Home > TG

ย้อนไทม์ไลน์ “การบินไทย” กับโค้งสุดท้ายของแผนฟื้นฟูฯ

เรียกได้ว่าเป็นโค้งสุดท้ายเลยก็ว่าได้ สำหรับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หลังจากเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ที่ล่าสุดออกมาแถลงความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างทุนและการบรรลุเงื่อนไขในการออกจากแผนฟื้นฟูกิจการไปอีกหนึ่งขั้น พร้อมเตรียมกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกครั้งในไตรมาส 2/2568 ในฐานะสายการบินเอกชนเต็มตัว สายการบินแห่งชาติอย่าง “การบินไทย” ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 และมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจจากการที่กระทรวงการคลังเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกิน 50% กระทั่งกลางปี 2563 กระทรวงการคลังได้ขายหุ้นบางส่วนให้กับกองทุนวายุภักษ์ส่วนหนึ่ง ก่อนที่การบินไทยจะเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในที่สุด ถ้าย้อนไทม์ไลน์ของการเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการของ “การบินไทย” พบว่า เหตุผลที่การบินไทยต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการเพราะมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนยาวนานติดต่อกันถึง 8 ปี โดยปี 2560 ขาดทุนสุทธิ 2,107 ล้านบาท, ปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 11,625 ล้านบาท, ปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 12,042 ล้านบาท และในปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การบินไทยมีตัวเลขขาดทุนสุทธิมากถึง 141,170 ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าการขาดทุนดังกล่าวเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

Read More

TG จับมือ MAAI by KTC เปิดตัว “TG MEMBER” ลอยัลตี้ โปรแกรม มัดใจสมาชิกยุคดิจิทัล

TG จับมือ MAAI by KTC เปิดตัว “TG MEMBER” ระบบลอยัลตี้ โปรแกรม (Loyalty Program) แพลตฟอร์มพร้อมใช้ครบวงจรในกระบวนการแบบ end-to-end ด้วย 3 โซลูชั่น มัดใจสมาชิกยุคดิจิทัล มอบสิทธิประโยชน์ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ผ่านการสะสมคะแนนแลกรับสิทธิพิเศษ อาทิ ผลิตภัณฑ์ภายในร้าน TG ทั้งสมาร์ทโฟน รวมถึง Accessories แบรนด์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฐานสมาชิกเดิม และมอบความประทับใจให้กับสมาชิกใหม่ หวังสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ในระยะยาว นายภวัต ถาวรสภานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาดและนวัตกรรม “TG” หรือ บริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด กล่าวว่า “TG MEMBER คือ ลอยัลตี้ แพลตฟอร์ม ระบบสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิก เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำ CRM (Customer Relationship Management)

Read More

ฟื้นฟู การบินไทย ทางเลือกเพื่ออยู่รอด?

การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่นำไปสู่มติยกเลิกแผนฟื้นฟูตามมติเดิมของ คนร. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 และนำเสนอแผนใหม่ในการประชุม คนร. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ภายใต้แนวทางการนำการบินไทย เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายของไทย เพราะเห็นว่า หากยังยึดแนวทางแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ จะไม่เปลี่ยนอะไรมาก จึงหันมาเปลี่ยนวิธีในการแก้ปัญหา กลายเป็นจังหวะก้าวสำคัญที่สั่นสะเทือนสถานภาพของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการอุ้มชูจากรัฐมาอย่างยาวนานไปโดยปริยาย เพราะการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลายครั้งนี้ จะทำให้การบินไทยพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจไปเลย ไม่ใช่แค่ลดชั้นเป็นรัฐวิสาหกิจระดับ 3 เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวและลดทอนอำนาจของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ขององค์กรแห่งนี้ลง ข้อเท็จจริงก่อนนำมาสู่ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุที่ว่าการเพิ่มเงินจากการคํ้าประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลัง หรือหาเงินทุนเพื่อมาลงทุนเพิ่มสำหรับการบินไทยภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันดูจะเป็นสิ่งที่ยากลำบากและไม่สอดรับกับความเป็นไปในธุรกิจการบินที่กำลังเผชิญกับอุปสรรค ทางออกว่าด้วยการฟื้นฟูการบินไทยภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องมีขั้นตอนทำไปพร้อมกับการปรับโครงสร้างผู้บริหารการบินไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้จึงดูจะเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากกว่า สถานะของการบินไทย ณ สิ้นปี 2562 มีภาวะขาดทุนสะสม 19,383.39 ล้านบาท มีภาระหนี้สินรวม 244,899.44 ล้านบาท มีสินทรัพย์อยู่ 256,664 ล้านบาท ขณะที่การมีเครื่องบินจอดทิ้งรอขายอยู่หลายลำอาจทำให้สินทรัพย์ด้อยค่าลงไปมาก ทำให้มีส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเพียง 11,765.11 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนของหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) คือ 20.81:1 หมายความว่ามีภาระหนี้สูงกว่าส่วนของทุนมาก ซึ่งนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง

Read More