Home > Cover Story (Page 16)

SoccerGate แจ้งเกิด ลุยแฟรนไชส์ License Store

หากพูดถึงตลาดสินค้ากีฬาในประเทศไทยมูลค่ากว่า 70,000 ล้านบาท ยังไม่รวมช่องทางออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊กอีกนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะกลุ่มรองเท้าฟุตบอล (สตั๊ด) มีฐานลูกค้าระดับกลางและล่างเป็นตลาดใหญ่ ซึ่งชื่อ SoccerGate ถือเป็นหนึ่งในยุทธจักรที่ปลุกปั้นแบรนด์มานานกว่าสิบปี จนเป็นที่ยอมรับ มีการขยายหน้าร้านและล่าสุดจ่อเปิดเกมรุกขายแฟรนไชส์ License Store ชิมลาง 2 สาขาในปีนี้ ปัจจุบัน SoccerGate มีหน้าร้านรวม 5 แห่ง ได้แก่ สาขา BB Market Park บางใหญ่ สาขา Marketplace รังสิต คลอง 1 สาขาขอนแก่น ในโครงการ G9 ถ.หน้าเมือง สาขาขอบสนามอารีน่า-เลียบด่วนรามอินทรา และสาขา Outlet Mall พัทยา เฟส 2 ส่วนช่องทางออนไลน์นอกจากเว็บไซต์ https://soccergatestore.com/ ยังมี Line, Facebook รวมทั้งแพลตฟอร์ม Shopee และ

Read More

วรตพงษ์ ตันมณี จับคีย์ซัคเซส SoccerGate ปั้นแบรนด์สู้ยักษ์

“วันหนึ่ง ผมไปเตะฟุตบอลแล้วรองเท้าหาย เกิดความอยากมีร้านที่เลือกรองเท้าดีๆ มาให้แล้วราคาจับต้องได้ ตั้งชื่อว่า SoccerGate เพราะเล่นเป็นผู้รักษาประตู เราอยากเป็นประตูเปิดสู่โลกฟุตบอล ให้คนเข้ามาในร้าน มีรองเท้าที่ซื้อได้จริง ใส่ได้จริง ใช้งานได้จริง คีย์หลักเริ่มจากความรู้สึกแบบนั้น” วรตพงษ์ ตันมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอราวัณ เอ็กซ์สปอร์ต จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึง Passion เริ่มต้นของ SoccerGate ร้านจำหน่ายรองเท้าฟุตบอล-ฟุตซอล เมื่อ 9 ปีก่อน ขณะเดียวกัน ด้วยความที่เตะฟุตบอลตั้งแต่เรียนชั้นประถมและต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกีฬาอย่าง “ราชวินิตบางแก้ว” เล่นบอลจริงจังตั้งแต่สมัยนั้นเรื่อยมา ซื้อรองเท้าสตั๊ดเป็นประจำ ซื้อใช้แล้วขาย ซื้อใช้แล้วขาย เช็กราคาและรู้ราคาตลาดทั้งหมด จนเกิดไอเดียขึ้นมาทันทีว่า “ทำเป็นธุรกิจได้” จากจุดนั้น เขาตัดสินใจออกจากงานประจำ ช่วงปี 2557 ลุยเปิดบริษัท สร้างเพจเฟซบุ๊กทำธุรกิจขายรองเท้าฟุตบอล-ฟุตซอลผ่านช่องทางออนไลน์  โดยไม่ได้คิดว่าจะขยายเครือข่ายหน้าร้านใหญ่โต แต่การซื้อขายเฉพาะช่องทางออนไลน์เป็นอุปสรรคสำคัญในการเจรจา “ดีล” แบรนด์เข้าร้าน เพราะแบรนด์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นร้าน “ทำออนไลน์ได้ปีสองปี

