Home > Cover Story (Page 169)

จากอดีตสู่อนาคต “สยามแม็คโคร” ในร่มเงา ซีพี

 ย้อนกลับในปี 2532 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแม็คโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแม็คโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม  “25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวนให้ SHV Holding เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด 7-11

Read More

“แม็คโคร” รุกฐานฟู้ดเซอร์วิส เกมสกัดดาวรุ่ง “เบทาโกร”

 แม้ “แม็คโคร” มีกลุ่มโชวห่วยเป็นฐานลูกค้าเก่าดั้งเดิมและเป็นฐานใหญ่มากกว่า 700,000 ราย แต่อัตราเติบโตของลูกค้ากลุ่มธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหารและจัดเลี้ยง หรือโฮเรก้า (HoReCa: Hotel Restaurant Catering) ที่ขยายตัวต่อเนื่องทุกปีไม่ต่ำกว่า 20% เทียบกับโชวห่วยที่เติบโตเพียง 7% ทำให้แม็คโครต้องวางยุทธศาสตร์เจาะกลุ่มโฮเรก้าเข้มข้นขึ้น เพื่อเพิ่มฐานรายได้และเติมเต็มยุทธการยึดตลาดค้าปลีกทุกรูปแบบตามแผนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) การปรับกลยุทธ์ยังเป็นการวางหมากสกัดคู่แข่งดาวรุ่ง โดยเฉพาะเครือเบทาโกร ซึ่งเร่งปูพรมวางเครือข่ายช่องทางจำหน่ายต่อยอดธุรกิจจากต้นน้ำสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำ โดยสร้างฐานลูกค้าในกลุ่มฟู้ดเซอร์วิสและกลุ่มโฮเรก้าไว้อย่างแข็งแกร่ง  จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2531 จนถึงปัจจุบัน แม็คโคร ซึ่งเป็นศูนย์ค้าส่งระบบสมาชิก (Cash and Carry) มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 2.5 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มลูกค้าร้านโชวห่วย ร้านค้าปลีกรายย่อย ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม องค์กรและหน่วยงานต่างๆ  ล่าสุด ขยายสาขาทั่วประเทศ 72 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์ค้าส่ง 62 แห่ง โฟรเซ่นช็อป 5 แห่งและฟู้ดเซอร์วิส 5 แห่ง

Read More

MAKRO บนยุทธศาสตร์ค้าปลีก CP

 หากมองย้อนกลับไปนับตั้งแต่ MAKRO กลายเป็นข่าวใหญ่และ talk of the town จากการถูกผนวกให้เป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้ดีลที่มูลค่าสูงมากเป็นประวัติการณ์วงการธุรกิจไทยเมื่อกว่าหนึ่งขวบปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า ข่าวคราวของ MAKRO ห่างหายไปจากการนำเสนอในหน้าสื่อต่างๆ พอสมควร ในด้านหนึ่งเนื่องเพราะภาพลักษณ์และแนวคิดหลักของการขับเคลื่อนองค์กรแห่งนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนยุทธศาสตร์หลักของผู้นำองค์กรที่โดดเด่นและเข้มแข็งอย่างธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นด้านหลัก ขณะเดียวกัน MAKRO ยังต้องดำเนินการปรับโครงสร้างและจัดวางเข็มมุ่งใหม่ให้แหลมคมและสอดรับกับเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไปด้วยในคราวเดียว การเปิดตัวฉลองครบรอบ 25 ของสยามแม็คโคร เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงเป็นประหนึ่งการประกาศตัวและตอกย้ำแนวทางการรุกรบครั้งใหม่ในธุรกิจค้าปลีกไทย ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติของการเพิ่มจำนวน outlet ในลักษณะของการเพิ่มจำนวนสาขาอีกต่อไป หากหมายรวมลึกซึ้งไปถึงทุกช่องทางการจำหน่าย ที่ยังเปิดกว้างให้เข้าครอบครองด้วย การต่อสู้แข่งขันในสมรภูมิค้าปลีกไทย ไม่เพียงแต่จะอุดมด้วยข่าวความเคลื่อนไหวเปิดตัวสถานที่ตั้งของสาขาที่ขยายไปใหม่เท่านั้น หากยังอุดมด้วยวิสัยทัศน์ที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านภูมิทัศน์ทางธุรกิจให้เข้าสู่บริบทใหม่ ที่มีความหนักหน่วงรุนแรงและส่งผลกระเทือนต่อทุกระนาบในระบบเศรษฐกิจอีกด้วย ตลอดปี 2013 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ของธนินท์ เจียรวนนท์ ได้วางเข็มมุ่งที่จะปักหมุดและครอบครองพื้นที่สำหรับการขยายอาณาจักรค้าปลีกของกลุ่มซีพีไว้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการรุกของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นแม็คโครจากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี)

