Home > Cover Story (Page 183)

อาหาร-เครื่องดื่ม ตัวเลือกแรกในธุรกิจแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ธุรกิจอาหารเครื่องดื่มเติบโตขึ้นจากข้อเท็จจริงของการเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องบริโภคด้วยการเติบโตของธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ไม่ได้ดำเนินไปโดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งไทยเบฟเวอเรจ หรือกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้แสดงหลักแต่โดยลำพังเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริง ธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ยังเติบโตขึ้นจากข้อเท็จจริงของการเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องบริโภคด้วย นอกจากนี้ การเติบโตขึ้นของธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ยังประกอบส่วนไปด้วยผู้ประกอบการรายย่อยๆ ที่ผันตัวเข้ามาดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ (franchise)ซึ่งมีส่วนหนุนนำให้จักรกลทางเศรษฐกิจในแต่ละระนาบดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจล่าสุดของสมาคมแฟรนไชส์ไทย ระบุว่า ปัจจุบันมีร้านค้าที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ รวมมากถึงกว่า 85,000 แห่ง โดยมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละประมาณร้อยละ 20 หรือมีสาขาเปิดใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า 7,000-8,000 แห่ง หรือมีร้านค้าแฟรนไชส์เปิดใหม่กว่า 20 แห่งต่อวันเลยทีเดียว การเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่มอาหารเครื่องดื่ม ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการและเป็นเจ้าของธุรกิจเอง มากกว่าที่จะเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทในแบบเดิม ขณะที่บางส่วนประเมินว่าธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถเป็นอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน มาตรการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์จากภาครัฐ ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการส่งออก รวมถึงการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันการเงิน ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ธุรกิจแฟรนส์ไชน์ในไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปีที่ผ่านมา (2555-2556) มูลค่าการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์ มีมูลค่าถึงกว่า 2.38 แสนล้านบาท “กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม นับเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มการศึกษา และกลุ่มค้าปลีก ตามลำดับ ซึ่งการลงทุนมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบร้านค้า ด้วยเงินลงทุน 2-3 ล้านบาท 

Read More

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค หยั่งรากชิงเกมค้าปลีก

 ผุดขึ้นมาชุกชุมราวดอกเห็ดช่วงหน้าฝน จนหลายคนเริ่มสงสัยว่า กรุงเทพฯ กำลังเข้าสู่ยุคทองของ “คอมมูนิตี้มอลล์” หรือกำลังก้าวเข้าสู่ยุคฟองสบู่ของ “ศูนย์การค้าขนาดย่อม” กันแน่ในช่วง 2-3 ปีนี้ ตลาดคอมมูนิตี้ มอลล์ ได้เปิดรับ “ผู้เล่น” ใหม่มากหน้าหลายตา ไม่เพียง “ผู้เล่น” ที่คร่ำหวอดในวงการพัฒนาอสังหาฯ ผู้ประกอบการธุรกิจอื่นที่ข้ามมาชิมลางธุรกิจนี้ ก็มีไม่น้อย อาทิ ศูนย์การค้าสุพรีม สามเสน ของกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มตรา “สก็อต”, พาซิโอ ของกลุ่มโตโยต้า ทีบีเอ็น หรือ เดอะ ซิตี้ วีว่า ของกลุ่มบริษัทนิมิต ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจหลักจากการค้ากระดาษ โดยทวี ศรีสมบูรณานนท์ น้องชายของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นต้น“ต่อไป คอมมูนิตี้ มอลล์ จะมีสัดส่วนเป็นอันดับหนึ่งของธุรกิจค้าปลีก และผมเชื่อว่าไม่ “โอเวอร์ ซัปพลาย” แน่นอน” ชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่ง บมจ. พร็อพเพอร์ตี้