Read More

คาเฟ่อเมซอน ยึดอาเซียน “พันธุ์ไทย” ปักหมุด PUN CAFE

ตลาดอาเซียนเป็นอีกสมรภูมิร้านกาแฟที่แข่งขันดุเดือด โดยเฉพาะ 2 แบรนด์ใหญ่ในกลุ่มบริษัทน้ำมันของไทย คือ คาเฟ่อเมซอน (Café Amazon) ของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กับ “อินทนิล” ค่ายบางจากคอร์ปอเรชั่น (BCP) และล่าสุด “กาแฟพันธุ์ไทย” ในเครือ พีทีจี เอ็นเนอยี ได้ฤกษ์ส่ง “ปันคาเฟ่” (Pun Café) เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่ง โดยปักหมุดแรกในสถานีรถไฟความเร็วสูงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ก่อนตะลุยต่อเนื่องอีก 5 สาขาในปีนี้ ด้านบริษัทที่ปรึกษาด้านการค้าปลีก Momentum Works รายงานข้อมูลปี 2566 มี 5 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่เร่งรุกตลาดอาเซียน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย พบว่า คาเฟ่อเมซอนมีจำนวนสาขามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งตามแผนของ OR ตั้งเป้าขยายการเปิดร้านในต่างประเทศให้ถึง 1,000

Read More

จาก The Deck สู่ The Gate Grand Palace ย้อนเรื่องราวธุรกิจร้านอาหารย่านท่าเตียน

“ท่าเตียน” ถือเป็นอีกหนึ่งย่านสำคัญของกรุงเทพฯ ที่เป็นที่รู้จักของทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  ทั้งในบริบทของความเป็นย่านการค้าเก่าที่แวดล้อมด้วย วัด วัง และชุมชน รวมถึงในบริบทของการเป็นแหล่งแฮงก์เอาต์กลางกรุงที่แวดล้อมไปด้วยร้านอาหารและที่พักหลากหลายแบบ โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาและฉากของวัดอรุณราชวรารามเป็นไฮไลต์  และถ้าพูดถึงร้านอาหารและที่พักย่านท่าเตียนที่ปัจจุบันกำลังผุดขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว คงต้องพูดถึง “The Deck by the river” (เดอะ เด็ค บายเดอะริเวอร์) ในฐานะร้านอาหารแรกๆ ที่เข้ามาปักหมุดในย่านท่าเตียนเมื่อราวๆ 20 ปีก่อน และถือเป็นผู้จุดกระแสให้ท่าเตียนเป็นที่รู้จักในบริบทใหม่ จากย่านการค้าสู่แหล่งแฮงก์เอาต์กลางกรุง พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์ หรือ หมอนุช ผู้อำนวยการแพทย์สวนสุขภาพอรุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการแพทย์ผสมผสาน และในอีกหนึ่งบทบาทคือการเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “อรุณเรสซิเด้นท์ กรุ๊ป” (Arunresidence group) ผู้ดำเนินกิจการร้านอาหารและที่พักย่านท่าเตียน อย่างเดอะ เด็ค บายเดอะริเวอร์, ศาลาอรุณ และโรงแรมอรุณ เรสซิเดนท์ เล่าถึงที่มาของการเริ่มธุรกิจร้านอาหารในย่านท่าเตียน โดยมีเดอะ เด็ค บายเดอะริเวอร์ เป็นร้านแรกให้ “ผู้จัดการ 360 องศา”

Read More

95 ปี Jubilee Diamond  แบรนด์เพชรเบอร์หนึ่งของไทยในมือ อัญรัตน์ พรประกฤต

แม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยและโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับยังคงเป็นธุรกิจที่มีอนาคต นั่นเพราะกลุ่มลูกค้าหลักมีศักยภาพในการจับจ่าย แม้จะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าที่ผู้คนชื่นชอบ และประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศชั้นแนวหน้าของโลก ได้รับการยอมรับในระดับสากลในอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และเบลเยียม สำหรับแบรนด์เครื่องประดับเพชรที่เฉิดฉายและส่องประกายมาอย่างยาวนานกว่า 95 ปี อย่าง Jubilee Diamond ที่ปัจจุบันบริหารงานโดยทายาทรุ่นที่ 4 อัญรัตน์ พรประกฤต อาจกล่าวได้ว่า เธอคือนักปฏิวัติวงการเครื่องประดับเพชรอย่างที่หลายคนให้คำนิยาม นับตั้งแต่วันที่แบรนด์เครื่องประดับเพชรอย่าง Jubilee Diamond ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ด้วยการจัดตั้งบริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ด้วยเงินทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท แต่เส้นทางการเดินทางของยูบิลลี่นั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นตระกูลพรประกฤต ที่เริ่มธุรกิจโรงรับจำนำในย่านสะพานเหล็ก ก่อนจะผันตัวและขยับขยายสู่ร้านจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณีในรุ่นถัดมา ก่อนจะบริหารงานโดย วิโรจน์ พรประกฤต ผู้เป็นบิดา ความแตกต่างของแบรนด์ยูบิลลี่ ไดมอนด์ ในเวลานั้น คือ