Read More

กว่าจะมาเป็น New Landmark

 ทศ จิราธิวัฒน์ ในสมัยที่ยังเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของกลุ่ม CRC เคยบอกไว้ว่า “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี” จะเป็นโครงการที่มีความสำคัญกับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างมาก เพราะจะมาต่อยอดภาพลักษณ์ความเป็นห้างไฮเอนด์ให้กับกลุ่มต่อจาก “เซ็นทรัล ชิดลม” ซึ่งวางตำแหน่งเป็น “เรือธง (Flagship)” ห้างหรู ในการใช้เจาะกลุ่มลูกค้าชนชั้น Elite และลูกค้าเกรด A ขึ้นไป นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลในการซื้อที่ดิน 9 ไร่ของสถานทูตอังกฤษ ติดกับเซ็นทรัล ชิดลม เมื่อปี 2549 อันเป็นที่มาของชื่อโครงการ ซึ่งสามารถสื่อถึงความเป็นนานาชาติได้ด้วย โดยราคาที่ดินที่กลุ่มเซ็นทรัลประมูลได้สร้าง talk-of-the-town ในฐานะแชมป์ราคาที่ดินที่แพงที่สุดของเมืองไทยในขณะนั้น ณ สนนราคาราว 9.5 แสนบาทต่อตารางวา โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี มีจุดเริ่มต้นมาจากการชนะการประมูลที่ดินบริเวณด้านหน้าของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยของกลุ่มเซ็นทรัล โดยเบื้องต้น กลุ่มเซ็นทรัลมอบหมายให้เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้  แต่เนื่องจากในขณะนั้นเซ็นทรัลพัฒนาเองมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการหลายโครงการ กลุ่มเซ็นทรัลจึงนำโครงการมาบริหารและพัฒนาด้วยตนเอง โดยจัดตั้ง บริษัท เซ็นทรัล เอ็มบาสซี พลาซา จำกัด สำหรับบริหารศูนย์การค้า และ บริษัท เซ็นทรัล

Read More

เฮาส์แบรนด์ เดือด “ท็อปส์” แก้เกมเจาะพรีเมียม

 หลังเจอสงครามเฮาส์แบรนด์ (House Brand) ของกลุ่มดิสเคาน์สโตร์ยักษ์ใหญ่ “เทสโก้ โลตัส” หรือแม้กระทั่งธุรกิจในเครือซีอาร์ซีด้วยกันอย่าง “บิ๊กซี” รุกหนัก เน้นกลยุทธ์ตัดราคาถูกสุดๆ จนต้องหันมาทบทวนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ ล่าสุด ค่ายท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ตเดินหน้าอีกขั้น ปรับแผนแก้เกมใช้ “คุณภาพ” เป็นตัวต่อสู้ “ราคา” เพื่อขยายฐานตลาดระดับพรีเมียม บลูโอเชี่ยนที่มีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่าหลายเท่า  ขณะเดียวกัน แม้การทำตลาดอย่างดุเดือดของกลุ่มสินค้าเฮาส์แบรนด์ หรือไพรเวทเลเบิ้ล (Private Label) หรือโอนแบรนด์ (Own Brand) ในช่วงที่ผ่านมาทำให้ผู้บริโภคติดใจและยอดขายเติบโตทั้งตลาดไม่ต่ำกว่า 25-30% โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดขายพุ่งสูงเกือบ 50% เนื่องจากผู้บริโภคคนไทยติดใจสินค้าเฮาส์แบรนด์เพราะราคาถูกกว่าสินค้าของผู้ผลิตในท้องตลาด   แต่เมื่อลูกค้าเรียนรู้ความเป็นเฮาส์แบรนด์ของโมเดิร์นเทรดในฐานะของราคาถูก ไม่เน้นคุณภาพ ทำให้ตลาดเฮาส์แบรนด์ชะลอตัว เปรียบเทียบกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแถบยุโรป อเมริกา วางโพสิชั่นนิ่งสินค้าเฮาส์แบรนด์เป็นเอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ในแง่สินค้าคุณภาพราคาประหยัด   กลุ่มโมเดิร์นเทรดจึงต้องเร่งอัพเกรดคุณภาพและแบ่งระดับสินค้าแยกตามกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ไม่ใช่เน้นราคาถูกแบบเดิมเพียงข้อเดียว  นิค ไรท์ไมเออร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายจัดซื้อสินค้า Own Brand และ Premium Format บริษัท เซ็นทรัล