Read More

อ.ส.ค. เร่งปรับตัวรับ AEC พร้อมชูกลยุทธ์รักษ์สุขภาพ

 องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค. ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค ภายใต้ตราสัญลักษณ์ โรงนาและ “วัวแดง” เร่งปรับกลยุทธ์และทิศทางการตลาด เพื่อก้าวสู่บริบทใหม่หลังองค์กรโคนมผู้ผลิตนม UHT รายแรกของไทยมีอายุครบกึ่งศตวรรษไปแล้ว นพดล ตันวิเชียร รองผู้อำนวยการทำการแทน ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยหรือ อ.ส.ค. ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค  กล่าวถึงกลยุทธ์และทิศทางการตลาดในปี 2556 ของนมไทย-เดนมาร์คว่า อ.ส.ค. พยายามเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ นมไทย-เดนมาร์ค และ เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค ตลอดทั้งเป็นการรองรับการขยายตัวของตลาดนมเปรี้ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาและการเตรียมตัวสู่ AEC โดยเฉพาะในปีนี้ ที่มุ่งเน้นไปยังตลาดอาเซียนมากขึ้น “ล่าสุด อ.ส.ค.ได้เปิดตัว “โยเกิร์ตพร้อมดื่มยูเอชทีผสมคอลลาเจน” ซึ่งเป็นการต่อยอดธุรกิจ โดยทำการตลาดเน้นจุดแข็ง นมโคสดแท้ๆ  ผสมคอลลาเจน ที่จะช่วยเรื่องสุขภาพผิวพรรณ เพื่อชิงนำการบุกเบิกตลาดรายแรกของภูมิภาค และเป็นการขยายฐานส่วนแบ่งการตลาด เพิ่มเติมในกลุ่ม Category และมุ่งเน้นขยายฐานไปกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มคนทำงานเป็นหลัก” ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในช่วงผ่านมา นมไทย-เดนมาร์คมียอดรายได้เติบโตต่อเนื่องประมาณ 20-30% ต่อปี ซึ่งภาพรวมของอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มมีมูลค่าราว 15,000 ล้านบาท ไทย-เดนมาร์คมีส่วนแบ่งอยู่ประมาณ 30% ในกลุ่มนม

Read More

“ปัญญาภิวัฒน์” โรงงานผลิต “คน” ของเครือซีพี

 ความรู้ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มว่าจะมีอายุสั้นลง สถาบันการศึกษาจึงมีหน้าที่พัฒนาบุคลากร สอนให้ “คน” เป็น “คนที่ทำงานได้”“รับซาลาเปา ขนมจีบ เพิ่มไหมคะ” น้องฝึกงานวัยละอ่อนในร้าน 7-11 กล่าวก่อนรับเงินจากลูกค้าปัจจุบัน “น้องเทียน” เป็นนักศึกษาปี 3 จากคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เธอเคยฝึกงานในร้าน 7-11 เป็นเวลา 3 เดือน ในช่วงปี 1 เช่นเดียวกับนักศึกษาทุกคณะ เพราะนี่คือกฎกติกาของสถาบันแห่งนี้ขณะที่ปี 2 คณะอื่นอาจเริ่มแยกย้ายไปฝึกในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียนในองค์กรต่างๆ ของเครือซีพี น้องเทียนยังคงได้ฝึกงานที่ร้าน 7-11 อีกเช่นเคย เพราะเธอเลือกเรียนสาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก ส่วนปี 3 เธอก็ยังคงต้องฝึกงานในร้าน 7-11 แต่ในฐานะนักเรียนที่พร้อมจะก้าวไปสู่ระดับผู้จัดการร้าน ก่อนที่จะแยกย้ายไปฝึกงานในส่วนสำนักงานในองค์กรของซีพีออลล์ “นี่อาจจะถือเป็นจุดอ่อนของเรา เพราะบางคนเห็นว่า ต้องฝึกงานในร้าน 7-11 ก็หันหลังไม่อยากมาเรียน หรือผู้ปกครองบางคนเห็นลูกต้องฝึกงานที่ร้าน ก็คิดว่าจบมาต้องทำงานที่นี่ เราก็พูดเรื่อยๆ ว่ามันไม่ใช่ แต่ ร้าน 7-11 เป็นจุดผ่านหนึ่งและสถานที่เรียนรู้แบบ