Read More

ซินไฉฮั้ว เล่งเน่ยยี่ ซักแห้งต้นตำรับเซี่ยงไฮ้

เพราะวันนั้น กิจจา กัญจนาภรณ์ เดินทางไปเยี่ยมญาติที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและมีโอกาสฝึกงานในร้านซักแห้ง “ไฉฮั้ว” ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ เขามองเห็นโอกาสในเมืองไทย ตัดสินใจเปิดกิจการร้านซักแห้งในประเทศไทยเมื่อปี 2477 ใช้ชื่อ  “ซินไฉฮั้ว” ซึ่งในภาษาจีนแต้จิ๋ว  “ซิน” แปลว่า ใหม่  “ไฉ” แปลว่า สีสัน  “ฮั้ว” แปลว่า ความเจริญรุ่งเรือง หรือ “นิวไฉฮั้ว” ต้นตำรับเมืองจีน สาขาแรกใกล้วัดเล่งเน่ยยี่ ก่อนขยายร้านมาแถวสี่พระยา ในยุคแรกๆ ซินไฉฮั้วให้บริการซักผ้าลูกค้ารายย่อย เช่น ชุดราชปะแตนของข้าราชการ จนเข้าสู่ช่วงสงครามเวียดนาม มีทหารเกณฑ์จากอเมริกันเข้ามาตั้งฐานในประเทศไทย มีลูกค้าส่งซักชุดทหารจำนวนมาก จนมีเงินทุนขยายกิจการโรงงานเย็บเสื้อผ้าตามสั่งและโรงงานฟอกยีนส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ณ เวลานั้น ต่อมาเข้าสู่เจเนอเรชันที่ 2 นายพิพัฒน์ และทัศนา กัญจนากรณ์ ทั้งคู่ต่อยอดธุรกิจรับผลิตเสื้อผ้าส่งออกต่างประเทศ และเริ่มให้บริการซักผ้าแก่องค์กรต่างๆ แต่เกิดเหตุการณ์ย้ายฐานการผลิตตามค่าแรง โรงงานฟอกยีนส์และผลิตเสื้อผ้าทยอยลดขนาด พวกเขาจึงเปลี่ยนไปจับตลาดบริการในประเทศมากขึ้น นับระยะเวลากว่า 90 ปี จากเจน 2 สู่ทายาทรุ่นที่ 3

Read More

แอลจี โดดชน “อ๊อตเทริวอช” สมรภูมิร้านสะดวกซักหมื่นล้าน

แม้เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ลงทุนหลักล้าน แต่ร้านสะดวกซัก เครื่องหยอดเหรียญ ยังเป็นกิจการยอดนิยมและผุดเพิ่มขึ้นไม่หยุด มีหลายสิบแบรนด์ โดยเฉพาะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากปี 2564 ตลาดรวมมีสาขามากกว่า 2,400 แห่ง ปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 3,400 กว่าแห่ง และปีที่ผ่านมาพุ่งพรวดอีกนับพันแห่ง เกือบ 5,000 สาขา เม็ดเงินทั้งตลาดทะลุหมื่นล้านบาท ที่สำคัญตลาดมีแนวโน้มเติบโตตามการรุกขยายเจาะพื้นที่ชุมชนในทุกจังหวัด มีแบรนด์ยักษ์ใหญ่กระโดดเข้ามาเล่นในสมรภูมิมากขึ้น ล่าสุด ค่ายแอลจี บิ๊กแบรนด์เกาหลี ประกาศแตกไลน์ธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้าเชิงพาณิชย์ เปิดแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและครั้งแรกของแอลจีทั่วโลก ภายใต้ชื่อ “LG Laundry Crew” ปักหมุดแรก เจาะทำเลรามคำแหงซอย 8 ซองฮัน จอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจร้านสะดวกซักในประเทศไทยอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีโอกาสเติบโตอีกมาก แอลจีมองเห็นโอกาสตรงนี้และที่ผ่านมามีสัดส่วนตลาดเครื่องซักผ้าเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทยมาตลอด 35 ปี จึงตัดสินใจเปิดตัว LG Laundry