Read More

หมากล้อม “ห้างหรู” ประดาบก็เลือดเดือด

 ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทอล์คออฟเดอะทาวน์ในหมู่นักชอปและแฟชั่นนิสต้าทั้งหลาย คงหนีไม่พ้นการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่อลังการของเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ที่ถือฤกษ์วันดี 8-9 พฤษภาคม สอดรับกับวันพืชมงคลเป็นช่วงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางกระแสอุณหภูมิร้อนแรงทางการเมืองที่ดูเหมือนกำลังเดินทางเข้าสู่จุดแตกหักสุดท้ายเข้าไปทุกขณะ มิใช่เพียงอุณหภูมิการเมืองเท่านั้นที่ถูกเร่งเร้าให้ร้อนแรง หากแต่ในมิติของสงครามห้างหรูในตลาดบน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นสันทนาการของผู้มีอันจะกิน ก็มีความร้อนแรงไม่ยิ่งหย่อนกัน และดำเนินไปท่ามกลางการช่วงชิงพื้นที่และเป้าหมายระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งกลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มเดะมอลล์ ที่ต่างพยายามขับเคี่ยวและวางกำลังไม่แตกต่างจากเกมหมากล้อมอยู่ในขณะนี้ “คนกลุ่มนี้ต้องการอะไรที่เป็นมากกว่าห้างสรรพสินค้า ประกอบกับเซ็นทรัล ชิดลมยังขาดเรื่องของ Food และ Entertainment แต่เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงทำอะไรได้ไม่มากนัก” ทศ จิราธิวัฒน์ ผู้บริหารของกลุ่มเซ็นทรัล เคยระบุไว้ หากประเมินแบบเกมหมากล้อมก็จะเข้าใจได้ทันทีว่าเพราะเหตุใด เซ็นทรัล เอ็มบาสซี จึงมีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์สำหรับกลุ่มเซ็นทรัล ถึงขนาดที่ต้องลงทุนครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ ไม่ใช่เพียงเพื่อการเสริมกำลังรักษาฐานที่มั่นให้กับเซ็นทรัลชิดลม ซึ่งถือเป็นเรือธงของกลุ่มเซ็นทรัลเท่านั้น หากยังต้องพร้อมที่จะรุกคืบไปข้างหน้าในการสัประยุทธ์ครั้งใหม่นี้ด้วย เพราะนับตั้งแต่กลุ่มเซ็นทรัลเปิดตัว Central World ซึ่งถือเป็น “อภิมหาโครงการ” ของกลุ่มเซ็นทรัล เมื่อปี 2549 หลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่ากลุ่มเซ็นทรัลจะยังไม่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่โครงการใดที่มีความสำคัญต่ออนาคตของเครือได้มากมายเท่ากับโครงการ “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี” อีกแล้ว “กลุ่มเซ็นทรัล ไม่เคยลงทุนในโครงการใดที่ใช้เม็ดเงินลงทุนต่อตารางเมตรมากเท่าโครงการนี้มาก่อน” ชาติ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการโครงการ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี

