Home > Cover Story (Page 19)

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นับถอยหลังส่งต่อ Big Mission

ณ เวลานี้ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คงต้องนับถอยหลังการอำลาตำแหน่ง ซึ่งจะครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 พร้อมๆ กับการบ้านชิ้นใหญ่ให้บิ๊กซีอีโอคนใหม่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการสรรหาจากรายชื่อผู้สมัครทั้ง 5 ราย โดยมีนัดหมายสัมภาษณ์วิสัยทัศน์ในวันที่ 17 มกราคมนี้ ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC นายบุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.

Read More

เชฟรอนจัดทัพ “คาลเท็กซ์” พลิกกลยุทธ์สู้ศึกน้ำมัน

สงครามธุรกิจน้ำมันที่วันนี้เหลือค่ายต่างชาติดั้งเดิม 2 รายใหญ่ คือ เชลล์และคาลเท็กซ์ น่าจะเพิ่มความร้อนแรงมากขึ้น หลังบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ประกาศปิดดีลซื้อกิจการ “คาลเท็กซ์” จาก เชฟรอน เอเชีย แปซิฟิคโฮลดิ้งส์ (CAPHL) มูลค่าราว 5,500 ล้านบาท หลังตระเตรียมแผนทั้งหมดนานเกือบปี เหตุผลสำคัญ คือ กลุ่มเชฟรอนต้องการปรับโครงสร้างธุรกิจในไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพราะทั้ง SPRC และคาลเท็กซ์ ต่างมีเชฟรอนเป็นบริษัทแม่ สำหรับ SPRC จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2535 แรกเริ่มมีเชฟรอนถือหุ้น 64% และ ปตท. ถือหุ้น 36% ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน กำลังผลิต 155,000 บาร์เรลต่อวัน ก่อนแปลงสภาพจากบริษัทจำกัดเป็น บริษัทมหาชนจำกัด เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Read More

ปมขัดแย้ง “ณุศาศิริ” ความท้าทายระลอกใหม่

นี่อาจเป็นการเริ่มต้นปีที่ไม่ค่อยผ่อนคลายนักสำหรับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อย่าง “ณุศาศิริ” ที่กำลังเผชิญความท้าทายระลอกใหม่จากปมขัดแย้งของสองกลุ่มผู้บริหารที่ส่อแววมาตั้งแต่ปลายปี 2566 ข่าวคราวความขัดแย้งของสองกลุ่มผู้บริหาร บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA อย่างนายวิษณุ เทพเจริญ ผู้ก่อตั้งณุศาศิริ และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มาแต่เดิม กับ นายประเดช กิตติอิสรานนท์ ผู้บริหารจากบริษัทพลังงานรายใหญ่ “วิน เอ็นเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง” หรือ WEH ที่เพิ่งเข้ามาถือหุ้นใหญ่ของณุศาศิริเมื่อไม่นานมานี้ ส่อเค้าความขัดแย้งในการบริหารณุศาศิริจนเป็นข่าวดังบนหน้าสื่อและวงการหุ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ในประเด็นที่นายประเดช กิตติอิสรานนท์ นำทีม 6 กรรมการ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) และกรรมการอีก 7 คนของบริษัทฯ ที่นำโดย “วิษณุ เทพเจริญ” ในการที่สนับสนุนให้ผู้บริหารเทขายทรัพย์สินบริษัทล็อตใหญ่ 6 รายการ มูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาท หรือเกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมด โดยไม่มีอำนาจและแผนรองรับที่ชัดเจน

Read More

MR. D.I.Y. ค้าปลีกจากกัวลาลัมเปอร์ กับเป้า 1,000 สาขา ทั่วเมืองไทย

เผลอแป๊บเดียว ร้านค้าปลีกสินค้าตกแต่งและซ่อมแซมบ้านจากกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่มาพร้อมกับคำว่า “Always Low Prices” อย่าง MR. D.I.Y. ก็เข้ามาบุกตลาดในเมืองไทยครบ 7 ปีไปหมาดๆ และยังขยายสาขาอย่างรวดเร็วจนทะลุ 700 สาขาเป็นที่เรียบร้อย และที่สำคัญยังตั้งเป้าเปิดให้ครบ 1,000 สาขาภายในปี 2568 อีกด้วย เส้นทางการเติบโตของ MR. D.I.Y. เป็นอย่างไร และอะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของแบรนด์ค้าปลีกสัญชาติมาเลเซียแบรนด์นี้ MR. D.I.Y. (มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย.) ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อปี 2548 โดยผู้ก่อตั้งอย่าง Mr. Tan Yu Yeh ที่ต้องการแก้เพนพอยต์ของผู้คนในมาเลเซียที่ต้องการซ่อมแซมบ้านด้วยตัวเอง แต่กว่าจะซ่อมบ้านได้แต่ละครั้งต้องเสียเวลาทั้งวันในการตระเวนหาซื้ออุปกรณ์ที่ต้องการจากหลายๆ ร้าน เพราะยังไม่มีร้านที่รวบรวมอุปกรณ์ต่างๆ มาไว้ในที่เดียวกัน นั่นทำให้ Tan Yu Yeh ตัดสินใจเปิดร้าน MR. D.I.Y.