Read More

“คิงเพาเวอร์” ปลุกดาวน์ทาวน์ ต่อ “จิ๊กซอว์” ขยายฐานแข่งห้าง

“กรณีการแข่งขันประมูลดิวตี้ฟรีในท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดและเป็นเหตุผลที่ทำให้คิงเพาเวอร์ต้องหาพื้นที่สร้างธุรกิจ เพราะเจอคู่แข่งยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น” 24 ปีก่อน กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ของ “วิชัย รักศรีอักษร” หรือนามสกุลใหม่ “ศรีวัฒนประภา” เริ่มธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีและอากร (ดิวตี้ฟรี) ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดดิวตี้ฟรีช็อปแห่งแรกย่านเพลินจิตก่อนที่จะได้รับสัมปทานจากท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เป็นผู้ประกอบการร้านดิวตี้ช็อปในท่าอากาศยานดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ ตั้งแต่ปี 2536จากวันนั้นถึงวันนี้  แม้คิงเพาเวอร์ยังสามารถผูกขาดการบริหารพื้นที่ในท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง และคว้าสัมปทานในสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะเวลา 10 ปี จนถึงปี 2559  แต่วิชัยไม่คิดจะเป็น “เสือนอนกิน” ได้ตลอดกาล และเริ่มรุกขยายธุรกิจค้าปลีกย่านใจกลางเมือง หรือ “ดาวน์ทาวน์คอมเพล็กซ์” เพื่อสร้างอาณาจักรธุรกิจของตัวเอง ขยายกลุ่มลูกค้าใหม่เป็นนักช้อปทั่วไป ไม่ใช่แค่กลุ่มนักเดินทางและไม่ผูกติดกับคำว่า “สัมปทาน” เพียงอย่างเดียวแต่โครงการดาวน์ทาวน์คอมเพล็กซ์ที่เปิดตัวยิ่งใหญ่เมื่อปี 2549 กลับยังเดินเตาะแตะในแง่การสื่อสารวงกว้างกับกลุ่มลูกค้าคนไทย  โดยมากกว่า 80% ยังเข้าใจว่า “คิงเพาเวอร์” เป็นร้านจำหน่ายสินค้าปลอดอากรสำหรับลูกค้าขึ้นเครื่อง ซึ่งนั่นกลายเป็นทั้ง “โจทย์”

Read More

“ไทยเบฟ” ลั่นกลองรบ รุกตลาดโลกโตแสนล้าน

 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหาร “THAIFEX - World of food ASIA 2013” ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในปีนี้  ถือเป็นการลั่นกลองรบรุกตลาดครั้งใหญ่ ภายหลังบรรลุดีลซื้อกิจการอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ “เฟรเซอร์แอนด์นีฟ” หรือ “เอฟแอนด์เอ็น”  ซึ่งไม่ได้มีแค่พอร์ตสินค้าที่สร้างยอดขายมูลค่ามหาศาลในตลาดเอเชียและอาเซียน แต่ยังมีช่องทางจำหน่ายอันแข็งแกร่งทั่วภูมิภาค ขณะเดียวกัน เอฟแอนด์เอ็นส่งบริษัท เอฟแอนด์เอ็นแดรี่ส์ (ประเทศไทย) เครือข่ายสาขาผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในไทย เข้าร่วมมหกรรมอาหารระดับอินเตอร์ครั้งนี้เป็นนัดแรก เพื่อประกาศศักดาการเจาะตลาดอินโดจีนก้าวย่างไปพร้อมๆ กับไทยเบฟฯ เป้าหมายทั้งหมดเป็นไปตามยุทธศาสตร์การเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ขยายฐานตลาดและสร้างมูลค่าเติบโตแบบทวีคูณหลายเท่าภายใน 5 ปีตามที่ระบุไว้ในรายงานประจำปีฉบับล่าสุด  ซึ่งฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มักให้เหตุผลว่า ไทยเบฟฯ ต้องออกนอกประเทศ บุกตลาดโลกเพื่อรายได้ที่ใหญ่กว่า เพราะการช่วงชิงลูกค้าเพิ่มขึ้นในตลาดโลกเพียง 1% เท่ากับได้ตลาดไทยทั้งประเทศ แม้ฐาปนไม่ได้ระบุตัวเลขรายได้ชัดเจน แต่การเปรียบเทียบส่วนแบ่ง 1% เท่ากับตลาดไทยทั้งประเทศ นั่นหมายถึงเม็ดเงินรายได้ที่ไทยเบฟสามารถเติบโตได้มากกว่าแสนล้านบาท ทั้งนี้ ผลประกอบการของไทยเบฟฯ เมื่อปี 2555

