมุมโลกมาไว้ที่ไทย Holiday Pastry เปิดตัวครั้งแรกในฐานะร้านขนมออนไลน์ เมื่อปี 2563 ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยความแปลกใหม่และรสชาติของตัวขนม โดยมีพระเอกของร้านอย่าง “Premium Basque Burnt Cheesecake” ชีสเค้กหน้าไหม้สัญชาติสเปน, “Fountain Chocolate

Read More

ตำนาน “เก้าอี้แดง” สารตั้งต้น อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์

พิศิษฐ์ ปัทมสัตยาสนธิ เป็นคนจังหวัดน่าน ชีวิตวัยเด็กไม่ได้เรียนต่อมัธยมปลาย เพราะพ่อเสียชีวิต ต้องออกมาช่วยงานร้านขายของชำของครอบครัว จนกระทั่งพบกับภรรยา ขันทอง อุดมมหันติสุข แต่งงานและย้ายเข้ากรุงเทพฯ อายุแค่ 20 ต้นๆ แต่เพราะพรหมลิขิตชีวิตเจอเพื่อนแนะนำช่างเฟอร์นิเจอร์ที่รู้จักและเป็นจุดเริ่มการก่อร่างสร้างอาณาจักร “อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์” ปี 2516 พิศิษฐ์ผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็ก แบรนด์ Winner และแบรนด์มงกุฎ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไป และลุยขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมีสินค้า “เก้าอี้เหล็กเบาะแดง” ที่คนไทยยุคเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนต้องรู้จัก เขาใช้เวลาสิบกว่าปีขยายโรงงาน เปิดตลาดส่งออกกว่า 100 ประเทศตั้งแต่ปี 2528 และนำเข้าเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงจากต่างประเทศ บุกตลาดเฟอร์นิเจอร์ สำนักงาน และซื้อลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายแบรนด์หลากหลายมากขึ้น กระทั่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2537 ตัดสินใจตั้งบริษัท บางกอกแฟรนไชส์ จำกัด เปิดตัวแบรนด์ศูนย์ตกแต่งบ้านครบวงจร Index Living Mall โดยนำร่องสาขาแรกที่ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต และทยอยปักหมุดสาขาต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองรอบๆ รวม

Read More

สมรภูมิเฟอร์นิเจอร์แสนล้าน ยักษ์ใหญ่งัดทุกโมเดลชิงส่วนแบ่ง

แม้ตลาดเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านอาจไม่ได้เติบโตหวือหวา แต่มูลค่ารวมหลักแสนล้านบาท และยังถือเป็นธุรกิจที่มีความโดดเด่น หลังภาคการบริการและท่องเที่ยวพลิกฟื้น มีความต้องการที่พักอาศัยและบ้านหลังที่ 2 รองรับการทำงานแบบ hybrid workplace ในกลุ่มชาวไทยรายได้สูงและต่างชาติ ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เก็บข้อมูลภาพรวมผลประกอบการของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ รายได้เฉลี่ยปีละกว่า 160,000 ล้านบาท จำนวนผู้ประกอบการมากกว่า 6,000 ราย และแนวโน้มเติบโตทุกปี สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ ผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างเร่งขยายสาขา สร้างจุดขายใหม่ๆ และแตกไลน์ธุรกิจ เพื่อกระตุ้นตลาด โดยเฉพาะกรณี อิเกีย ประเทศไทย ประกาศนับถอยหลังเผย ‘อิเกีย สุขุมวิท’ ภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ City-Centre Store พื้นที่กว่า 12,000 ตารางเมตร ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่ศูนย์การค้า The Emsphere หลังจากเข้ามาบุกสมรภูมิรอบนอกกรุงเทพฯ ย่านบางนา บางใหญ่ และปักหมุดต่างจังหวัดในเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต แน่นอนว่า แนวรบตลาดเฟอร์นิเจอร์มีรายใหญ่ฝังตัวอยู่ในตลาดมาอย่างยาวนาน

Read More

เอกลักษณ์ ปัทมสัตยาสนธิ เดินหน้า “ลิตเติ้ลวอล์ค” รัตนาธิเบศร์

“ลิตเติ้ลวอล์ค มีภูมิต้านทานค่อนข้างดี สามารถสร้างรายได้ดี แม้มีคู่แข่งหรือเศรษฐกิจไม่ดี พิสูจน์ผ่านมาแล้ว หลังโดนโควิด ลิตเติ้ลวอล์คยังอยู่รอดได้ รายได้ไม่ตกมาก เป็นการบาลานซ์พอร์ตและทำให้กลุ่มอินเด็กซ์แข็งแรงมากขึ้น” เอกลักษณ์ ปัทมสัตยาสนธิ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึง Business Model ในกลุ่มธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ช่วงหลังจากนี้จะเน้นโปรเจกต์ “ลิตเติ้ลวอล์ค (Little Walk) ซึ่งล่าสุดทุ่มเม็ดเงิน 150 ล้านบาท เผยโฉมสาขากรุงเทพกรีฑา บนถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า เจาะย่านชานเมืองโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก ภายใต้แนวคิด “ใช้ชีวิตได้ครบไลฟ์สไตล์ ใกล้ยิ่งขึ้น” ทั้งนี้ อินเด็กซ์ฯ เริ่มแตกไลน์ธุรกิจให้เช่าและคอมมูนิตี้มอลล์เมื่อปี 2555 โดยตั้งบริษัทย่อย เดอะวอล์ค และประเดิมโครงการต้นแบบ The Walk Ratchaphruek รูปแบบไลฟ์สไตล์มอลล์ อินดอร์ในบรรยากาศแบบเอาต์ดอร์ เน้นสถาปัตยกรรม

Read More

นับถอยหลัง อิเกีย สุขุมวิท City-Centre Store เจาะคนเมือง

อิเกีย ประเทศไทย เริ่มนับถอยหลัง ‘อิเกีย สุขุมวิท’ สโตร์แห่งที่ 4 ในประเทศไทย ภายใต้คอนเซ็ปต์ City-Centre Store แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยดีเดย์วันที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่ศูนย์การค้า The Emsphere พื้นที่กว่า 12,000 ตารางเมตร หลังใช้เวลากว่า 12 ปี ขยายฐานลูกค้า ปรับโมเดลเปิด 3 สาขารอบนอก ตั้งแต่หมุดแรกทำเลบางนา บางใหญ่ และภูเก็ต หากเปรียบเทียบ 3 สาขาแรกกับสาขาที่จะเปิดล่าสุด อิเกียบางนาถือเป็นการนำร่องอย่างยิ่งใหญ่ของ Ikano Retail 1 ใน 12 ผู้ประกอบการแฟรนไชส์อิเกีย โดยร่วมมือกับกลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ สร้างศูนย์การค้าเมกาบางนา ซึ่งในส่วนของอิเกียเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ก่อนเผยโฉมศูนย์การค้าในปีต่อมา ปี

Read More