Read More

ต่าง “สื่อ” เป้าหมายเดียว บนสนามทีวีดิจิตอล

 “พฤติกรรมคนดู อย่างเก่งก็ดูเพียงแค่ 5-6 ช่องเท่านั้น ฉะนั้นคาดว่าทีวีดิจิตอลของเราก็คงจะเหลือไม่เกิน 5 ช่องเท่านั้นที่ครองตลาดส่วนใหญ่ และในจำนวนนี้ก็น่าจะมีเจ้าตลาดที่มีฐานคนดูเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว 2 ช่อง ส่งผลให้รายใหม่ๆ ที่เข้ามาต้องแย่งแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อเป็น 1 ใน 5 ราย” มีเดียเอเยนซี่และผู้ประกอบการโทรทัศน์รายหลายเห็นตรงกัน   จากมุมมองดังกล่าว ทำให้ “ผู้เล่น” หน้าใหม่ในธุรกิจเจ้าของช่องทีวีดิจิตอลจึงตั้งเป้าปักธงการบริหารช่องของตัวเองเพื่อมุ่งสู่ตำแหน่ง “ท็อป 5” ของทีวีดิจิตอล ซึ่งผู้บริหารหนุ่มแห่งช่อง 32 HD หรือ “ไทยรัฐทีวี” ของค่ายหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยอย่าง “ไทยรัฐ” ก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตั้งเป้าเช่นนั้น  ด้วยอายุที่ยาวนานกว่า 64 ปี ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ บวกกับ “อิทธิพล” ที่มีต่อคนในวงการต่างๆ โดยเฉพาะวงการบันเทิงและสังคมไฮโซ ทำให้ในงานเปิดตัว “ไทยรัฐทีวี” มีดาราและเซเลบจากทั่วฟ้าเมืองไทยมารวมกันอย่างคับคั่ง  “เราเห็นตัวอย่างจากเมืองนอกว่า ธุรกิจสิ่งพิมพ์อยู่ในช่วงขาลง เป็นธุรกิจ Sunset ก็เลยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อนำพาธุรกิจของกลุ่มไทยรัฐไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งเรามองว่า ฟรีทีวีเป็นสื่อที่มีอิทธิพลและเข้าถึงผู้ชมได้ดีที่สุด”  วัชร วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร

Read More

“เจริญ” เร่งเครื่องรุกอสังหาฯ ดัน “ริเวอร์ฟรอนท์” ขยายฐาน

 ปี 2557 เจริญ สิริวัฒนภักดี เร่งเครื่องเต็มสูบ หลังจัดกระบวนทัพครั้งใหญ่ วางเครือข่ายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผ่านบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) โดยแยกโครงสร้างการเจาะตลาดอัดฉีดบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “โกลเด้นแลนด์” บุกโครงการแนวราบ บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ ส่วนบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ หรือ “แกรนด์ยู” ขยายฐานกลุ่มคอนโดมิเนียม โดยประกาศลั่นขอขึ้นชั้นผู้นำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี  ที่สำคัญ การชิมลางเข้าสู่แนวรบคุ้งน้ำเจ้าพระยา ผุดคอนโดมิเนียม “ยู ดีไลท์ เรสซิเดนท์ ริเวอร์ฟรอนท์ พระราม 3” แม้รูปแบบและราคาโครงการยังเน้นจับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางตามสไตล์ “แกรนด์ยูฯ” แต่ถือเป็นความพยายามอัพเกรดแบรนด์จากระดับกลาง-ล่าง สู่ระดับกลาง-บนและพรีเมียมมากขึ้น รวมทั้งขยายลิงค์เกจเชื่อมธุรกิจรีเทลในเครือทีซีซีแลนด์ ทั้ง “เอเชียทีค” และโครงการอื่นๆ ตามแผน “ริเวอร์ฟรอนท์คอนเนคชั่น” เพื่อเสริมความแข็งแกร่งเหนือคู่แข่งมากขึ้น ทั้ง “เอเชียทีค”

Read More

มหาอุทกภัยถึงพิษการเมือง “วิกฤตปีนี้หนักกว่าหลายเท่า”