Read More

คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ต่อยอดแนวคิด ธนินท์ ครบวงจร

  “ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาสในการก้าวสู่การเป็นผู้นำเกษตรโลก ภาคเกษตรของไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวหน้า วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการเกษตร เพราะทุกอย่างได้เอื้ออำนวยและผลักดันให้เกษตรกรไทยมีฐานะร่ำรวยขึ้น”     คำกล่าวของ “ธนินท์  เจียรวนนท์” ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาพร้อมความเชื่อที่ว่า โลกกำลังก้าวสู่ยุคของ “น้ำมันบนดิน” หรือ “พืชเกษตร” ซึ่งเป็นน้ำมันเลี้ยงมนุษย์ เป็นพลังงานของมนุษย์ และเป็นพลังงานของเครื่องจักร      ส่วน “ก่อศักดิ์  ไชยรัศมีศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มองว่า ประเทศไทยอาจก้าวไปไม่ถึงจุดที่ธนินท์พูด เนื่องจากขาดคนที่จะขับเคลื่อนภาคเกษตรไทย และประชากรรุ่นใหม่ในภาคเกษตรลดลงจนน่าเป็นห่วง       วันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา “ซีพี” ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหลักด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร จึงได้ลงนามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดตั้ง “คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร” ขึ้นที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ”นักจัดการเกษตร”

Read More

THAIFEX โอกาสที่ท้าทาย อุตสาหกรรมอาหารไทย

 ขณะที่ผู้ประกอบการด้านอาหารของไทยกำลังรุกไปเปิดตลาดส่งออกในต่างประเทศ สังคมไทยวางหลักประกันว่าด้วย “ความมั่นคงทางอาหาร” หรือ Food Security ไว้อย่างไรในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แวดวงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทย ดูจะมีความเคลื่อนไหวและคึกคักมากเป็นพิเศษในด้านหนึ่งเพราะผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายต่างเร่งระดมประกาศแผนกลยุทธ์และวางยุทธศาสตร์สำหรับการขยายตัวในอนาคตอย่างต่อเนื่องจริงจัง ขณะเดียวกัน กิจกรรมงานแสดงสินค้าภายใต้ชื่อ “THAIFEX - World of food ASIA 2013” ซึ่งเป็นประหนึ่งการรวบรวมผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายมาไว้ด้วยกันในงานเดียว ถือเป็น show case ที่สื่อแสดงศักยภาพและการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างดีทีเดียว ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างมาก นับตั้งแต่ที่รัฐไทยวางนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” (Kitchen of the World) มาตั้งช่วงทศวรรษที่แล้ว แม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายจะตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความต่อเนื่องและความชัดเจนในแนวนโยบาย รวมถึงมาตรการที่จะส่งเสริมอย่างจริงจังอยู่บ้างก็ตาม ความก้าวหน้าของผู้ประกอบการไทยในการรุกเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งของกลไกตลาดโลก หรือแม้กระทั่งการสร้างให้เกิดตราสินค้าไทย (brand) ในระดับสากล เป็นกรณีที่หลายฝ่ายให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งดูเหมือนว่าผู้ประกอบการไทยจำนวนไม่น้อยได้ “ก้าวข้ามและปักหมุด” ขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารไทยไปสู่ต่างประเทศแล้ว ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ในกรณีนี้ สามารถไล่เรียงมาตั้งแต่กรณีของเบทาโกร ผู้ประกอบการด้านอาหารอีกรายของไทยที่รุกเข้าไปทำตลาดเนื้อหมูแช่เย็น (Chilled Pork) ตรา S-Pure ในตลาดฮ่องกงตั้งแต่เมื่อปี 2552 โดยมุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าตลาดบน (High-end) เน้นสินค้าพรีเมียม ควบคู่กับการขยายตลาดสินค้าอาหารแปรรูปคุณภาพ