Read More

โอกาสการฟื้นตัวและความท้าทาย ของธุรกิจรับสร้างบ้านปี 67

แม้ว่าในปีที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์จะยังคงมีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องของผู้พัฒนาโครงการ นั่นเป็นไปเพื่อสร้างให้เกิดแรงกระเพื่อมของยอดขาย แม้ว่าสถานการณ์กำลังซื้อที่แท้จริงนั้นยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็ตาม สิ่งที่ตามมาคือการสวนทางกันของปริมาณซัปพลายที่มีอยู่ในตลาด โดยปี 2566 มีปริมาณอยู่ที่ 9.4 หมื่นหน่วย แต่ความต้องการ รวมถึงความสามารถในการเป็นเจ้าของอสังหาฯ ของผู้บริโภคไม่ได้เติบโตไปในทิศทางเดียวกัน และสิ่งที่น่าเป็นกังวลสำหรับอุตสาหกรรมอสังหาฯ ในปี 2567 คือ การเพิ่มจำนวนซัปพลายที่จะเข้าสู่ตลาดอีกกว่าแสนยูนิต วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2567จะฟื้นตัวขึ้น โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวของผู้ประกอบการในตลาดมีการปรับสมดุลระหว่างสินค้าเหลือขายและสินค้าเข้าใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 108,886 ยูนิต เพิ่มขึ้น 13.7% โดยบ้านจัดสรรยังเป็นสัดส่วนหลัก 63,794 ยูนิต ส่วนคอนโดมิเนียม อยู่ที่ 45,091 ยูนิต และคาดว่าจะมียอดขายใหม่จำนวน 109,184 ยูนิต เพิ่มขึ้น 36.1% แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 62,862 ยูนิต ที่เหลืออีก 46,323 ยูนิต เป็นคอนโดฯ ขณะที่อัตราการดูดซับของการตลาดคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3% และมีหน่วยเหลือขายทั้งสิ้น 197,984 ยูนิต

Read More

ทิศทางตลาดแรงงานไทยปี 2024 กับ 5 สายงานยอดฮิต

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถือเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งแม้จะไม่สามารถดำเนินตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยตอนหาเสียง ที่ประกาศว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน โดยการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่จะเพิ่มขึ้น 2-16 บาทต่อวัน ตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง โดยจังหวัดที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำสูงสุด 370 บาทต่อวันคือ จังหวัดภูเก็ต ขณะที่พื้นที่กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 363 บาทต่อวัน เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC อย่างจังหวัดชลบุรีและระยอง ค่าแรงขั้นต่ำ 361 บาทต่อวัน และจังหวัดที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุด 330 บาทต่อวัน ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา แม้ว่าในช่วงการหารือเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำจะมีข้อเสนอให้ปรับขึ้นเป็น 400 บาทต่อวัน แต่ยังเป็นอัตราที่สูงเกินไป แม้ว่าผู้ประกอบการและนายจ้างส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องว่าควรขึ้นค่าแรงก็ตาม ขณะที่สถานการณ์การจ้างงานในไทย ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยมองว่า แนวโน้มการจ้างงานใหม่ในปี 2567 ยังมีความเปราะบางตามทิศทางเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้าตามทิศทางเศรษฐกิจโลก

Read More

ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ พลิกแผนดิสนีย์แลนด์เมืองไทย

16 ธันวาคม 2566 ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ประธานที่ปรึกษากลุ่มบริษัทสยามพาร์คซิตี้ ออกอีเวนต์ใหญ่เปิดงานสยามอะเมซิ่งพาร์ค ฉลอง 4 ทศวรรษ สวนสยาม ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เทศกาล “รื่นเริง สำราญ อุทยานเมืองบางกอก” ในโครงการบางกอกเวิลด์ (Bangkok World) ซึ่งเป็นโปรเจกต์ชิ้นสุดท้ายในชีวิตการทำงานและเป็นจิ๊กซอว์เติมเต็ม “สยามพาร์คอะเมซิ่งซิตี้” ให้กลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กสำคัญ หากย้อนดู 4 ทศวรรษ เริ่มทศวรรษแรกตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2521 จัดตั้งบริษัทอมรพันธุ์นคร-สวนสยาม จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจสวนสนุก “สวนสยาม” บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ ย่านมีนบุรี เป็นยุคบุกเบิกลงทุนและใช้เวลานานกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน ทศวรรษที่ 2 เกิดวิกฤตใหญ่ของชีวิตและธุรกิจ ถูกฟ้องร้องและใกล้ถูกตัดสินให้ล้มละลาย ต้องขายสินทรัพย์จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อพยุงธุรกิจสวนสนุก ทศวรรษที่ 3 เป็นยุคทายาทรุ่นที่ 2 ลูกๆ เข้ามาช่วยกิจการอย่างเต็มตัวทั้งสามพี่น้อง ได้แก่  สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ ลูกชายคนโต