Read More

แฟรนไชส์เลิกกิจการ ผลพวง วิกฤต-ไม่วิกฤต

แม้ด้านหนึ่งมีข้อมูลชี้ชัดภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ปี 2567 จะมีมูลค่าสูงถึง  300,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุด แต่อีกด้านหนึ่งจำนวนกิจการแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นเพียง 3% หรือมียอดรวม 619 กิจการ จากปีก่อนหน้า 606 กิจการ ยิ่งไปกว่านั้น มีกรณีเลิกขายแฟรนไชส์กว่า 60 แบรนด์ ศูนย์รวมแฟรนไชส์ ThaiFranchiseCenter.com ระบุว่า ศูนย์ได้ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ประจำปี 2567 โดยขอความร่วมมือจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ อัปเดตข้อมูลการลงทุน ซึ่งจากการโทรสอบถามเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ มีแบรนด์ที่หยุดขายแฟรนไชส์แล้วราวๆ 60 แบรนด์ และติดต่อไม่ได้เกือบ 70แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์อาหาร ค้าปลีก สมุนไพร ความงาม ฟิตเนส สถาบันสอนภาษา การศึกษา ไอศกรีม เบเกอรี่ เครื่องดื่ม ชา กาแฟ และอื่นๆ ซึ่งศูนย์ต้องลบข้อมูลออกจากระบบรวม 49 ราย ส่วนสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การแข่งขันสูง

Read More

เจาะแฟรนไชส์ 3แสนล้าน เครื่องดื่ม-ไอศกรีม ยังฮอตฮิต

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ปี 2567 จะมีมูลค่าสูงถึง 300,000 ล้านบาท แนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ย 18% และมีผู้สนใจลงทุนเพิ่มขึ้น 15% โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการหาอาชีพที่สองนอกเหนือจากงานประจำ หรืออยากเป็นนายตัวเองและอยากรวยเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน สถิติจำนวนแฟรนไชส์ในไทยยังขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้อัตราเกิดใหม่อาจชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดย Thaifranchisecenter ศูนย์รวมธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เก็บรวบรวมตัวเลขล่าสุดเมื่อช่วงต้นปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 619 กิจการ เพิ่มขึ้น 3% จากปี 2566 ที่มีจำนวน 606 กิจการ หากเจาะย้อนหลัง 5 ปีและช่วงเวลาเกิดสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดอย่างหนักเมื่อปี 2563 พบว่า ปี 2566 มีกิจการ 606 กิจการ เพิ่มขึ้น 11% ปี 2565 มีจำนวน 548 กิจการ เพิ่มขึ้น 9% ปี 2564

Read More

“สัมมากร” จากที่ดินผืนแรก สู่ปีที่ 54 ในตลาดอสังหาฯ เมืองไทย

“สัมมากร” หรือ บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) ถือเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดมานาน จากที่ดินผืนแรกจำนวน 200 ไร่ในละแวกสุขาภิบาล 3 สู่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่อยู่ในตลาดมานานถึง 54 ปี และส่งมอบบ้านให้ผู้อยู่อาศัยไปแล้วมากกว่า 6,000 หน่วย สัมมากรก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ เพื่อประกอบกิจการจัดสรรที่ดิน พัฒนาที่ดินแบ่งเป็นแปลงย่อย พร้อมปลูกสร้างบ้านขายให้แก่ประชาชนที่มีรายได้ตั้งแต่ระดับกลางขึ้นไป โดยเริ่มดำเนินโครงการแรกในปี 2516 กับโครงการ “สัมมากร บางกะปิ” ที่เริ่มต้นจากที่ดินจำนวน 200 ไร่ ในละแวกสุขาภิบาล 3 ก่อนที่จะขยายเป็น 1,200 ไร่ ในระยะต่อมา ซึ่งทำให้สัมมากรขึ้นแท่นผู้บุกเบิกอสังหาริมทรัพย์ในละแวกดังกล่าว 3 กุมภาพันธ์ 2537 บริษัทจดทะเบียนในนามสัมมากรเติบโตและแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเน้นการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในลักษณะของหมู่บ้านจัดสรร พร้อมทั้งการให้บริการบำรุงรักษาโครงการภายหลังการขาย ภายใต้สัญลักษณ์ “บ้านสัมมากร” อีกทั้งยังขยายขอบเขตออกไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งมีนบุรี

Read More