Read More

ตลาดร้านกาแฟพรีเมี่ยม ทั้งเดือด ทั้งขม…แต่เย้ายวน

 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักข่าวสายธุรกิจ การตลาด และสายสังคม คงต้องรวมข่าวการบินมาเยี่ยมชมกิจการสตาร์บัคส์ในเมืองไทยครั้งแรกของ “ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ แบรนด์กาแฟพรีเมี่ยมชั้นนำของโลกที่มีอายุกว่า 40 ปีโอกาสนี้ ซีอีโอสตาร์บัคส์วัย 60 ปี ยังได้เชิญผู้บริหารของศูนย์การค้าเกือบทุกแห่งของเมืองไทยและเจ้าของพื้นที่เช่ามาพบปะพูดคุย ณ ร้านสตาร์บัคส์ สาขาหลังสวน ซึ่งเพิ่งเปิดตัวใหม่ในฐานะ “คอมมิวนิตี้ สโตร์” แห่งแรกของเมืองไทย และแห่งแรกนอกอเมริกา ซึ่งคอนเซ็ปต์ของร้านรูปแบบนี้คือ สตาร์บัคส์จะมอบรายได้ 10 บาทจากเครื่องดื่มสตาร์บัคส์ทุกแก้วที่ขายได้จากร้านนี้ เพื่อนำเงินไปสนับสนุนและพัฒนาชุมชนสำหรับ ร้านเพื่อชุมชนที่หลังสวน สตาร์บัคส์ตั้งใจนำเงินจากส่วนนี้มอบแก่องค์กรพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (The Integrated Tribal Development Program) หรือ ITDP เพื่อนำเงินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟ “ม่วนไจ๋” ให้กับสตาร์บัคส์มานานกว่า 10 ปีนอกจากการมาเป็นเกียรติในการเปิดร้านกาแฟเพื่อชุมชนแห่งที่ 4 ของสตาร์บัคส์ มร.ฮาวเวิร์ด ยังถือโอกาสร่วมฉลองครบรอบ

Read More

“สหพัฒน์” ปูพรม “ซูรูฮะ” ลุยบิ๊กโปรเจกต์ “เจพาร์ค”

ซูรูฮะเตรียมเปิดสาขาโมเดลต้นแบบญี่ปุ่นขนาด 900 ตร.ม. ที่สวนอุตสาหกรรมศรีราชา เพื่อนำร่องรองรับบิ๊กโปรเจกต์ "เจพาร์ค" ของเครือสหพัฒน์“อิราไชมาเสะ..” คำทักทายต้อนรับลูกค้าของพนักงานหน้าร้านน่าจะเป็นจุดขายอย่างแรกนับตั้งแต่ก้าวเข้ามาใช้บริการในร้านซูรูฮะ และลึกๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นสิ่งที่ตอกย้ำจุดยืนและแผนการใหญ่ของเครือสหพัฒน์ในการพัฒนาช่องทางค้าปลีก โดยเลือกกลุ่มทุนญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรอย่างแนบแน่นและผูกพันกันมาตั้งแต่ยุคการร่วมทุนกับไลอ้อน คอร์ปอเรชั่น เมื่อ 40 ปีก่อน การจับมือกับ “ลอว์สัน” คอนวีเนียนสโตร์อันดับ 2 ของญี่ปุ่น ยกเครื่องธุรกิจร้านสะดวกซื้อจาก “108 ช็อป” เป็น ”ลอว์สัน 108” ดึง “ซูมิโตโม่ กรุ๊ป” ตั้งบริษัท ช้อปโกบอล (ประเทศไทย) เพื่อรุกธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง และการร่วมทุนกับบริษัท ซูรูฮะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดร้านดรักสโตร์สไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ จึงถือเป็นแผนดำเนินงานต่อเนื่องที่ “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ดร.กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น (Waseda University) ผู้เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของธุรกิจเกือบทุกรูปแบบของญี่ปุ่น วางไว้เพื่อแก้โจทย์การตลาดในไทย การขยายช่องทางการกระจายสินค้าและเปิดหน้าร้านที่มีประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุดขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ตลาดดรักสโตร์ หรือร้านขายยาและสินค้าสุขภาพอยู่ในจังหวะเติบโตต่อเนื่อง เฉพาะตลาดยามีมูลค่ากว่า 100,000

Read More