 แม้โตชิบาต้องเจอวิกฤตหลายรอบโดยเฉพาะปี 2554 โดนผลกระทบหนักหนาสาหัสจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โรงงานผลิตสินค้า 9 แห่งในสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี ถูกน้ำท่วมทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท และสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ เพราะไม่มีสินค้ากลุ่มหลัก ทั้งตู้เย็น 2 ประตู เครื่องซักผ้า และไมโครเวฟ จำหน่ายในตลาด แต่ดูเหมือนว่า ปี 2557 ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ของมวลมหาประชาชน คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งยืดเยื้อยาวนานหลายเดือนและยังไม่มีทางออกหรือจุดจบ กำลังเป็นวิกฤตล่าสุดที่นักธุรกิจหลายคน รวมทั้ง กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ฟันธงว่า รุนแรงมากกว่าหลายเท่า  “ปีนี้หนักกว่าน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมเหมือนหนักมากแต่ทุกคนเห็น พนักงาน ใครๆ ก็เห็น สถานการณ์น้ำท่วมมีวันสิ้นสุด น้ำท่วมลึกสุดแล้วสี่ห้าวันค่อยๆ ดีขึ้น เราสามารถกำหนดเวลาได้ สั่งของ เตรียมตัวอย่างไร แต่กรณีนี้คาดการณ์ยากมาก

Read More

ตลาดนมผงเดือด ทุกแบรนด์ดันนมพรีเมียมสู้

 ความพยายามที่จะส่งเสริมให้คุณแม่รุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพของทารกแรกเกิด ด้วยการรณรงค์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ แม้จะได้รับความสนใจและสร้างกระแสตื่นตัวในวงกว้างได้ไม่น้อย แต่หากประเมินจากข้อเท็จจริงของสภาพแวดล้อมและความจำเป็นทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ อาจไม่ใช่กรณีที่สามารถกระทำได้ในทุกครัวเรือน เนื่องเพราะคุณแม่จำนวนไม่น้อยต้องรีบกลับเข้าทำงานหาเลี้ยงชีพ ในขณะที่สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้จัดเตรียมพื้นที่บริบาลเด็ก (Day Care) ไว้อำนวยความสะดวกให้กับคุณแม่ที่เป็นพนักงานมากนัก ซึ่งทำให้ตลาดนมผงเลี้ยงทารกยังสามารถเติบโตต่อไป แม้จะถูกบีบอัดจากแรงกระตุ้นประชาสัมพันธ์เรื่องน้ำนมแม่อยู่บ้างก็ตาม การแข่งขันในตลาดนมผงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเลี้ยงทารกเท่านั้น หากยังขยายมาสู่กลุ่มปฐมวัยและเด็กเล็กต่อเนื่องขึ้นมาด้วย โดยผู้ประกอบการในตลาดนมผงสำหรับเด็ก กลุ่มพรีเมียม ต่างให้ความสำคัญในการคิดค้นนวัตกรรมของการปรุงแต่งสารอาหาร เพื่อเป็นปัจจัยหนุนเสริมกระตุ้นการขาย และทำให้ตลาดนมผงระดับพรีเมียมมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการแข่งขันของแบรนด์หลักๆ ทั้งมี้ด จอห์นสัน, ดูเม็กซ์, เนสท์เล่, ไวเอ็ท และแอบบอท โดยแต่ละค่ายต่างพยายามเน้นจุดขายว่าด้วย Product Innovation อย่างแข็งขันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ภาพที่สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในมิติว่าด้วย “อัจฉริยะสร้างได้” หรือสุขภาพดีแข็งแรงสมวัย ถูกนำมาใช้สื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ที่เชื่อกันว่ามีความรู้และมีความต้องการในเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางข้อเท็จจริงที่ว่ามูลค่าตลาดนมผงพรีเมียมมีมูลค่ามากถึง 15,000 ล้านบาทจากมูลค่าตลาดรวมซึ่งอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท ตลาดนมผงพรีเมียมนอกจากจะมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 60 ของตลาดนมผงโดยรวมแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตและขยายตัวเฉลี่ยถึง 12% ในแต่ละปีอีกด้วย ขณะที่กลุ่มนมผงระดับกลางและกลุ่มนมผงระดับล่าง ไม่ค่อยเติบโตนัก และทำให้ตลาดนมผงโดยรวมทั้งระบบเติบโตเพียง 4-5% เท่านั้น ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดนมพรีเมียมเติบโตมากกว่าตลาดนมอื่นๆ ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ขนาดครอบครับของคนไทยเล็กลง พ่อแม่รุ่นใหม่ยอมใช้จ่ายในการซื้อนมที่มีคุณภาพ ด้วยความเชื่อว่ากรณีดังกล่าวถือเป็นการให้ความสำคัญต่อโภชนาการของลูก

Read More