Read More

อัดอีเวนต์ “บางกอกเวิลด์” ลุยปี 2567 รับท่องเที่ยวฟื้น

หลัง “สยามพาร์ค บางกอก” หรือ “สวนสยาม” ยุคเจเนอเรชัน 2 เปิดตัว “บางกอกเวิลด์ (Bangkok World)” อย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2565 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เต็มทุกพื้นที่ โดยพยายามอัดอีเวนต์ปลุกกระแสทุกเดือน ล่าสุด ทุ่มเทศกาลใหญ่ “รื่นเริง สำราญ อุทยานเมืองบางกอก” ฉลอง 4 ทศวรรษ สวนสยาม เดินหน้าลุยปี 2567 ด้วยความเชื่อมั่นว่า ภาวะเศรษฐกิจและตลาดท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัวเต็มที่แล้ว ในงานมีทุ่งดอกทิวลิปและกล้วยไม้นานาพันธุ์ กิจกรรมแสงสีเสียง จัดเต็มร้านค้า สตรีทฟู้ดสไตล์ตลาดนัด และยกขบวนรถม้าเมืองลำปางของแท้มาให้บริการตลอดรายการ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ยาวถึงกลางเดือนหน้า แน่นอนว่า บางกอกเวิลด์ ซึ่งเป็นบิ๊กโปรเจกต์ตามความตั้งใจของ “ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ” ยังต้องรอการเติมเต็มของกลุ่มลูกค้า ทั้งผู้ใช้บริการและผู้เช่าพื้นที่ตามคอนเซ็ปต์ The Best of AMAZING Bangkok เพราะหากนับเวลาก่อสร้างตั้งแต่วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2561

Read More

ภิพัชรา แก้วจินดา ดันแบรนด์แฟชั่น PIPATCHARA จากพลังชุมชน

ภิพัชรา แก้วจินดา ใช้เวลากว่า 5 ปี เปลี่ยน Passion ผลักดันแบรนด์แฟชั่นเครื่องหนังแบรนด์ PIPATCHARA ที่ไม่ใช่แค่ดีไซน์ แต่ตั้งเป้าหมายเป็น Fashion for Community สร้างพลังชุมชนจนต่อยอดสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ล่าสุด เธอจับมือกับค่าย สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เปิดตัว INFINITUDE WHITE BALANCE ภายใต้แนวคิดการรีไซเคิลแบบไม่สิ้นสุด ผ่านกระบวนการ redone, re-produce และ recycle จาก “ขยะกำพร้า” หรือขยะที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการรวบรวม คัดแยกใดๆ เลย เป็นขยะที่ไม่มีใครเอา ไม่คุ้มกับการรีไซเคิล ไม่มีคนรับซื้อจนนับวันมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น ฝาขวดน้ำสีขาว สีฟ้า ฉลากดีไซน์ Toy Story กล่องใส่อาหารต่างๆ “เรานำขยะกำพร้าพวกนี้มาเข้ากระบวนการและปั๊มขึ้นรูปเป็นรูปทรงธรรมชาติจากท้องทะเลอย่างปะการัง  หิน เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและเพิ่มลูกปัดให้มีความสนุกสนานมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นยังเป็นงานฝีมือจากคนในชุมชน เพราะอยากสนับสนุนให้คนในชุมชนมีรายได้และเติบโตไปด้วยกัน” ภิพัชรา แก้วจินดา หรือคุณเพชร ผู้อำนวยการสร้างสรรค์แบรนด์

Read More

เจาะแบ็กอัปใหม่ KFC กลุ่มทุนอินเดีย-IVL เสริมทัพ

เป็นประเด็นฮือฮาเมื่อกลุ่มทุนอินเดีย Devyani International DMCC ในเครือ Devyani International Limited (DIL) เซ็นสัญญาลงทุนในบริษัทอาร์ดี บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นต์ (RD) แฟรนไชซีบริหารร้านไก่ทอดเคเอฟซี (KFC) ในประเทศไทย รายที่ 3 โดยพ่วงพันธมิตรระดับบิ๊ก ทั้งกองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ “เทมาเส็กโฮลดิ้ง” และบริษัท White Snow Company Limited (ไทย) ที่มีชื่อ อานุช โลเฮีย ทายาทบิ๊กปิโตรเคมีแสนล้านร่วมวงด้วย  การลงทุนครั้งนี้ปิดดีลที่ 4,580 ล้านบาท คาดกระบวนการทางสัญญาเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2567 ที่ว่าระดับบิ๊ก เริ่มตั้งแต่กลุ่ม DIL ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านอาหารจานด่วน QSR แถบเอเชียใต้ มีจำนวนร้านกว่า 1,350 สาขา ใน 240 เมือง บริหารไลเซนส์แบรนด์หลักๆ ทั้ง

Read More